เรื่องอาชีพด้านศิลปะ และคำสอนพระพุทธเจ้า (ขอคำชี้แนะค่ะ)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย aran, 20 พฤศจิกายน 2013.

  1. aran

    aran สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +10
    ได้อ่านสิปปสูตร ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องบุคคลที่ประกอบอาชีพศิลปะ และที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีศิลปะก็อยู่ได้

    https://www.facebook.com/photo.php?...64973343346.1073741828.168433800013130&type=1

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=83


    อยากขอคำชี้แนะค่ะ ว่า

    1. ท่านหมายถึงไม่ควรประกอบอาชีพด้านนี้หรือเปล่าคะ
    2. ศิลปะ มีนิยามความหมายอย่างไรคะ ตามพระไตรปิฎก

    พอดีอ่านพระสูตร ไม่ค่อยคุ้นกับภาษา อ่านไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำอธิบายค่ะ
     
  2. aran

    aran สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +10
    พระพุทธอุทานเรื่องที่ ๒๕
    “ไม่ต้องมีศิลปะก็อยู่ได้” (สิปปสูตร)

    ความเบื้องต้น
    ณ วัดเชตวันวิหาร บ่ายวันหนึ่งภิกษุทั้งหลาย
    นั่งสนทนากันที่โรงกลมถึงเรื่องศิลปะต่างๆ ว่า
    ศิลปะอะไรเป็นเลิศ เช่น ศิลปะเรื่องช้าง เรื่องม้า เป็นต้น
    พระพุทธเจ้าเสด็จมา ณ ที่นั้น
    ตรัสถามถึงเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายสนทนาค้างอยู่
    ทรงทราบแล้วตรัสว่า "พวกเธอบวชแล้ว
    ไม่ควรสนทนากันเรื่องอย่างนี้ เมื่อนั่งประชุมกัน
    ควรสนทนาธรรมหรือนิ่งเสียดีกว่า" ดังนี้แล้วทรงเปล่งอุทานว่า

    "ผู้ใคร่ประโยชน์ประพฤติตนเบากายเบาใจ
    มีอินทรีย์สงบแล้ว หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง
    ไม่มีอาลัย ไม่ยึดมั่นอะไรๆว่าเป็นของเรา
    ไม่หวัง ประหารมารได้แล้ว เที่ยวไปผู้เดียว
    ชื่อว่าเป็นภิกษุแท้ ไม่ต้องมีศิลปะก็มีชีวิตอยู่ได้”

    อธิบายความ
    ๑. คำว่า "ไม่ต้องมีศิลปะก็มีชีวิตอยู่ได้”
    แปลจากคำว่า "อสิปฺปชีวี” แต่ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติต่างๆ
    ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระคาถานี้

    ๒. คำว่า "ผู้ใคร่ประโยชน์” หมายถึง
    ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้ง ๓
    คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า
    และประโยชน์สูงสุดคือ มรรค ผล นิพพาน

    ๓. คำว่า "ประพฤติตนเบากายเบาใจ” หมายความว่า
    เป็นผู้มีกิจน้อยมีภาระน้อย ไม่มีเรื่องยุ่งยากในชีวิต

    ๔. คำว่า "ผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว”
    คือ มีอินทรีย์ ๖ กล่าวคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบแล้ว

    ๕. คำว่า "หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง”
    หมายความว่า ไม่ติดในธรรมทั้งปวง ละได้แล้วทั้งบุญและบาป

    ๖. คำว่า "ไม่มีอาลัย” หมายถึง ไม่มีอาลัยในที่อยู่
    ไม่ยึดถืออะไรๆว่าเป็นของเรา ไม่หวัง
    เพราะได้ตามที่หวังแล้ว หมายถึงอรหัตตผลและนิพพาน

    ๗. คำว่า "ฆ่ามารได้แล้ว” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    คือกิเล มาร เที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีตัณหาเป็นเพื่อน



    -------------------


    อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ สิปปสูตร

    อรรถกถาสิปปสูตร
    สิปปสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า โก นุ โข อาวุโส สิปฺปํ ชานาติ ความว่า อาวุโส เมื่อพวกเราประชุมกันในที่นี้ ใครหนอจะรู้แจ้งอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีชีวิตเป็นเหตุ อันได้นามว่า ศิลปะ เพราะอรรถว่าต้องศึกษา.
    บทว่า โก กึ สิปฺปํ สิกฺขิ ความว่า ใครจะเข้าไปหาตระกูลอาจารย์ผู้ถ่ายทอดศิลปะตลอดกาลนานแล้ว ศึกษาศิลปะอะไรๆ บรรดาศิลปะฝึกช้างเป็นต้น โดยทางเล่าเรียน และโดยทางปฏิบัติ.
    บทว่า กตรํ สิปฺปํ สิปฺปานํ อคฺคํ ความว่า ศิลปะชนิดไหนเป็นยอด คือประเสริฐกว่าศิลปะทั้งปวง โดยไม่ต่ำช้า มีผลมาก และสำเร็จได้ไม่ยาก อธิบายว่า บุคคลอาศัยศิลปะใด แล้วสามารถเป็นอยู่ได้ง่าย.
    บทว่า ตตฺเถกจฺเจ ความว่า บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกที่ออกบวชจากตระกูลนายหัตถาจารย์นั้น.
    บทว่า เอว มาหํสุ ความว่า ท่านเหล่านั้นได้กล่าวอย่างนั้น. แม้ต่อแต่นี้ไป ในที่ๆ กล่าวไว้ว่า เอกจฺเจ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า หตฺถิสิปฺปํ ความว่า ศิลปะแม้ทุกอย่างต่างโดยการจับช้าง การฝึก การขับขี่ การรักษาโรคเป็นต้น ที่จำต้องกระทำ ท่านประสงค์เอาว่า ศิลปะในการฝึกช้าง ในที่นี้.
    แม้ในคำว่า อสฺสสิปฺปํ นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนศิลปะการขับรถ พึงทราบโดยวิธีฝึกหัดและขับไปเป็นต้นของผู้ขับรถ และโดยการประกอบรถ.
    บทว่า ธนุสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะของนายขมังธนู ซึ่งเรียกว่า นักแม่นธนู.
    บทว่า ถรุสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะทางอาวุธที่เหลือ.
    บทว่า มุทฺธาสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะในการนับหัวแม่มือ.
    บทว่า คณนาสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะในการนับไม่ขาดระยะ.
    บทว่า สงฺขานสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะในการนับเป็นก้อนด้วยการบวกและการลบเป็นต้น. ผู้ที่กล่าวคล่องแคล่วศิลปะนั้น พอเห็นต้นไม้ ก็นับได้ว่า ต้นไม้นี้มีใบเท่านี้.
    บทว่า เลขาสิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะในเพราะเขียนอักษรโดยอาการต่างๆ หรือความรู้ในการเขียน.
    บทว่า กาเวยฺยสิปฺปํ ความว่า ศิลปะการแต่งกาพย์ของกวี ๔ จำพวก มีจินตกวีเป็นต้นด้วยการคิดของตน ด้วยการฟังที่ได้จากคนอื่น ด้วยประโยชน์อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีประโยชน์ เราจักประกอบสิ่งนี้อย่างนี้ หรือด้วยการเห็นกาพย์อะไรๆ แล้วเกิดปฏิภาณขึ้นในฐานะว่า เราจักแต่งกาพย์ให้เหมือนกับกาพย์นั้น.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ จินตกวี สุตกวี อัตถกวี และปฏิภาณกวี.
    บทว่า โลกายตสิปฺปํ ความว่า ศิลปะในวิตัณฑศาสตร์ ที่ปฏิเสธปรโลกและนิพพานเป็นไป โดยนัยมีอาทิว่า กาขาว เพราะกระดูกขาว นกยางแดงเพราะเลือดแดง.
    บทว่า ขตฺตวิชฺชาสิปฺปํ ความว่า ศิลปะในนิติศาสตร์มีการอารักขากษัตริย์เป็นต้น.
    ได้ยินว่า ศิลปะทั้ง ๑๒ นี้ ชื่อว่า มหาศิลปะ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวไว้ในที่นั้นๆ ว่า สิปฺปานํ อคฺคํ ดังนี้.
    บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่งความไม่สลัดออกจากวัฏทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่การเป็นอยู่แห่งสิปปายตนะทั้งปวงนี้ แต่ก็ทรงทราบความไม่สลัดออกแห่งความบริสุทธิ์มีศีลเป็นต้น และความเป็นภิกษุแห่งผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลเป็นต้นนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน นี้อันประกาศเนื้อความนั้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสิปฺปชีวี ความว่า ชื่อว่า อสิปปชีวี เพราะอรรถว่า ไม่ไปอาศัยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งเลี้ยงชีพ เพราะความหวังในปัจจัยเหือดแห้งไป โดยข่มตัณหุปปาทาน ๔ ให้อยู่ไกลแสนไกล. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงอาชีวปริสุทธิศีล.
    บทว่า ลหุ ได้แก่ ชื่อว่า เบา คือไม่มีสัมภาระมาก เพราะมีกิจน้อยและมีความประพฤติเบาพร้อม. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงความเป็นผู้เลี้ยงง่าย อันสำเร็จด้วยความสันโดษในปัจจัย ๔.
    บทว่า อตฺถกาโม ความว่า ชื่อว่าอัตถกามะ เพราะอรรถว่าใคร่ คือปรารถนาเฉพาะประโยชน์ของโลกพร้อมเทวโลกเท่านั้น.
    ด้วยคำนี้ทรงแสดงถึงปาติโมกขสังวรศีล เพราะประกาศถึงความงดเว้นสิ่งไม่ใช่ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะแสดงถึงความงดเว้นความพินาศมีปาณาติบาตเป็นต้น.
    บทว่า ยตินฺทฺริโย ความว่า ชื่อว่ามีอินทรีย์สำรวมแล้ว เพราะสำรวมอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น โดยไม่ให้อกุศลธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเกิดขึ้น. ด้วยคำนี้ ตรัสถึงอินทรียสังวร.
    บทว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต ความว่า ผู้มีศีลบริสุทธิ์ดีอย่างนี้ ตั้งมั่นอยู่ในความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ กำหนดนามรูปพร้อมปัจจัย พิจารณาสังขารด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น บำเพ็ญวิปัสสนา ต่อจากนั้น ก็ชื่อว่า เป็นผู้หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง คือในภูมิทั้งปวงมีภพเป็นต้น เพราะละสังโยชน์ได้ด้วยอริยมรรค ๔ ที่เป็นไปตามลำดับ.
    บทว่า อโนกสารี อมโม นิราโส ความว่า ชื่อว่าอโนกสารี เพราะไม่มีความซ่านไปแห่งตัณหาในอายตนะทั้ง ๖ กล่าวคือ โอกะ (น้ำ) เหตุหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงเช่นนั้นทีเดียว.
    ชื่อว่าอมมะ เพราะไม่มีมมังการในอารมณ์ไหนๆ มีรูปารมณ์เป็นต้น.
    ชื่อว่านิราสะ เพราะไม่มีความหวังโดยประการทั้งปวง.
    บทว่า หิตฺวา มานํ เอกจโร ส ภิกฺขุ ความว่า ก็ภิกษุนั้นผู้เป็นอย่างนั้น ละมานะได้ไม่เหลือ พร้อมกับเวลาที่ได้บรรลุอรหัตมรรคทีเดียว จึงไม่คลุกคลีด้วยหมู่เหมือนภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้เดียวเที่ยวไป ในอิริยาบถทั้งปวง เพราะประสงค์ความสงัดและเว้นจากเพื่อน คือตัณหา ผู้นั้น โดยทางปรมัตถ์ ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายกิเลสโดยประการทั้งปวง.
    ก็ในที่นี้ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกิยะ โดยนัยมีอาทิว่า อสิปฺปชีวี ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ.
    ด้วยคำมีอาทิว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกุตระ. ในคำนั้น ทรงแสดงว่า ธรรมนี้สำหรับผู้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพเป็นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นของผู้อาศัยศิลปเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงเว้นการถือในศิลปว่าเป็นสาระ แล้วศึกษาในอธิศีลเป็นต้นเท่านั้น.

    จบอรรถกถาสิปปสูตรที่ ๙
     
  3. aran

    aran สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +10
    ขอบคุณมากค่ะคุณ โลโป thaxx
     
  4. itemnoi

    itemnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    440
    ค่าพลัง:
    +323
  5. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น อรรถกถา ไม่ได้เป็น คำพูดจาก พระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า
     
  6. มาลาอิกะห์

    มาลาอิกะห์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +3
    เห็นว่าอาชีพนักแสดงร้องรำทำเพลงเป็นอาชีพต้องห้ามในศาสนาพุทธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...