ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    หุ้น"ยา"ยุโรปดิ่งแรงมาก หลังทรัมป์ขู่จะล่อกำแพงภาษี (ก่อนนี้ยกเว้นยา) ทรัมป์คนจริง ปัจจัย4ไม่มีเว้น! (รอดูหุ้นยาอเมริกาคืนนี้)

    FB_IMG_1744209085515.jpg
    https://www.facebook.com/share/p/16EXXwJP8s/
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    รัฐบาล #เวียดนาม ได้แจ้งไปยังบริษัทต่างๆ ในประเทศให้ตรวจสอบคุมเข้มแหล่งที่มาของสินค้าและวัตถุดิบ รวมถึงแก้ไขปัญหาการทุจริตฉ้อโกง ในขณะที่ฮานอยกำลังเร่งหาวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกรัฐบาลสหรัฐฯ สั่งรีดภาษีนำเข้า 46%
    .
    กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามยังแนะนำให้ผู้ผลิตแสวงหาวัตถุดิบจากหลายแหล่ง และหลีกเลี่ยงการพึ่งพาแหล่งผลิตเพียงเจ้าใดเจ้าหนึ่ง ตามเอกสารซึ่งลงนามโดย เหงียน ฮง เดียน รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามเมื่อวันพฤหัสบดี (10 เม.ย.)
    .
    การเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ของเวียดนามต้องระบุแหล่งที่มาของสินค้าให้ถูกต้องมีขึ้น หลังจากที่วอชิงตันแสดงความกังวลว่ามี “#สินค้าจีน” จำนวนมากที่ถูกส่งออกไปยังสหรัฐฯ ภายใต้ตรา “เมด อิน เวียดนาม”
    .
    “สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก และสหรัฐฯ กำลังต้องการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากหลายประเทศ รวมถึงเวียดนามด้วย” เอกสารของกระทรวงระบุ
    .
    สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลเวียดนามแถลงว่า สหรัฐฯ และเวียดนามได้บรรลุข้อตกลงเริ่มต้นเจรจาข้อตกลงการค้า หลังจากที่วอชิงตันระงับการรีดภาษีตอบโต้คู่ค้าทั่วโลกเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งก็รวมถึงเวียดนามที่โดนอัตราภาษีสูงถึง 46%
    .
    เวียดนามถือเป็นฐานการผลิตใหญ่ในภูมิภาคที่มีบริษัทจากตะวันตกเข้าไปตั้งโรงงานผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก และต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากจีนเป็นส่วนใหญ่
    .
    ในปีที่แล้ว เวียดนามมียอดการค้าเกินดุลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดมากกว่า 123,000 ล้านดอลลาร์
    .
    ที่มา: รอยเตอร์
    https://www.facebook.com/share/p/19eoTk8EkY/
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เตือนในวันอาทิตย์(13เม.ย.) จะไม่มีประเทศไหนรอดพ้นจากมาตรการรีดภาษี แม้ระงับความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการชั่วคราว 90 วัน ขณะที่รัฐบาลของเขาบ่งชี้ว่าข้อยกเว้นที่ถูกมองว่าเอื้ออำนวยกับจีน จะมีอายุไม่ยืนยาวนัก
    ตลาดหุ้นโลกหกคะเมนตีลังกามาตั้งแต่ ทรัมป์ ประกาศรีดภาษีเมื่อวันที่ 2 เมษายน โดยเบื้องต้นดิ่งลงหนัก ก่อนฟื้นตัวบางส่วนจากกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระงับอัตราสูงสุดเป็นเวลา 90 วัน ในสัปดาห์ที่แล้ว
    เวลานี้ประเทศต่างๆเกือบทั้งหมดต้องเชผิญกับเพดานภาษีพื้นฐาน 10% สำหรับช่วงเวลาดังกล่าว ยกเว้น จีน ที่ยกระดับตอบโต้ทางภาษีแบบต่อต่อตาฟันต่อฟัน
    การตอบโต้กันไปมา พบเห็นสหรัฐฯรีดภาษีสินค้านำจากจีนเพิ่มเป็น 145% ส่วนปักกิ่งกำหนดเพดานภาษี 125% กับสินค้านำเข้าจากอเมริกา
    รัฐบาลทรัมป์ บอกว่าพวกเขามีความตั้งใจเจรจาข้อตกลงการค้ากับนานาประเทศ ในนั้นรวมถึงจีน แต่ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าประธานาธิบดีรายนี้มีเงื่อนไขใดบ้างสำหรับตอบรับข้อตกลง
    ทรัมป์ พูดมาช้านานว่าตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯเป็นผลลัพธ์จากแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่ไม่ยุติธรรม ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตามมาตรการรีดภาษีที่เขาเล่นงานชาติต่างๆนั้น รวมไปถึงบรรดาประเทศที่อเมริกาเกินดุลการค้าด้วย
    "ไม่มีใครหลุดรอดไปได้ จากสมดุลการค้าที่ไม่ยุติธรรม และมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ที่ประเทศอื่นๆใช้เล่นงานเรา ไม่เฉพาะกับจีน ที่ปฏิบัติกับเราอย่างเลวร้ายที่สุด" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง
    นอกเหนือจากระงับรีดภาษีประเทศอื่นๆแล้ว ทรัมป์ในวันศุกร์(11เม.ย.) แถลงยกเว้นเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม เซมิคอนดัคเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตโดยจีน ท่ามกลางเสียงเตือนว่าพวกผู้บริโภคอเมริกาอาจต้องเผชิญกับราคาสินค้าที่พุ่งขึ้น ในนั้นรวมถึงสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อป
    อย่างไรก็ตามในวันอาทิตย์(13เม.ย.) ทรัมป์ อ้างว่าไม่มีข้อยกเว้นรีดภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เนื่องจากสินค้าดังกล่าวอยู่ในมาตรการรีดภาษีอีกอันที่เรียกเก็บในอัตรา 20%
    กระทรวงพาณิชย์ของจีนบอกว่าความเคลื่อนไหวในวันศุกร์(11เม.ย.) เป็นเพียงก้าวย่างเล็กๆและยืนยันว่ารัฐบาลทรัมป์ควรยกเลิกยุทธศาสตร์รีดภาษีทั้งมวลโดยสิ้นเชิง
    ทำเนียบขาวเผยว่าทรัมป์ยังคงมองในแง่บวกในการได้มาซึ่งข้อตกลงกับจีน แม้พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน คาดหมายว่าปักกิ่งจะเป็นฝ่ายติดต่อมาหาก่อน
    ผลลัพธ์จากมาตรการรีดภาษีของทรัมป์ และการกลับลำนโยบายอย่างฉับพลันในเวลาต่อมา ได้ก่อคลื่นความช็อคไปทั่วเศรษฐกิจอเมริกา นักลงทุนเทขายพันธบัตรรัฐบาล ดอลลาร์ดิ่งลงหนักและความเชื่อมั่นผู้บริโภคดำดิ่ง
    บรรดามหาเศรษฐกิจในวอลล์สตรีท ในนั้นรวมถึงบรรดาผู้สนับสนุนของทรัมป์เอง ได้ถาโถมแรงกดดันเข้าใส่ประธานาธิบดีรายนี้ โดยได้วิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์อย่างเปิดเผย ว่ายุทธศาสตร์รีดภาษีของเขากำลังก่อความเสียหายและไม่สร้างสรรค์
    อย่างไรก็ตามทำเนียบขาวเน้นย้ำว่านโยบายเชิงก้าวร้าวนี้กำลังผลิดอกออกผล อ้างว่าหลายสิบประเทศได้เปิดการเจนจาการค้าแล้ว เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลง ก่อนการระงับ 90 วันจะสิ้นสุดลง
    (ที่มา:เอเอฟพี)
    https://www.facebook.com/share/p/1CXNK8HsPz/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    ชายจีนรายหนึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค “#เชื้อราลงปอด” หลังติดนิสัยชอบ #ดมกลิ่นถุงเท้า ที่สวมใส่มาตลอดทั้งวัน
    .
    พนักงานออฟฟิศวัยกลางคนจากเมืองฉงชิ่งซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อแซ่รายนี้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล Southwest Hospital of the Army Medical University หลังจากที่มีอาการไอเรื้อรัง
    .
    เขาบอกกับแพทย์ว่า ตนไอหนักขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทั้งที่รับประทานยาน้ำแก้ไอแล้ว และยังมีอาการตาแดง ซึ่งทำให้ตัดสินใจมาพบแพทย์
    .
    หลังจากตรวจด้วยเครื่อง CT และ MRI คณะแพทย์สังเกตเห็นเงาดำปริศนาภายในปอดข้างขวาของเขา และเมื่อตรวจแบบส่องกล้องเข้าไปในหลอดลม (bronchoscopy) ก็พบว่าคนไข้รายนี้ติดเชื้อราที่ปอด โดยเกิดจากเชื้อในสกุล Aspergillus
    .
    จากการสอบถามพฤติกรรมของคนไข้รายนี้ คณะแพทย์พบว่าเขาติดนิสัยชอบ “ดมถุงเท้า” ของตัวเองที่สกปรกจากการสวมใส่มาทั้งวัน
    .
    ดร. เหลียง เพ่ยเฉียง แพทย์ประจำแผนกโรคทางเดินหายใจของโรงพยาบาล Southwest Hospital ได้สอบถามชายคนนี้เกี่ยวกับสภาพบ้านว่ามีอากาศถ่ายเทดีหรือไม่อย่างไร จึงได้รู้ว่าเขาติดนิสัยชอบดมกลิ่นถุงเท้าหลังกลับจากที่ทำงานก่อนจะโยนถุงเท้าลงเครื่องซักผ้า และเมื่อแพทย์ขอนำถุงเท้ามาตรวจก็พบร่องรอยของเชื้อรา Aspergillus ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า อาการป่วยของชายคนนี้เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวที่ขาดสุขอนามัย
    .
    ถุงเท้าที่ผ่านการใส่แล้วจะมีทั้งเหงื่อ เกลือ และยูเรียสะสมอยู่ และสภาพแวดล้อมภายในรองเท้าที่ทั้งอุ่นและชื้นก็ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นการสูดดมกลิ่นถุงเท้า -- แม้จะเป็นถุงเท้าของตัวเองก็ตาม -- จึงทำให้เสี่ยงที่จะได้รับเชื้อราและแบคทีเรียอันตรายเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะติดเชื้อในปอดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
    .
    ที่มา: odditycentral

    https://www.facebook.com/share/p/15wZTAp8mr/
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    รัฐบาลสหรัฐฯของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการให้เคียฟมอบสิทธิการควบคุมท่อลำเลียงหนึ่งแก่วอชิงตัน ท่อที่ลำเลียงก๊าซธรรมชาติของรัสเซียไปยังอียู ตามรายงานของรอยเตอร์
    .
    "นี่คือหนึ่งในสิ่งที่ซ่อนไว้ภายในร่างข้อเสนอล่าสุดของข้อตกลงแร่หายากที่วอชิงตันกำลังกดดันให้ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ลงนาม" ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์(11เม.ย.)
    .
    รอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวระบุว่าเนื้อหาต่างๆในข้อตกลง ที่รวบรวมโดยวอชิงตัน ในนั้นรวมถึงข้อเรียกร้องที่ขอให้หน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ(DFC) เข้าควบคุมท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติของก๊าซพรอม บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย ที่ทอดผ่านยูเครนไปยังยุโรป
    .
    ไม่มีการป้อนก๊าซธรรมชาติผ่านท่อลำเลียงของก๊าซพรอม มาตั้งแต่ต้นปี หลังจากยูเครนปฏิเสธยืดอายุข้อตกลงส่งผ่านกับบริษัทรัสเซีย
    .
    เมื่อวันศุกร์(11เม.ย.) พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและยูเครน พบปะกันในวอชิงตัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการอนุมัติข้อตกลงที่เปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงทรัพยากรแร่ของยูเครน ในนั้นรวมถึงแร่แรร์เอิร์ธ อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวระบุว่าการเจรจากำลังดำเนินไปภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยลงรอยกันเท่าไหร่นัก
    .
    ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับยูเครน มีบ่อเกิดจากข้อเรียกร้องขั้นสูงสุดในร่างข้อตกลง ซึ่งรัฐบาลทรัมป์นำเสนอกับเคียฟเมื่อเดือนที่แล้ว จนล่าสุดพวกเจ้าหน้าที่ยูเครน ได้ตัดสินใจว่าจ้าง โฮแกน โลเวลล์ส บริษัทกฎหมายสหรัฐฯ-สหราชอาณาจักร ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาภายนอกของข้อตกลงดังกล่าว
    .
    สหรัฐฯมาพร้อมกับเงื่อนไขที่หนักหน่วงกว่าเดิม หลังจาก เซเลนสกี ปฏิเสธลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างพบปะกันที่ทำเนียบขาวเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ การเยือนดังกล่าวจบลงด้วยศึกวิวาทะระหว่างผู้นำทั้ง 2 โดยระหว่างนั้น ทรัมป์ กล่าวหาประธานาธิบีดยูเครน ไม่สำนึกบุญคุณความช่วยเหลือของวอชิงตัน ที่มอบให้ระหว่างทำศึกกับรัสเซีย และไม่ต้องการสันติภาพ
    .
    อ้างอิงจากรอยเตอร์ ร่างข้อตกลงล่าสุดจะมอบสิทธิพิเศษแก่สหรัฐฯในการเข้าถึงทรัพยากรแร่ของยูเครน และกำหนดให้เคียฟเข้าร่วมในกองทุนเพื่อการลงทุนร่วมหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่รวบรวมรายได้ทั้งหมดจากการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติของยูเครน
    .
    ข้อตกลงนี้ไม่มีเงื่อนไขสหรัฐฯจะมอบคำรับประกันด้านความมั่นคงแก่ยูเครน แม้รัฐบาลเคียฟส่งเสียงเรียกร้องมาตลอดและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในลำดับสูงสุด
    .
    ทรัมป์ อ้างว่าข้อตกลงนี้จะเปิดทางให้พวกผู้เสียภาษีสหรัฐฯได้คืนเงินที่รัฐบาลชุดก่อนของโจ ไบเดน มอบความช่วยเหลือแก่เคียฟ และเตือนเมื่อช่วงต้นเดือนว่า เซเลนสกี จะเจอปัญหาใหญ่มากๆหากว่ากลับคำจากข้อตกลง
    .
    (ที่มา:อาร์ทีนิวส์/รอยเตอร์)
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    - https://mgronline.com/around/detail/9680000035155
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    https://www.facebook.com/share/p/15sCFiuMH9/
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    ยุโรปเริ่มคิด.. ที่เคยหนีก๊าซรัสเซียไปหาก๊าซอเมริกา --- ละพอทรัมป์มา รึว่าเสียวยิ่งกว่า!? หรือต้อง "ทบทวน" ซะใหม่⚠️⚠️⚠️เอาไงดีหว่า
    บริษัทพลังงานบิ๊กๆ ของยุโรปเริ่มยกมือขึ้นท้วงถามสังคม ไม่ว่าจะฝรั่งเศสหรือเยอรมัน --- ไม่ได้หมายความว่าต้องกลับมานำเข้าจากรัสเซียเท่าเดิม แต่อย่างน้อยต้องเพิ่มขึ้นพอควรหน่อยมั้ย???
    อเมริกา พึ่งได้จริงหรือ???

    1.) ยุโรปพึ่งก๊าซรัสเซีย ราวๆ "ครึ่งหนึ่ง" ของที่ใช้ทั้งหมด --- นั่นมันอดีต
    พออุบัติสงครามรัสเซีย-ยูเครนก็แทบเกลี้ยง
    ปัจจุบัน เหลือแค่ 11% (ย้ำว่าไม่ใช่ 0 นะ โปรดอย่าเข้าใจผิด)
    ที่ว่ามาคือก๊าซที่ต่อท่อมาจากรัสเซีย
    แต่ถ้าก๊าซทางเรือ ("ก๊าซแช่เย็น" LNG) นี่ไม่มีคว่ำบาตรอะไรทั้งนั้น เปิดบาตรอ้าซ่าเลยจ้า
    ยุโรปนำเข้า LNG รัสเซีย 7%

    รวมทั้งหมด ทางท่อ+ทางเรือ = 18%

    2.) เมื่อก่อน ยุโรปนำเข้าจากอเมริกาแค่เสี้ยว แต่เดี๋ยวนี้พุ่งขึ้นปรู๊ดปร๊าด
    (มีเฉพาะ LNG ; เพราะทางท่อเป็นไปไม่ได้ ไกลเกิน)
    ใช่ หนึ่ง พุ่งเพราะเอามาแทนของรัสเซีย แต่อีกหนึ่ง คือ อเมริกาเพิ่งมาโตตู้มต้ามใน 4-5 ปีหลังนี้เอง (เพิ่งทำท่าส่งออกเสร็จขนานใหญ่ ; ปกติใช้เวลา 5 ปีในการก่อสร้าง) อดีต อยากส่งก็ส่งไม่ได้ ยังไม่พร้อม
    คิดดู จากแทบไม่มีส่ง เผลอแว้บเดียว กลายเป็นผู้ส่งออก LNG อันดับ 1 ของโลกไปซะละ

    ตอนนี้ ยุโรปนำเข้า LNG อเมริกา ถึง 17%
    โตร้อนแรงทุกปีๆ
    และเดี๋ยวปีนี้ก็จะโตเปรี้ยงปร้างอีก

    3.) นอกทวีป คือพึ่งอเมริกามากที่สุด พอๆ กับรัสเซีย
    ทั้งนี้ ยุโรปนำเข้าก๊าซจากนอร์เวย์อันดับ 1 (34%)
    (นอร์เวย์ ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรป ; แต่ด้วยภูมิศาสตร์ ก็คือทวีปยุโรป)

    ถัดมา คือ รัสเซีย (11+7 = 18%) และอเมริกา (17%)

    ถามว่าทุกวันนี้ รัสเซียกับอเมริกา อะไร "เอาแน่เอานอน" ได้มากกว่า

    4.) สักวัน ทรัมป์จะใช้ก๊าซมาเป็น "ตัวประกัน" เพื่อบีบยุโรปมั้ย ... ไม่มีใครบอกได้เลย
    วันนี้น่ะยัง เพราะวันนี้ตรงกันข้ามเลย ทรัมป์มัดมือยุโรปให้เซ็นสัญญานำเข้าก๊าซอเมริกาเพิ่มขึ้นๆ ๆ
    เอเชียก็โดน (อาจรวมไทยแลนด์ด้วยก็ได้!)
    หนึ่งใน "ดีล" ที่จะทำให้อเมริกายอมลดกำแพงภาษี คือ ต้องนำเข้า LNG จากอเมริกาเพิ่มขึ้นๆ ๆ

    ถ้าต้องพึ่งอเมริกามากๆ ๆ แล้ววันหนึ่งข้างหน้าจะไม่โดนใช้เป็น "อาวุธ" ตลบหลังหรอกหรือ
    สมมติ ปีหน้าทรัมป์เกิดคลั่ง "แบน" ส่งออก LNG ขึ้นมา ทำไง???
    ไปหาเจ้าอื่นซิ
    LNG ในตลาดโลกยังไม่ได้เหลือเฟือขนาดนั้นน่ะสิ (หรือใครคิดจะสร้างใหม่ ก็อย่างที่ว่าไว้ข้างต้น มันต้องใช้เวลาสัก 5 ปีในการสร้าง)
    ต้องรอ 2027 โน่นเลย ท่าส่งออกใหม่ๆ จากกาตาร์จึงจะสร้างเสร็จ

    5.) บริษัทพลังงานของยุโรป เริ่มปฏิบัติการ "โยนหินถามทาง"
    ก็ยังไม่ได้กระทุ้งไปที่ EU ตรงๆ --- แต่ก็ตะโกนเสียงดังๆ ตามถนนหนทางก่อนล่ะ
    "เรากลับมานำเข้าทางท่อจากรัสเซียหน่อยไหม"
    ลองฟังดูซิ เสียงสะท้อนเป็นยังไง???

    ย้ำว่าคงไม่กลับไปนำเข้าเท่าเดิม แต่ก็ต้องเพิ่มเติมจากตอนนี้หน่อย ไม่ให้ของมันตึงๆ มือเกินไป --- ให้มันได้คลายๆ หน่อย มีใช้หลวมๆ หน่อย
    แล้วก็ไม่ต้องนำเข้า LNG จากอเมริกามากนัก
    *** ซึ่งนี่แหละ ประเด็นเลย! เพราะบริษัทพลังงานไม่ได้ชอบนำเข้า LNG เท่าไหร่หรอก มันไกล ค่าเรือแพง ราคาตลาดโลกก็แกว่ง ทั้งฝั่งตลาดยุโรปและตลาดอเมริกา --- ทำกำไรไม่ถึงกับง่าย หาจังหวะคิด netback เป็นบวกสวยๆ ไม่ง่ายนะ

    แต่ถ้าจากรัสเซีย แค่ค่าส่งผ่านท่อ สบายๆ --- กินกำไรงามๆ และหยั่งคำนวณกะได้ไม่ยากเย็น

    ยุโรปเริ่มคิดถึงก๊าซรัสเซีย
    เพราะตอนนี้กำลังเจอสถานการณ์ "หนีหมี(ขาว) ปะทรัมป์" --- น่ากลัวกว่าจระเข้อีก?

    คิดหนัก

    https://www.reuters.com/business/en...ry-eu-has-energy-security-dilemma-2025-04-14/

    https://www.facebook.com/share/1CB2oYUjsR/
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    Apr 14, 2025 ด่วน! ไอเอ็มเอฟเตือนความเสี่ยงของปัญหาขัดแย้งในภูมิภาคของโลก-ความตึงเครียดการค้า อาจทำให้ตลาดหุ้นเสียหายครั้งใหญ่ วอนสถาบันการเงินสำรองเงินทุน และเงินสภาพคล่องหมุนเวียนให้เพียงพอรับมือด้วย

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยรายงานเสถียรภาพการเงินโลก หรือ Global Financial Stability Report ว่า ความเสี่ยงของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ความตึงเครียดการค้า อาจทําให้เกิดการปรับฐานของราคาหุ้นครั้งใหญ่ และนำไปสู่ภาวะตลาดหุ้นเสียหายครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนของตลาดหุ้น ซึ่งอาจเป็นภาวะคุกคามเสถียรภาพและความมั่นคงการเงิน ความเสี่ยงที่กล่าวถึงนั้น ประกอบด้วย ความขัดแย้ง สงคราม การโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย การใช้จ่ายด้านกลาโหม และความขัดแย้งการค้า ทั้งหมดนี้ปรากฏว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา

    ขณะที่ในสื่อโซเชียลประเภทบล็อก (Blog) ของไอเอ็มเอฟนั้น ไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องให้สถาบันการเงินรักษาเงินทุน และสภาพคล่องหมุนเวียนให้มากเพียงพอในการที่จะจัดการกับปัญหาที่อาจได้รับผลกระทบจากความเสียหายในการเงินจากผลกระทบของความเสี่ยงปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคของโลก นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้สถาบันการเงินทำการทดสอบความเสี่ยงทางธุรกิจสถาบันการเงิน และทดสอบการวิเคราะห์อื่นๆ เพื่อสามารถระบุ และจัดการปัจจัยเสี่ยงนี้ได้

    รายงานดังกล่าวของไอเอ็มเอฟ ระบุว่าเหตุการณ์สําคัญ เช่น สงคราม หรือการก่อการร้าย จะมีผลให้ราคาหุ้นเฉลี่ยตกต่ำลงเดือนละ 1% ในทั่วประเทศของโลก ในขณะที่ราคาหุ้นดังกล่าวโดยเฉลี่ยจะร่วงรุนแรงเดือนละ 2.5% สำหรับประเทศในตลาดเกิดใหม่

    ด้านความขัดแย้งทางทหารนานาชาติ เช่น การรุกรานของรัสเซียเข้าไปในยูเครน นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา คือเหตุการณ์ในการขัดแย้งที่รุนแรงมาก ทำให้มีผลกระทบต่อ ผลตอบแทนจากการลงทุนทรุดหนักเฉลี่ยกว่าเดือนละ -5% ซึ่งสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับ เหตุการณ์ความขัดแย้งด้านปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อื่นๆในโลก

    รายงานความมั่นคงทางการเงินทั่วโลกฉบับสมบูรณ์ของไอเอ็มเอฟ จะเผยแพร่ในการประชุมประจำปีระหว่างไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก ที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าสถานการณ์สงครามภาษีโลกที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการร่วมประชุมกันที่กำลังจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้านี้

    #ไอเอ็มเอฟ #ตลาดหุ้น #เศรษฐกิจ #ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ #สงคราม #ยูเครน #รัสเซีย #สงครามภาษี #สงครามการค้า #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/18VRmtVNyZ/
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    223,116
    ค่าพลัง:
    +97,151
    จีนประกาศควบคุมการส่งออก rare earth elements
    FB_IMG_1744634712113.jpg
    แร่หายาก rare earth elements (REEs) คือกลุ่ม 17 เคมีธาตุที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน และมักจะอยู่ด้วยกันในแหล่งแร่ธรรมชาติ ...ที่เรียกว่า "หายาก" ก็เพราะไม่มีตัวใดเลยที่มีอยู่ในปริมาณมาก และมักจะอยู่ร่วมกับธาตุอื่น ...แร่เหล่านี้ถูกใช้ในเครื่องมืออิเล็คโทรนิคส์ เช่นคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ แบตเตอรี่โทรศัพท์ กังหันลม รถยนตร์ไฟฟ้าไฮบริด อุตสาหกรรมอาวุธ ฯลฯ
    rare earth elements เป็นแร่ที่ทำให้โลกโมเดิร์นของเราหมุนไปได้
    ทั้งกลุ่ม 17 ธาตุที่ใช้กันในโลก ....ถูกใช้ในอุปกรณืเกี่ยวกับ อาวุธ และกิจการการป้องกันประเทศ ..ยานยนต์ไฟฟ้า ..อุตสาหกรรมพลังาน อิเล็คโทรนิคส์
    จีนเป็นผู้ผลิตประมาณ 90% ของผลผลิต rare earths ทั้งหมดของโลก ....สหรัฐเองมีเหมืองผลิต rare earths แค่หนึ่งแห่งในประเทศ ซัพพลายส่วนใหญ่ที่ใช้ของสหรัฐ..ล้วนมาจากจีน
    มีการพูดคุยกันมากถึงอนาคตของเทคโนโลจีของโลก แต่น้อยคนที่จะพูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ..rare earth elements เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพูดถึง เพราะจำเป็นต่อพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ และยานยนต์ไฟฟ้า
    แม่เหล็ก rare earth ใช้กันอยู่ในมอเตอร์ไฟฟ้า กังหันลม และเทคโนฯ ที่ต้องใช้สนามแม่เหล็กแรงสูง อย่างนีโอไดเมียม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ....และยังมีธาตุอื่น ๆ ของ rare earths ที่ใช้ในเทคโนฯอื่น ๆ อีกมากมาย
    rare earth elements สำคัญต่อการพัฒนาพลังงานธรรมชาติ ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราในปัจจุบัน
    แล้วเมื่อวันศุกรที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา ปักกิ่งประกาศควบคุมการส่งออก rare earth elements ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของทรัมพ์ ซึ่งสูงเกิน 100%
    การควบคุมการส่งออก ไม่ใช่กับแค่แร่บางชนิด แต่ยังรวมทั้งแม่เหล็กถาวรและสินค้าสำเร็จรูปอีกบางชนิดที่ใช่ rare earths
    การควบคุมการส่งออกนี้ ไม่ใช่แค่กับสหรัฐ แต่ยังกับอีกหลายประเทศ .....นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงอาวุธสำคัญที่มีผลต่อเทคโนโลจีของโลก
    การควบคุมการส่งออก เน้นอยู่ที่ medium and heavy rare earths 7 ตัว เช่น samarium, gadolinium, terbium, dysprosium, lutetium, scandium and yttrium ....พวกนี้จะอยู่ในรายการการส่งออกที่ต้องควบคุม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน
    ที่เห็นกระทบเป็นรายแรกเลยก็เช่น Tesla และ Apple ที่ rare earth elements ที่ต้องใช้ใน supply chains ล้วนมาจากจีน
    นี่คือ listed elements ...สัญญลักษณ์ ..และการใช้งานของธาตุทั้ง 7 ตัว
    REEs listed by element name, its ymbol, and selected applications
    Samarium Sm
    High temperature magnets, nuclear reactor control rods and shielding, lasers, microwave filters
    Gadolinium Gd
    Magnetic resonance imaging contrast agent, memory chips, nuclear reactor shielding, compact discs
    Terbium Tb
    Green phosphors, lasers, fluorescent lamps, optical computer memories
    Dysprosium Dy
    Permanent magnets, lasers, catalysts, nuclear reactors
    Lutetium Lu
    PET scan detectors, superconductors, high refractive index glass, x-ray phosphor
    Scandium Sc
    Super alloys, ultra-light aerospace components, X-ray tubes, baseball bats, lights, semiconductors
    Yttrium Y
    Ceramics, metal alloys, rechargeable batteries, TV phosphors, high-temperature superconductors
    https://www.facebook.com/share/1FNd5YpaPf/
     

แชร์หน้านี้

Loading...