เสียงธรรม หมอชีวก โกมารภัจจ์ [น่ารู้] / อาจารย์ยอด

ในห้อง 'เสียงธรรม' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 28 ตุลาคม 2020.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ChevakaKomalaputh.jpg
    หมอชีวก โกมารภัจจ์ [น่ารู้]/ อาจารย์ยอด

    อาจารย์ยอด
    Jun 10, 2018
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    คาถาบูชาพระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์

    Pakpoom
    คาถาบูชาพระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ สวดเป็นประจำเพื่อบูชาครูแพทย์ก่อนทำการรักษาไข้ สวดเพื่อขอบารมีท่านให้มาช่วยปัดเป่าคุ้มครองป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆนาๆ ขอให้บารมีเกิดแก่ผู้ที่ได้รับฟังทุกผู้ทุกคนขออย่าให้มีโรคภัยเบียดเบียนเลย....สาธุ

    ติดตามการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองกับหมอภาคภูมิ ได้ที่ facebook https://m.facebook.com/profile.php?id...
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ชีวกโกมารภัจจ์
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ชีวกโกมารภัจจ์
    250px-Watkhungtaphao_Herbal_Garden%2C_zoom.jpg
    รูปเคารพแบบไทย ไว้เคราขาว สวมชุดขาว สวมประคำ
    ส่วนบุคคล
    เกิด

    ราชคฤห์, มคธ
    ตาย
    ราชคฤห์, มคธ
    ศาสนา พุทธ
    สัญชาติ มคธ
    บิดามารดา
    สำนักศึกษา ตักษศิลา
    รู้จักจาก อายุรเวท, การนวดแผนไทย
    วิชาชีพ แพทย์
    ตำแหน่งชั้นสูง
    ครู
    อาเตรยะ
    วิชาชีพ แพทย์
    ตำแหน่ง แพทย์ประจำพระองค์พระโคตมพุทธเจ้า พระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอชาตศัตรู
    ชีวกโกมารภัจจ์ (บาลี: Jīvaka Komārabhacca) หรือ ชีวกกุมารภฤต (สันสกฤต: Jīvaka Kumārabhṛta) มักย่อว่า ชีวกะ (Jīvaka) เป็นแพทย์ประจำพระองค์พระโคตมพุทธเจ้าและพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ อาศัยอยู่ในราชคฤห์ช่วง 600–500 ปีก่อนคริสตกาล มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องเล่าขานของเอเชียในฐานะแพทย์ตัวอย่าง ทั้งได้รับยกย่องให้เป็นแพทย์ต้นแบบของแพทย์แผนโบราณในหลายประเทศแถบเอเชีย

    เรื่องราวของชีวกะพบได้ในเอกสารพุทธสมัยเริ่มแรกของหลาย ๆ วัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมบาลีและวัฒนธรรมมูลสรวาสติวาท ตลอดจนเอกสารสมัยหลังอย่างพระสูตรและอปทาน เอกสารเหล่านี้ระบุสอดคล้องกันว่า ชีวกะเป็นบุตรของหญิงงามเมืองผู้หนึ่ง ถูกมารดาทิ้งแต่กำเนิด ชาววังพระเจ้าพิมพิสารมาพบเข้าจึงเก็บไปเลี้ยง ครั้นเติบใหญ่ขึ้น เขาเดินทางไปตักษศิลาเพื่อเรียนวิชาแพทย์เจ็ดปี สำเร็จแล้วก็เริ่มรักษาคนในราชคฤห์ ความสำเร็จในการรักษาของเขาทำให้เขามีชื่อเสียงเลื่องลือ ทั้งได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสารและพระโคตมพุทธเจ้า ยิ่งเขาถวายงานต่อพระพุทธเจ้า เขาก็ยิ่งเลื่อมใสในพุทธศาสนา ที่สุดจึงได้เป็นอุปถัมภกคนสำคัญของศาสนานี้ ทั้งได้สร้างวัดนามว่า "ชีวการามวิหาร" ถวายพระพุทธเจ้าด้วย ภายหลัง พระเจ้าอชาตศัตรู พระโอรสพระเจ้าพิมพิสาร ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารเพื่อชิงบัลลังก์ ชีวกะก็มีบทบาทในการทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูยอมมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จนพระเจ้าอชาตศัตรูสำนึกในบาปกรรม

    เอกสารข้างต้นมักพรรณนาวิธีการซับซ้อนที่ชีวกะใช้ในการแพทย์ เช่น วิธีการบางอย่างที่อาจตีความได้ว่า เป็นการผ่าตัดสมอง แต่คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ของเนื้อหาเหล่านี้เป็นที่ถกเถียงกันมายาวนานในหมู่นักวิชาการ ถึงกระนั้น ชาวพุทธก็ยกย่องชีวกะตลอดมาในหน้าประวัติศาสตร์ของเอเชีย ทั้งแพทย์ที่มิใช่ชาวพุทธก็นับถือเขาในระดับหนึ่งโดยยกย่องเป็นแพทย์ตัวอย่างและเป็นนักบุญ นอกจากนี้ มีเอกสารการแพทย์จำนวนหนึ่งจากยุคกลางของอินเดียและจีนที่เชื่อว่า ชีวกะเป็นผู้แต่ง ปัจจุบัน ชาวอินเดียและชาวไทยยกย่องเขาเป็นผู้โอบอุ้มการแพทย์แผนโบราณ ทั้งเขายังมีบทบาทหลักในพิธีกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย อนึ่ง ที่ผ่านมา บทบาทของชีวกะในทางตำนานก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยดึงดูดผู้เลื่อมใสและสร้างความชอบธรรมให้แก่พุทธศาสนา โดยมีการปรับปรุงรายละเอียดบางประการให้สอดรับกับบริบทของแต่ละท้องที่

    ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พระถังซัมจั๋งรับราชโองการจักรพรรดิถังไท่จงไปเชิญพระไตรปิฎกมาจากอินเดีย ได้พบวัดแห่งหนึ่ง และระบุว่า เป็นวัดชีวการามวิหารของหมอชีวกะ สถานที่ที่พระถังซัมจั๋งค้นพบนั้นได้รับการขุดค้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถือเป็นหนึ่งในพุทธสถานอันเก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน
    แหล่งข้อมูล
    ชีวิตของชีวกะนั้นปรากฏในเอกสารพุทธสมัยเริ่มแรกหลายฉบับ เช่น พระไตรปิฎกภาษาบาลี, เอกสารภาษาสันสกฤต, เอกสารภาษาจีน (อย่าง ธรรมคุปตกะ, มหีศาสกะ, และสรวาสติวาท ที่แปลจากต้นฉบับภาษาอินเดียเมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล), และเอกสารภาษาทิเบต[1]

    เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่ว่าด้วยชีวิตของชีวกะนั้น คือ พระวินัยในพระไตรปิฎก ซึ่งสามารถกำหนดอายุย้อนไปได้ถึงราวครึ่งแรกของศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล พระวินัยนี้นอกจากมีส่วนที่ว่าด้วยกฎระเบียบทางการแพทย์แล้ว ยังบรรยายชีวิตและผลงานของชีวกะ ซึ่งได้รับการแปลออกเป็นหลายภาษา[2]

    ส่วนพระไตรปิฎกภาษาจีนที่เรียกว่า "พระไตรปิฎกไทโช" นั้น มีเนื้อหาสองส่วนที่เกี่ยวกับชีวกะและไม่ได้อยู่ในพระวินัย คือ พระสูตรสองบทที่เรียกว่า "อามรปาลิชีวกสูตร" ซึ่งประพันธ์ขึ้นก่อนศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล กับ "อามรปาลิชีวกอวทานสูตร" ซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7–10 พระสูตรทั้งสองใช้เอกสารภาษาสันสกฤตหรือเอกสารจากเอเชียกลางเป็นแหล่งข้อมูล เชื่อกันมาตลอดว่า ผู้ประพันธ์พระสูตรทั้งสอง ได้แก่ อาน ชื่อเกา (安世高) แต่ก็มีผู้โต้แย้งว่า ความเชื่อนี้เป็นเพียงความพยายามจะทำให้พระสูตรดูเก่าแก่และมีความชอบธรรม นักวิชาการอย่าง C. Pierce Salguero เห็นว่า พระสูตรดังกล่าวน่าจะใช้แหล่งข้อมูลที่จู๋ ฝ่าฮู่ (竺法護) แปลมา รวมถึงพระวินัย และเอกสารพุทธสมัยหลังพระไตรปิฎก มากกว่า โดยเป็นการปรับปรุงให้เข้าถึงผู้อ่านที่เป็นฆราวาสมากขึ้น เพราะเนื้อหาในพระวินัยนั้นเน้นให้พระสงฆ์อ่าน อนึ่ง เป็นไปได้ว่า เนื้อหาของอามรปาลิชีวกสูตรนั้นประพันธ์ขึ้นโดยรวมเอาและบางทีตั้งใจจะใช้ทดแทนเรื่องราวจากพระวินัยในสมัยแรก ๆ ที่พบในมหีศาสกะและสรวาสติวาท ส่วนอามรปาลิชีวกอวทานสูตรก็น่าจะอ้างอิงอามรปาลิชีวกสูตรอีกที แต่ขยายความโดยใช้พระวินัยฉบับธรรมคุปตกะเป็นแหล่งข้อมูล[3]

    นอกจากเอกสารข้างต้นแล้ว ยังมีเอกสารประเภทอวทานอีกหลายฉบับที่ว่าด้วยชีวกะ ทั้งยังปรากฏการอ้างถึงเขาในวรรณกรรมอินเดียหลายเรื่องที่ไม่ใช่ของพุทธศาสนา เช่น มาฐรวฤตติ ซึ่งเป็นคำอธิบายขยายความสางขยสูตร ตลอดจนกวีนิพนธ์แนวเสียดสีเรื่อง กเษเมนทระ ที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นภาษากัษมีร์[4]

    นักวิชาการอย่าง Kenneth Zysk และ C. Pierce Salguero เปรียบเทียบเนื้อหาฉบับต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของชีวกะแล้ว เชื่อว่า ไม่มีฉบับไหนที่เป็นเนื้อหาดั้งเดิมเลย ชีวประวัติดั้งเดิมของชีวกะเป็นอย่างไรนั้นจึงไม่อาจรู้ได้ นอกจากนี้ ทั้งสองยังเห็นว่า เนื้อหาฉบับต่าง ๆ เหล่านี้ผ่านการปรับปรุงแก้ไขให้สอดรับกับความนิยมในท้องถิ่น[5][2] ตัวอย่างเช่น Salguero เห็นว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ในพระสูตรเกี่ยวกับชีวกะซึ่งอยู่นอกพระวินัยนั้นเขียนขึ้นโดยอาศัยภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน ทั้งวิธีทางแพทย์ที่ทั้งพระวินัยและพระสูตรบรรยายว่า เป็นของชีวกะนั้น ก็ดูจะเป็นการแพทย์แผนจีนมากกว่าแผนอินเดีย[6][1] อนึ่ง คติสอนใจหลาย ๆ อย่างในเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของชีวกะนั้นก็ปรากฏว่า ดึงมาจากตำนานเกี่ยวกับแพทย์ชาวจีนหลายคน[7] Zysk เห็นว่า เอกสารฉบับภาษาบาลีนั้นมีความเป็นจริงมากกว่าเอกสารที่ได้รับอิทธิพลจากคติมหายานที่มีเนื้อหาไปในเชิงเวทมนตร์ปาฏิหาริย์เสียมาก เขายังเห็นว่า เอกสารภาษาทิเบตและสันสกฤตพรรณนาการรักษาโรคไว้มากกว่าที่ปรากฏในเอกสารอินเดียดั้งเดิมอย่างอายุรเวท เนื้อหาแต่ละฉบับยังบรรยายโรคภัยไว้ตามความเข้าใจในท้องถิ่นแล้วดำเนินเรื่องโดยให้หมอชีวกะมารักษา แต่ข้อความที่บรรยายในแต่ละฉบับก็คล้ายคลึงกันในหลายส่วนอยู่
    บุตรที่ถูกทิ้ง
    เอกสารภาษาบาลีซึ่งเป็นเอกสารเก่าแก่ที่สุด[9][2] รวมถึงเอกสารภาษาจีนอย่างธรรมคุปตกะและอามรปาลิชีวกอวทานสูตร[10] ระบุว่า ชีวกะเกิดในราชคฤห์ เมืองหลวงของมคธซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมหากษัตริย์ มารดาของชีวกะเป็นหญิงงามเมือง พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและฉบับธรรมคุปตกะระบุนามของนางว่า "สลาวตี" (หรือ "สาลวดี" ในฉบับภาษาไทย) หญิงงามเมืองนั้นเมื่อคลอดบุตรชายแล้วก็ให้คนรับใช้นำบุตรไปทิ้งขยะ Jonathan Silk มองว่า เหตุผลที่นางทิ้งบุตรชาย คงเพราะเห็นว่า มีประโยชน์น้อยกว่าบุตรหญิง (ที่จะได้เอามาเลี้ยงเป็นหญิงงามเมืองเหมือนกัน)[11] ส่วน Y.B. Singh อธิบายว่า นางคงเกรงว่า การมีบุตรจะทำให้ชื่อเสียงและรายได้ในฐานะหญิงงามเมืองของนางถดถอย[12]

    เอกสารบาลีว่า เมื่อชีวกะถูกมารดานำมาทิ้งไว้บนกองขยะแล้ว อภัยราชกุมาร พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร เสด็จมาพบเข้า และตรัสถามคนรอบข้างว่า เด็กนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือ ผู้คนทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าชายอภัยราชกุมารจึงทรงเก็บเด็กนั้นมาเลี้ยง ประทานนามว่า "ชีวกะ" แปลว่า "ผู้มีชีวิต"[9][13] เอกสารภาษาบาลีกล่าวอีกว่า ชีวกะได้ชื่อที่สองว่า "โกมารภัจจ์" อันแปลว่า "ผู้รับใช้กุมาร" นั้น เนื่องจากพระราชกุมารทรงเลี้ยงดูอุ้มชูมา แต่นักวิชาการแย้งว่า ชื่อนี้น่าจะมีที่มาจากคำเรียกกุมารแพทย์ตามตำราอายุรเวทของอินเดียโบราณ มากกว่า[1][14]

    ตามเอกสารบาลี เมื่อชีวกะเติบใหญ่ขึ้น เขาค้นพบชาติกำเนิดอันต่ำต้อยของตน และตกลงใจจะเรียนให้สูงเพื่อทดแทนภูมิหลังดังกล่าว[13] เขาจึงเดินทางไปตักษศิลาเพื่อเรียนวิชาแพทย์ โดยมิได้แจ้งเจ้าชายอภัยราชกุมาร[15][9]

    เอกสารสมัยต่อ ๆ มา เช่น ชีวกสูตรของจีน เจียระไนเรื่องให้ดึงดูดผู้อ่านมากขึ้น โดยระบุว่า อามรปาลี หญิงงามเมืองซึ่งภายหลังได้เป็นสาวกของพระโคตมพุทธเจ้านั้น เป็นมารดาของชีวกะ ส่วนบิดาของชีวกะซึ่งไม่ปรากฏชื่อในเอกสารสมัยก่อนหน้านั้นก็กลายเป็นพระเจ้าพิมพิสาร[16] เช่น เอกสารสันสกฤตและเอกสารทิเบตสมัยแรกที่แปลมาจากวัฒนธรรมมูลสรวาสติวาทระบุว่า ชีวกะเป็นโอรสลับของพระเจ้าพิมพิสารกับภริยาของพ่อค้าคนหนึ่ง[13][11][10] แต่เอกสารสันสกฤตและทิเบตไม่ระบุนามของภริยาพ่อค้าดังกล่าว และระบุว่า อามรปาลีเป็นมารดาของอภัยราชกุมาร พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร แทนที่จะเป็นมารดาของชีวกะ[10] เอกสารกลุ่มนี้ให้ข้อมูลว่า พระเจ้าพิมพิสารมีความสัมพันธ์ลับกับหญิงที่เป็นภริยาพ่อค้านั้น เมื่อทรงทราบว่า นางตั้งครรภ์ ก็ตรัสต่อนางว่า ถ้าคลอดเป็นชาย ให้นำมาถวายตัว จะได้ทรงชุบเลี้ยงในราชสำนัก เมื่อนางคลอดออกมาเป็นชาย คือ ชีวกะ นางจึงเอาทารกชายนั้นใส่หีบมาทิ้งไว้หน้าพระราชวัง พระเจ้าพิมพิสารก็ให้นำหีบนั้นเข้ามา และตรัสถามว่า เด็กในนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือ เมื่อข้าราชสำนักทูลตอบว่า ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าพิมพิสารจึงเรียกเด็กนั้นว่า "ชีวกะ" อันแปลว่า "ผู้มีชีวิต"[11][10] นอกจากนี้ เอกสารสันสกฤตและทิเบตยังพยายามพรรณนาให้ชีวกะกลายเป็น "หมอเทวดา" เหมือนแพทย์จีนอย่างเปี่ยน เชฺว่ (扁䳍) และหฺวา ถัว (華佗) โดยใส่ปาฏิหาริย์เข้าไป เช่น กล่าวว่า ชีวกะเกิดมามีเข็มฉีดยาและสมุนไพรอยู่ในมือ[17] เอกสารสันสกฤตและทิเบตพรรณนาอีกว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงอุ้มชูชีวกะให้อยู่ในราชสำนักจนเติบใหญ่ เมื่อชีวกะพบแพทย์หลวงคนหนึ่ง ก็สนใจในวิชาแพทย์ จึงตัดสินใจไปตักษศิลาเพื่อเรียนแพทย์[18]

    ส่วนพระวินัยของธรรมคุปตกะและชีวกสูตรของจีนกล่าวว่า ชีวกะเห็นว่า แพทย์ในวังหลวงมีความรู้น้อยกว่าตน จึงเดินทางไปตักษศิลาเพื่อเรียนวิชาแพทย์กับอาจารย์ที่เก่งกาจ[19]
    :- https://th.wikipedia.org/wiki/ชีวกโกมารภัจจ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...