ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sep 17, 2024 บอกลาแน่! ทับเปอร์แวร์ตำนานกล่องใส่อาหารสุดดังจ่อล้มละลาย แบกหนี้กว่า 23,800 ล้านบาท จ่อปิดโรงงานแห่งสุดท้าย ปลด 150 คน ตำนานแบรนด์อายุ 82 ปี
    .
    ทับเปอร์แวร์ (Tupperware) หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่าทัพเพอร์แวร์ ซึ่งเป็นตำนานธุรกิจและแบรนด์ภาชนะหรือกล่องบรรจุถนอมอาหารชื่อดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า เตรียมที่จะยื่นล้มละลายต่อศาลในรัฐเดลาแวร์ ตามมาตรา 11 ภายในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ทัปเปอร์แวร์ กำลังจะสิ้นสุดการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานถึง 82 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 1942 เป็นต้นมา
    .
    สาเหตุจากทัปเปอร์แวร์ ต้องเผชิญกับภาระหนี้สินสะสมมีจำนวน กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 23,800 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ทับเปอร์แวร์ใช้ความพยายามในการบริหารแก้ไขภาวะหนี้สินสะสม รวมถึงดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดท่ามกลางปัจจัยที่ท้าทายและรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ความพยายามดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์วิกฤติได้
    .
    ขณะที่ราคาหุ้นของทัปเปอร์แวร์มีราคาดำดิ่งมากกว่า 50% เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเราเดือนมิถุนายนปีนี้ ทัปเปอร์แวร์ เปิดเผยว่ามีแผนที่จะปิดโรงงานผลิตสินค้าซึ่งเหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในประเทศสหรัฐสหรัฐอเมริกาพร้อมด้วยการปลดพนักงานออกเป็นจำนวน 150 คน ก่อนหน้านี้ในปี 2023 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารของบริษัทได้ลงมติเปลี่ยนแปลงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอคนใหม่ รวมถึงปรับเปลี่ยนคณะบริหารชุดใหม่ โดยมีความหวังว่าจะพลิกฟื้นธุรกิจของทับเปอร์แวร์
    .
    ทับเปอร์แวร์ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ที่อาศัยกลยุทธ์การขายตรงมาเป็นระยะเวลาช้านาน โดยในปี 2022 มีเครือข่ายผู้ขายสินค้าอิสระของทับเปอร์แวร์ มากกว่า 3000 คนทั่วสหรัฐอเมริกา
    .
    ทั้งนี้ แบรนด์ทับเปอร์แวร์ หรือทัพเพอร์แวร์ในประเทศไทย ที่คนไทยเคยรู้จักกันดีในยุคทศวรรษ 1960 นั้น เริ่มต้นในประเทศไทยด้วยการเริ่มจัดจำหน่ายในระบบขายตรง และเป็นที่ยอมรับในประเทศไทยมากว่า 39 ปี จนกระทั่งในปี 2005 บริษัท เอส เค อินเตอร์ กรุ๊ป 2005 จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดย คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ได้เห็นโอกาสการตลาดในการขยายการจัดจำหน่ายในประเทศไทย จึงได้เสนอขอรับสิทธิ์ในการนำเข้าและจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย รวมทั้งได้ปรับกลยุทธ์เพิ่มเติมจากระบบไดเร็คเซลส์ โดยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งการค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า และระบบแฟรนไซส์ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในระดับต่างๆ ได้มากขึ้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3zlcddq
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/@BTimes_ch3
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #Tupperware #ธุรกิจ #ปลดพนักงาน #รายได้ #หนี้ #ล้มละลาย #เศรษฐกิจ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/kPSWiRTjnrrWb1ii/?mibextid=oFDknk
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sep 18, 2024 ตำนานล้ม! บริษัทต่อเรือไททานิก อายุกว่า 160 ปี ล้มละลาย ขาดเงินกู้หมุนเวียนกว่า 8,000 ล้านบาท เตรียมปลดพนักงานจำนวนมาก

    ฮาร์แลนด์ แอนด์ วอล์ฟ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ เป็นยักษ์ผู้ผลิตและต่อเรือเดินทะเล และเรือเดินมหาสมุทรที่มีอายุมามากถึง 163 ปี ที่สำคัญเป็นบริษัทที่ต่อเรือเดินมหาสมุทรไททานิก ซึ่งประสบอุบัติเหตุจมลงใต้มหาสมุทร เปิดเผยว่า ได้ประกาศยื่นล้มละลายและเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยกระบวนการดังกล่าวจะเริ่มต้นภายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์นี้

    สาเหตุที่บริษัทดังกล่าวต้องประกาศล้มละลาย นำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และปรับโครงสร้างทางธุรกิจนั้น เกิดขึ้นจากบริษัทต่อเรือฮาร์แลนด์ แอนด์ วอล์ฟ ไม่สามารถกู้เงินหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องมูลค่า 200 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง กว่า 264 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 8,976 ล้านบาทจากธนาคารเพื่อการเงินและส่งออกแห่งสหราชอาณาจักร ทำให้สถานะทางการเงินและแนวโน้มในการดำเนินกิจการต่อไปต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างรุนแรง

    บริษัทต่อเรือฮาร์แลนด์ แอนด์ วอล์ฟ เผยตอบไปว่ามีความจำเป็นต้องตัดลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วยการเตรียมปลดพนักงานจำนวนมากในสายงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแกนหลักของธุรกิจต่อเรือ รวมถึง บริษัทโฮลดิ้งซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทต่อเรือฮาร์แลนด์ แอนด์ วอล์ฟ

    การประกาศล้มละลายในครั้งนี้ไม่ได้เป็นครั้งแรกเนื่องจากว่าในปี 2019 ที่ผ่านมาบริษัทต่อเรือฮาร์แลนด์ แอนด์ วอล์ฟ เคยได้รับคำสั่งจากรัฐบาลอังกฤษในการนำบริษัทดังกล่าวเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการอย่างไรก็ตามในช่วงเวลานั้นบริษัทต่อเรือดังกล่าวได้ปฏิเสธแรงกดดันจากรัฐบาลอังกฤษเนื่องจากมีกลุ่มทุนชื่อว่าอินฟราสตราต้า แสดงความสนใจที่จะเข้าถือหุ้นร่วมลงทุนด้วย

    ทั้งนี้ บริษัทต่อเรือฮาร์แลนด์ แอนด์ วอล์ฟ ก่อตั้งขึ้นในปี 1861 และดำเนินกิจการเป็นผู้ผลิตและเรือเดินมหาสมุทรเรือเรือเดินทะเลเรือรบของกองทัพเรือแห่งสหรัฐราชอาณาจักร ผลงานที่เป็นตำนานและเป็นประวัติศาสตร์ของโลกคือ การต่อเรือเดินมหาสมุทรที่มีชื่อว่าไททานิค ซึ่งเป็นเรือเดินมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และได้รับสมญานามว่าเป็นเรือเดินมหาสมุทรที่ไม่มีวันจม เรือดังกล่าวทำการต่อเรือจนเสร็จสิ้นในปี 1912 จนกระทั่งได้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมจมลงสู่ใต้ท้องมหาสมุทรแอตแลนติกในวันที่ 15 เมษายน ปี 1912

    #เรือไททานิก #ล้มละลาย #บริษัทต่อเรือ #อังกฤษ #เศรษฐกิจ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/c1dfgBJmvLsfnFYu/?mibextid=oFDknk
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sep 18, 2024 สารพัดกังวล! ความกังวลแบงก์เข้มงวดปล่อยสินเชื่อ กำลังซื้อเปราะบาง หนี้ครัวเรือนยังสูง กดดันดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม ส.ค.ดิ่งลง

    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.67 อยู่ที่ 87.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 89.3 ในเดือนก.ค.67 โดยมีปัจจัยด้านลบจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) อยู่ที่ 354,421 คัน ลดลง 23.71% โดยเฉพาะรถกระบะ และรถบรรทุก เนื่องจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบางจากความกังวลปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90.8% ต่อ GDP ในไตรมาส 1/2567 ซึ่งกดดันการบริโภคในประเทศ

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้สินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่า ส่งผลให้ยอดขายสินค้าลดลง

    นอกจากนี้ ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง ได้สร้างความเสียหายให้แก่ภาคเกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงส่งผลให้ภาคก่อสร้างชะลอตัวลง ในด้านการส่งออก อัตราค่าระวางเรือ (Freight) ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางสหรัฐฯ และยุโรป จากการเร่งส่งออกของจีน และสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้น ขณะที่เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วจากระดับ 36.46 บาท/ดอลลาร์ ในเดือนก.ค.67 มาอยู่ที่ 34.92 บาท/ดอลลาร์ในเดือนส.ค.67 ส่งผลให้สินค้าไทยแพงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง

    โดยในเดือนส.ค.67 ยังมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์การเมืองที่คลี่คลายลง ทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และมีความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณ และการใช้จ่ายภาครัฐ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งภาคการท่องเที่ยว ยังเป็นแรงสนับสนุนการบริโภคในประเทศ จากมาตรการดึงดูดท่องเที่ยวของภาครัฐ

    ส่วนดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวลดลงจาก 95.2 ในเดือนก.ค.67 โดยมีปัจจัยที่ผู้ประกอบการยังกังวล ได้แก่ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาท/วัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น, ปัญหาหนี้เสียมีแนวโน้มสูงขึ้น, ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยังยืดเยื้อและรุนแรง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท และในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 67 คาดว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคัก

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ อยากให้เร่งประกาศและสร้างความชัดเจนในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 อาทิ มาตรการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน เป็นต้น,ปรับลดวงเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเพื่อเสริมสภาพคล่องในภาคอุตสาหกรรม และชะลอการเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม กรณีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในรอบปีสูงขึ้น รวมทั้งทบทวนลดเพดานวงเงินการประกันการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม รวมถึงปรับปรุง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการดอบโต้การอุดหนุน (CVD) มาดรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (SG) และมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดระยะเวลาการพิจารณาไต่สวน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสินค้าทุ่มตลาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว และออกมาตรการเยียวยาภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อาทิ ยกเว้นภาษีนินิบุคคล ขยายเวลาการยื่นภาษี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร รวมทั้งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำและระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว

    ติดตาม BTimes ได้ทุกช่องทาง ดังนี้
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/@BTimes_ch3
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3

    #หุ้นไทย #ลงทุน #หุ้นเปิด #ตราสารหนี้ #SET #กนง #ทอง #บอนด์ยีลด์ #ตลาดทุน #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/4AvPMSWwXYuVqgKM/?mibextid=oFDknk
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    2 โรงกลั่นน้ำมันในจีนล้มละลาย เหตุคนจีนเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน #MoneyBuffalo

    โรงกลั่นน้ำมันจีนขนาดเล็ก บริษัทเจิ้งเหอ ( Zhenghe Group Co.) และซานตง หัวซิง ปิโตรเคมีเคิล กรุ๊ป (Shandong Huaxing Petrochemical Group Co.) ประกาศล้มละลาย โดยเป็นโรงกลั่นที่บริหารงานโดยยักษ์ใหญ่แห่งวงการเคมีภัณฑ์ของจีน ซิโนเคม กรุ๊ป (Sinochem Group Co.)

    2 บริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก จนนำไปสู่ภาวะล้มละลาย เนื่องจากไม่สามารถหาทางออกร่วมกับเจ้าหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ได้ ทั้ง 2 บริษัทจึงถูกศาลสั่งปิดกิจการตามกฎหมาย

    โรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กของเอกชนในจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงลดลง ส่งผลให้ผลประกอบการและกำไรของโรงกลั่นลดลง

    https://www.facebook.com/share/jVakdS6G1vqsYBCz/?mibextid=oFDknk
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กระเป๋าเงินดิจิทัล 1 หมื่น เปลี่ยนชื่อเป็น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 โดยกรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีให้กลุ่มเปราะบาง 25-28 ก.ย. นี้ #MoneyBuffalo

    https://www.facebook.com/share/p/LkjLRci4bmNGcsZT/?mibextid=oFDknk
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กูรูนักลงทุนอเมริกันชื่อดังระดับโลก ชี้ 5 แรงกระแทกสำคัญสุดกับเศรษฐกิจโลก จับตาดอกเบี้ยสหรัฐ ความขัดแย้ง 2 ยักษ์เศรษฐกิจ สงครามเทคโนโลยี BTimes

    Sep 18, 2024 ดูอนาคต! กูรูนักลงทุนชื่อดังระดับโลกชี้ 5 แรงกระแทกสำคัญสุดกับเศรษฐกิจโลก จับตาดอกเบี้ยสหรัฐ ความขัดแย้ง 2 ยักษ์เศรษฐกิจ สงครามเทคโนโลยี

    นายเรย์ ดาลิโอ มหาเศรษฐีชื่อดัง นักลงทุนระดับตำนาน และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารกองทุนประกันความเสี่ยงการลงทุน หรือเฮ็ดจ์ฟันด์ มีชื่อว่า บริดจ์วอเตอร์ แอสโซสิเอท (Bridgewater Associate) ซึ่งเป็นกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยมุมมองเกี่ยวกับ 5 แรงกระแทกสำคัญที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน และเป็นวัฒจักรของเศรษฐกิจโลก มีดังนี้

    1. ภาวะหนี้ เงิน และวงจรเศรษฐกิจ
    ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเศษได้ตรึงออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่สูงที่สุดในรอบ 23 ปีมาเป็นเวลาถึงสี่ปีส่งผลให้รัฐบาลอเมริกัน ต้องจัดสรรการชำระหนี้มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.049 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 35.66 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่าดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมา ภาระการชำระหนี้นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการชำระหนี้รวมทั้งหมดที่ประเมินว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.158 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 39.37 ล้านล้านบาททั้งปี ดังนั้น การบริหารจัดการภาระหนี้สินทั้งหมดจึงกลายเป็นเป็นประเด็นสำคัญที่สุดสำหรับเศรษฐกิจโลก เมื่ออัตราอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนลงเร็วๆ นี้

    2. การจัดระเบียบ และความผิดปกติภายในของสหรัฐอเมริกา
    ประเด็นนี้หมายถึงการเมืองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนปีนี้ ในปัจจุบัน จะพบว่ามีความไม่ลงรอยกันอย่างมากระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายขวา และฝ่ายซ้าย อาจจะนำไปสู่ช่องว่างของความมั่งคั่งและคุณค่าทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำสูงสุดของสหรัฐมาเป็นสุภาพสตรีครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งกำลังหมายถึงการเปลี่ยนผ่านอำนาจการบริหารอย่างเป็นระเบียบจะเกิดขึ้นอย่างเรียบร้อยหรือไม่ อย่างไร (มีต่อหน้า 2/2)

    (หน้า 2/2) 3.ความขัดแย้งอำนาจครั้งใหญ่
    มุมมองนี้หมายถึงความขัดแย้งระหว่าง 2 มหาอำนาจของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะเรื้อรังต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งในอาณาธิปไตยของทะเลจีนใต้ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไต้หวันกับจีน ความขัดแย้งทางมาตรการเศรษฐกิจที่ตอบโต้ซึ่งกันและกัน จากนี้ไปจะเกิดความกลัว หรือกังวลของสงคราม

    4.การกระทำของธรรมชาติ
    โดยปกติแล้ว พฤติกรรม หรือการกระทำของธรรมชาติในประวัติศาสตร์ผ่านมานั้น มักจะกลายเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ที่ส่งผลต่อมนุษยชาติ และสังคม มากกว่าสงคราม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วมครั้งใหญ่ และโรคระบาด นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งคร่าชีวิตผู้คน และส่งผลกลายเป็นความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ และระหว่างประเทศของทุกชาติ

    5.เทคโนโลยี
    หากใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร หรือนักลงทุนที่มีความสามารถในการปรับใช้ หรือลงทุนเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมแล้วละก็ เทคโนโลยีจะกลายเป็นสิ่งที่พิเศษที่สุดในยุคเศรษฐกิจสมัยต่อไป ใคร หรือประเทศไหนก็แล้วแต่ ที่มีชัยชนะในสงครามแห่งเทคโนโลยีจะกลายเป็นผู้ที่ชนะสงครามในทางการทหารนั่นเอง

    ทั้งนี้ นายเรย์ ดาลิโอ กล่าวให้สัมภาษณ์ที่ประเทศสิงคโปร์ ในงานประชุมสุดยอดแห่งสถาบันมิลเคน ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูง และนักลงทุนจากทั่วโลกเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก

    #เศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก #สหรัฐ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/BPkFP5am5J5u1r8e/?mibextid=oFDknk
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “เฟด” ปรับลดดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี พร้อมส่งสัญญาณปรับลดอีก 1.00% ในปี 2568 และ 0.50% ในปี 2569

    คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติ 11 ต่อ 1 ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ตามการคาดการณ์ของตลาด ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในรอบกว่า 4 ปี
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่ : https://moneyandbanking.co.th/2024/130440/

    https://www.facebook.com/share/wwuZfRhbQET5F4xD/?mibextid=oFDknk
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “เฟด” ปรับลดดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี พร้อมส่งสัญญาณปรับลดอีก 1.00% ในปี 2568 และ 0.50% ในปี 2569

    คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติ 11 ต่อ 1 ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ตามการคาดการณ์ของตลาด ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดในรอบกว่า 4 ปี
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่ : https://moneyandbanking.co.th/2024/130440/

    https://www.facebook.com/share/wwuZfRhbQET5F4xD/?mibextid=oFDknk
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sep 18, 2024 ไม่รอกัน! แบงก์ชาติอินโดฯ หั่นดอกเบี้ยเหนือคาดหมาย ลงครั้งแรกในรอบ 3 ปีกว่า หรือตั้งแต่เกิดโรคโควิด หวังกระตุ้นเศรษฐกิจโตปีนี้เข้าเป้า 5.1% รองรับเฟดลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี

    ธนาคารกลางอินโดนีเซียเปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.25% ส่งผลให้อัตราอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลดลงจาก 6.25% มาอยู่ที่ 6.000% นับเป็นเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นครั้งแรกในรอบ 3 ปี 6 เดือนครึ่ง หรือนับตั้งแต่วิกฤตการณ์โรค โควิด-19 เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียเป็นต้นมา การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ได้สร้างความพอใจและเหนือความคาดหมายให้กับตลาดทุนทั่วโลกเนื่องจากคาดการณ์ว่าการประชุมปัจจุบันนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

    นายเพอร์รี่ วาริจิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า การลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมีเป้าหมายสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 1 ของอาเซียน ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะลดต่ำลงและเข้าสู่เป้าหมายเป็นที่ 2.5% ภายในปี 2025 นอกจากนี้ อีกเหตุผลหลักสำคัญก็คือคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินโดนีเซียประเมินว่า ในคืนวันนี้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด มีแนวโน้มสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่อยู่ในระดับสูงกว่า 23 ปี ให้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี

    ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียกล่าวต่อไปว่าหลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วจะติดตามและประเมินผลความเคลื่อนไหวของการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องทำให้เกิดแรงจูงใจในการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพิ่มมากขึ้นให้เข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อที่จะสนับสนุนความมี เสถียรภาพของค่าเงินรูเปี๊ยะ อินโดนีเซีย สำหรับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศอินโดนีเซีย พบว่าดัชนีหุ้นสำคัญปรับตัวตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.8% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่การลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

    ธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่เพียงปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากชั่วข้ามคืนลงเหลือ 5.25% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย อัตรากู้ยืมหลงเหลือที่ 6.75% โดยเป็นการปรับลดลดลง 0.25% ของทั้งสองประเภทดอกเบี้ย

    ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือตัวเลขจีดีพีในปี 2024 นี้อยู่ที่ระดับ 5.1% และในปี 2025 จะมีจีดีพีขยายตัวที่ 5.2% ที่สำคัญรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายว่าจะต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ถึง 8% ภายในปี 2027

    https://www.facebook.com/share/p/VQXMZq46daKFrdFo/?mibextid=oFDknk
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1726703241858.jpg

    ถ้าเฟดปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ดอกเบี้ยไทยจะลงได้แค่ไหน? | #บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
    .
    ชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง นักวิเคราะห์ทางการเงินมองว่าการลดดอกเบี้ยของเฟดรอบนี้ จะทำให้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลมาไทย ไม่ว่าการปรับลดดอกเบี้ย 0.25% และ 0.50% ซึ่งธนาคารกลางทั่วโลกหลายแห่งมีการปรับลดดอกเบี้ยไปตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางยุโรป (ECB) อังกฤษ (BoE) เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ จีน (PBOC) นิวซีแลนด์ สวีเดน สะท้อนว่าหลายประเทศอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง
    .
    ก่อนหน้านี้ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดส่งสัญญาณในการประชุม Jackson Hole ว่า ถึงเวลาลดดอกเบี้ยแล้ว นักวิเคราะห์มองว่า กรณีลด 0.25% หมายความว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังสามารถเติบโตได้อยู่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาแรงด้วยการปรับลด 0.50% ทว่าหากปรับลดดอกเบี้ยแรงตั้งแต่แรก ก็มีข้อดีคือจะสามารถชะลอผลกระทบทางเศรษฐกิจ และเป็นการเสริมสภาพคล่องให้เศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ทว่าอาจจะทำให้นักลงทุนตกใจและกังวลกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐว่ามีปัญหาจนถึงคราวต้องกระตุ้นอย่างแรงหรือไม่
    .
    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงของเฟดครั้งนี้ มีแนวโน้มจะกระตุ้นให้ธนาคารกลางในภูมิภาค พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยคาดว่าแบงก์ชาติจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับปัจจุบัน แบงก์ชาติอินโดนีเซีย อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
    .
    ขณะที่แบงก์ชาติออสเตรเลียจะประกาศนโยบายในวันที่ 24 ก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ว่าน่าจะคงดอกเบี้ยเช่นเดิม นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าแบงก์ชาติเกาหลีใต้ จะมีการลดดอกเบี้ยครั้งเดียวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและราคาบ้านที่สูงขึ้น
    .
    สำหรับประเทศไทยมีความเป็นไปได้ว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ที่ประชุมจะมีความโน้มเอียงไปในทางที่จะ “ลด”ดอกเบี้ยนโยบายลงไปในทิศทางเดียวกับเฟด เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับสหรัฐค่อนข้างมาก ซึ่งทุกครั้งที่สหรัฐมีการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยก็จะส่งผลกระทบกับเงินทุนไหลเข้าและไหลออกของไทยพอสมควร ดังนั้นหากสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้เงินบาทก็จะแข็งค่า และยังมาจากจากเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น
    .
    ดังนั้น ในภาพรวมจึงมองว่าเป็นจังหวะเหมาะสมที่จะเร่งให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น ด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ทำให้คนตัวเล็กมีโอกาสลืมตาอ้าปาก มีโอกาสสร้างธุรกิจเกิดการจับจ่ายใช้สอย มีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนประเทศไปได้ คงจะเป็นการดีที่จะได้เห็น กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

    https://www.facebook.com/share/p/yTmapJmuk3W6yqw2/?mibextid=oFDknk
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,539
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1726704431412.jpg

    ThaiPublica’s Pick: แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 ในวันที่แรงส่งหลักทยอยหมดไป
    .
    SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำในปี 2567และ 2568 ที่ 2.5% และ 2.6% ตามลำดับ ในระยะต่อไปภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงส่งหลักที่เหลืออยู่ของเศรษฐกิจไทย
    .
    SCB EIC ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2568 ที่ 39.4 ล้านคน โดยการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังถูกกดดันจากแนวโน้มการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนแบบกรุ๊ปทัวร์ ขณะที่การส่งออกไทยปี 2568 ยังเติบโตต่ำกว่าในอดีต
    .
    ส่วนหนึ่งจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง การผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่แม้เริ่มทยอยฟื้นตัวตามการส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้นบ้าง แต่ยังเผชิญแรงกดดันจากสินค้าคงคลังสูง และอุปสงค์ในประเทศเปราะบาง
    .
    การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพิ่มเติมจะมีข้อจำกัดมากขึ้น จากภาระการคลังสูง โดย SCB EIC ประเมินว่าขณะที่โครงการกระเป๋าเงินดิจิทัลใช้วงเงินสูง แต่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่และชั่วคราว ส่งผลให้หนี้สาธารณะไทยอาจมีแนวโน้มชนเพดานในปี 2570
    .
    นโยบายเศรษฐกิจเร่งด่วนของ ครม. ชุดใหม่เป็นการสานต่อนโยบาย ครม. ชุดก่อน โดยมีจุดเน้นมากขึ้นที่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจกลุ่มเปราะบาง SCB EIC ประเมินชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะสั้น จะส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค ท่องเที่ยว และภาคเกษตร ขณะที่ธุรกิจที่มีแรงงานขั้นพื้นฐานในสัดส่วนสูงจะได้รับผลกระทบด้านต้นทุน และธุรกิจพลังงานอาจได้รับผลกระทบด้านรายได้
    .
    สำหรับนโยบายส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน จะส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมที่สอดรับเทรนด์โลก และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สำหรับนโยบายสิ่งแวดล้อมยังเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสให้หลายธุรกิจต้องปรับตัว
    .
    ภาคธุรกิจไทยยังต้องเผชิญความท้าทายเชิงโครงสร้างฟันเฟืองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากรอบด้าน โดยเฉพาะ

    1) อุตสาหกรรมยานยนต์ที่อาจสูญเสียกำลังการผลิตในประเทศไปราว 40% หากการปรับตัวของค่ายรถยนต์ไม่เท่าทันกับกระแสนิยมที่กำลังเปลี่ยนไป

    2) ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง ยังถูกซ้ำเติมจากการตีตลาดจากสินค้านำเข้า กระบวนการผลิตและการตลาดล้าสมัย ดังนั้น การผลักดันให้ภาคธุรกิจเหล่านี้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต้องพึ่งพามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นควบคู่กับนโยบายยกระดับความสามารถทางการเเข่งขันในระยะยาว
    .
    #แนวโน้มเศรษฐกิจไทย #แรงส่งเศรษฐกิจไทย #มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ #รัฐบาลแพทองธาร #SCB #EIC #ไทยพับลิก้า #Thaipublica

    https://www.facebook.com/share/p/JgEryMBuPvwTFimo/?mibextid=oFDknk
     

แชร์หน้านี้

Loading...