เล่าขานตำนาน #วิชชาม่าน •ตอน• “สจามีน” ผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองพม่าต้นกำเนิดส่วยยิ่นจอ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 13 กุมภาพันธ์ 2023.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    #เล่าขานตำนาน #วิชชาม่าน
    •ตอน• “สจามีน” ผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองพม่า
    .
    . FB_IMG_1676303335682.jpg
    สวัสดีครับ หลังจากบทความวัฒนธรรมเมียนมาร์เผยแพร่ออกไป หลายท่านได้อ่านก็อยากให้ผมเล่าเรื่องผู้วิเศษเมืองม่านให้ฟังบ้าง เพราะมีหลายท่านได้เคยรับทราบ หรือรับฟัง เรื่องผู้วิเศษของเมียนมาร์มาบ้าง แต่อยากฟังในแง่มุมของอะโก่จอห์นว่าจะเหมือนหรือแตกต่างจากฉบับอื่นมากน้อยอย่างไร เรื่องนี้ขอมาก็จัดให้ตามคำขอครับ
    .
    สำหรับวันนี้ผมจะขอล่าเรื่องผู้วิเศษเมืองม่าน(เมียนมาร์)ท่านนึง ประวัติท่านมีสีสันและน่าสนใจไม่น้อยครับ ผมจึงขอนำเรื่องราวของท่านมาเล่าสู่กันฟังสบายๆๆสไตล์อะโก่จอห์นนะครับ
    .
    ผู้วิเศษท่านนี้ก็คือ “ท่านสจามีน” ครับ ซึ่ง ท่านองเป็นผู้ให้กำเนิดต้นสาย “ส่วยยินจ่อ” เรื่องราวของท่านเต็มไปด้วย อภินิหารระคนไปกับที่มาทางประวัติศาสตร์ หลายคนเล่า หลายคนฟัง จึงก่อเกิดเป็นเรื่องจริงอิงนิทาน ตามมาครับผมจะเล่าเรื่อง สจามีนให้ทุกท่านฟัง
    .
    .
    “สจามีน” กับราชวงศ์คองบอง?
    .
    ตำนานหลายเรื่องเล่า มักเล่าว่า พ่อครูสจามีนเป็นเชื้อพระวงศ์กำเนิดในเศวตฉัตรพม่า ดังนั้นเราจะต้องมารู้เรื่องคร่าวๆของราชวงศ์คองบองเสียก่อนนะครับ
    .
    สำหรับราชวงศ์คองบองเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองพม่าหรือเมียนมาร์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าอลองพญา (အလောင်းမင်းတရား )ในปี ค.ศ. 1752 เป็นราชวงศ์ที่ทำให้พระราชอาณาเขตของเมียนมาร์ขยายออกไปได้มาก พระเจ้าอลองพญาทรงทำสงครามขยายอาณาเขตไปอย่างมากมาย ก่อนสิ้นพระชนม์ได้ตรัสสั่งไว้ว่า ให้สืบราชสมบัติผ่านระบบพี่น้องไม่ให้เอาลูกเป็นรัชทายาท เมื่อพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ก็ทรงมอบราชสมบัติให้พระเจ้ามังลอก ราชโอรสองค์โต ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังลอกประชวรสวรรคต ราชสมบัติเองก็ถูกเวนให้แก่พระเจ้ามังระซึ่งเป็นพระโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าอลองพญา
    .
    พระเจ้ามังระทรงพระปรีชาสามารถทางสงครามขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางกว่าสมัยพระเจ้าอลองพญาเสียอีก และยังสามารถต้านทานกองทัพราชวงศ์ชิงที่แผ่อิทธิพลลงมาในแคว้นไทยใหญ่ได้ด้วย พระเจ้ามังระจึงทรงมีพระนามอีกพระนามว่า “ซีน-พยูชีน”หรือพระเจ้าช้างเผือกเสมอด้วยพระเจ้าบุเรงนองแห่งยุคหงสาวดี
    .
    แต่เมื่อจวนสิ้นรัชกาลของพระองค์พระองค์กลับลืมคำพระราชบิดาที่ให้สืบทอดเวนราชสมบัติในหมู่พี่น้อง แต่ทรงเลือกเวนราชสมบัติให้ลูกคือพระเจ้าจิงกูจา (စဉ့်ကူးမင်း) ต่อมาพระเจ้าจิงกูจาพระองค์เกิดระแวงพี่น้องและอาจะชิงราชสมบัติ จึงประหารชีวิตและเนรเทศ พี่น้องและเสด็จอาไปเป็นจำนวนมาก แม้แต่หม่องไว(ต่อมาจะสัมพันธ์ต่อตำนานสจามีน)ผู้เป็นอาก็ถูกเนรเทศไปยังเมืองซะไกง์ แต่ไม่นานพระเจ้าจิงกูจาก็ถูกเจ้าชายหม่องหม่อง เจ้าเมืองผ่องก้าซ่า(ဖောင်းကားစား )บุตรพระเจ้ามังลอกพร้อมเหล่าขุนนาง ยึดอำนาจ
    .
    ระหว่างที่พระเจ้าจิงกูจาเสด็จไปสักการะเจดีย์และพระพุทธรูปนอกกรุงอังวะแต่แรกพระเจ้าจิงกูจาคิดจะหนีไปอาศัยอยู่เมืองกะแซ แต่เป็นห่วงพระราชชนนีจึงลอบลงมาใกล้เมืองอังวะ แล้วมีหนังสือเข้าไปทูลให้ทราบว่าจะหนีไปเมืองกะแซ แต่พระราชชนนีเขียนห้ามปรามว่า
    .
    "ลูกเกิดมาในเศวตฉัตรกรุงอังวะนี้ หากจะต้องตาย ก็ตายเสียในกรุงอังวะอย่างพระมหากษัตริย์เถิด ที่จะหนีไปพึ่งใบบุญเมืองน้อย ให้เขาส่งกองทัพตามไปจับนั้นไม่ควร"
    .
    .
    พระเจ้าจิงกูจาจึงได้สติ เกิดความองอาจ แกล้วกล้า ทรงเดินนำเหล่าข้าราชบริพารกลับมา ประหนึ่งเสด็จกลับจากการประพาสคืนสู่พระนคร พวกไพร่พลที่รักษาประตูเมืองเห็นพระเจ้าจิงกูจาเสด็จกลับมาโดยไม่หวาดหวั่นต่อภัยอันตราย ก็พากันเกรงกลัวในพระบรมเดชานุภาพ ไม่มีใครกล้าจับหรือต่อสู้ แม้เสด็จเข้ามาในตัวเมืองแล้วก็ไม่มีใครต้านทานพระองค์เลย พออะตวนหวุ่นซึ่งมีศักดิ์เป็นพ่อตาคนหนึ่งของพระองค์ทราบเข้าก็เกิดบันดาลโทสะ เนื่องจากพระองค์เคยเมามายแล้วฆ่าพระสนมเอกลูกสาวของอะตวนหวุ่น เขาจึงคุมรี้พลของตนมาล้อมจับพระเจ้าจิงกูจา
    .
    จากนั้นอะตวนหวุ่นจึงลงมือสังหารพระเจ้าจิงกูจาสิ้นพระชนม์ที่เมืองอังวะ เจ้าชายหม่องหม่องจึงขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นพระเจ้าหม่องหม่อง แต่เพียงเจ็ดวัน เจ้าชายหม่องไวซึ่งเป็นพระเจ้าอาอดีตเจ้าเมืองบะโดนก็ทรงเสด็จมาปราบปรามและปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า บะโดนมี่น หมายถึง "พระราชาจากเมืองบะโดน" แต่มีพระนามที่เรียกขานกันในพม่าภายหลังว่า โบ้ดอพะย่า (ဘိုးတော်ဘုရား) แปลว่า "พระเจ้าปู่" หรือ "พระบรมอัยกาธิราช"หรือไทยคุ้นเคยกับพระนามว่า พระเจ้าปดุง นั่นเอง
    .

    สำหรับเรื่องราวของสจามีนก็จะถือกำเนิดในช่วงปลายของพระเจ้าปดุงนี่เอง สำหรับวันนี้ก็คงต้องขอจบลงที่ประวัติราชวงศ์คองบองคร่าวๆก่อน เพราะเป็นการปูพื้นให้ท่านๆทราบความเป็นมาเป็นไป ก่อนที่จะมาวกเข้าเรื่องตำนานท่านสจามีน
    .
    ติดตามตอนต่อไป ทางเพจ ศาสตร์และวิชชาพม่า นะครับ รับรองคุ้มค่าการรออ่านกันแน่นอนครับ
    .
    .
    .
    เตรียมพบกับ หนังสือ #รู้เช่นเห็นธาตุวิชชาม่าน ในเดือนเมษายน 2566
    .
    สำหรับการพรีออเดอร์หนังสือจะมีให้กรอกกูเกิ้ลฟอร์มต้นเดือนมีนาคม 2566 โดยทางเพจ ศาสตร์ความรู้และวิชชาพม่า จะเเจ้งให้ทราบอีกทีนะฮะ
     
  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    หลังจากผมได้เล่าเรื่องราวราชวงศ์คองบองอันเป็นที่มาในตำนานเล่าขานเรื่องของสจามีน ที่เราๆท่านๆ สนใจในศาสตร์มหาเวทย์ของเมียนมาร์ หรือ ศาสตร์ของ “ส่วยยิ่นจอ” ก็คงคุ้นเคยกับเรื่องเล่าของสจามีนที่เกี่ยวพันราชวงศ์ไม่มากก็น้อย อะโก่จอห์น จะขอรับใช้ทุกท่านบันทึกและขับขานเล่าตำนาน ของสจามีน ในแบบเรื่องจริงอิงนิทาน มาครับ
    .ขอเชิญท่านมาสดับรับชมรับฟังกันครับ
    . ZewFODQ_HSxl7AU4ND8dLPUaJNlTzQI_RCIUTvEaBUI&_nc_ohc=uMdje9NbwaAAX-OMWFu&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg
    .
    เมื่อพระเจ้าปดุงได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่๕ แห่งราชวงศ์คองบอง(ไม่นับพระเจ้าหม่องหม่อง)การฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของเมียนมาร์ในเวลานั้น ก็กลับมาอีกครั้ง ในปีค.ศ.1782 พระเจ้าปดุงได้ทรงย้ายนครหลวงจากอังวะไปยังกรุงอมรปุระ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอังวะ
    .
    ในปี ค.ศ. 1784-1785พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าให้พระมหาอุปราช(รัชทายาท) พระนาม “ตะโดเมงสอ” นำทัพไปตีรัฐยะไข่เป็นผลสำเร็จ และอัญเชิญพระมหามัยมุนีจากมเยาะอูไปยังอมรปุระ ตะโดเมงสอนี้มีพระราชโอรสอีก ๒ พระองค์
    .
    เมื่อตะโดเมงสอ พระอุปราชอายุได้ ๔๕ ปี ก็ทรงสิ้นพระชนม์ พระเจ้าปดุงจึงโปรดให้ลูกชายคนโต ของ ตะโดเมงสอ ซึ่งเดิมเป็นเจ้าชายแห่งซะไก้ง์ หรือ ซะไก้ง์มี่น (စစ်ကိုင်းမင်း) เป็นรัชทายาทแทน
    .นี่แหล่ะครับท่านผู้ชมผู้อ่าน ตำนานของสจามีนก็เริ่มมาจากตรงนี้นั่นแหล่ะครับ
    .
    .
    ถึงตรงนี้ ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ในตำนานเรื่องที่เล่าถึงการกำเนิด ของ สจามีน ที่เป็นเรื่องจริงอิงนิทานที่ผมจะเล่านั้นอาจไม่เหมือนที่ท่านเคยรับรู้รับฟัง เพราะหลายเรื่องอาจจะมีการเล่าหลายมุมที่ผสมปนเปไปเพื่อให้เรื่องเล่านั้นมันเกิดสีสัน และเป็นไปตามมุมมอง จินตนาการของผู้เล่าว่าจะมองบุคคลที่เอ่ยถึงในเรื่องเล่านั้นอย่างไร
    .
    ฉะนั้น อะโก่จอห์น ก็ขออภัยหากเรื่องเล่าของอะโก่จอห์นไม่เหมือนท่านอื่นๆๆนะครับ
    .
    มา.....ครับ มาว่ากันต่อ......
    .
    .
    ว่ากันว่า ท่าน สจามีนเป็นพระโอรส ของ เจ้าชายซะไก้ง์ (ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าจักกายแมง)ในขณะนั้นยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช(หรือรัชทายาท)อยู่ กับ พระนางสิริมหาจันทาเทวี หรือ ซีนพิวชีนแมด่อ ว่ากันว่า ท่านทรงถือกำเนิด ในวันที่ 27 ตุลาคม คศ 1812 เมื่อถือกำเนิดมาแล้ว ได้เจ็ดวัน พระมารดาก็ทิวงคต
    .
    ในประวัติศาสตร์ก็มีชื่อที่เรียกท่านว่า เจ้าชายญองยาน (ညောင်ရမ်းမင်းသား) และเป็นที่รักและโปรดปรานของพระราชบิดาด้วย บุคลิกนิสัยของท่าน กล่าวกันว่า เจ้าชายสจามีนทรงใช้ชีวิตอย่างสมถะ ปฏิบัติธรรม พูดจา กิริยามารยาทก็สุภาพเรียบร้อย โดยเชื่อว่าสถานที่ที่เจ้าชายทรงประทับนั้นยังมีจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ เมืองเก่าอังวะ ด้านทิศตะวันออกของของเจดีย์ฉ่วยซีโข่ง (ရွှေစည်းခုံ)
    .
    เอาล่ะครับ มาถึงตรงนี้เวลาหมด หมดเวลา อะโก่จอห์น ก็ต้องขอบอกแฟนานุแฟน ทั้งหลายว่า รอต่อตอนหน้าครับรับรองเรื่องนี้คุ้มค่าการรอคอย แน่นอนครับ
    .
    #รู้เช่นเห็นธาตุวิชชาม่าน ในเดือนเมษายน 2566
    .
    สำหรับการพรีออเดอร์หนังสือจะมีให้กรอกกูเกิ้ลฟอร์มต้นเดือนมีนาคม 2566 โดยทางเพจ ศาสตร์ความรู้และวิชชาพม่า จะเเจ้งให้ทราบอีกทีนะฮะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...