สัมมัปปธาน : เฝ้าเพียรทางใจ ประคองจิตไว้ เพื่อความเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 21 ธันวาคม 2012.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์​


    ๘. สัมมัปปธานวิภังค์
    สุตตันตภาชนีย์


    [๔๖๕] สัมมัปปธาน ๔ คือ
    ๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
    ๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรม เกิดขึ้นแล้ว
    ๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
    ๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


    เพียร ป้องกัน บาปอกุศลธรรม ที่ ยังไม่เกิดขึ้น มิให้เกิดขึ้น

    [๔๖๖] ก็ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
    ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน
    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาทอันเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
    ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้

    [๔๖๗] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน
    ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาดความพอใจในธรรม อันใด นี้ เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด

    [๔๖๘] บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้ เรียกว่าความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้วเข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม

    [๔๖๙] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใดนี้ เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร

    [๔๗๐] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้ เรียกว่าจิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้

    [๔๗๑] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใดนี้ เรียกว่าความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร


    เพียร ละบาป อกุศลธรรม ที่ เกิดขึ้นแล้ว


    [๔๗๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร
    ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน
    อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้

    [๔๗๓] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะเป็นไฉน
    ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะทำความฉลาดความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด

    [๔๗๔] บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม

    [๔๗๕] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร

    [๔๗๖] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมถ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้

    [๔๗๗] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร


    เพียร สร้าง กุศลธรรม ที่ ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น


    [๔๗๘] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
    ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน
    กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐานสภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
    ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้

    [๔๗๙] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน
    ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด
    บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม
    บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
    บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้
    บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร


    เพียร รักษา กุศลธรรม ที่ เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อม


    [๔๘๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร
    ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน
    กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น กายกรรมวจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้

    [๔๘๑] บทว่า เพื่อความดำรงอยู่ มีนิเทสว่า ความดำรงอยู่ อันใดนั้นคือความไม่สาบสูญ ความไม่สาบสูญ อันใด นั้นคือความภิยโยยิ่ง ความภิญโญยิ่ง อันใด นั้นคือความไพบูลย์ ความไพบูลย์ อันใด นั้นคือความเจริญ ความเจริญ อันใด นั้นคือความบริบูรณ์

    [๔๘๒] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน
    ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด
    บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม
    บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
    บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน
    จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้
    บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร
    สัมมัปปธานวิภังค์
    สุตตันตภาชนีย์ จบ​


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=6561&Z=6591&pagebreak=0



    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์

    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมคุณพระสงฆ์
    บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า
    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ
    ปัญญามีความเพียร ขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ


    <O></O><!-- google_ad_section_end --><O></O>

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2411923/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...