สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เป็นหนังสือที่เก็บสะสมไว้แล้วจะเกิด
    อาเภทและภัยพิบัติในครอบครัว
    ผู้สะสมมากกว่าจะเจริญรุ่งเรืองฮับ
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    ยักษ์ร้ายยังกลับใจ เพราะเลื่อมใสธรรมวาจา

    หรือว่าเราไม่ได้แสดงธรรมวาจาอะไรเลย แสดงเรื่อง ปฎิสัมภิทาญาน ให้รู้เห็นเพียรเขียนเรียนอ่านตามขนาดนี้ ลิ่วล้อบริวารคึกยังนึกละอายใจ อะไรไม่ออกอีกหรือ สงสัยบุญบารมีเราจะเผื่อแผ่เมตตาจิตไปไม่ถึง หรือจิตใจมันหยาบช้า กระด้างนัก

    แปลงตนเองเป็นกระดาษทรายละเอียดให้ก็แล้ว กระดาษแผ่นหยาบก็แล้ว สรุปจะให้บวชก่อนแล้วเหาะไปบิณฑบาตรเหาะไปอินเดียให้ดู หรือจะให้อธิษฐานให้ฟ้าผ่าใส่
    อลัชชีและลิ่วล้อบริวารในสำนักตายสักสองสามคนก่อนหรือจึงจะเชื่อ เกาะติดกระแสกรรมเหนียวแน่นขนาดนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2018
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    ในรอบ ศตวรรษที่ ๑-๒-๓
    พระอภิธรรมก็เสื่อมลงแยกแตกแขนงไปมากแล้ว มาถึงกึ่งพุทธกาล ๒๕๐๐
    คึกฤทธิ์ได้อุบัติเป็นมารขั้นเทพสะท้านภพ ที่ทำให้คนหลงละเมอเพ้อพกกราบไหว้ การมาเที่ยวนี้คึกฤทธิ์มีได้กระทำตนให้เกิดมาเสียเปล่า ได้กวาดทั้ง
    ๓ ปิฏก ลงเหวไปด้วยอย่างน่าอัศจรรย์

    โคตรเทพเลย ทำได้ยังไง อภิมหาจะเหี้ยนเตียนเนียนเลี้ยนโล่ง กวาดเรียบ

    แค่นี้ยังไม่พอ ยังแสดงอิทธิ์
    ทำให้
    อันตรธาน ๓ บังเกิดขึ้นตามมาติดๆ
    ด้วยฤทธานุภาพอันสง่าสุดราศรี
    แจกตายตัวเหลืองมั่นคงมี
    แถมให้ฟรีอริยะอนาคา
    อัดฉีดเยอะให้พอใจต้องประกาศ
    โสดาพลาดไม่ต้องห่วงจำเริญหนา
    เพราะส่วนลดนั้นให้คือสกิทาคา
    ร่ำลือว่าเป็นเทวดามาคราวเดียว
    ไม่ต้องนั่งสวดมนต์อะไรมาก
    สั่งสมกากกัมมันตรังสี
    พุทธวจนปิฏกคนเขารอมาหลายปี
    ทำไงดีที่มีเห็นเพียงเล่มเดียว
    ว่าจะลุ้นเอานายกมาเข้าพรรค
    ช้านานนักจึงตั้งพรรคสนับสนุน
    หวังไว้ว่าลูกศิษย์น้อยช่วยค้ำจุน
    ยอมขาดทุนไม่ยอมลงไร้ราคา



    แต่แปลกจริงมหาเถรสมาคมสังฆมณฑลในโลกไม่แปลกใจ

    อันตรธาน ๓

    เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฏก ๓ ชื่อว่าปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่าปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อว่าปฏิบัติ.
    ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติมีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจนว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียวในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราวก็มีน้อย.
    ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ (ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา.


    พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฏกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธและปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๗ ให้เกิดในสำนักของอาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านอาฬารดาบสบอกว่าไม่รู้. ต่อแต่นั้น พระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของอุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเอง พระบรมโพธิสัตว์ก็ทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นให้สำเร็จฉันใด ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่.
    อธิบายปริยัติอันตรธาน

    พระอภิธรรมจักเสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐานจะอันตรธานก่อนกว่าทุกคัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะอันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อพระอภิธรรมปิฏกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฏกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้.

    ในปิฏกเหล่านั้น เมื่อพระสุตตันตปิฏกจะอันตรธานหายไป อังคุตตรนิกายย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่เอกาทสกนิบาตจนถึงเอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่จักกเปยยาลสูตรจนถึงโอฆตรณสูตร. ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่อินทริยภาวนาสูตรจนถึงมูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้น ทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ทสุตตรสูตรจนถึงพรหมชาลสูตร.
    ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑- และอาฬวกปุจฉา.
    ____________________________
    ๑- พม่า - สภิยปุจฉา

    ได้ยินว่า ระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้.
    ก็เมื่อปิฏกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฏกยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่ออุภโตวิภังค์อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกาอันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชาและอุปสมบทจักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนินไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาวไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอันเสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะและคนสุดท้ายที่ทำลายศีล. จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.
    องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๑๔๑

    ก็ถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ๔ พระองค์ ๘ พระองค์หรือ ๑๖ พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นร่วมกัน ไม่พึงเป็นผู้น่าอัศจรรย์. เพราะลาภสักการะแม้ของเจดีย์ ๒ องค์ในวิหารเดียวกัน ย่อมไม่เป็นของโอฬาร. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ไม่เป็นผู้น่าอัศจรรย์ เพราะมีมาก. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เสด็จอุบัติ.
    อนึ่ง ที่ไม่เสด็จอุบัติ (พร้อมกัน) เพราะพระธรรมเทศนาของพระองค์ ไม่มีแปลกกัน. ด้วยว่าพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงแสดงธรรมใดต่างโดยสติปัฏฐานเป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นเสด็จอุบัติแล้ว ก็พึงทรงแสดงธรรมนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่น่าอัศจรรย์. แต่เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงแสดงธรรม แม้เทศนาก็เป็นของอัศจรรย์
    อนึ่ง พระธรรมเทศนาจะเป็นของอัศจรรย์ เพราะไม่มีการขัดแย้งกัน. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นหลายพระองค์ สาวกจะพึงวิวาทกันว่า พระพุทธเจ้าของพวกเราน่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเราพระสุรเสียงไพเราะ มีบุญ. เหมือนพวกศิษย์ของอาจารย์หลายคน แม้เพราะเหตุนั้นจึงไม่เสด็จอุบัติขึ้นอย่างนั้น.
    อีกอย่างหนึ่ง เหตุการณ์นี้ พระนาคเสนถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถาม ได้ขยายความพิสดารไว้แล้ว.
    สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
    พระยามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ในเรื่องพระพุทธเจ้าหลายพระองค์นั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส คือ ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์เสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ท่านนาคเสน อนึ่ง เมื่อจะทรงแสดงธรรม พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ก็จะทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เมื่อจะตรัสก็จะตรัสอริยสัจ ๔ เมื่อจะให้ศึกษาก็จะทรงให้ศึกษาในสิกขา ๓ และเมื่อจะทรงสั่งสอน ก็จะทรงสั่งสอนการปฏิบัติเพื่อความไม่ประมาท.
    ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าแม้ทุกพระองค์มีอุทเทสอย่างเดียวกัน มีกถาอย่างเดียวกัน มีสิกขาบทอย่างเดียวกัน มีอนุสนธิอย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์จึงไม่เสด็จอุบัติในคราวเดียวกัน เพราะการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์เดียว โลกนี้ก็จะเกิดแสงสว่าง ถ้าจะพึงมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ โลกนี้ก็จะพึงมีแสงสว่างยิ่งกว่าประมาณ ด้วยพระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์. และพระตถาคต ๒ พระองค์ เมื่อจะตรัสสอนก็จะตรัสสอนได้ง่าย เมื่อจะทรงอนุสาสน์ก็ทรงอนุสาสน์ได้ง่าย ขอพระคุณเจ้าจงชี้แจงเหตุในข้อนั้น ให้โยมฟังให้หายสงสัยด้วยเถิด.
    พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้าองค์เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตพระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ จะพึงอุบัติขึ้น. โลกธาตุนี้จะพึงรองรับไม่ได้ จะพึงหวั่นไหวน้อมโน้ม พลิกกระจายแตกทำลายไปเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้. มหาบพิตร เรือบรรทุกคนได้คนเดียว เมื่อคนผู้เดียวขึ้น เรือนั้นพึงใช้การได้ ถ้าคนที่ ๒ ลงมา เขามีอายุ วรรณ วัย ขนาดผอมอ้วน มีอวัยวะน้อยใหญ่ทุกอย่างเหมือนคนแรกนั้น คนผู้นั้นพึงขึ้นเรือลำนั้น มหาบพิตร เรือลำนั้นจะรับคนแม้ทั้งสองไว้ได้หรือหนอ?
    รับไม่ได้ดอก พระคุณเจ้า เรือลำนั้นจะต้องโคลง น้อมโน้ม คว่ำกระจาย แตกทำลายไป เข้าถึงการลอยลำอยู่ไม่ได้ พึงจมน้ำไปฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้าได้พระองค์เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตได้พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุจะพึงรองรับไว้ไม่ได้ พึงหวั่นไหว น้อมโน้ม พลิกกระจาย แตกทำลายไป เข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า คนบริโภคอาหารเต็มที่ จนถึงคอพอแก่ความต้องการ ต่อแต่นั้น เขาจะอิ่มเต็มที่ โงกง่วงตลอดเวลา เป็นเหมือนท่อนไม้ที่แข็งทื่อ. เขาพึงบริโภคอาหารมีประมาณเท่านั้นอีกครั้ง มหาบพิตร คนผู้นั้นจะพึงมีความสุขหรือหนอ?
    ไม่มีเลย พระคุณเจ้า เขาบริโภคอีกครั้งเดียวก็จะต้องตาย.
    ฉันนั้นเหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ฯลฯ พึงเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้.
    พระคุณเจ้านาคเสน ด้วยการแบกธรรมอันยิ่งไว้ แผ่นดินจะไหวได้อย่างไร?
    ขอถวายพระพร มหาบพิตร ในข้อนี้ (ขออุปมาด้วย) เกวียน ๒ เล่ม (บรรทุก) เต็มด้วยรัตนะจนถึงเสมอปาก จะเอารัตนะจากเกวียนเล่มหนึ่งไป เกลี่ยใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะพึงรองรับรัตนะของเกวียนทั้งสองเล่มได้แลหรือ?
    ไม่ได้เลย พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนเล่มนั้นก็จะคลอน แม้กำก็จะแตก แม้กงก็จะหลุดตกไป แม้เพลาก็จะหัก.
    ขอถวายพระพร มหาบพิตร เกวียนหักเพราะการ (ที่บรรทุก) รัตนะเกินไปใช่หรือไม่?
    ถูกแล้ว พระคุณเจ้า.
    ขอถวายพระพร มหาบพิตร (ข้อนี้ฉันใด) แผ่นดินก็ฉันนั้นเหมือนกัน หวั่นไหวเพราะภาระคือธรรมอันยิ่ง.
    ขอถวายพระพร มหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์จงทรงสดับเหตุการณ์นี้ อันเป็นที่รวมการแสดงพระกำลังของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (และ) เหตุการณ์แม้อย่างอื่นที่น่าสนใจในข้อนั้น ที่เป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ องค์ไม่อุบัติคราวเดียวกัน มหาบพิตร ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติในคราวเดียวกันไซร้ ความวิวาทกันจะพึงเกิดแก่บริษัท สาวกจะเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา. ขอพระองค์จงสดับเหตุการณ์ข้อแรกนี้ที่เป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอพระองค์จงสดับเหตุการณ์แม้ข้ออื่นยิ่งไปกว่านี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน.
    ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติขึ้นในคราวเดียวกันไซร้ คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เลิศ ก็จะพึงผิดไป คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้วิเศษสุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เปรียบเทียบ. ที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีผู้เทียมทัน ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้เปรียบมิได้ พึงเป็นคำผิดไป ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์จงรับเหตุการณ์แม้นี้แล โดยความหมายอันเป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน.
    อีกอย่างหนึ่ง ขอถวายพระพร มหาบพิตร ข้อที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นสภาวปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร? เพราะพระคุณของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุการณ์ใหญ่หลวง. ขอถวายพระพร มหาบพิตร สิ่งที่เป็นของใหญ่แม้อย่างอื่น ย่อมมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น แผ่นดินใหญ่มีแผ่นดินเดียวเท่านั้น สาครใหญ่มีสาครเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุใหญ่ประเสริฐสุดก็มีลูกเดียวเท่านั้น อากาศใหญ่ (กว้าง) ก็มีแห่งเดียวเท่านั้น. ท้าวสักกะใหญ่ก็มีองค์เดียวเท่านั้น พระพรหมใหญ่ก็มีองค์เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น ท่านเหล่านั้นอุบัติขึ้นในที่ใด คนเหล่าอื่นย่อมไม่มีโอกาสในที่นั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นอุบัติขึ้นในโลก.
    พระคุณเจ้านาคเสนปัญหาพร้อมทั้งเหตุการณ์ (ที่นำมา) เปรียบเทียบ ท่านกล่าวได้ดีมาก.
    เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว. ก็หมื่นจักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียวเท่านั้น. เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาลนี้เท่านั้น. ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.
    ในบทว่า อปุพฺพํ อจริมํ นี้ มีความหมายว่า ไม่ก่อน (คือ) ไม่ก่อนแต่ความปรากฏขึ้นแห่งจักรรัตนะ ไม่หลัง (คือ) ไม่หลังจากจักรรัตนะนั้นอันตรธาน. ในข้อที่ว่าไม่ก่อน ไม่หลังนั้น จักรรัตนะย่อมอันตรธานไป โดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออกทรงผนวช. ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปในวันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช. ต่อแต่นั้น ไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.
    ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก.
    ก็เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์อุบัติขึ้น การวิวาทก็จะพึงเกิดขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่. ในทวีปหนึ่งมีพระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มีพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้นจะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์. และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถมอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็จะหมดคุณค่า. พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้.
    หญิงเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ในคำนี้ว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมมาสมพุทโธ (ข้อที่หญิงพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) ดังนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้าที่สามารถยังคุณคือสัพพัญญูให้เกิดขึ้นแล้วได้โลกุตระขอยกไว้ก่อน แม้เพียงการตั้งปณิธานก็ย่อมไม่สำเร็จแก่สตรี.
    บุญญาภินิหารจะสำเร็จได้ เพราะรวมเหตุ ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ชาย) ๑ เหตุ (มโนปณิธาน) ๑ การได้พบเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความถึงพร้อมด้วยคุณ ๑ อธิการ (คือสักการะอันยิ่งใหญ่) ๑ ความพอใจ (ในพระโพธิญาณ) ๑.
    เหตุที่กล่าวมานี้แหละ เป็นเหตุแห่งปณิธานสมบัติ. เมื่อสตรีไม่สามารถเพื่อยังแม้ปณิธานให้สำเร็จได้ด้วยประการดังกล่าว ความเป็นพระพุทธเจ้าจะมีมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ข้อที่หญิงพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. ก็การสั่งสมบุญให้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง จะให้เกิดอัตภาพที่บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น บุรุษเท่านั้นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    หญิงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้ แม้ในบทเป็นต้นว่า ยํ อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ (ข้อที่หญิงพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) ดังนี้ มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ลักษณะทั้งหลายของหญิงไม่บริบูรณ์ โดยไม่มีของลับที่จะเก็บไว้ในฝักเป็นต้น ความพรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีอิตถีรัตนะ (คือนางแก้ว) และไม่มีอัตภาพที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ข้อที่หญิงพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้. และเพราะฐานะ ๓ ประการมีความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น เป็นฐานะสูงสุด แต่เพศหญิงเป็นเพศต่ำ เพราะเหตุนั้น แม้ฐานะที่หญิงจะเป็นท้าวสักกะเป็นต้น ก็เป็นอันระงับไป.
    ถามว่า แม้เพศหญิงไม่มีในพรหมโลกฉันใด ถึงเพศชายก็ฉันนั้นในพรหมโลกก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ไม่พึงพูดว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระพรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ มิใช่หรือ?
    ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ควรพูด.
    เพราะผู้ชายในโลกนี้เกิดในพรหมโลกนั้น.
    เพราะคำว่า ความเป็นพรหม หมายเอาท้าวมหาพรหม. ก็หญิงบำเพ็ญฌานในโลกนี้แล้วตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมปาริสัชชา (บริษัทบริวารของพระพรหม) ไม่ถึงท้าวมหาพรหม. ส่วนบุรุษไม่ควรกล่าวว่า ไม่เกิดในชั้นมหาพรหม. และในพรหมโลกนี้ แม้เมื่อไม่มีเพศทั้งสอง พรหมทั้งหลายก็มีสัณฐานเป็นบุรุษอย่างเดียว ไม่มีสัณฐานเป็นหญิง เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นอันกล่าวดีแล้ว.
    กายทุจริต-กายสุจริต ในบทว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น มีอธิบายว่า พืชสะเดาและพืชบวบขมเป็นต้น ย่อมไม่ให้เกิดผลมีรสหวาน มีแต่จะให้เกิดผลที่มีรสไม่หวาน ไม่น่าชอบใจอย่างเดียวฉันใด กายทุจริตเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยังผลดีให้เกิดขึ้น ย่อมยังผลไม่ดีให้เกิดขึ้นอย่างเดียว. พืชอ้อยและพืชข้าวสาลีเป็นต้น ย่อมยังมีผลมีรสหวานรสอร่อยอย่างเดียวให้เกิดขึ้น หาได้ยังผลที่ไม่น่ายินดี เผ็ดร้อน ไม่หวาน ให้เกิดขึ้นไม่ ฉันใด กายสุจริตเป็นต้นย่อมยังผลที่ดีทั้งนั้นให้เกิดขึ้น หาได้ยังผลที่ไม่น่ายินดี เผ็ดร้อน ไม่ดี ให้เกิดขึ้นไม่.
    สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
    หว่านพืชเช่นใด ย่อมนำผลเช่นนั้นมา
    ทำดีได้ดี และทำชั่วก็ได้ชั่ว.
    เพราะเหตุนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต ตายแล้วจะเข้าถึงสุคติคือโลกสวรรค์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.
    สมังคี ๕ บทว่า สมงฺคี ในบทว่า กายทุจฺจริตสมงฺคี เป็นต้น ความว่า ความพร้อมเพรียงมี ๕ อย่าง คือ ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวลมา ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนา ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งกรรม ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้น ๑.
    ในความพร้อมเพรียง ๕ อย่างนั้น ความพร้อมเพรียงในขณะประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมมา ท่านเรียกว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวลมา. ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนา ก็เหมือนกัน.
    ก็สัตว์ทั้งหมดท่านเรียกว่าผู้พร้อมเพรียงด้วยกรรม เพราะหมายเอากรรมที่เหมาะแก่วิบากที่ได้สะสมไว้ในชาติก่อน ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต. นี้ชื่อว่าความพร้อมเพรียงแห่งกรรม.
    ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก พึงทราบในขณะแห่งวิบากเท่านั้น.
    ก็ตราบเท่าที่สัตว์ทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต นิมิตของการเกิดขึ้น ย่อมปรากฏอย่างนี้ คือ สำหรับสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพนั้นก่อน นรกย่อมปรากฏ โดยอาการปรากฏมีเปลวไฟและโลหกุมภีเป็นต้น ท้องมารดาย่อมปรากฏสำหรับเหล่าสัตว์ผู้จะเข้าถึงความเป็น “คัพภเสยยกสัตว์” เทวโลกย่อมปรากฏโดยอาการปรากฏแห่งต้นกัลปพฤกษ์และวิมานเป็นต้น สำหรับสัตว์ผู้จะบังเกิดในเทวโลก. ดังกล่าวมานั้น ชื่อว่าความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏ เพราะสัตว์เหล่านั้นยังไม่พ้นการปรากฏแห่งนิมิตของการเกิดนี้.
    ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏนั้นย่อมเปลี่ยนได้ แต่ความพร้อมเพรียงที่เหลือเปลี่ยนไม่ได้. เพราะเมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกก็ย่อมปรากฏได้ เมื่อเทวโลกแม้ปรากฏแล้ว นรกก็ย่อมปรากฏได้. เมื่อมนุษย์โลกแม้ปรากฏแล้ว กำเนิดเดียรัจฉานก็ย่อมปรากฏได้. และเมื่อกำเนิดเดียรัจฉานแม้ปรากฏแล้ว มนุษย์โลกก็ย่อมปรากฏได้เหมือนกัน.
    ในข้อที่กล่าวนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง.
    ตัวอย่างนิมิตปรากฏ ได้ยินว่า ในอเจลวิหาร ใกล้เคียงเชิงเขาโสภณ มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง ชื่อพระโสณเถระ โยมผู้ชายของท่านเป็นนายพรานสุนัข (อาศัยสุนัขล่าเนื้อ) พระเถระห้ามโยม เมื่อไม่อาจจะให้ตั้งอยู่ในศีลสังวรได้ จึงคิดว่า คนแก่๑- อย่าได้ฉิบหายเสียเลย จึงให้โยมบิดาบวชทั้งที่ไม่อยากบวช ในกาลเป็นคนแก่. เมื่อโยมบิดานอนบนเตียงคนไข้ นรกก็ปรากฏขึ้น. (คือ) สุนัขทั้งหลายตัวใหญ่ๆ มาจากเชิงเขาโสณะ ล้อมท่านไว้ ทำทีเหมือนจะกัด. ท่านกลัวต่อมหาภัยจึงกล่าวว่า พ่อโสณะห้ามที พ่อโสณะห้ามที.
    ____________________________
    ๑- บาลี เป็น วราโก แต่บางแห่งเป็น ชรโก แปลตามคำหลัง

    พระโสณเถระถามว่า อะไรครับหลวงพ่อ?
    ท่านกล่าวว่า ท่านไม่เห็นหรือ แล้วจึงบอกเรื่องราวนั้น.
    พระโสณะเถระคิดว่า บิดาของคนเช่นเราจักเกิดในนรกได้อย่างไรเล่า เราจักช่วยท่าน แล้วจึงให้พวกสามเณรไปนำดอกไม้นานาชนิดมาให้ ตกแต่งเครื่องลาดพื้นสำหรับบูชาและอาสนะสำหรับบูชาที่ลานเจดีย์และลานโพธิ์ แล้วเอาเตียงหามหลวงพ่อไปยังลานเจดีย์ ให้นั่งบนเตียงแล้วกล่าวว่า หลวงพ่อขอรับ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นทุคคตบรรณาการของข้าพระองค์ ดังนี้แล้ว ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทำจิตให้เลื่อมใส.
    มหาเถระนั้นเห็นเครื่องบูชาแล้วจึงทำอย่างนั้น ทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว. ทันใดนั้นเทวโลกปรากฏขึ้นแก่ท่าน สวนนันทวัน สวนจิตรลดาวัน สวนมิสสกวัน สวนปารุสกวันและวิมานทั้งหลาย และเหล่านางฟ้าฟ้อนรำ ได้เป็นเหมือนประดิษฐานล้อมท่านไว้.
    ท่านกล่าวว่า หลีกไปเถิดโสณะ หลีกไปเถิดโสณะ.
    นี่อะไรกัน หลวงพ่อ.
    หญิงเหล่านี้ คือ โยมผู้หญิงของคุณ กำลังมา.
    พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏแก่หลวงพ่อแล้ว.
    พึงทราบว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้นย่อมเปลี่ยนไปได้อย่างนี้. ในความพร้อมเพรียงเหล่านี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า “ความพร้อมเพรียงแห่งกายทุจริต” ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่งอายูหนสมังคี เจตนาสมังคี และกัมมสมังคี.
    บทว่า เอวํ วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลสูตรทั้งหมดมาตั้งแต่ต้น กระทำให้งดงามอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงตั้งชื่อของพระสูตรที่ทรงแสดงไว้ เอาเถิด เราจักขอให้ทรงตั้งชื่อของพระสูตรนี้ ดังนี้ จึงได้กราบทูลคำนั้นกับพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    ในบทเป็นต้นว่า ตสฺมาติห ตฺวํ มีการประกอบความหมายดังต่อไปนี้.
    ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุที่เราตถาคตจำแนกธาตุไว้มากในธรรมบรรยายนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ธาตุเหล่านี้ ๑๘ ประการแล ดูก่อนอานนท์ ธาตุเหล่านี้ ๖ ประการ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พหุธาตุกสูตร ก็ได้. ก็เพราะเหตุที่ในธรรมบรรยายนี้ เราตถาคตจำแนกปริวัฏ (การเวียนรอบ) ๔ ประการ เนื่องด้วยธาตุ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาทและฐานาฐานะ เพราะฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นว่า จตุปริวัฏฏสูตร ก็ได้. แลเพราะเหตุที่ข้อความมีธาตุเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่ผู้ดูธรรมบรรยายนี้ เหมือนเงาหน้าปรากฏแก่ผู้ส่องกระจกเพราะฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นว่า ธรรมาทาสสูตร ก็ได้.
    อนึ่ง เพราะเหตุที่พระโยคีเหยียบย่ำเสนาคือกิเลส เรียนเอาวิปัสสนาตามที่กล่าวไว้ในสูตรนี้ แล้วย่ำยีกิเลสทั้งหลาย ถือเอาชัยชนะคือพระอรหัตให้แก่ตนได้ เหมือนทหารทั้งหลายผู้จะปราบเสนาฝ่ายตรงข้าม ลั่นกลองศึกวิ่งเข้าใส่กองทัพฝ่ายอื่น เข้าประจัญบาน คว้าเอาชัยด้วยตัวเอง ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นว่า ชื่ออมตทุนทุภีสูตร ก็ได้.
    และเพราะเหตุที่ ทหารในสงครามถืออาวุธ ๕ ประการ กำจัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้พระโยคีทั้งหลายก็ฉันนั้น ถืออาวุธคือวิปัสสนาดังกล่าวไว้ในสูตรนี้ ถือเอาชัยคือพระอรหัตไว้ได้ เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นไว้ว่า ชื่ออนุตตรสังคามวิชัยสูตร ก็ได้แล.
    จบอรรถกถาพหุธาตุกสูตรที่ ๕

    1363308545-o.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2018
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กระทู้สุดท้าย !

    ฝ่าย{0} ปฎิสัมภิทาญาน{0} ขอเปิดกระทู้ที่ ๑๕ ในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวพันกับการปกป้องรักษาพระไตรปิฏกโดยตรง ขอผู้อ่านที่เป็นมิตรก็ดีไม่ใช่มิตรก็ดีพึงพิจารณา

    ว่าด้วย การบรรลุธรรมและสภาวะที่ได้บรรลุธรรม สาธยายธรรม โดยผู้บรรลุธรรมระดับปฎิสัมภิทาญาน ระดับ ๑ ต่ำสุด ใน ๑๖ ระดับ

    นอกจากแว่นส่องธรรมแล้ว ที่ต้องพิจารณาตนเองว่า ได้กระทำตนให้ีความชัดเจนสมควรแก่ธรรมและเหมาะแก่การที่จะได้รับสามัญผลนั้นแล้ว

    ก็มีดังต่อไปนี้ ผู้หวังความเจริญ

    เป็นธรรมดาว่า ฆราวาสอุบาสกอุบาสิกาและภิกษุในธรรมวินัยของศาสนานี้ จะสามารถจดจำสถานที่ที่ตนเองได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน สกทาคา อนาคา และพระอรหันต์ ได้ อย่างไม่มีวันลืม ตลอดชีวิตว่า เราได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น.

    เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. วิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ. วิมุตฺติ ได้แก่ผลปัญญา. การทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอัน วิเศษยิ่ง ด้วยตนเองทีเดียว.

    พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
    ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
    ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
    ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

    การบรรลุธรรม ของ ฆราวาสอุบาสกอุบาสิกาและภิกษุในธรรมวินัยของศาสนานี้ ไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตาม จะมีวิมุตติปรากฎด้วยเสมอๆ ในวิมุตติ ๕ ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาปริยัติและนำมาปฎิบัติจนได้ซึ่งปฎิเวธประกอบ ผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องอ่อนโยนโดยที่สุดเพียงเท่านั้น จึงจะสามารถบรรลุธรรมได้ เป็นกลางคือเข้าถึง สูญญาตาธรรม สามารถเป็นผู้เพ่งบทธรรม หรือเข้าถึงกระแสธรรมของพระสัทธรรม อันที่เป็นที่เคารพพึ่งพิงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นได้ การเสวยวิมุตติสุข นั้นคือ การสัมผัสรสชาติอันเป็นทิพย์ของอมฤตธรรม อย่างละเอียดอ่อน ระดับอณูของความรู้สึก

    ปกติสำหรับผู้ไม่ได้ปฎิสัมภิทาญาน ก็จะได้เสวยรสจากพระธรรมหรือบทธรรมที่ปรากฎแห่งเพียงพอแก่ตนได้ ตามคุณลักษณะและบุญบารมีที่สั่งสมมาของบุคคลนั้นๆ ไล่ตั้งแต่ พระโสดาบัน พระสกทาคา พระอนาคามี ซึ่งใน ๓ ระดับนี้ จะมีการแบ่งประเภทตามบารมีธรรมและอัธยาศรัยที่สั่งสมมา พระอริยะ ๓ จำพวกเบื้องต้น จะสมบูรณ์เป็นใหญ่ที่สุด ก็ต้องเป็นผู้บรรลุปฎิสัมภิทา คือถึงพระสัทธรรม ตรัสรู้ธรรมได้โดยตรง

    และอีกประเภท๑ คือ ผู้เสวยวิมุตติระดับพระอรหันต์ ไล่ตั้งแต่ท่านสุขวิปัสสโกเป็นต้นไป เว้นไว้เพียง ระดับสูงสุดคือปฎิสัมภิทาญาน ก็จะสามารถเพ่งวิมตติและเสวยรสวิมุตติธรรมตามบทธรรมนั้นๆที่ปรากฎตาบารมีธรรมที่สั่งสมมา

    สำหรับฐานะที่บริบูรณ์สูงสุด คือ ท่านที่บรรลุปฎิสัมภิทาญาน ก็จะแบ่งระดับเป็น ๑๖ ระดับตามคุณลักษณะบารมีธรรมที่สั่งสมตามสามารถ สามารถเข้าถึงบทธรรมคือตรัสรู้ธรรมตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โดยตรง หลากหลายบทธรรม ซึ่งจะมีสังคีตอันเป็นทิพย์ประกอบบทธรรมนั้นๆเป็นทำนองทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรมอยู่ด้วยเสมอๆ ผู้บรรลุธรรมระดับปฎิสัมภิทาจึงสามารถกล่าวกถาได้อย่างไพเราะ งดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และในบั้นปลายจนถึงที่สุด

    แต่ท่านที่บรรลุปฎิสัมภิทาญาน ทุกๆท่านจะต้องมีหน้าที่หรือกิจที่กำหนดรู้ของพระอริยะโดยคุณสมบัติเป็นที่ตังหากอีก คือการทะนุบำรุงและปกป้องรักษาพระไตรปิฏก และทำการสังคายนาพระไตรปิฏก

    เราเชื่อว่าหากมีผู้ใดที่ได้เสวยรสอันเป็นทิพย์ของวิมุตติอย่างเรา จะเข้าใจอรรถที่เราแสดงไว้นี้

    ว่ามีความเหนือกว่าโลกียสุขอันมีโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ทั้งมวล (รูป เสียง กลิ่น รส)

    เพราะว่าความสุขอันเหนือโลกียสุขนี้ เหนือรูป เหนือรส เหนือเสียง เหนือกลิ่น ทั้งมวล

    เมื่อได้ท่องเที่ยวไปทั่ว ประเมินการรับรู้ที่สั่งสมมาแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่เหนือจินตนาการของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาถ้วนทั่วไป จะใช้สติสัมปัชชัญญะมารับรู้ได้ ถ้าไม่อาศัยฤทธานุภาพของพระธรรมเป็นที่ตั้ง ขันธ์๕ อินทรียธาตุที่มาประชุมกันเหล่านี้หรือจะสามารถรองรับได้

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขของการกินอยู่พักผ่อนหลับนอนหลับไหลนิมิตฝันจะมีสติก็ดีไม่มีสติก็ดีทั้งปวงใน๓ภพ(สติในที่นี้เป็นสติที่ระลึกอื่นเช่นเจตสิกการรับรู้ร้อนหนาวหรือความคิดง่วงหลับสบายฯ วิตกวิจารณ์ฯแต่ไม่ใช่

    "สติในธรรมหรือ สติวินโย"(๐)เป็นสติที่ระลึกรู้ตัวในสภาวะที่เสวยทิพย์อันเกิดสุขจากการพิจารณาในหัวข้อธรรมต่างในยามหลับ โดยที่เสวยวิมุติรส พิจารณาบทธรรมอันละเอียดอ่อนนั้นไปด้วย(๐)

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขที่ได้จากรสสัมผัสที่เพลิดเพลินในกามคุณอันมี สตรีมนุษย์,นางสวรรค์,ธิดามารใน๓ภพเป็นต้น

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขที่ได้จากการครอบครองทรัพย์ภายนอกทั้ง๓ภพเป็นต้นอันได้แก่เงินทองแก้วมณีศาสตราของมีค่าทั้งมวลฯ

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขในการรับรู้รับฟังคลื่นเสียง การขับร้องลำนำใดๆแม้จะเอาส่วนที่ดีที่สุดของเครื่องกำเนิดเสียงที่ไฟเราะที่สุดใน๓ภพเป็นต้นมารวมกันเป็น๑เสียงเดียวก็มิอาจเทียบเท่าได้แม้สักเศษส่วนเดียว

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขจากการดื่มกินลิ้มรสธาตุอาหารที่ว่าเป็นเลิศแล้วทั้งมวลที่มีอยู่ใน๓ภพเป็นต้น

    เหนือกว่าทุกข์ในรูปแห่งความสุขของสุราเครื่องดองของเมาอันมีโทษทุกชนิดที่เสพแล้วต้องติดด้วยรสแห่งการครอบงำประสาททั้งมวล จนถึงขนาดไม่ได้เสพต่อในทันทีทันใดต้องหมดสิ้นลมหายใจตายจบภพชาติไป ก็มิอาจเทียบได้แม้สักเพียงเศษเชื้อธุลีเดียวกับการเสวยทิพย์อันเป็นกระแสสุขของโลกุตระ อันเหนือโลกียสุขทั้ง๓โลกนั้นอยู่

    "อันเป็นที่สุดจะพรรณนาออกมาได้ ต้องสัมผัสเอง"

    เราเชื่อว่าหากผู้ใดได้สัมผัสเช่นเรา ในกาลตลอดชีวิตที่มีจะไม่มีการพรรณาเชิดชูถึงความสุขทางโลกียสุข๓ภพนั้นอีกอย่างแน่นอน แม้ยังจะต้องดำรงชีวิตอย่างมนุษย์ปุถุชนอยู่ก็จะมีความเบื่อหน่ายระคายใจในการเสวยทุกข์นั้นอยู่ในทุกลำดับการ เสมือนผู้เดินทางในทะเลทรายหมดน้ำร้อนลนระเหิดระเหย คอแห้งแสบพล่าตาลาย พบแหล่งน้ำน้อยที่ไม่สะอาดต้องทนฝืนดื่มกินอย่างไม่ตั้งใจด้วย อำนาจการบังคับของอินทรียธาตุทั้งปวงฯ ชีวิตจะมีคุณค่าความหมายมากขึ้นจนถึงที่สุดเมื่อเข้าใจแล้วรับรู้เข้าใจถึง

    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว

    เป็นวิมุติของโลกียะอยู่ หลับที่ไหน ไม่ได้นอน ถึงนอนก็ไม่ได้นอน ฌาน รสอย่างหนึ่ง วิมุตติ เป็นรสอีกอย่างหนึ่ง วิมุตติเกิดขึ้นเฉพาะการพิจารณาธรรม ไตร่ตรองธรรมเท่านั้น

    แค่ฌานก็สุขเหนือโลกียะสุขแล้ว ไม่กล่าวถึง วิมุตติสุขโลกียะเลย ยอดที่สุด ที่นี้ วิมุตติสุขของโลกุตระ จะขนาดไหน? สุดจะพรรณนาได้

    วิมุตติ และ วินุตติ เกิดขึ้นเฉพาะการพิจารณาธรรมจะทำให้รู้แจ้งในธรรมนั้น ยิ่งกว่าปกติสามัญธรรมดา รู้จนทราบเลยว่า แค่ภาษิตเดียวก็ไม่มีผู้ใดแสดงเช่นนั้นได้ อธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ จนเข้าถึงวิมุตติ เช่น อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ในแผ่นดินนี้ ไม่มีผู้ใดแสดงอรรถถาธิบาย ได้เทียมเท่ากับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ทรงปฎิสัมภิทาฯ ให้เข้าถึงวิมุตตินั้น ได้เลยแม้แต่เพียงผู้เดียว นั่นแหละดวงตาแห่งธรรม จะมีวิมุตติสุขปรากฎด้วย แก่ผู้สั่งสมมาดีแล้ว

    สิ่งที่เป็นอจินไตย๑ ใน๔ อย่างที่ไม่ควรคิด คือ ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน

    ปัญญา ที่ทำให้เกิดได้ฌาน 3 อย่าง

    โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เจริญทุติยฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้ว มือ ... เจริญตติยฌาน ... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุติ ... เจริญ กรุณาเจโตวิมุติ ... เจริญมุทิตาเจโตวิมุติ ... เจริญอุเบกขาเจโตวิมุติ ... พิจารณากายในกายอยู่ พึงเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก ... พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... พิจารณาจิตในจิต อยู่ ... พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพื่อความมีมาก เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ ปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิ บาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา สมาธิปธานสังขาร ... เจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวิริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ... เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... เจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ... เจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมาวาจา ... เจริญ สัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ... เจริญสัมมาสติ ...
    ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่ เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า ฯ

    [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบธรรมที่เป็นไปในส่วน แห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กาย- *คตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วน แห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

    ขออนุโมทนาฯ BUDDHA_EARTH_by_VISHNU108.gif
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอเตือนไว้เลย

    ทีนี้มาดูการบรรลุธรรมแบบคึกฤทธิ์ เขาว่าอย่างไร? นี่เหรอการบรรลุธรรม หรือ สภาวะบรรลุธรรม ยังงมเกิดดับๆในขันธ์ ๕ อยู่เลย และจะเป็นอย่างนี้ แสดงแบบนี้ แทบทุกไฟล์วีดีโอ ที่แสดงเรื่องวิมุตติ นั่นนี่โดยไม่สามารถเสวยวิมุตติสุขได้ เป็นได้แค่เพียง มิจฉาวิมุตติเพียงเท่านั้นนะ

    วิมุตติบ้าอะไร? จึงไม่มีนิรุตติญานทัสสนะ ไม่มีรสอมฤตธรรม

    วิมุตติงมจิตเกิดดับกับขันธ์๕ วิมุตติผีบ้า จนได้สัตตานัง อย่างที่ได้เห็นได้รู้กันอย่างในปัจจุบัน

    ได้ สัตตานัง มาแบบบังเอิ้น บังเอิญ เสียด้วย

    สงสารลูกศิษย์วัดนาป่าพง จนอยากออกบวช เพื่อบรรลุธรรมระดับปฎิสัภิทาญานที่สูงกว่านี้ อีก๑๕ ระดับจริงๆ จะได้ทรงอยากทรงปาฏิหาริย์ ๓ เพื่อ ใช้ฤทธิ์ทรมานทิฏฐิที่เห็นผิดแบบที่คึกฤทธิ์สั่งสอนนั้นด้วย

    คึกเอ๊ยคึก ทำกรรมอันใดไว้หนอ จึงส่งเสริมให้ ชาตินี้ ต้องบุพกรรม มาเปิดพุทธวจน แต่ต้องเกิดมาในสถานะผู้ทำลายตามบุพกรรม ต้องตกอยู่ในสภาพผู้ร้ายในสายตาเพื่อนพุทธบริษัทสหธรรมิก เสียสละตนเพื่อให้ ผู้บรรลุปฎิสัมภิทา ปรากฎตัวออกมาห้วงกึ่งพุทธกาล

    กรรมหนอกรรม
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สงสารจนจะร้องไห้ คึกมันทำกรรมมาเพื่อเสียสละเพราะบุพกรรมเก่าไหนจะลูกศิษย์ของมันอีกเพื่อทำลายพระไตรปิฏกให้
    เหล่าปฎิสัมภิทาเดือดร้อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอท้าพนัน ถ้ามีลูกศิษย์คึกมีใครสักคนที่รู้จัก ปฎิสัมภิทา เข้าจริงๆขอรับประกันว่า จะหนีออกจากสำนักหรือไม่ก็สังหารคึกฤทธิ์ทันที 48360929_326411488196598_8867350931990118400_n.jpg
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สร้างของ และ แอบอ้างลิขสิทธิ์ ขายของเขา เอาแค่ทางโลกพอ อันนี้เรียกอะไร?

    แล้วคนซื้อ ถูกหลอกให้ซื้อของปลอม หลงเชื่อ จ่ายเงินซื้อ เรียกว่าอะไร ?

    แอบอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้า แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ สวมรอยย้อมแมวออก
    มาขาย นี่เรียกว่า อะไร?

    ของที่เอาไปใช้โดยการกล่าวตู่ว่าเป็น สิ่งของตามพุทธวจนที่ทรงประทานอนุญาต แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เป็นของมงคล หรือ อัปมงคล?

    ในทางสงฆ์คงไม่ต้องวิสัชนามากนะครับ

    คึกฤทธิ์ มันปาราชิกไปนานแล้ว

    ชาวบ้านทำและสงฆ์สั่งให้ทำนี่แตกต่างกันมาก คนละเรื่อง สิ่งที่ชาวบ้านจะถวายนั่นต้องเป็นกัปปิยะอันสมควรแก่สงฆ์ ถ้าไม่ถูกตามพระวินัย สงฆ์ย่อมเตือนและปฎิเสธว่าสิ่งนี้ควรไม่ควร โยมรู้จึงเลิกผลิตและเลิกปฎิบัติ

    แต่

    ไม่ใช่หน้าที่พระที่จะทำออกขาย และถ้าพระออกปากใช้ให้ทำหรือทำเอง ผิดเต็มประตู ที่แย่ที่สุด คือการแอบอ้างพระพุทธเจ้าว่าทรงตรัสรับรองทำได้ตามพุทธวจนะ ซึ่งเคสนี้ ผิดแบบเต็มที่ เพราะแอบอ้างพระพุทธเจ้า ว่าทรงตรัสสั่งสอนส่งเสริม ให้ผลิตสิ้นค้า ทำของออกขาย เป็นเรื่องที่ดี สมควรแก่สมณะสารูป ที่อ้างว่าทรงตรัสไว้ว่าให้ สงฆ์จงทำสินค้าออกขายแลกเปลี่ยนรูปิยะหรือส่งเสริมให้คนทำเพื่อให้ได้ยังรูปปิยะ จะเอามาทำอะไรก็แล้วแต่ เงินนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ ย่อมต้องอาบัติ ในปาราชิก๔ ในข้อ ๒ ถือเอาทรัพย์ ลักทรัพย์ หลอกลวงเพื่อให้ได้มายังทรัพย์ ฯลฯ และ ๔ อวดอุตริมนุษย์ธรรม ว่านี่คือสิ่งที่ทรงตรัสไว้ ทำได้ไม่ผิดไม่บาป เป็นเรื่องถูกต้อง

    เต็มๆดิ้นไม่หลุด เอาความถูกต้อง ไม่เอาเจตนา

    แต่การกระทำของคึกฤทธิ์ แอบอ้างว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัส๑ และอนุญาตให้ทำ๑ และทำออกมา๑ มีคนหลงเชื่อ๑ ขายเขาไปได้เงินมา๑ นี่เรียก ผิดโดย อวหาร การถือเอาด้วยอาการแห่งขโมยนั้น เรียกว่า อวหาร ซึ่งมาจากศัพท์ว่า อว + หาร + (อว = ลง ในทางที่ไม่ดี + หาร = การนำไป ) เมื่อรวมกันแล้ว ก็แปลว่า การลัก การขโมย เป็นต้น ท่านจำแนกไว้ ๑๓ ลักษณะ คือ ลัก ชิงหรือวิ่งราว ลักต้อน แย่ง ลักสับ ตู่ ฉ้อหรือฉ้อโกง ยักยอก ตระบัด ปล้น หลอกลวง กดขี่หรือกรรโชก ลักซ่อน อวหารทั้ง ๑๓ ประการนี้ ถ้าภิกษุลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า สาณัตติกะ คือ การทำความผิดด้วยตนเอง แต่ถ้าสั่ง คือให้ผู้อื่นทำแทนตน เรียกว่า อาณัตติกะ ต้องอาบัติเพราะสั่งให้เขาทำ และต้องอาบัติในเวลาที่ผู้รับคำสั่งนั้นไปลักทรัพย์หรือทำอวหารได้ของมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิกขาบทนี้เป็นทั้งสาณัตติกะ และ อาณัตติกะ คือ ทำเองก็ต้อง สั่งผู้อื่นทำก็ต้องเหมือนกัน

    เงินที่ได้มาจากการขายทุกบาททุกสตางค์ กับสิ่งของที่แอบอ้างว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ซึ่งก็ไม่ได้ทรงตรัสไว้จริงๆอย่างที่อ้างมาฯ
    คึกฤทธิ์และพระสงฆ์สำนักวัดนาป่าพงจึง ต้องอาบัติปาราชิก ข้อหาโกหกหลอกลวงประชาชน แอบอ้างพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เพศบรรพชิตอีกต่อไป เป็นเพียงผู้นั่งแทรกสงฆ์เพียงเท่านั้น ไม่มีทางสำเร็จมรรคผลใดๆ มันพลาดตรงที่มันอ้างพระพุทธเจ้าทรงตรัส ปาราชิกนานแล้ว ไม่แปลกหรอกที่มันวิสัชนาธรรมมั่วซั่ว เพราะเป็นเพียงฆราวาสนั่งแทรกแต่งกายเลียนแบบสงฆ์

    หลายท่านคงทราบแล้วนะครับ คงไม่สงสัยในความเป็นจริงนี้ ไม่มีข้ออ้างแล้ว มันพลาดตรงที่มันอ้างพระพุทธเจ้าทรงตรัส

    ถ้าไปบอกชาวบ้านว่า นี่น่ะ เราจะแอบอ้างว่าเป็นของพระพุทธเจ้ามานะ เราจะทำสิ่งแอบอ้างว่าเป็นของพระองค์มาขาย พวกเราจะซื้อกันเองนะ ถือว่ารู้กันสมยอมกัน ใช้ของที่แอบกระทำการลับหลัง แอบอ้างว่าเป็นคำสอนของพระองค์มาซื้อขายกัน ถึงทำอย่างนี้ก็ตาม ก็ยังผิดอยู่ดี และผิดต่อพระพุทธเจ้าท่านด้วย ถ้าไม่เข้าใจ ผมถือว่า ผมอธิบายได้เพียงเท่านี้ เอาไว้ รอคุณเป็นเจ้าของกิจการมีสินค้า มีชื่อเสียง อย่างใด อย่างหนึ่ง แล้วมีคนแอบอ้างชื่อคุณไปทำธุรกิจแบบนี้ แบบUFUN หรือแชร์ลูกโซ่ ฯลฯ คุณจะรู้เองครับ ว่ามันผิดหรือมันถึงจะเข้าใจ จะให้อธิบายถึงขนาดนี้ ก็ยังว่าไม่ผิดอะไร? ผม BYE ล่ะกันครับท่านอัยการสูงสุด

    ขนมพุทธวจน แก้วน้ำพุทธวจน หมอน เสื้อสกรีน ผ้ากันเปื้อน น้ำหอม ร่ม หมวกแก็บ ยางมัดผม ปากกา น้ำเครื่องดื่ม พุทธวจน ฯลฯ ใช่เหรอครับ นี่หรือครับ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงในพระสูตร สูตรไหนครับ ชัดเจนนะครับ

    อุปมายิ่งขึ้นไปอีก สมมุติเราบวชเป็นพระสงฆ์ในพระศาสนา และมีความคิด จะหาทางหาทรัพย์ ไม่ว่าจะเอามาทำอะไรก็ตาม แต่เราอยากจะได้เงิน ก็เลย ตัดสินใจคิดว่า จะต้องแอบอ้างว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ อย่างจริงแท้แน่นอน เช่น กำไลข้อมือ เป็นกำไลตามพระดำรัสตรัสไว้ เราเลยให้คนไปหาช่างฝีมือทำ กำไลสลักลายสวยๆและบอกว่า นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส เป็นกำไลพุทธวจนะ และก็ได้สินค้าออกมามากมาย แล้วเราก็นำไปขาย ให้คนไปขายโดยบอกกับคนขายว่า นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส เป็นของดีเป็นของน่าใช้ ที่ฆราวาสชั้นเลิศควรมีไว้ สรุปเขาเชื่อว่านี่เป็นของพระพุทธเจ้า ด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าและเราจึงซื้อเอาไว้ และขายดีมากๆ เราจึงทำออกมาอีกหลายๆอย่างว่าเป็นของพระพุทธเจ้าตามพุทธวจน และทรงสอนให้ทำอย่างนี้ได้ไม่ผิด สรุป เราเป็นคนดี แต่พลาดอวดอุตริมนุษยธรรมว่านี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ บอกว่าทรงอนุญาต นี่หมายถึงการอวดตนในญาน วิโมกข์ ฯลฯ ทั้งๆที่ก็ไม่ได้เป็นความจริง เราไม่ต้องโทษใดๆ มันอยากซื้อเอง เรื่องของมัน สบายแฮ

    ใครล่ะครับ ที่จะโจทก์แทนพระพุทธเจ้า กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่ารู้ดีว่าท่านทำอย่างนั้นตรัสอย่างนี้แน่นอน ตนรู้ดี (อวดอุตริ๑)

    แล้วเอาของที่ไม่ใช่ของพระองค์ท่านจริงๆ แต่แอบอ้างว่าใช่แน่ เอาไปหลอกขายแลกเงินมา (ฉ้อโกง)

    เงินที่สำเร็จจากการหลอกลวง เป็นเงินประเภทใด ?

    สิ่งของที่นำไปใช้ อัปมงคลหรือมีมงคล?

    ถ้าภิกษุถือเอาด้วยอาการแห่งขโมย ทรัพย์ทุกอย่างอาจทำให้ภิกษุต้องอาบัติได้ทั้งนั้น การถือเอาด้วยอาการแห่งขโมยนั้น เรียกว่า อวหาร ซึ่งมาจากศัพท์ว่า อว + หาร + (อว = ลง ในทางที่ไม่ดี + หาร = การนำไป ) เมื่อรวมกันแล้ว ก็แปลว่า การลัก การขโมย เป็นต้น ท่านจำแนกไว้ ๑๓ ลักษณะ คือ ลัก ชิงหรือวิ่งราว ลักต้อน แย่ง ลักสับ ตู่ ฉ้อหรือฉ้อโกง ยักยอก ตระบัด ปล้น หลอกลวง กดขี่หรือกรรโชก ลักซ่อน อวหารทั้ง ๑๓ ประการนี้ ถ้าภิกษุลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า สาณัตติกะ คือ การทำความผิดด้วยตนเอง แต่ถ้าสั่ง คือให้ผู้อื่นทำแทนตน เรียกว่า อาณัตติกะ ต้องอาบัติเพราะสั่งให้เขาทำ และต้องอาบัติในเวลาที่ผู้รับคำสั่งนั้นไปลักทรัพย์หรือทำอวหารได้ของมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิกขาบทนี้เป็นทั้งสาณัตติกะ และ อาณัตติกะ คือ ทำเองก็ต้อง สั่งผู้อื่นทำก็ต้องเหมือนกัน

    พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร - คาถาสังคณิกะ - วิเคราะห์ปาราชิก เป็นต้น
    https://th.wikisource.org/…/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%… 48377407_176132880011248_392513822776098816_n.jpg
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในอดีต ระดับหัวหอกของ สำนักวัดนาป่าพง ลูกศิษย์ก้นกุฏีคึกยัง รู้จักปฎิสัมภิทาญาน แถมยังนึกหวาดกลัวเสียด้วยซ้ำ เพราะคิดว่า ไม่มีทางเด็ดขาดที่จะมีใคร สามารถบรรลุธรรม ระดับปฎิสัมภิทาญาน ในห้วงกึ่งพุทธกาลนี้

    ถือว่า ยังฉลาด ที่ รู้จักปฎิสัมภิทาญาน ทั้งๆที่คึกฤทธิ์ไม่รู้จักและไม่เอาปฎิสัมภิทาญานเสียด้วยซ้ำ

    จึงนับว่า อดีตหัวหอกคนนี้ มีปัญญาดี เพียงแต่ไปใช้ในทางที่ผิดสนับสนุนคนผิด

    มันให้เก่งกว่าพระพุทธเจ้าละนะ! เออสำนักนี้มันดีจริงๆ อยากให้ใครเป็นอะไร?ก็ได้ มิน่า พระอริยะ โสดา สกทาคา อนาคามี และอรหันต์ที่ดีที่สุดใน3โลก จึงมีปรากฎในสำนัก 555

    เริ่ม สงสัยใน ปฎิสัมภิทา แล้ว แต่ก็ยังไม่รู้จัก หึหึ! ถ้าไอ้พวกสำนักวัดนาป่าพง มีใครที่รู้จัก ปฎิสัมภิทา เข้าจริงๆสักคน รับรองเผ่นออกจากสำนักหรือไม่ก็เอาปืนผาหน้าไม้ไปยิงไอ้คึกทันทีก็ได้น๊า ใครจะไปรู้!
    48386727_176170086674194_6021109841899028480_n.jpg
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ความจริงจะปรากฏเมื่อถึงเวลา สักวันหนึ่งคนทำผิดจะต้องรับโทษ”

    ด้วยเหตุนี้ สัทธรรมปฎิรูปที่สั่งสอนด้วยปุถุชนคนหนาอย่างคึกฤทธิ์ จึงไม่มีวิมุตติญานประกอบ แม้จะกล่าวด้วยวาจา ว่า วิมุตติ วิมุตติ อยู่นั่นก็ตาม เพราะการแสวงหาลาภอื่นนอกจากอริยะมรรคอริยะผลในพระพุทธศาสนา

    โดยปฎิสัมภิทาญานในพระพุทธศาสนานี้ไม่มีคำของพระสาวก
    แม้แต่เถรคาถาก็ตาม

    มูลสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยิ่ง มีอะไรเป็นแก่น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูก
    ถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร

    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
    กล่าว

    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด ... มีอะไรเป็นที่หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชก
    เหล่านั้นอย่างนี้ว่า

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๘

    ด้วยเหตุนี้ สัทธรรมปฎิรูปที่สั่งสอนด้วยปุถุชนคนหนาอย่างคึกฤทธิ์ จึงไม่มีวิมุตติญานประกอบ แม้จะกล่าวด้วยวาจา ว่า วิมุตติ วิมุตติ อยู่นั่นก็ตาม เพราะการแสวงหาลาภอื่นนอกจากอริยะมรรคอริยะผลในพระพุทธศาสนา
    FB_IMG_1427960623622.jpg
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์และลิ่วล้อ จะเอาอะไรไปสอน บรัษัทเหล่าอื่นในโลกธาตุอื่น

    ขออีกสักเรื่องที่เน้นๆ ว่าด้วย "ปฎิสัมภิทาญาน" การที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จไปโปรดสั่งสอนเวไนยสัตว์ แม้ในโลกธาตุอื่นๆ ซึ่งบริษัทเหล่านั้นใช้ภาษาถิ่น ภาษาอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งพระองค์ก็ทรงทราบวาระจิต แม้จะเป็นอรรถภาษากิริยาวาจาลักษณะใดก็ตาม

    เรื่องนี้เกี่ยวข้องอะไร อย่างนั้นหรือ ? เราบอกแล้วว่า สิ่งที่เราได้วิสัชนาจะเกี่ยวโยงกันเป็น อิทัปปัจจยตา แสดงถึง การผูกขาด สร้างหนังสือ พุทธวจน ของสำนักวัดนาป่าพง ที่หมายให้โลกทั้งใบนี้ มีเพียงแค่หนังสืออย่างนั้น มาแทนที่พระไตรปิฎกอันบริสุทธิ์คุณ เป็นเรื่องแหกตาและเรื่องโอ้อวดอย่างโง่ๆ ของ คึกฤทธิ์ผู้ไม่รู้จัก องค์คุณของ"ปฎิสัมภิทาญาน"

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล

    {การบรรลุปฎิสัมภิทาญาน ย่อมเห็นธรรมที่ทรงตรัสรู้เห็นเรียกว่าได้ตรัสรู้ตาม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา }

    "ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้กล่าวอยู่ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไปว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้.

    เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของหอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาวบ้าง ดำบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จ ไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อมเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนักดังนี้.

    ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้างพระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มีเสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลำดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้วย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการพิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุคคลนี้ใครหนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษาสีหล ฯ หายไป เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้นเทียว.

    "แล้วสำนัก พุทธวจน วัดนาป่าพงจะเอาปัญญาอะไรไปสอนบริษัทเหล่านั้น ! หนังสือ พุทธวจน เหรอ เดี๋ยวเขาก็เอาไปเผาอีกหรอก "

    "หรือต้องไปเรียนภาษาต่างดาว ถอดรหัส ใช้เครื่องช่วยแปลภาษาต่างดาวก่อน"

    พังไหม?ล่ะงานนี้ ความใฝ่ฝันที่ลมๆแล้งๆ จะให้โลกใบนี้มีเพียงหนังสือ พุทธวจน

    * มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท*
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำนักวัดนาป่าพง

    ครั้งแรกในโลก กราบสิครับท่าน จะรออะไร?

    คาราวะตถาคึก กราบ กราบ กราบ

    ทารกในครรภ์ก็บรรลุธรรมได้

    อยากเป็นพระอนาคามี ซื้อสิครับ รออะไร? แค่เพียงฟัง ซีดีพุทธวจน ของสำนัก

    "ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือน เราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ"

    ให้อรหันต์แจกอนาคามีแถมพระโสดาบันกันสนั่นโลก ทั้งในประเทศ และเครื่อข่ายสำนักวัดนาป่าพงสาขาต่างประเทศ แจกยันคนตายตัวเหลือง เวรกรรมจริงๆ

    นาที 37เป็นต้นไป
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    48408990_176172780007258_5418221820815867904_n.jpg
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฎก ฉบับ สยามรัฐ จำนวน 45เล่ม ถ้าตัดคำแต่งใหม่ออก 70เปอร์เซนต์ จะได้พุทธวจนปิฏก 33 เล่ม คึกฤทธิ์นี่เอาสมการเลขแบบไหนมาคำนวน
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฏกมีไว้เพื่อสั่งสอนคนให้เป็นคนดีและไปสู่่หนทางที่ดี ไม่ใช่มีไว้ให้คนที่ชั่วๆทำการสั่งสอนแก่พระไตรปิฏก 170eb18307b7d15693a5289e3e077468--buddhist-philosophy-buddha-painting.jpg
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่มีคุณสมบัติ ๕ กับปัญญาพระอเสขะและปัญญาของผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน สามารถเปิดสำนักทำลายพระไตรปิฏกได้ด้วยเหรอยุคนี้
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะรักจะเอาแต่พุทธวจน แต่ไม่เอาปฎิสัมภิทาญาน ทั้งๆที่พระพุทธวจนะทั้งหลายล้วนเกิดจาก
    ปฎิสัมภิทาญาน บ้าหรือไม่บ้า?
    มิจฉาทิฏฐิ แท้ๆ
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฝ่าย{0} ปฎิสัมภิทาญาน{0} ขอเปิดกระทู้ที่ ๑๐ ในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวพันกับการปกป้องรักษาพระไตรปิฏกโดยตรง ขอผู้อ่านที่เป็นมิตรก็ดีไม่ใช่มิตรก็ดีพึงพิจารณา

    ว่าด้วย จุดจบของการแสดงทิฏฐิ ๖๒ อย่างไม่เข้าใจโดยปราศจาก ปฎิสัมภิทาญาน ของสำนักวัดนาป่าพงโดยคึกฤทธิ์

    ฝากคำถามแทงใจ ในสำนักพุทธวจน วัดนาป่าพงที่คึกฤทธิ์สอน นั้นมีการกล่าวสอนถึงเรื่อง พรหมชาลสูตร หรือไม่ และถ้ามี คึกฤทธิ์และเหล่าสาวก รู้จักการประกาศ พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของพระพุทธศาสนาหรือเปล่า ว่า ทิฏฐิ ๖๒ ที่สมบูรณ์นีได้ มาจากอะไร

    ถ้าตอบว่าไม่มีไม่รู้ หรือตอบไปเป็นอย่างอื่น ที่นอกเหนือจากปฎิสัมภิทาญาน ก็แสดงว่าไม่ทราบสภาวะธรรมคือไม่มีสภาวะธรรมที่รู้จริงในทิฏฐิ ๖๒ อยู่เลย

    ก็คุณวิเศษของปฎิสัมภิทาญานนั้นครอบคลุมทั้ง ทุกศาสตร์ทุกภาษาไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เทพมารพรหก็ตาม สามารถเรียนรู้และเข้าใจคติที่ไปของทุกๆคำสอนของลัทธิศาสนาอื่นทุกๆคัมภีร์

    ถ้าไม่มีปฎิสัมภิทาญาน ก็ไม่มีทาง ปรากฎทิฏฐิ ๖๒ ได้

    เพราะธรรมทั้งมวลล้วนมากจากปฎิสัมภิทาญาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักพูด๔ จำพวกนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ฯ

    คือ ไม่แพ้คำสั่งสอนคำเจรจาโต้วาทีปะทะคารมกับใครทั้งอรรถและพยัญชนะ เพราะสามารถสาวไปถึงต้นตอของฝ่ายตรงกันข้าม เข้าใจและรู้จักเหตุผลทั้งหมด

    นี่ล่ะ ปฎิสัมภิทาญาน ที่คึกฤทธิ์และเหล่าบรรดาสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพงไม่มีทางได้รู้จักและเข้าถึง

    น่าสงสารนะ ถ้ายังเป็นพวกโอ้อวดอย่างนี้อยู่ ไม่มีทางได้บรรลุธรรมอย่างแท้จริงหรอก ได้แต่หลอกลวงเขากินไปวันๆ

    เอวํ วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระอานนทเถระได้ประมวลพระสูตรทั้งหมดตั้งแต่ต้นมา แล้วคิดว่า เราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงขนานนามพระสูตรที่ตรัส อย่ากระนั้นเลย เราจักกราบทูลให้ทรงขนานนามพระสูตรที่ตรัสนั้น ดังนี้แล้วจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
    ในบทว่า ตสฺมาติห ตฺวํ ดังนี้เป็นต้น มีคำประกอบความดังต่อไปนี้
    ดูก่อนอานนท์ เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราจักได้จำแนกทั้งประโยชน์ในโลกนี้ ทั้งประโยชน์ในโลกหน้า ฉะนั้นแล เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละ บ้าง.
    อนึ่ง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้กล่าวธรรมอันเป็นแบบแผนเป็นอันมาก ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายอันเป็นแบบแผนนี้ว่า ธรรมชาละ บ้าง.
    อนึ่ง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้จำแนกพระสัพพัญญุตญาณ อันชื่อว่าพรหม ด้วยอรรถว่า ประเสริฐสุด ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พรหมชาละ บ้าง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้จำแนกทิฏฐิ ๖๒ ฉะนั้น เธอทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า ทิฏฐิชาละ บ้าง.
    อนึ่ง เพราะใครๆ ฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว อาจจะย่ำยีเทวบุตรมารบ้าง ขันธมารบ้าง มัจจุมารบ้าง กิเลสมารบ้าง ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม บ้าง ดังนี้แล.
    บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ จำเดิมแต่จบคำนิทานจนถึงที่ตรัสว่า เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมดังนี้ ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณอันลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งมีที่ตั้งอาศัยอันใครๆ ไม่พึงได้ด้วยปัญญาของชนเหล่าอื่น ทรงกำจัดมืดมนใหญ่คือทิฏฐิ ดุจพระอาทิตย์กำจัดความมืดฉะนั้น.

    ก็แผ่นดินใหญ่นี้ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ
    ๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์
    ๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน
    ๓. คราวรับผ้าบังสุกุล
    ๔. คราวซักผ้าบังสุกุล
    ๕. คราวแสดงกาลามสูตร
    ๖. คราวแสดงโคตมกสูตร
    ๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก
    ๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้
    https://www.youtube.com/watch?v=pB8Jwma67qk

    831.jpg
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฝ่าย{0} ปฎิสัมภิทาญาน{0} ขอเปิดกระทู้ที่ ๘ ในฐานะที่เป็นผู้เกี่ยวพันกับการปกป้องรักษาพระไตรปิฏกโดยตรง ขอผู้อ่านที่เป็นมิตรก็ดีไม่ใช่มิตรก็ดีพึงพิจารณา

    ว่าด้วย การไร้คุณสมบัติในการเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนธรรมของคึกฤทธิ์แห่งสำนักพุทธวจน ตามพระดำรัสตรัสสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ดูสติปัญญาของโมฆะบุรุษ อามิสทายาทผู้นี้ ปฎิสัมภิทาก็ไม่เอา ธรรมจักษุ ทิพยจักษุ ญานจักษุ ทั้งหลายฯในจักษุ ๕ ก็ไม่รู้จัก ดวงตาเห็นธรรมก็ไม่รู้จัก วิมุตติญาน นิรุตติก็ไม่รู้จัก เพ่งวิมุตติโดยวสี๕ ก็ไม่รู้จักไม่เป็นอะไรทั้งนั้น ทั้งเนื้อทั้งตัวจึงมีแต่มิจฉาวิมุตติ เข้าใจว่าตนบรรลุธรรม มาทำอวดเก่งเปิดสำนักสั่งสอนธรรมผู้อื่น จะเปลี่ยนพระไตรปิฏกทั้งโลก

    เถระคาถา คำพระสาวกก็ล้วนมาจากวิมุตติญานทัสสนะกถา ที่เสพซ้องแปลงเป็นนิรุตติญานทัสสนะกถาแบบที่ท่านพระนาคเสนแสดงธรรมแก่พระเจ้ามิลินท์ ละเอียดแล้วละเอียดอีกเป็นร้อยนัยพันนัย

    จะให้แต่สาวกท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง แบบมุขปาฐะ แล้วจารจารึกลงใบลานเสาหินอโศกอย่างเดียวอย่างนั้นหรือไอ้บ้า

    ดวงตาเห็นธรรม ผู้ใดเห็นก็จะต้องปรากฎวิมุตติ อย่างน้อยก็ขั้นต่ำสุดในวิมุตติ ๕ ด้วย ไม่ใช่อ่านจากตำราหนังสือใบลานไปจำมาแล้วมาบอกว่าตนเองเห็นธรรมหรือตนเองศรัทธาแล้วเชื่อแล้วในพระธรรมคืออาการวิมุตติหรืออาการเห็นธรรม เขาเรียกว่าเพ่งวิมุตติ เสพซ้องเสพปิติในธรรม ได้กินใจลึกซึ้งในธรรมนั้น หรือเห็นบทธรรมนั้นตามในอดีตชาติที่สั่งสมมา

    ลูกศิษย์เลยบ้าตามทั้งสำนัก

    สัญญาสูตร

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถพยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ

    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑

    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภนิรุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕

    ทำไมจึงสำคัญนัก ทำไมจึงต้องบรรลุ
    ปฎิสัมภิทา เลิศอย่างไร? แล้วท่านจะได้อะไร?จากผู้ไม่เป็นพระอรหันต์ และจะได้อะไร?จากผู้ไม่บรรลุปฎิสัมภิทา

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้
    ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย
    องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
    ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง
    องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม)
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
    ๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
    อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
    ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ

    อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา
    นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส ว่าด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔
    บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญและในการกระทำพระนิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอาปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อันพระอริยบุคคลนั่นแหละจะต้องได้ ขึ้นแสดงต่อจากผัสสนญาณนั้น.

    แม้ในปฎิสัมภิทา ๔ นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใครๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงยกอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่นั้นก็ยกธรรมปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัยแห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฎิสัมภิทาญาณ เพราะอรรถะและธรรมทั้ง ๒ นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น.

    อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส
    ว่าด้วยวิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ
    ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ ๓ ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.
    จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณเป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณเป็นอรรถปฏิสัมภิทา.
    แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทากถาว่า๑-ธรรมปฏิสัมภิทา.
    ส่วนญาณในนิพพานเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.

    ผู้ได้พบได้เห็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ย่อมจักเป็นผู้ได้เสวยวิมุตติธรรมตั้งแต่ระดับ วิกขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุตติ ตลอดจนขึ้นไปถึง สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ

    ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นกำลังที่ครอบคลุมได้ทั้งอภิญญา ๖ วิชชา ๓ และสุกขวิปัสสโก บุคคลอย่างน้อยต้องปฏิบัติจนถึงระดับพระอนาคามีขึ้นไป กำลังของปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ถึงจะปรากฏขึ้น
    ปฏิสัมภิทาญาณนอกจากความสามารถแบบเดียวกับอภิญญา ๖ แล้ว ยังมีความสามารถพิเศษ ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธัมมาปฏิสัมภิทา คือเป็นผู้รู้ทั้งเหตุและผล รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นตรงนี้ สาวไปแล้วมาจากเหตุอะไร รู้ว่าเหตุนี้ถ้าเราทำแล้วจะเกิดผลอะไร แล้วก็ละในเหตุที่ไม่ดี ทำแต่ในเหตุที่ดีเท่านั้น ก็จะได้แต่ผลที่ดี

    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นผู้เฉลียวฉลาด สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างไปโดยสะดวกง่ายดาย นิรุกติปฏิสัมภิทา มีความชำนาญในภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษากาย ภาษาใจทุกอย่าง ก็เลยกลายเป็นความสามารถพิเศษที่ครอบคลุมอภิญญา ๖ ไปอีกชั้นหนึ่ง พูดง่ายๆ ว่ามีมากกว่าอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ปัญญาญาณ ๗๓ อันยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ในพระพุทธศาสนา ญานปฎิสัมภิทา สามารถรอบรู้ทุกคำภีร์และทุกคติความเชื่อ ญานที่ใช้ประกาศ (พรหมชาลสูตร) ทิฏฐิ ๖๒

    ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน ก็เลยตัดปัญญาญาน ที่มีปฎิสัมภิทาญานทิ้งหมด

    โมฆะบุรุษ อามิสทายาทยุคกึ่งพุทธกาลจริงๆ

    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑

    ขอนอบน้อมแด่
    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

    มาติกา
    ว่าด้วย ปัญญาญาณ ๗๓
    ๑. ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมย-
    ญาณ,
    ๒. ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ,
    ๓. ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ,
    ๔. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ,
    ๕. ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งอดีต, อนาคต
    และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ,

    ๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม
    ส่วนปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยญาณ,
    ๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ
    แตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ,
    ๘. ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนว-
    ญาณ,
    ๙. ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณา และ
    วางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ,
    ๑๐. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภาย
    นอก เป็นโคตรภูญาณ,
    ๑๑. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และ
    สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ,
    ๑๒. ปัญญาในการระงับปโยคะ เป็นผลญาณ,
    ๑๓. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริย-
    มรรคนั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ,
    ๑๔. ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมใน
    ขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ,
    ๑๕. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตต-
    ญาณ,

    ๑๖. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนา-
    นัตตญาณ,
    ๑๗. ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ,
    ๑๘. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ,
    ๑๙. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ,
    ๒๐. ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ,
    ๒๑. ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็นตีรณัฏฐญาณ,
    ๒๒. ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ,
    ๒๓. ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ,
    ๒๔. ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ,
    ๒๕. ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา-
    ญาณ,
    ๒๖. ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทา-
    ญาณ,
    ๒๗. ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัม-
    ภิทาญาณ,
    ๒๘. ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิ-
    สัมภิทาญาณ,
    ๒๙. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐ-
    ญาณ,

    ๓๐. ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐ-
    ญาณ,
    ๓๑. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมา-
    ปัตตัฏฐญาณ,
    ๓๒. ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่ง
    สมาธิอันเป็นเหตุให้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิ-
    ญาณ,
    ๓๓. ทัสนาธีปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม
    คุณเครื่องบรรลุคือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาใน
    ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในสมาบัติอันประ-
    ณีต เป็นอรณวิหารญาณ,
    ๓๔. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้
    ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วย
    ญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธ
    สมาปัตติญาณ,
    ๓๕. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส
    และขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ,
    ๓๖. ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ
    ตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ,

    ๓๗. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนาสภาพต่าง ๆ
    และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ,
    ๓๘. ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่
    ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ,
    ๓๙. ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสัน-
    ทัสสนญาณ,
    ๔๐. ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียว
    กันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอัน
    เดียวกัน เป็นทัสสนวิสสุทธิญาณ,
    ๔๑. ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่
    เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ,
    ๔๒. ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ,
    ๔๓. ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ,
    ๔๔. ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญา-
    วิวัฏฏญาณ,
    ๔๕. ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่าง ๆ เป็นเจโต-
    วิวัฏฏญาณ,
    ๔๖. ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ,
    ๔๗. ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ,
    ๔๘. ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ,

    ๔๙. ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ,
    ๕๐. ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกายและจิตเข้า
    ด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุข
    สัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณ,
    ๕๑. ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรือ
    อย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุ
    วิสุทธิญาณ,
    ๕๒. ปัญญาในการกำหนดจริยาคือวิญญาณหลายอย่างหรือ
    อย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท
    อย่างเดียวสามารถแห่งความผ่องในแห่งอินทรีย์ทั้ง-
    หลาย เป็นเจโตปริยญาณ,
    ๕๓. ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตาม
    ปัจจัย ด้วยสามารถแห่งความแผ่ไปแห่งกรรมหลาย
    อย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ,
    ๕๔. ปัญญาในความเห็นรูปนิมิตหลายอย่างหรืออย่าง
    เดียว ด้วยสามารถแห่งแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ,
    ๕๕. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓
    ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ,
    ๕๖. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นทุกข-
    ญาณ,

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 7
    ๕๗. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรละ เป็นสมุทยญาณ,
    ๕๘. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้แจ้ง เป็น
    นิโรธญาณ,
    ๕๙. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ เป็นมรรคญาณ,
    ๖๐. ทุกขญาณ,
    ๖๑. ทุกขสมุทยญาณ,
    ๖๒. ทุกขนิโรธญาณ,
    ๖๓. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ,
    ๖๔. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ,
    ๖๕. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ,
    ๖๖. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ,
    ๖๗. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ,
    ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณ,
    ๖๙. อาสยานุสยญาณ,
    ๗๐. ยมกปาฏิหาริยญาณ,
    ๗๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ,
    ๗๒. สัพพัญญุตญาณ,
    ๗๓. อนาวรณญาณ.

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 8
    ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓. ญาณ, ในญาณ ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
    เบื้องต้น ทั่วไปแก่พระสาวก, ญาณ ๖ เบื้องปลาย ไม่ทั่วไปแก่พระ-
    สาวก และเป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล.
    จบ มาติกา

    11760091_281364058701001_6152618094636589814_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...