สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ญาณพระธรรมกายจะช่วยให้เห็นดวงธรรมที่ทำให้ เป็นมนุษย์หรือสัตว์นั้น และจิตของสัตว์นั้นเอง “ดับ” แล้วก็ “เกิด” ใหม่อีก เป็นช่วงๆ ตาม ผลบุญกุศลหรือบาปอกุศล กล่าวคือ
    ถ้าขณะใกล้ตาย คือในระหว่างที่จิตเข้าสู่มรณาสันนวิถีนั้น จิตเป็นกุศล แต่บุญบารมี ยังไม่พอที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้โดยสิ้นเชิง อายตนะของสุคติภพ ได้แก่ โลกมนุษย์ เทวโลก หรือพรหมโลก ก็จะดึงดูดกายละเอียดหรือกายทิพย์นั้นไปบังเกิดในภพหรือภูมิ ด้วยแรง กุศลกรรม ตามกำลังแห่งบุญบารมีของผู้นั้นต่อไป กิริยาที่กายใจ จิต และวิญญาณดับ เกิดๆๆ เพื่อเปลี่ยนจากภพ หรือภูมิหนึ่ง ไปสู่ภพหรือภูมิที่สูงกว่าทีละขั้นๆ ไปจนกว่าจะถึง ภูมิที่พอดีกับกำลังบุญกุศลที่ให้ผลอยู่นั้น อุปมาดั่งงูลอกคราบ หรือดั่งบุคคลถอดแบบฟอร์ม เครื่องแต่งตัวจากฟอร์มหนึ่ง ไปสู่ฟอร์มที่สวยละเอียดประณีตกว่าฉะนั้น


    [​IMG]แต่ถ้าจิตในขณะใกล้จะตาย เป็นอกุศล หรือสิ้นวาสนาบารมี อายตนะทุคคติภพ ได้แก่ อายตนะภพของเปรต, อสุรกาย, สัตว์นรก, หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็จะดึงดูดดวงธรรมและ
    กายละเอียดของผู้นั้น ให้ไปบังเกิดในภพหรือภูมินั้น ด้วยแรงอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ ตามส่วนแห่งอำนาจของผลบาปอกุศลที่กำลังให้ผลต่อไป
    ญาณหยั่งรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์นี้ เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ” ให้ฝึกฝนปฏิบัติให้ชำนาญ ในระยะเริ่มแรก จะต้องกระทำเป็นขั้นตอน ตามสายธาตุธรรมเดิมเสมอไป แม้จะติดขัดบ้าง ก็จะเป็นแต่เพียงในระยะต้นๆ หรือที่จิตยังไม่ละเอียดดีพอ ต่อไปก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง

    [​IMG]แต่มีหลักสำคัญอยู่ว่า เมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจว่าตนเก่งกล้าแล้ว พยากรณ์ ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง


    [​IMG]อนึ่ง การน้อมเข้าสู่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อดูขันธ์ของตนเองและของ ผู้อื่นในชาติภพก่อนๆ ก็ดี หรือการน้อมเข้าสู่จุตูปปาตญาณเพื่อดูจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายก็ดี หากได้ยกวิปัสสนาญาณขึ้นพิจารณาทบไปทวนมาด้วยแล้ว ย่อมมีลักษณะที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ไปในตัวเสร็จ
    กล่าวคือการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ภายในบ้าง เป็นภายนอกบ้าง, เป็นทั้งภายในและภายนอกบ้าง ดังที่กล่าวมาแล้วเนืองๆ อยู่ ก็จะเห็นชัดในสามัญญลักษณะ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างชัดแจ้ง จนเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของสังขารของสัตว์ทั้งหลาย ช่วยให้เกิดธรรมสังเวชสลดใจในการ เวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่ยังติดอยู่ในสังสารจักร และไตรวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะ) อยู่ในภพ ๓ นี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไปนรกบ้าง สวรรค์บ้าง มนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ น่าสะพรึงกลัวและน่าเบื่อหน่าย ยิ่งนัก
    ต้องทิ้งสมบัติพัสถาน บุตร ภรรยา และบิดามารดาแต่เก่าก่อน หมุนเวียนเปลี่ยนไป ตามเครื่องล่อเครื่องหลง ดุจดังว่าความฝัน เอาเป็นของเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เป็นอย่างนี้ หมดทั้งตัวเราเองและสัตว์อื่น เหมือนกันหมด ทุกรูปทุกนาม


    แล้วให้ยกวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๐ ประการ ขึ้นพิจารณา ทบไปทวนมา ทับทวีให้มากเข้า ก็จะเห็นภัยในวัฏฏสงสาร บังเกิด ธรรมสังเวชสลดจิตคิดเบื่อหน่ายในสังขารและนามรูป เมื่อปัญญารู้แจ้งสว่างชัดขึ้น ทำลายอวิชชา เป็นมูลรากฝ่ายเกิดดังนี้ ตัณหาและทิฏฐิ ก็เบาบางหมดไปตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้

    สามารถปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ยิ่งขึ้น สิ้นรัก สิ้นใคร่ สิ้นอาลัยยินดีในการครองขันธ์และทำนุบำรุงขันธ์เกินความจำเป็น
    เมื่อรู้เห็นเช่นนี้ แม้อยากจะไปเสียให้พ้นจากสังขารนี้ ก็ยังไม่อาจจะกระทำได้ เหมือนดังนกที่ติดอยู่ในกรง หรือปลาที่ติดเบ็ด จึงได้แต่วางเฉย เพิกเฉยในสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณ


    หลวงป๋า







    [​IMG]

    ที่มา https://web.facebook.com/profile.ph...u-gApwnG3pshseZB7ax5q5ujjjVN1w&__tn__=-UC,P-R
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ถาม ***เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    -----------------------------------------

    ตอบ

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข
    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ
    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด ๑๘ กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา ๑๘ กาย รวมเรียกว่ากายเถา
    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด ๑๘ กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ
    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา
    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ ๘ ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง
    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ ๘ ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้


    --------------------------------------------------------------------------------
    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ ๒๙ ๖ พ.ค. ๒๕๓๘ โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ?temp_hash=97372f01dce9b0851174b00dacd283a7.jpg
    ?temp_hash=97372f01dce9b0851174b00dacd283a7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    "เมื่อได้บำเพ็ญบารมี ให้แก่กล้ายิ่งๆขึ้นไป บารมีก็สูงขึ้น ก็ดีเรื่อยไป จะต้องไปกลัวทำไมกับความลำบาก เกิดชาติใดภพใด ก็มีแต่ความสุข อยู่ในสุคติภพ บำเพ็ญบารมีเรื่อยไป แต่ละภพละชาติ ก็มีแต่ความสุขสบาย ตามอัตภาพที่เราได้บำเพ็ญมา จะไปกลัวอะไรกับความลำบาก ที่เราลำบากเดี๋ยวนี้ ก็เพราะบำเพ็ญบารมีมาน้อย และเพราะเราไปเข้าข้างมารเสีย ไปหลงตามมารเสีย คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด พูดผิด ก็เลยมีผลให้เราได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่า กิจที่จะทำเพื่อตนเอง #ปฏิบัติธรรมนี่แหละ"

    หลวงป๋า
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    1f3f5.png ทำใจหยุด นั่ง นอน เดิน ยืน ขี้ เยี่ยวไม่รู้ ให้หยุด บังคับให้หยุด ขี้ก็ช่าง เยี่ยวก็ช่าง นั่งก็ช่าง นอนก็ช่าง เดินก็ช่าง เวลาตื่นแล้วก็ตั้งกัน เป๋งเชียวละ
    ถ้าไม่หยุดไม่ยอมกัน นี่อย่างนี้
    อย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติศาสนาจริงกันละ
    ไม่ท้อแท้ไม่ป้อแป้กันละ แข็งแกร่งทีเดียว
    วางใจให้หยุดกึกเชียว 1f33c.png

    หลวงพ่อสด จนฺทสโร


    ?temp_hash=6d77b462842f3f7c36ff38c0c4893013.jpg


    ที่มา https://web.facebook.com/profile.ph...cpNlTsavHmhskM7cLwX31RFWTL0mRpow&__tn__=-UC*F
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    อย่าหลงฤทธิ์หลงลาภสักการะอันเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง



    1fab7.png เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก บางทีก็จะมีผู้ปฏิบัติหรือเจริญสมถภาวนาได้ดีๆ แล้วหลงติดฤทธิ์ อย่าไปหลงเลย จงตั้งใจปฏิบัติเพื่อรักษาตัวเองให้ดี
    หรือหากจะสามารถได้อภิญญาและวิชชา ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ ก็จงช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยไม่หวังลาภสักการะ ไม่หวังชื่อเสียง ไม่หวังให้ใครเขาชมว่าเราเก่ง
    แต่การกำจัดกิเลสนั้นแหละคือคนเก่ง
    ถ้าเก่งอย่างอื่นแล้วกิเลสเฟื่องฟูอยู่ ไม่นับว่าเก่ง อย่างนั้นชื่อว่าหมดเก่ง เลยแพ้ภาคมารเขาตั้งแต่ยังไม่ได้ก้าวออกจากมุ้ง
    หลวงป๋า
    1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png 1f341.png
    เป็นธรรมกายแล้วอย่าเป็นธรรมโกย, ธรรมเก, ธรรมโกง” ดังนี้


    “ เมื่อพบเห็นพระพุทธเจ้าหมดแล้วจะเข้าไปถวายนมัสการท่านได้ และจะทูลถามท่านได้ติดขัดเรื่องอะไร ทูลถามท่านจะบอกหมด แต่ว่าถ้าจะ ทูลถามพระพุทธเจ้าต้องนิ่งให้สนิทนะ ถ้านิ่งไม่สนิทหละไม่ได้ยินเสียงท่าน จะเห็นแต่โอษฐ์ท่านงาบๆอยู่เท่านั้นเพราะเรานิ่งไม่ พอถ้าเรานิ่งพอหละพระสุรเสียงดังก้องอย่างฟ้าเชียวไพเราะ
    การที่จะดูอย่างนี้จะต้องดูเฉพาะตัวนะ
    และอย่าไปดูให้ใคร เมื่อได้ธรรมกายแล้วจะแก้โรคภัยไข้เจ็บได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราไม่แก้ได้ละก็ดี
    หรือเราไม่ให้ใครได้ละก็ดี เราไม่ให้เขารู้ว่าเรารู้ได้ละก็ดี ถ้าว่าให้เขารู้ละ ก็หนักเข้าก็มีคนมาหา
    เมื่อมีคนมาหาเข้าละก็ ทีหลังเราแก้ไขเขาก็จะให้ลาภสักการะ นี่มันจะกลายเป็นหมอดูไป
    1f449.png เมื่อกลายเป็นหมอดูละ หนักเข้าเขาก็ให้ลาภสักการะได้เงินได้ทอง เกิดโลภขึ้นเมื่อเกิดโลภขึ้นแล้วก็จะกลายเป็น“ ธรรมโกย” หละ!
    ทีหลังเวลาเขาจะมาหา ก็จะคิดเอาเงินเอาทองเขา
    เมื่อเกิดโลภขึ้นเช่นนั้น
    1f9d8_200d_2642.png ธรรมกายนี้เป็นของบริสุทธิ์ หนักเข้าก็มืดไปเสียไม่งั้นก็ดับสูญหายไปเสีย
    บางทีเมื่อทําสิ่งใดเมื่อสติมันเกิดเป็น“ ธรรมเกขึ้น
    เมื่อเป็นธรรมเกขึ้นแล้ว ทีนี้มันก็จะต้องเกิดเป็น“ ธรรมโกง”
    1f341.png หนักเข้าก็จะต้องหลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต
    เมื่อดับมืดเสียแล้วนี่ เป็นแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้วที่เป็นธรรมกาย ธรรมเก ธรรมโกง
    ธรรมโกงนี่นะ พระเทวทัตนะนั่งธรรมกายดีกว่าเดี๋ยวนี้มากมาย ถึงกับเหาะไปในอากาศได้
    แต่ทีนี้ไปติดลาภเข้า พอพระเจ้าอชาตศัตรูบำรุงบำเรอด้วยภัตตาหารบริบูรณ์ ก็เกิดเป็นธรรมโกงขึ้นธรรมกายเป็นของบริสุทธิ์นี่ คิดจะฆ่าพระพุทธเจ้า
    จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง ธรรมกายก็ดับไป
    1f33c.png เมื่อดับแล้วก็เกิดเป็นธรรมเกขึ้น ทีนี้พระเจ้าอชาตศัตรูไม่เล่นด้วย ก็เสื่อมจากลาภสักการะ
    เกิดเป็นธรรมโกง ไปขอวัตถุ ๕ ประการต่อพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าไม่ให้ ก็เกิดทำสังฆเภทขึ้นก็ไปอยู่ในอเวจีนรกกันเท่านั้น ...
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    สอนพระครูวินัยธรชั้ว โอภาโส


    ?temp_hash=aac5a256339e66647fee1c1ff939e42b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    นิโรธธาตุ - อมตธาตุ

    ?temp_hash=71d5360b75450424353d10ceb1c57e36.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พระอานนท์ ได้ถามเรื่องสมาธิ กับพระพุทธองค์ แล้ว เข้าไปถามในเรื่องเดียวกันกับพระสารีบุตร

    ในเรื่อง สมาธิ .... มีนัย ดังนี้


    --------------------------------------------

    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๑. นิสสายวรรค - สัญญาสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน


    สัญญาสูตร


    [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่

    พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึง
    มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์
    ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสาณัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ
    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ...

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
    อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่

    ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
    ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพานดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย
    พยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๗
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    #ตั้งจิตอธิษฐานลงไปที่ศูนย์กลางกายว่า

    ณ บัดนี้ เราจะตั้งใจเจริญภาวนาธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อความหลุดพ้นจากอาสวกิเลส ตัณหา อุปาทาน และเพื่อมรรคผลนิพพาน จะขอสละเวลาเพียงชั่วครู่นี้เพื่อปฏิบัติกิจอันมีค่าสูงที่สุดในชีวิต ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด เราก็จะไม่สนใจ หวั่นไหว หรือยินดียินร้ายใดๆ ทั้งสิ้น จะยอมเสียสละแม้แต่ชีวิต เพื่อพระธรรมอันวิเศษสุดนี้ทีเดียว
    เมื่อวางภารกิจทางกาย วาจา และใจ ได้เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานต่อไปที่ศูนย์กลางกายอีก
    #รูปแสดงที่ตั้งของดวงนิมิต จากฐานที่ 1 ถึงฐานที่ 7
    ฐานที่ 1 ปากช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา
    ฐานที่ 2 เพลาตา หญิงซ้าย ชายขวา ตรงหัวตาพอดี
    ฐานที่ 3 กลางกั๊กศีรษะ ระดับเดียวกับเพลาตา
    ฐานที่ 4 ช่องเพดานปาก
    ฐานที่ 5 ปากช่องลำคอ
    ฐานที่ 6 ศูนย์กลางกาย ระดับสะดือ
    ฐานที่ 7 ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ
    #ฐานที่ 1: ปากช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา
    การกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใสนั้น หญิงกำหนดขึ้นที่ปากช่องจมูกซ้าย ชายกำหนดที่ปากช่องจมูกขวา แล้วบริกรรมภาวนาคือท่องในใจเพื่อประคองบริกรรมนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" 3 ครั้ง พร้อมด้วยตรึกนึกให้เห็นดวงที่ใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส นี่เป็น ฐานที่หนึ่ง
    #ฐานที่ 2: เพลาตา หญิงซ้าย ชายขวา ตรงหัวตาพอดี
    เมื่อเห็นเครื่องหมายใสสว่างชัดดีพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นไปหยุดอยู่ที่หัวตาด้านใน หญิงให้เลื่อนไปอยู่ทางหัวตาด้านซ้าย ชายด้านขวา และบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" 3 ครั้ง นี่เป็น ฐานที่สอง
    #ฐานที่ 3: กลางกั๊กศีรษะ ระดับเดียวกับเพลาตา
    แล้วค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นช้าๆ ไปหยุดอยู่ที่กึ่งกลางกั๊กศีรษะข้างใน พร้อมด้วยบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" 3 ครั้ง นี่เป็น ฐานที่สาม
    #ฐานที่ 4: ช่องเพดานปาก
    ทีนี้ จงเหลือบตาไปข้างหลัง เหมือนคนกำลังชักจะตายอย่างนั้น ในขณะที่หลับตาอยู่ ก็ช้อนตาขึ้นข้างบน โดยไม่ต้องแหงนหน้าขึ้นตาม พอตาค้างแน่นอยู่ ความเห็นจะกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้ความเห็นนั้นกลับเข้าข้างใน พร้อมๆ กับค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นลงไปตรงๆ ช้าๆ ไปหยุดอยู่ที่เพดานปาก พร้อมด้วยบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" 3 ครั้ง นี่เป็น ฐานที่สี่
    #ฐานที่ 5: ปากช่องลำคอ
    ค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายใสสว่างนั้นลงไปหยุดอยู่ที่ปากช่องลำคอ เหนือลูกกระเดือก ตั้งเครื่องหมายไว้นิ่งอยู่ที่ปากช่องลำคอนั่นแหละ พร้อมด้วยบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" 3 ครั้ง นี่เป็น ฐานที่ห้า
    #ฐานที่ 6: ศูนย์กลางกาย ระดับสะดือ
    ค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นลงไปตรงๆ ช้าๆ ตามเส้นทางลมหายใจเข้าออก เหมือนกับเรากลืนดวงแก้วลงไปในท้องยั้งงั้นแหละ ลงไปหยุดนิ่งอยู่ตรงสุดลมหายใจเข้าออก ตรงระดับสะดือพอดี แล้วบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" 3 ครั้ง นี่เป็น ฐานที่หก
    #ฐานที่ 7: ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ
    แล้วจึงค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นขยับสูงขึ้นมาตรงๆ มาหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือ นี่เป็น ฐานที่เจ็ด
    นี่เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คนเราเวลาจะเกิด จะดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์นี้ เพราะฉะนั้น ศูนย์นี้จึงสำคัญนัก จะเข้ามรรคผลนิพพาน ก็ต้องเข้าที่ศูนย์นี้
    เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ก็จงทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางนี้ทีเดียว ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน ไม่ไปทั้งนั้น เข้ากลางของกลางๆ ๆ นิ่งแน่นหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้น เท่าฟองไข่แดงของไก่ อย่างเล็กเท่าดวงดาวในอากาศ อย่างโตเห็นเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เลยทีเดียว ดวงธรรมที่เห็นนี้เป็นหนทางเบื้องต้นไปสู่มรรค ผล นิพพาน จึงเรียกว่า ดวงปฐมมรรค และเป็นที่ตั้งของ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกายพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จึงเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เมื่อเห็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้นอย่างนี้ละก็ เลิกบริกรรมภาวนาได้ ทีนี้ รวมใจให้หยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางดวงนี้แหละ จะเห็นที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ที่กลางดวงนั้น ให้วางใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางนั้น พอถูกส่วนเข้า ดวงใสเดิมนั้นก็จะว่างหายไป แล้วก็จะเกิดดวงใหม่ขึ้นมาอีก ใสละเอียดหนักยิ่งกว่าเก่า คือ ดวงศีล อันเป็นปัจจุบันศีลในทางปฏิบัติ ของผู้มีกาย วาจา และใจ บริสุทธิ์ ด้วยการกล่าวแต่วาจาที่ชอบ การประกอบกรรมที่ชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ
    หยุดในหยุดลงไปที่กลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงศีลจะว่างหายไป แล้วจะเห็น ดวงสมาธิ ผุดลอยขึ้นมาแทนที่ เป็นสมาธิของผู้มีจิตอันพร้อมด้วยความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจมั่นชอบ อันเป็นจิตที่ควรแก่งานวิปัสสนาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรม
    รวมใจหยุดในหยุดลงไปที่กลางดวงสมาธิ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงสมาธิจะว่างหายไป แล้วปรากฏดวงใสสว่างเกิดขึ้นมาใหม่ ใสละเอียดกว่าเดิม มีรัศมีสว่างยิ่งนัก คือ ดวงปัญญา เป็นปัญญาที่พร้อมด้วยความเห็นชอบ และดำริชอบ
    หยุดในหยุดอยู่ที่กลางดวงปัญญาต่อไปอีก เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงปัญญาจะว่างหายไป แล้วปรากฏดวงใสสว่างเกิดขึ้นมาใหม่ คือ ดวงวิมุตติ ใสละเอียดกว่าเดิม มีรัศมีสว่างยิ่งนัก เป็นปัจจุบันธรรมของจิตที่สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสของมนุษย์ ได้แก่ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นั่นเอง การหลุดพ้นดังกล่าวนี้ เป็นเบื้องต้น คือเป็นการหลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การหลุดพ้นอย่างถาวร ที่เรียกว่า สมุจเฉทวิมุตติ ต่อไป
    หยุดในหยุดลงไปที่กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็จะถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    เมื่อรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็จะถึง กายมนุษย์ละเอียดหรือ กายฝัน มีลักษณะหน้าตาเหมือนกับผู้ปฏิบัติทุกประการ แต่สวยละเอียดประณีตกว่าการมนุษย์หยาบ นั่งในท่าขัดสมาธิ หันหน้าไปทางเดียวกับเรา
    ถ้าเห็นแล้วอย่างลังเลสงสัย สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายใหม่นั้นเลย ทิ้งความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบนี้ สวมความรู้สึกเข้าเป็นไปกายมนุษย์ละเอียด ใสละเอียด อยู่นั่นแหละ หยุดในหยุดกลางของหยุด ให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายทั้งองค์ฌาน ทำอย่างนี้เรื่อยไปทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียดถึงธรรมกาย โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกาย ไม่ถอยคืนออกมา (คือไม่ถอนออกจากสมาธิ)
    บางท่านอาจจะเห็นข้ามขั้นตอน ไปเห็นธรรมกายเลยก็มี กายพระพุทธรูปขาวใส บริสุทธิ์ เกตุดอกบัวตูม ปรากฏขึ้นมา ณ ศูนย์กลางกายนั้นเอง
    ให้รวมใจหยุดลงไป ณ ศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดนั้นต่อไปอีก ก็จะเห็นดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ตามลำดับ แล้วก็จะถึง กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด ตามลำดับ ใตใหญ่ใสสว่างกว่าเดิม แพรวพราวสวยงาม ก็ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายทิพย์นั้นต่อไป
    โดยวิธีเจริญภาวนาให้ใจหยุดในหยุด ผ่านดวงธรรม ดวงศีล ฯลฯ ของทิพย์ละเอียด หลุดพ้นจากกิเลสกลางของทิพย์ ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ แล้วก็จะถึง กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ตามลำดับ ก็จะเห็นกายและดวงธรรมของรูปพรหม ใสสะอาด บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าของกายทิพย์ แต่รูปพรหมยังมีกิเลสที่ค่อนไปทางละเอียดอยู่อีก คือ ราคะ โทสะ และโมหะ
    ให้ใจของรูปพรหมหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกาย ผ่านดวงธรรม ดวงศีล ฯลฯ ก็จะหลุดพ้นจากกิเลสเหล่านี้ แล้วก็จะถึง กายอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ซึ่งใสละเอียด มีรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปอีก แต่รูปพรหมยังมีกิเลสที่ละเอียดอยู่ คือ ปฏิฆะ กามราคะ และอวิชชา
    เมื่อรวมใจหยุดนิ่งลงไป ณ ศูนย์กลางกายอรูปพรหม เจริญภาวนาผ่านดวงธรรมต่างๆ อีก ก็จะหลุดพ้นจากกิเลสของกายโลกิยะทั้งหมด ก็จะเข้าถึง กายธรรม คือ ธรรมกาย เริ่มตั้งแต่ ธรรมกายโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด ซึ่งธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ จึงต้องเจริญภาวนาต่อไปตามแนวเดิมนี้อีก ก็จะถึง
    ธรรมกายพระโสดาหยาบ-พระโสดาละเอียดธรรมกายพระสกิทาคาหยาบ-พระสกิทาคาละเอียดธรรมกายพระอนาคาหยาบ-พระอนาคาละเอียดธรรมกายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียด
    ซึ่งช่วยให้หลุดพ้นจากสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกเป็นชั้นๆ ไป จากหยาบไปหาละเอียด
    เมื่อถึงกายพระอรหัตละเอียดแล้ว เจริญภาวนาต่อไปก็จะสามารถวิมุตติหลุดพ้นจากอาสวะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นการถาวร เป็นสมุจเฉทปหานได้.
    2. วิธีพิสดารกาย สุดกายหยาบกายละเอียด
    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึง 18 กายแล้ว ให้ฝึกพิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียดอีกต่อไป ให้เป็นวสี คือ ให้คล่องแคล่ว ชำนาญ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญวิชชาชั้นสูง และทำนิโรธดับสมุทัย (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) วิธีปฏิบัติคือ
    เบื้องต้น ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่สุดละเอียด คือ ให้ศูนย์กลางดวงธรรม และ เห็น-จำ-คิด-รู้ (คือใจ) ของแต่ละกาย จากกายสุดหยาบ (คือกายมนุษย์) ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด (คือ ธรรมกายอรหัตละเอียด) ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางซึ่งกันและกัน จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด แล้วเราทำใจของเราเป็นธรรมกายอรหัตที่สุดละเอียด คือดับหยาบไปหาละเอียดอยู่เสมอแล้ว
    ใจของธรรมกายหยุดนิ่ง (เพ่ง) ลงที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบจนใสละเอียด จนหยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางจะขยายว่างออกไป แล้วจะปรากฏกายมนุษย์ละเอียดขึ้นมาใหม่ ก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นอีกต่อไป หยุดนิ่งถูกส่วน ก็จะปรากฏกายมนุษย์ละเอียดในกายมนุษย์ละเอียด ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด หยุดนิ่ง กลางของกลางๆๆ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ที่สุดละเอียดนั้นต่อไป ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางดวงธรรมจะขยายว่างออกไป แล้วจะปรากฏกายทิพย์ขึ้นมาใหม่ โตใหญ่ ใสละเอียด เป็น 2 เท่าของกายมนุษย์
    ก็ให้หยุดนิ่ง (เพ่ง) ลงที่ศูนย์กลางกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ต่อไปให้ใสแจ่ม ก็จะปรากฏกายทิพย์ในกายทิพย์ต่อๆ ไป จนสุดละเอียด ... แล้วก็จะปรากฏกายรูปพรหมในกายรูปพรหมต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ก็ให้ปฏิบัติไปแบบเดียวกัน ถึง กายอรูปพรหม ในกายอรูปพรหม จนสุดละเอียด ธรรมกายโคตรภู ใน ธรรมกายโคตรภู จนสุดละเอียด ธรรมกายพระโสดาบัน ในธรรมกายพระโสดาบัน จนสุดละเอียด ธรรมกายพระสกิทาคามี ในธรรมกายพระสกิทาคามี จนสุดละเอียด ธรรมกายพระอนาคามี ใน ธรรมกายพระอนาคามี จนสุดละเอียด ธรรมกายพระอรหัต ในธรรมกายพระอรหัต จนสุดละเอียด ให้ใสละเอียด ทั้งดวงทั้งกาย และทั้งองค์ฌาน (ปรากฏเหมือนอาสนะรองรับกายละเอียด สัณฐานกลมใสรอบตัว หนาประมาณ 1 ฝ่ามือของแต่ละกายละเอียด จะมีประจำทุกกาย ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดไปจนสุดกายละเอียด)
    นี้เรียกว่า การพิสดารกาย สุดกายหยาบ-กายละเอียด


    พระราชพรหมเถร
    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม






    ที่มา https://www.youtube.com/@wt6843
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549


    เจริญภาวนาเบื้องต้น-เบื้องกลาง (เดินฐาน 7 ฐาน เดินดวง เดินกายในกายถึงธรรมกาย)

    ที่มา https://www.youtube.com/@kaykaews4352
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    #อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน?


    1fab7.png ตัณหานั่นเอง
    ได้แก่ กามตัณหา ความ ทะยานอยากเกี่ยวด้วยอารมณ์ 5 มีรูปเป็นต้น ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไป ในอารมณ์ 5 ประกอบด้วย
    สัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยงถาวร วิภวตัณหา ความทะยาน อยากเป็นไปในอารมณ์ 5 ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ
    เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี
    ดังจะยกอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็น
    ดังเช่นสามีภรรยาที่หย่าขาดจากกัน
    เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า
    ภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย
    หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้ว
    มิไยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่มีทุกข์ไม่มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร
    ก็เพราะเขาต่างหมดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจาก อุปาทานอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำ ว่า ปญฺจุปาทานกุขนฺธา ทุกขา รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อย ได้ หมดทุกข์
    ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะมีใครเป็นทุกข์ และ ในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานให้หมดทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คง แต่ธรรมกายเด่นอยู่
    1f341.png เหตุใดพระองค์จึงเน้นสอนหนักไปในทาง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใคร่ครวญ โดยสุขุมแล้ว จะมองเห็นว่า พระองค์สอนดังนั้นเพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิดใช้วิจารณ ปัญญา สอดส่องเห็นได้เอง เช่น พระองค์ตรัสถึง อนิจจัง ก็เพื่อให้ค้นคิดหา นิจจัง ตรัสถึง ทุกขัง ก็เพื่อให้ค้นคิดหา สุขัง
    ตรัสถึง อนัตตา ก็เพื่อให้คิดหา อัตตา
    คนที่มี ปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่นมีคน ๒ คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า คน ๒ คนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อ คนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคน ๒ คนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่า
    คนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก
    นี่ ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตาบอกอัตตา ฉันนั้น อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ก็คือธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา
    1f449.png ติด หลุด เป็นหัวข้อสำหรับผู้ปฏิบัติ ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เรียกว่าติด
    ปล่อยได้ เรียกว่าหลุด
    ติด คือติดอยู่ในโลก หลุดคือพ้นจากโลก
    เรียกว่า โลกุตระ เข้าแดน พระนิพพาน ต้องปล่อยอุปาทานทั้งในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูป พรหม ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแห่งเบญจขันธ์ดังกล่าวมานั้นด้วยตาธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา อันจะเป็นทางให้หลุดได้
    หลวงพ่อสด จนฺทสโร


    ?temp_hash=7cf6d16f697137b23f3d18f3fc17a7c4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]



    #เมื่อทำวิชชาได้ละเอียดเข้าไป
    จนถึง “ปราสาททำวิชชาของหลวงพ่อ” ก็จะพบธาตุธรรมของ หลวงพ่อ และ “กลางธาตุ” ทั้งหลายของหลวงพ่อ กำลังทำวิชชาสะสางธาตุธรรม และพระนิพพาน เพื่อช่วยสัตว์โลกทั้งหลายอยู่มิได้หยุดเลย
    และเมื่อทำวิชชาละเอียดเข้าไป ก็จะทราบว่า หลวงพ่อ(สด) คือ “ต้นธาตุต้นธรรมภาคพระ” ซึ่งได้ถอยพืดกำเนิดธาตุธรรมเดิมมาสร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลก ช่วยรื้อสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังหลงติดอยู่ในไตรวัฏฏ์ให้เข้านิพพานเป็นอีกต่อไปนั้นเอง
    ส่วนผู้ที่ช่วยเหลือทำวิชชาอยู่กับหลวงพ่อ ซึ่งจะเห็นอยู่โดยรอบ ๆ หลวงพ่อนั้น ชื่อว่า “กลางธาตุ” ของท่าน
    บางรายก็ยังเป็น “กลางธาตุกายมนุษย์” (คือยังมีชีวิตเป็นมนุษย์) สร้างบารมี และทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่างพระศาสนาอยู่ บางท่านก็ล่วงลับไปแล้ว และว่าโดยที่จริงแล้ว
    ผู้มีบารมีระดับกลางธาตุนั้นมีมาก แต่ปฏิบัติพระศาสนาไม่ตรงตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า
    ก็เพราะว่า ภาคมารเขาพยายามปัดบังวิชชานี้
    และภาคมารจะปัดเข้านิพพานถอดกาย (ถ้าเขาต้านทานบารมีไม่อยู่) เพื่อให้สิ้นฤทธิ์ ที่จะช่วยเหลือสัตว์โลก
    บรรดากลางธาตุทั้งหลายเหล่านั้น จึงไม่ปรากฏอยู่ในผังปราสาทที่ทำวิชชาของหลวงพ่อ
    อนึ่ง “กลางธาตุกายมนุษย์” บรรดาที่สร้างบารมี และทำหน้าที่อยู่ในปัจจุบันนี้ หากปฏิบัติตรง และเจริญวิชชาชั้นสูงนี้ ก็จะพบอยู่ในปราสาทที่ทำวิชชาของหลวงพ่อ ตามฐานะของอำนาจ สิทธิ และสิทธิเฉียบขาด ในการปกครองธาตุธรรมของแต่ละท่าน
    แต่ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่ตรง หลงกลทำประโยชน์ หรือเป็นฐานให้แก่ภาคมาร (เป็น “ฐานทัพ”ให้ฝ่ายมาร)
    “ต้นธาตุต้นธรรม” ก็จะเก็บวิชชา อำนาจสิทธิของผู้นั้นเสีย แล้วอำนาจสิทธินั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็นของ “ผู้ที่ปฏิบัติตรง” และสร้างบารมีสูงขึ้นมาแทนที่ใหม่ต่อไป.

    #หลักสำคัญอยู่ว่าเมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจ
    ว่าตนเก่งกล้าแล้วพยากรณ์ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง

    เพราะจริง ๆ แล้ว ปฏิบัติเพื่อละวางอุปาทานนะ
    คำว่า“ หยุด” นี่ เขาให้ปฏิบัติเพื่อให้หยุดทำชั่ว
    ให้หยุดปรุงแต่ง ไม่ต้องติดอะไร
    เพื่อละวาง ละวางกิเลสในใจเรา ปล่อยความยึดติดอย่าให้มี

    เอา ๑๘ กายนี้ให้มันตลอดปลอดภัย ให้ถึงธรรมกาย แล้วก็ให้เป็นธรรมกายดับหยาบไปหาละเอียดให้บริสุทธิ์ใสสว่างอยู่เสมอ รับรองไม่มีโทษ

    เปิดดูไฟล์ 6084645 ดังเช่นที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ได้เคยกล่าวว่า.....

    “ ต่อแต่นี้ไป เราจะต้องเข้าให้ถึงที่สุด
    เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้ เป็นกาย ๆ ออกไป
    เมื่อเป็นกาย ๆ เข้าไปแล้ว ถ้าทำเป็นแล้ว ไม่ใช่เดินท่านี้
    เดินในไส้ทั้งนั้น ในไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้
    ในกำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด
    (เถา – ชุด – ชั้น – ตอน – ภาค – พืด .....ฯลฯ)

    เดินในไส้ (หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด)
    ไม่ใช่เดินทางอื่น เดินในกลางดวงปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา
    เดินไปในกลางดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    นั่นเป็นทางเดินของ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์

    เดินไปในไส้ ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น
    ในกลางว่างของดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ของดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ว่างในว่างเข้าไป เหตุว่างในเหตุว่าง เหตุเปล่าในเหตุเปล่า
    เหตุดับในเหตุดับ เหตุลับในเหตุลับ เหตุหายในเหตุหาย
    เหตุสูญในเหตุสูญ เหตุสิ้นเชื้อในเหตุสิ้นเชื้อ
    เหตุไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ ...ฯลฯ

    หนักเข้าไปไม่ถอยหลังกลับ
    นับอสงไขยไม่ถ้วน นับชาติอายุไม่ถ้วน
    ไม่มีถอยกลับกัน เดินเข้าไปอย่างนี้นะ

    พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหล
    ที่เรากราบ ที่เราไหว้ เรานับถือนะ ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้
    นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ ๆ นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ ๆ
    ถ้าเป็นผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้...”

    การเดินตามรอยบาทของ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์
    เราจะต้องทำวิชชา...เข้าไปถึงขนาดนั้น
    ก็เพราะเหตุผลที่หลวงพ่อว่า ...

    “ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านก็ไปถึงที่สุดเหมือนกัน
    ถ้าใครยังไปไม่ถึงที่สุด ก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่
    ต่อเมื่อเข้าไปถึงที่สุดกายของตัวต่อไปแล้วละก็ ฉลาดเต็มที่แน่

    ต้องไปให้ถึงที่สุดให้ได้
    เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละก็
    รักษาตัวได้เป็นอิสระ ไม่มีใครมาบังคับบัญชา

    ที่บังคับเรา ให้เกิด ให้แก่ ให้เจ็บ และให้ตายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ
    พวกมาร บังคับให้เป็นไปตามนั้น
    ส่วนพวกพระ บังคับไม่ให้เกิด ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ และไม่ให้ตาย
    นี่พวกพระ พวกมาร บังคับกันอย่างนี้

    เวลานี้พวกพระ บังคับไม่ให้รบกัน
    แต่พวกมาร บังคับให้รบกันหนักขึ้น ”
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,974
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]เพียรเถิดจะเกิดผลแม้ยังไม่เห็นอะไรก็อย่าท้อแท้ใจ
    [​IMG]การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธ
    สมถกัมมัฏฐาน และมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนา มีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือ มีสติพิจารณาสภาวะธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมากนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นมาพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้
    [​IMG]แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อย หรือให้ปฏิเสธนิมิต ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจ โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐานอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้
    [​IMG]จึงใคร่จะกล่าว ถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้ ว่าเป็นกรรมฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐานโดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ คือ มีการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่ในตัวเสร็จ
    [​IMG]มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น
    [​IMG]เมื่อยกสภาวธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิศดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด
    [​IMG]และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรมกับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่าอสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
    จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจจะยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าท้อแท้ใจ ว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้ ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผลให้ถูกต้อง ตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้
    [​IMG]โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า
    [​IMG]ระวังอย่าให้เพียรหย่อนเกินไป จนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่า
    [​IMG]เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    [​IMG]อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน
    [​IMG]หรือ..พลอยหงุดหงิด เมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    [​IMG]หรือ..สะดุ้งตกใจกลัว/ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือเคลื่อนจากสมาธิ
    [​IMG]และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาสก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป
    [​IMG]พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    [​IMG]สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย
    [​IMG]ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือ ประโคมดนตรีเหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น



    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม
    อดีตรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ


    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...