เสียงธรรม "ยารักษาโรคทางใจ" / พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 5 มกราคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LpSuchartApichato.jpg
    พรที่แท้จริง ๑ มกราคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ทางสู่การดับทุกข์ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ขั้นตอนการรักษาใจให้พ้นทุกข์ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๙พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Dec 10, 2017
    พระธรรมเทศนา ชุดธรรมะบนเขา ๓๓ เรื่อง "ทางสู่การดับทุกข์" โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
    วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
    ประจำวันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

    Facebook :- https://www.facebook.com/Abhijato
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • photo.jpg
      photo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.2 KB
      เปิดดู:
      430
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LpSuchartApichatoWord.jpg
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    3
    กัณฑ์ ที่ ๔๘๕
    ธรรมะจากใจ

    ๑๖พฤศจิกายน๒๕๕๗
    เมื่อกี้นี้ตอนที่เดินมาที่ศาลา เห็นหนังสือธรรมะจากใจของหลวงตา ก็เลยทําให้นึกถึง
    คําพูดว่าธรรมของพระพุทธเจ้านี้
    ต้องเป็นธรรมที่ถ่ายทอดจากใจถึงใจ ถึงจะเป็นธรรมแท้ธรรมที่จดจํามานี
    ยังไม่ถือว่าเป็นธรรมแท้เพราะยังไม่สามารถใช้ดับความทุกข์ดับกิเลสตัณหาได้
    ต้องเป็นธรรมะที่มีอยู่ในใจ ถึงจะสามารถดับกิเลสตัณหาดับความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในใจเช่นเดียวกันเวลาที่เราได้ยินได้ฟังธรรม เวลาที่เราได้อ่านหนังสือธรรม ธรรมเหล่านี
    ้ยังเป็นสัญญา ยังเป็นความจํา ยังไม่เข้าไปถึงใจกิเลสตัณหาความทุกข์ต่างๆที่มีอยู่ในใจของพวกเราจึง ยังไม่ได้ดับไป เพราะเรายังไม่ได้นําธรรมะของ
    พระพุทธเจ้า ที่ถูกถอดออกมาจากพระทัยของพระพุทธเจ้า ออกมาจากใจของพระสาวก
    ทั้งหลาย เข้าไปสู่ในใจของพวกเรานั่นเองเพราะการที่จะนําธรรมะเข้าไปสู่ในใจได้ ต้อง
    เกิดจากการปฏิบัติจิตตภาวนาเท่านัน
    ถ้าไม่บําเพ็ญจิตตภาวนา ไม่เจริญสมถภาวนา ไม่เจริญวิปัสสนาภาวนา ธรรมที่ได้รับการ
    ถ่ายทอดจากพระทัยของพระพุทธเจ้า และของพระสาวกทั้งหลาย ยังไม่ได้เป็นธรรมแท้
    สําหรับผู้ฟังอย่างพวกเรา แต่ถ้าเราไปบําเพ็ญไปเจริญสมถภาวนา ทําใจให้สงบ ดึงใจให้
    กลับเข้าสู่ใจ ตอนนี้ใจของพวกเราที่ยังไม่สงบนี้ ยังไม่ได้กลับบ้าน ยังไม่ได้เข้าไปข้างใน
    ยังอยู่ข้างนอกอยู่ อยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ส่วนกิเลสตัณหาความทุกข์นั้นมันอยู่
    ในใจ เราถึงไม่สามารถที่จะดับกิเลสตัณหา ดับความทุกข์ที่มีอยู่ภายในใจของเราได้
    เพราะเราอยู่ข้างนอก เหมือนกับเราอยู่ข้างนอกบ้าน ส่วนขโมยอยู่ข้างในบ้าน เราไม่
    สามารถฆ่าขโมยขณะที่เราอยู่ข้างนอกบ้านได้ เช่นตอนนี้เรามาอยู่ที่นี่ ตอนนี้อาจจะมี
    ขโมยขึ้นบ้านเราก็ได้ แล้วเราก็จะไม่สามารถทําอะไรกับขโมยได้ เพราะเราไม่เคยกลับเข้า
    ไปในบ้านของเรา ดังนั้นเราต้องเข้าบ้านของเรา คือเข้าไปในใจของเรา
    ตอนนีใจของเราออกมาทางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ออกมาทางรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณใจไม่ได้เข้าไปข้างใน ไม่ได้เข้าไปสู่ผู้รู้ ผู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ได้อยู่ที่ฐานอยู่ที่บ้าน คืออุเบกขาอยู่ที่ความสงบ ดังนั้นถ้าเราไม่ได้นําใจของเรากลับเข้าไปสู่บ้านของเรา เราจะไม่มีวันที่จะฆ่าตัณหา ฆ่ากิเลส ที่มีอยู่ในใจอยู่ในบ้านของเราที่คอยสร้างความทุกข์ให้กับพวกเราอยตลอดเวลานี่ แหละคือความเป็นจริงของพวกเราในขณะนีใจของพวกเรายังไม่ได้กลับบ้าน ยังไม่ได้เข้าข้างใน ยังอยู่ข้างนอกอยู่ยังอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ยังอยู่กับลาภยศ
    สรรเสริญ ยังอยู่กับรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณอยู่ เลยไม่มีความสามารถที่จะฆ่า
    ตัณหา ดับความทุกข์ที่มีอยู่ภายในใจได้ดังนันใครก็ตามที่คิดว่าการปฏิบัตินีไม่ต้อง
    เจริญสมถภาวนา ก็เป็นคนที่เรียกว่ามีมิจฉาทิฐิมีความเห็นผิดเป็นชอบ
    เพราะถ้าไม่ต้องภาวนาสมถภาวนาแล้ว พระพุทธเจ้าจะมาทรงสอนให้ภาวนากันทําไม ทําไมไม่สอนแต่วิปัสสนาภาวนาไปเลยเพียงอย่างเดียว ทําไมต้องมาพูดถึงเรื่องสมถภาวนา ทําไมถึง
    ต้องมาพูดถึงเรื่องสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดังนั้นพวกเราระมัดระวังไว้ สมัยนี้ยุคนี้จะมีคํา
    สอนที่เพี้ยนออกจากคําสอนของพระพุทธเจ้า เคยได้ยินว่าเดี๋ยวนี้มีการปฏิบัติแบบไม่
    ต้องนั่งสมาธิกัน บรรลุธรรมโดยไม่ต้องนั่งสมาธิกัน คนที่ไม่ชอบนั่งสมาธิพอได้ยินเข้าก็
    ดีใจ เพียงแต่คิดแล้วก็จะบรรลุได้ มันก็บรรลุในจินตนาการของตนเท่านั้นเอง แต่กิเลส
    ตัณหาที่มีอ ยู่ในใจก็ไม่ได้หายสาบสูญไปไหน ก็ยังมีอยู่ตลอดเวลา ก็กลับไปคิดว่า
    เป็นเพียงสิ่งที่ไม่มีปัญหาแล้ว คือถึงแม้จะอยากถึงแม้จะโกรธจะโลภจะหลง ก็เป็นเพียง
    กิริยาเท่านั้น นี่ก็อาจจะทําให้หลงผิดได้ ทําให้คิดว่าเพียงแต่อ่านหนังสือหรือเพียงแต่คิด
    พอเข้าใจว่าทุกข์เกิดจากอะไร แล้ววิธีดับทุกข์ดับด้วยอะไร ก็คิดว่าตนเองได้บรรลุแล้ว
    ได้สําเร็จแล้ว อันนี้ก็เป็นเพียงความคิด เป็นความตู่เอา เพราะยังไม่ได้เข้าไปทดสอบ
    ความจริงอันนี้เลย ความจริงอันนี้มันต้องมีการทดสอบ ต้องทดสอบดูการปล่อยวางต่างๆ
    ว่าปล่อยวางได้จริงหรือไม่เช่นปล่อยวางลาภยศสรรเสริญได้จริงหรือไม่ ปล่อยวางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะได้จริงหรือไม่ ปล่อยวางรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณได้จริงหรือไม่
    ปล่อยวางจิตได้จริงหรือไม่ อันนี้ต้องมีภาวะมีเหตุการณ์ที่ทดสอบ ถึงจะรู้ว่าปล่อยวางได้จริง
    หรือไม่ วิธีที่ทดสอบได้ดีที่สุดก็คือวิธีภาวนานี่เอง สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
    เพราะเวลาทําใจให้สงบได้ ใจจะปล่อยวางสิ่งต่างๆได้ชั่วคราว ปล่อยวางรูปเสียงกลิ่นรส
    โผฏฐัพพะ ปล่อยวางรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณแล้วก็เข้าไปสู่ความสงบ เข้าไปสู่
    อุเบกขา เข้าไปสู่สักแต่ว่ารู้ อันนั้นเรียกว่าเป็นการปล่อยวาง แต่ก็เป็นการปล่อยวาง
    ชั่วคราว ไม่ถาวร เพราะต้องออกมาสัมผัสรับรู้รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณกลับมา
    สัมผัสรับรู้กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เพราะร่างกายนี้มีความจําเป็นที่
    จะต้องมีการเคลื่อนไหว มีการเติมนํ้าเติมอาหาร จิตก็ต้องออกมาดูแลร่างกาย ออกมาเปลี่ยน
    อิริ ยาบถ ออกมาดื่มนํ้าออกมารับประทานอาหาร แล้วถึงจะกลับเข้าไปในความสงบได้
    ใหม่แต่ก็เป็นการสงบแบบชั่วคราว เป็นการปล่อยวางแบบชั่วคราว เพราะ
    ขณะที่ออกมาจากความสงบ พอต้องมาสัมผัสรับรู้กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ มาคิดมาปรุงกิเลสตัณหาก็จะแทรกออกมา ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า
    มาทรงตรัสรู้ ก็จะไม่มีใครรู้จักวิธีกําจัดกิเลสตัณหาได้อย่างถาวร
    ก็จะกําจัดหรือดับกิเลสตัณหาไว้เพียงชั่วคราว เช่นในขณะเข้า
    ไปในสมาธิ เข้าไปในความสงบ
    นี่คือจุดสูงสุดของสมัยก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ผู้ปฏิบัติบําเพ็ญเพื่อดับความ
    ทุกข์นั้น สามารถบําเพ็ญ ได้ถึงขั้นสมาธิเท่านั้น
    ขั้นรูปฌานอรูปฌาน แต่ไม่สามารถที่จะดับกิเลสตัณหาดับความทุกข์ได้อย่างถาวร เพราะไม่รู้จักวิธีเท่านั้นเอง จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาค้นพบวิธีดับกิเลสตัณหาอย่างถาวร มาตรัสรู้ ตรัสรู้วิธี รู้เหตุว่าความทุกข์เกิดจากกิเลสตัณหา รู้เหตุที่จะดับกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไปจากจิตจากใจ นี้ถึงจะสามารถดับความทุกข์ ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างแท้จริง โดยที่ไม่ต้องกลับเข้าไปในสมาธิแต่ในเบืองต้นต้องมีสมาธิก่อน ต้องปล่อยด้วยสมาธิให้ได้ก่อน ถ้าปล่อยด้วย
    สมาธิไม่ได้จะไม่รู้จักวิธีปล่อยพอปล่อยด้วยสมาธิได้แล้วก็ใช้ปัญญามาสอนใจ
    ให้ปล่อยโดยที่ไม่ต้องเข้าไปในสมาธิก็คือให้ใช้ความจริงมาแก้ความหลง เพราะ
    ความหลงเป็นเหตุทําให้เกิดตัณหาต้นเหตุของความทุกข์ใจ ความหลงก็คือไม่รู้ความจริงว่า
    ความสุขที่แท้จริงและความสุขปลอมนันแตกต่างกันอย่างไรไม่เคยรู้ว่าความสุขที่
    แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน รู้แต่ความสุขปลอม รู้แต่ความสุขที่ได้รับจากการกระทําตามความ
    อยากต่างๆ เวลาอยากจะเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็คิดว่าถ้าได้เสพแล้วจะมี
    ความสุข แต่ไม่เคยพิจารณาว่าเป็นความสุขแบบไหน เป็นความสุขยั่งยืนถาวรที่ให้ความ
    อิ่ม ความพอไปตลอด หรือว่าเป็นความสุขชั่วครั้งชั่วคราวประเดี๋ยวประด๋าว ได้มาแล้วก็
    หายไป แล้วก็เกิดความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว ที่จําเป็นที่จะต้องหาอะไรมาเติมให้มันเต็ม
    ใหม่ หาความสุขใหม่ ก็ต้องไปอยากกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะใหม่ ก็จะต้องทําอย่าง
    นี้ไปเรื่อยๆอย่างที่ไม่มีวันจบสิ้น เวลาใดที่ไม่สามารถที่จะทําตามความอยากได้ เวลานั้น
    ก็จะเกิดความหงุดหงิดเกิดความรําคาญใจ เกิดความทุกข์ใจ ถ้าอยากมากๆก็อาจจะถึง
    อยากจะฆ่าตัวตาย เพราะมันทุกข์มาก เช่นสูญเสียความสุขต่างๆที่เคยได้รับจากลาภยศ
    สรรเสริญ จากรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ แต่ตอนนี้ไม่สามารถที่จะหาความสุขแบบนั้น
    ได้ เช่นสูญเสียลาภยศสรรเสริญ สูญเสียความสามารถที่จะหาความสุข
    จาก รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะได้ จิตใจก็จะมีแต่ความเครียดความทุกข์ความทรมานใจ จนไม่คิดอยากจะอยู่ต่อไป นี่เป็นความทุกข์ที่เกิดจากการหาความสุขโดยการกระทําตามความ
    อยากต่างๆ เป็นอีกด้านหนึ่งของสิ่งที่เราคิดว่าเราจะได้จากการทําตามความอยาก
    เวลาเราทําตามความอยากเรามักจะคิดว่าเราจะมีความสุข เช่นเราอยากมีคู่ครอง
    เราก็จะคิดแต่ส่วนที่เป็นความสุข แต่เราไม่เคยคิดถึงส่วนที่เป็นความทุกข์ที่จะตามมาต่อไป
    เพราะสิ่งที่เราได้มานั้น เขาไม่ได้เป็นของที่จะอยู่เหมือนเดิมไปตลอด เขาต้องมีการ
    เปลี่ยนแปลงไป มีการเจริญบ้างมีการเสื่อมบ้าง เวลาเจริญก็ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่เวลา
    เสื่อมนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมา เป็นความทุกข์ใจขึ้นมา และเราก็ไม่สามารถที่จะไป
    บังคับให้เขาเปลี่ยนไปในทางที่เจริญเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะไปบังคับไปห้าม
    ไม่ให้เขาเสื่อม ไปในทางที่เราไม่ปรารถนา เพราะเขาไม่อยู่ภายใต้อํานาจของเรานั่นเอง
    ท่านจึงเรียกว่าเป็นอนัตตา เขาเปลี่ยนก็เพราะว่าเขาเป็นอนิจจัง พอเขาเปลี่ยน พอเราไม่
    สามารถไปบังคับเขาได้ เราก็เกิดทุกขังขึ้นมา เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา เพราะอยากจะให้
    เขาไม่เปลี่ยน อยากจะให้เขาเปลี่ยนไปในทางที่ดี ไม่เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี
    นี่คือสิ่งที่เราไม่ใช้ปัญญาพิจารณากัน เพราะไม่รู้ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาทรงสอนให้พิจารณา ก็จะไม่รู้จักวิธีที่จะรักษาความสงบ ความสุขที่ได้จากสมถภาวนา เวลาที่ออกมาจาก
    สมถ ภาวนาแล้ว เกิดความทุกข์เกิดความวุ่นวายใจขึ้นมา วิธีเดียวที่จะทําได้
    ก็คือต้องกลับเข้าไปในสมาธิ นั่นก็คือวิธีของผู้ที่ปฏิบัติในสมัยที่ยังไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ มาสอนวิปัสสนาภาวนา มาสอนให้รู้จักวิธีรักษาความสุขที่ได้จากความสงบ โดยการที่ไม่ต้องกลับเข้าไปในสมาธิ โดยการใช้ปัญญาแก้ความหลง เอาความจริงมาแก้ความหลง เอาความสว่างมา
    แก้ความมืด เวลาเราอยู่ในที่มืดเรามองไม่เห็นอะไร เราใช้อะไร เราก็ใช้จินตนาการว่า
    ของอยู่ตรงนั้นของอยู่ตรงนี้
    แต่พอเดินไปแล้วไปชนสิ่งนั้นไปเตะสิ่งนี้ นั่นก็เป็นเพราะว่าจินตนาการของเรากับความจริงมันไม่ตรงกัน ฉันใดเวลาที่เราไม่ใช้ปัญญาก็อย่างนั้น
    เวลาเราเห็นอะไรเรารักเราชอบ เราก็จะว่ามันดีไปหมด ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ อยากได้มา
    เป็นสมบัติของตนให้ได้ เพราะไม่ได้มีปัญญาที่จะชี้ให้เห็นว่า มันดีจริงตอนนี้นะ แต่มัน
    พรุ่งนี้มันจะดีอย่างนี้หรือเปล่า ต่อไปมันจะเป็น อย่างนี้ไปเรื่อยๆหรือเปล่า หรือว่ามัน
    จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป มีการเสื่อมไป และมีการพลัดพรากจากกันไป อันนี้ผู้ที่ไม่มี
    ปัญญาจะมองไม่เห็น ก็เหมือนกับผู้ที่อยู่ในที่มืด จะไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ จะเห็นไปตาม
    จินตนาการของตนเท่านั้น
    ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เจริญวิปัสสนากัน หลังจากที่ออกมาจากสมถภาวนา
    แล้ว สามารถรักษาความสงบที่ได้จากสมถภาวนา โดยการเจริญปัญญาพิจารณาทุกสิ่ง
    ทุกอย่าง หรือไม่ว่าเห็นอะไรได้ยินอะไร สัมผัสอะไรคิดถึงเรื่องอะไร ถ้าเกิดความอยาก
    ขึ้นมา ก็ต้องใช้ไตรลักษณ์เข้ามายับยั้งทันที ถ้าใช้เป็นก็จะหยุดตัณหาความอยากได้ พอ
    หยุดความอยากได้ ความรู้สึกว่าอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว ความรู้สึกว่าขาดสิ่งนั้นขาดสิ่งนี้มัน
    ก็จะหายไป ความอิ่มความพอที่ได้รับจากความสงบก็จะกลับคืนขึ้นมาใหม่ ก็จะอยู่
    เฉยๆได้ ไม่ต้องดิ้นรนไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่ต้องไปหาคนนั้นคนนี้ ไม่ต้องโทรกันไป
    ติดต่อกันมา ส่งภาพส่งอะไรต่างๆไปหากัน นี่ที่ทําอย่างนี้ก็เพราะว่ามันอยู่เฉยๆไม่ได้ ใจ
    มันหิวกับรูปกับเสียงกับกลิ่นกับรส มันหิวกับเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวของบุคคลนั้น
    บุคคลนี้ ตอนนี้กําลังทําอะไรอยู่ กําลังไปไหน นี่คือเรื่องของตัณหาทั้งนั้น สิ่งต่างๆในโลก
    นี้ที่ผลิตกันขึ้นมานี้ ก็เพื่อมารองรับตัณหานี้เท่านั้น แล้วก็มันสามารถดับความทุกข์
    ภายในใจให้หมดไปได้หรือไม่ มันไม่สามารถดับได้ เวลาเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา สิ่ง
    เหล่านี้มันดับได้หรือเปล่า มันดับไม่ได้ เพราะมันไม่มีหน้าที่ที่จะมาดับความทุกข์ใจ
    หน้าที่ของมันก็คือมาสร้างความทุกข์ใจให้มีมากขึ้นไปเท่านั้นเอง เพราะมันจะทําให้เกิดมี
    ความอยากเพิ่มมากขึ้นไป เพราะว่าได้มาเท่าไหร่ก็จะไม่อิ่มไม่พอ อยากจะได้มากไปกว่า
    นี้ อยากจะได้สิ่งที่ดีไปกว่านี้ จึงมีสินค้าที่ผลิตออกมาที่จะต้องดีกว่าเก่าอยู่เสมอ เพราะมี
    ความต้องการของที่ดีกว่าใหม่กว่าอยู่เรื่อยๆ แต่ต่อให้ใหม่ขนาดไหนดีกว่าขนาดไหน มัน
    ก็เหมือนเดิม มันก็ไม่ได้ทําให้ความทุกข์ความอยากหายไปจากใจ แต่มันกลับทําให้เกิดมี
    ความอยากมีความทุกข์เพิ่มมากขึ้น รอรุ่นใหม่ พอซื้อรุ่นนี้มาได้ไม่กี่วันก็นั่งรอรุ่นใหม่
    แล้ว พ อได้ยินข่าวว่ามีรุ่นใหม่ออกมาก็เตรียมตัวเตรียมใจเตรียมเงินเตรียมทองที่จะไป
    ต้อนรับน้องใหม่แล้ว นี่คือเรื่องของใจของผู้ที่ไม่ได้เจริญสมถภาวนา ไม่ได้เจริญ
    วิปัสสนาภาวนา
    ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ดับกิเลสตัณหานี้ ต้องปฏิบัติด้วยการเจริญสมถภาวนา
    และวิปัสสนาภาวนา เราต้องกลับเข้าไปในใจ เพื่อที่จะได้ไปพบป
    ะต่อสู้กับ ข้าศึก ศัตรูของเราที่มีฝังอยู่ในใจตลอดเวลา กิเลสตัณหานี้มันอยู่ภายในใจของเรา เราต้องกลับเข้าไปในใจเท่านั้นเรา ถึงจะทําลายมันได้ ดังนั้นขอให้พวกเราพยายามเพียรปฏิบัติกันการที่จะทําใจให้สงบได้ จําเป็นจะต้องมีสติ สตินี้เป็นเหตุที่จะทําให้เกิดสมาธิ เกิดความสงบ แล้วเมื่อมีความสงบแล้ว ก็ใช้ปัญญารักษาความสงบ ด้วยการทําลายตัณหากิเลสต่างๆ ที่เป็น
    ตัวที่จะมาคอยทําลายความสงบ ที่ได้รับจากการเจริญสมถภาวนา
    ทุกครังที่มีตัณหา ความอยากจะต้องทําลายมัน ไม่ใช่ไปสนับสนุนมัน เพราะสนับสนุนความอยากก็เท่ากับการ สนับสนุนการสร้างความทุกข์ใจขึนมา
    เราปฏิบัตินี้ก็เพื่อดับความทุกข์ใจต่างๆให้หมดไปจากใจ เพื่อใจของเราจะได้อยู่อย่างสุขสบาย เพราะความทุกข์ใจนี้ก็เป็นเหมือนกับความทุกข์ของร่างกาย ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ เวลาเราเกิดโรคภัยไข้เจ็บเกิดความทุกข์ทางร่างกาย เราทําอย่างไร เราก็ต้องหาวิธีรักษามันไม่ใช่หรือ มียาก็เอายามารับประทาน ไม่มีก็ไปหายา ถ้าต้องใช้หมอก็ต้องไปหาหมอ ถ้าต้องเข้าโรงพยาบาลก็ต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะเราไม่ต้องการให้ร่างกายมันเจ็บมันปวด เราต้องการให้มันหาย เราไม่ต้องการให้มันตาย ฉันใดความทุกข์ใจก็เหมือนกัน ความทุกข์ใจก็คือความไม่สบายของจิตใจนั่นเอง แต่เราไม่ค่อยรักษาจิตใจหรือรักษาก็รักษาแบบวิธีที่ไม่ถูก รักษาแบบ
    ไม่หาย รักษาแบบทําให้เกิดความทุกข์ใจรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก แทนที่ความทุกข์ใจจะเบา
    บางน้อยลงไป กลับรักษาด้วยการเพิ่มความทุกข์ใจขึ้นไปอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2022
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    9
    ก็คือพอทุกข์ใจก็ไปหาความสุขมาดับความทุกข์ใจ ด้วยการทําตามความอยาก เช่นอยาก
    ดูอยากฟัง อยากดื่มอยากรับประทาน ก็ไปดื่มกันไปรับประทานกัน ไปดูไปฟัง ไปเที่ยว
    กัน เพื่อที่จะได้มาดับความทุกข์ใจที่มีอยู่ บางทีเราทุกข์กับคนนั้นทุกข์กับคนนี้ เราก็เลย
    หนีไปเที่ยวออกไปนอกบ้าน ไปซื้อข้าวซื้อของ ไปดูไปฟังอะไรไปดื่มไปรับประทานอะไร
    ก็เป็นการลืมความทุกข์ที่มีอยู่ไปชั่วคราว แต่ไม่ได้ดับความทุกข์นั้น พอกลับมาเจอเรื่อง
    เก่าความทุกข์เก่าก็จะหวนกลับคืนขึ้นมาใหม่ แล้วก็ไปสร้างความทุกข์ใหม่ คือความ
    อยากที่จะออกไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ทีนี้ก็เลยมีความทุกข์
    ๒ อัน อันแรกก็ทุกข์กับเรื่องนั้นเรื่องนี้คนนั้นคนนี้ ก็ใช้วิธีการไปเที่ยวไปหาความสุข ทางตาหูจมูกลิ้นกายมาดับความทุกข์ แต่มันไม่ได้ดับ พอกลับมาคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้คนนั้นคนนี้ ความ
    ทุกข์ ที่เกิดจากคนนั้นคนนี้เรื่องนั้นเรื่องนี้ก็กลับคืนขึ้นมาใหม่ แล้วก็อยากจะออกไปเที่ยว
    เพื่อที่จะได้ลืมเรื่องนี้ไปอีก ถ้าไม่มีความสามารถที่จะออกไปเที่ยวได้ ทีนี้ก็จะเกิดความ
    ทุกข์เพิ่มขึ้นมาอีก เช่นร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย หรือว่าเงินทองไม่มี ไม่สามารถที่จะออกไป
    เที่ยวได้ ตอนนั้นก็ยิ่งเกิดความทุกข์ซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ทุกข์เรื่องคนนั้นคนนี้แล้ว
    ยังต้องมาทุกข์กับเรื่องของวิธีดับความทุกข์ เพราะมันไม่ใช่วิธีดับความทุกข์ที่ถูกต้องนั่นเอง
    มันเป็นวิธีที่สร้างความทุกข์เพิ่มขึ้นมาใหม่
    ดังนั้นเวลาเราไม่สบายใจเราทุกข์กับเรื่องอะไร เราต้องรักษาความทุกข์ให้ถูกวิธี วิธีที่ถูกก็
    คือวิธีภาวนานี้เอง เราต้องใช้สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนามารักษาโรคใจ แล้วความ
    ทุกข์ต่างๆโรคภัยต่างๆมันก็จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แล้วจะหายอย่างสนิท
    เหมือนกับที่เรารักษาร่างกายของเรา เวลาเราเป็นอะไรเราก็ต้องไปหาผู้ที่รู้จักวิธีรักษา
    ร่างกาย เราไม่รักษาด้วยตัวเอง เช่นไปร้านขายยาแล้วก็ไปสั่งยาชนิดนั้นชนิดนี้มา
    รับประทาน คนขายก็ไม่รู้ว่ามันจะรักษาได้หรือไม่ พอบอกอาการเขา
    เขาก็บอกเอานี่ไปลองกินดู แต่เขาก็ไม่รู้ความจริงว่ามันจะรักษาได้หรือไม่ เพราะว่าอาการที่เหมือนกันนี้มันอาจจะมีสมมติฐานมีเหตุที่ต่างกันก็ได้ ต้องไปหาผู้ชํานาญ
    ผู้ที่สามารถวิเคราะห์แยกแยะอาการต่างๆได้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ และต้องใช้ยาหรือใช้วิธีรักษาอย่างไร ถึงจะสามารถรักษาให้หายได้อย่างถูกต้อง ให้หายได้อย่างเด็ดขาด อันนี้ก็คือเรื่องของใจเหมือนกับเรื่องของร่างกาย
    เราต้องรักษาใจ รักษาความทุกข์ใจด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้า ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่ขันสมถะและวิปัสสนาภาวนาได้ เราก็ต้องมีเครืองมือสนับสนุนพาให้เราเข้าสู่การภาวนา ก็คือการรักษาศีล การภาวนานี้จําเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุน ด้วยการรักษาศีล๘ ถึงจะสามารถทําให้เรามีกําลังพอ ที่จะออกมาปลีกวิเวกอยู่ตามลําพัง เพื่อที่จะได้เจริญสติได้อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเราไม่อยู่ตามลําพังอยู่ในสถานที่สงบสงัด จะมีเรื่องราวต่างๆมาคอยกีดกั้น ไม่ให้เราสามารถที่จะเจริญสติได้อย่างต่อเนื่องเราจึงต้องเจริญรักษาศีล ๘
    ให้ได้ และการที่เราจะรักษาศีล๘ ได้เราก็ต้องไม่มีภารกิจการงานทางโลก ไม่ต้องไป
    ทํางานทําการ เพราะถ้าทํางานทําการนี้มันก็จะมีอุปสรรค เพราะเวลาทํางานก็ต้องใช้
    พลังงานใช้อะไรต่างๆก็ต้องรับประทานอาหารมากกว่าการที่เวลาที่เราไม่ต้องทํางาน
    แล้วเวลํ่าเวลาที่เราจะมีให้กับการเจริญสติก็มีไม่มาก เพราะเราจะต้องเกี่ยวพันเกี่ยวข้อง
    กับเรื่องราวต่างๆบุคคลต่างๆ การจะตั้งสติให้อยู่กับอารมณ์เดียว จึงไม่ได้เป็นสิ่งที่
    สามารถที่จะทําได้อย่างง่ายดาย เช่นไปทํางานแล้วลองบริกรรมพุทโธไปดู ดูว่าจะเจริญ
    พุทโธได้นานสักเท่าไหร่ นี่แหละจึงเป็นเรื่องที่ว่าเราต้องยุติการทํางาน
    ถ้าเราอยากที่จะมารักษาโรคใจ รักษาใจของพวกเราให้หายจากความทุกข์ต่างๆ เราต้องมีเวลามาภาวนา มีเวลามาเจริญ รักษาศีล๘ เจริญสติ เพื่อที่เราจะได้สมาธิ แล้วหลังจากได้สมาธิเราก็จะได้เจริญปัญญา เพื่อที่จะรักษาความสงบความสุขที่ได้จากสมาธิ
    นี่คือเรื่องของการปฏิบัติก่อนจะปฏิบัติก็ต้องมีศีล๘ ก่อน ก่อนจะมีศีล๘ ก็ต้องมีศีล๕ เพราะศีล ๕ มันง่ายกว่าศีล๘ และก่อนที่จะมีศีลได้ใจก็ต้องไม่ขวนขวาย ไม่โลภ
    อยากได้ทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง จะหาเพียงเท่าที่จําเป็นต่อการดํารงชีพเท่านั้น ถ้า
    หาเพียงเท่านี้แล้วการรักษาศีลจะง่าย เพราะว่ามันไม่ต้องหามาก เมื่อไม่ต้องหามากก็ไม่
    ต้องใช้เล่ห์กลต่างๆ ใช้การผิดศีลมาเป็นเครื่องมือในการหาเงินทองมากๆ อย่างพระนี่ก็
    หาด้วยการบิณฑบาต เดินไปบิณฑบาตไปใครจะให้ก็ให้ ไม่ให้ไม่ใส่ก็ไม่ว่าอะไร ไม่ต้อง
    มาโฆษณาชวนเชื่อว่า ข้าพเจ้าเป็นบุคคลที่ได้บรรลุขั้นนู้นขั้นนี้แล้ว บิณฑบาตไปตามมี
    ตามเกิด เพราะว่าไม่ได้ต้องการอะไรมากมายนัก อาหารเพียงพอที่จะให้อยู่ไปได้วันๆ
    หนึ่งก็พอแล้วถ้ามีความมักน้อยสันโดษแล้วก็จะรักษาศีล๕ ได้ รักษาศีล ๕ ได้ก็จะ
    รักษาศีล ๘ ได้ รักษาศีล ๘ ได้ก็จะปลีกวิเวกได้ ไปเจริญสติได้ไปนั่งสมาธิทําใจให้
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    สงบได้ แล้วก็เจริญปัญญาได้ ตัดตัณหาดับความทุกข์ต่างๆ ที่มีภายในใจให้หมดไปได้
    บรรลุมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ได้
    นี่แหละคือวิธีรักษาใจของพระพุทธเจ้า ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงนําเอามาเผยแผ่สั่งสอน ให้แก่พุทธศาสนิกชน ผู้ที่มีจิตศรัทธามีความเลื่อมใส ที่จะควรขวนขวายศึกษาและปฏิบัติ เพื่อที่จะได้ก้าวขึ้นไปตามลําดับ จากขั้นทานขึ้นไปสู่ขั้นศีล จากขั้นศีลขึ้นไปสู่ขั้นภาวนาตามลําดับอย่าปฏิบัติให้ติดอยู่เพียงขันใดขันหนึ่งควรจะผลักดันตัวเองว่า ถึงเวลาแล้ว
    เราทําทานมามากพอแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องรักษาศีลให้บริสุทธิถึงเวลาที่เราต้องรักษาศีลของ
    นักบวชแล้ว ถ้าเรารักษาศีล ๕ มาได้นานแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องมารักษาศีลของนัก
    บวชของนักภาวนาแล้ว คืออย่างน้อยก็อาทิตย์ละ ๑ครั้งก่อนก็ยังดี ใน๗ วันนี้เอาวันหนึ่ง
    วันที่เราไม่ต้องไปทํางานทําการ วันนั้นแหละเราจะรักษาศีล
    ๘ ได้เพราะไม่มีปัญหาไม่มีอุปสรรค ในวันทํางานนี้มันมีอุปสรรค เพราะไหนจะต้องมีสังคม ไหนจะต้องไปรับประทานร่วมกับคนทํางาน ร่วมกับญาติสนิทมิตรสหาย จะรักษาศีล
    ๘ บางทีก็รักษาไม่ได้ เราก็เอาวันหยุดของเรา วันที่เราไม่ต้องออกไปสังคมกับใคร อยู่บ้านหรือไปอยู่วัดแล้วก็รักษาศีล ๘ ไป แล้วก็เจริญสติไป ด้วยการเดินจงกรมด้วยการนั่งสมาธิ ด้วยการ
    ฟังเทศน์ฟังธรรม การกระทําเหล่านี้เป็นการเจริญสติทั้งนั้น เดินจงกรมก็เป็นการเจริญ
    สติได้ นั่งสมาธิก็เป็นการเจริญสติ การฟังเทศน์ฟังธรรมก็เป็นการเจริญสติ เช่นตอนนี้
    เราฟังธรรมถ้าเราไม่มีสติใจเราจะลอย ใจเราจะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ อย่างนี้ก็เรียกว่านั่ง
    แบบทัพพีในหม้ อแกง นั่งแบบไม่ได้เจริญสติ ถ้านั่งแบบเจริญสตินี้ ใจจะจดจ่อฟังเสียง
    ธรรมที่เข้ามาสัมผัสที่หู แล้วเข้าไปในใจและพิจารณาตาม พิจารณาตามได้ก็จะได้ปัญญา
    ได้สัมมาทิฐิ
    ถ้าพิจารณาตามไม่ได้เพียงแต่จดจ่อรับฟังเสียงอยู่ ไม่ปล่อยให้ใจลอยไปคิด
    เรื่องนั้นเรื่องนี้ ใจก็จะได้ความสงบได้สมถภาวนา
    นี่แหละคือกิจกรรมที่พวกเราควรที่จะขวนขวายกัน ควรที่จะผลักดันตัวเรา ต้องบังคับ
    ตัวเรา เพราะการกระทําเหล่านี้ก็เหมือนกับ การรักษาร่างกาย เราต้องบังคับ ถึงเวลากิน
    ยาเราต้องกินยา ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามความอยากแล้ว มันจะไม่กิน ถึงเวลาที่จะต้องทํา
    ตามหมอสั่ง เช่นอดนั่นอดนี่ไม่ให้กินนั่นกินนี่ ถ้าอยากจะรักษาโรคให้หายก็ต้องทําตาม
    หมอสั่ง ก็ต้องบังคับตัวเองให้ทําตามที่หมอสั่ง ฉันใด ถ้าเราอยากจะหายจากความทุกข์
    ต่างๆที่มีอยู่ภายในใจ เราก็ต้องทําตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งให้เรากระทํากัน ก็คือให้เรา
    เจริญ ปฏิบัติธรรมขั้นต่างๆ ตั้งแต่ขั้นทาน เข้าไปสู่ขั้นศีล เข้าไปสู่ขั้นภาวนา ไปปลีกวิเวก
    ไปเจริญสติ เดินจงกรมไปนั่งสมาธิ ฟังเทศน์ฟังธรรมสลับกันไปแล้วความทุกข์ต่างๆก็
    จะค่อยหายไปตามลําดับ มันไม่ได้หายแบบทันทีทันใดหายไปหมด มันก็ค่อยๆหายไป
    ตามกําลังของการปฏิบัติของเรา ตามกําลังของสติสมาธิปัญญาของเรา
    หายช้าหายเร็วก็อยู่ที่การปฏิบัติของเราบางคนก็หายได้ภายใน ๗ วัน บางคนก็หายได้ภายใน ๗
    เดือนบางคนก็หายได้ภายใน๗ ปี มีปรากฏขึ้นมาแล้วทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ครูบาอาจารย์
    ทั้งหลายที่เรากราบไหว้บูชา ที่อัฐิของท่านได้กลายเป็นพระธาตุไปแล้ว ก็เป็นผู้ยืนยันแล้ว
    ว่าท่านได้หายจากโรคของความทุกข์ใจแล้ว ก็เกิดจากการทําตามคําสั่งของพระพุทธเจ้า
    นั่นเอง พวกเราก็สามารถที่จะรักษาโรคใจของเราให้หายได้ เหมือนกับครูบาอาจารย์ที่
    พวกเรากราบไหว้บูชา ถ้าเราปฏิบัติตามที่ท่านปฏิบัติกัน
    ดังนั้นเรื่องทั้งหมดก็ตกมาที่ตัวเราเราจะมาหวังให้ผู้อื่นมาปฏิบัติให้เราไม่ได้ ทําให้เรา
    ไม่ได้ เราต้องเป็นผู้ปฏิบัติเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสไว้ว่า
    อัตตาหิ อัตตโน นาโถ
    ตนเป็นที่พึ่งของตน
    ตนต้องเป็นผู้สร้างที่พึ่งขึนมาเอง
    ผู้อื่นไม่สามารถสร้างที่พึ่งให้กับเราได้ ถ้าสร้างได้พระพุทธเจ้าก็สร้างให้พวกเรา
    สร้างพระนิพพานให้กับพวกเราทุกคน แต่ท่านสร้างไม่ได้ ท่านอยากจะสร้างจะตายแต่สร้างไม่ได้ ท่านสร้างได้เพียงแต่นิพพานของท่านเท่านั้น นิพพานของใครก็ต้องสร้างกันไปเอง
    ดังนันขอให้พวกเราจงรีบขวนขวายกัน จงพิจารณาความตายอยู่เรือยๆ พิจารณาความเสือมอยู่เรือยๆ ว่าวันเวลามันจะน้อยลงไปทุกวันทุกวัน เวลาที่เราจะได้รักษาจิตใจของเรานีมันจะมีน้อยลงไปเรือยๆเพราะฉะนันอย่าประมาทนอนใจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง จงรีบปฏิบัติ
    ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาเลย พอลืมตาขึ้นมาก็ตั้งสติเจริญสติไปเลย แล้วก็พยายามหาเวลาไปปลีกวิเวกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เราพยายามลดพันธะต่างๆ พยายามลดความอยากต่างๆ ที่
    จะต้องบังคับให้เราต้องไปทํางานทําการ เพื่อหาเงินหาทองมาตอบสนองความอยากต่างๆ
    พยายามใช้ความมักน้อยสันโดษ แล้วมันจะทําให้เราไม่ต้องไปเสียเวลากับการหาเงินหา
    ทองเพื่อมาซื้อสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความอยากต่างๆ เราจะได้มีเวลาไปปลีกวิเวก จะ
    ได้มีเวลาไปเจริญสติ ไปนั่งสมาธิ ไปเจริญปัญญา เพื่อวิมุตติหลุดพ้นที่จะตามมาต่อไป
    ก็คิดว่าการแสดงก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้
    ........................... RoseUnderline.gif
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    “ใครก็บรรลุได้”

    คำถาม : กราบเรียนพระอาจารย์ครับ อยากถามว่าฆราวาสก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้ ต้องละกิเลสตัวใดบ้างครับ

    พระอาจารย์ : ก็เหมือนกัน พระกับฆราวาสก็ต้องละกิเลสตัวเดียวกัน ถ้าเป็นโสดาบันก็ต้องละสักกายทิฏฐิ คือ ความหลงผิดคิดว่าร่างกายเป็นตัวเราของเรา ต้องใช้ปัญญาวิเคราะห์แยกแยะให้เห็นว่าร่างกายเป็นของดินน้ำลมไฟ มาจากดินน้ำลมไฟ แล้วก็ต้องกลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ตัวเราของเราก็จะไม่มีความหวง ไม่มีความอยากให้มันไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็จะไม่ทุกข์กับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็จะบรรลุเป็นพระโสดาบันได้

    ใครก็บรรลุได้ ไม่ว่าจะเป็นพระเป็นฆราวาส เป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ถ้ามีปัญญาเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเรา และละได้ตามที่เห็นจริงๆ คือ ไม่ทุกข์กับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย ก็เป็นพระโสดาบันขึ้นมาได้

    สมัยพุทธกาลนี้ มีเด็กเป็นสามเณรนี้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ก็มี ฉะนั้นไม่ได้อยู่ที่เพศ อยู่ที่วัย อยู่ที่หญิงหรือชาย อยู่ที่เป็นนักบวชหรือไม่เป็นนักบวช อยู่ที่ว่ามีมรรค คือ สติ ปัญญา สมาธิ หรือไม่ ถ้ามีสติ ปัญญา มีสมาธิ ก็จะสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้กันทุกคน ฉะนั้นขอให้เราพยายามสร้างมรรคกันขึ้นมา สร้างสติ สร้างสมาธิ สร้างปัญญาขึ้นมา แล้วเราก็จะสามารถที่จะบรรลุธรรมขั้นต่างๆ ได้.

    ธรรมะบนเขา

    วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    “ให้คิดอยู่กับพุทโธ”

    ถาม : จะมีวิธีใดที่จะทำให้ระงับอารมณ์โกรธหรือโมโหได้ทันทีคะ

    พระอาจารย์ : อ๋อ พอโกรธถ้ามีสติก็หยุดมันได้ ถ้าไม่มีสติก็ต้องพุทโธๆ ไป อย่าไปคิดถึงเรื่องที่ทำให้เราโกรธ อย่าไปคิดถึงคนที่ทำให้เราโกรธ ให้คิดอยู่กับพุทโธๆ ไป เดี๋ยวมันก็หายโกรธเอง ทีนี้มันจะหายทันทีหรือไม่ มันก็เหมือนกับรถน่ะ แล้วแต่รถมันวิ่งเร็วหรือวิ่งช้า ถ้าวิ่งช้าเหยียบเบรคปุ๊บมันก็หยุดได้ ถ้าวิ่งเร็วมันก็ต้องใช้เวลาหน่อย ใช้หลายเมตรหน่อยกว่าจะหยุดได้ ความโกรธของเราก็เหมือนกัน ถ้ามันรุนแรงมาก มันก็ต้องใช้เวลาหน่อย ถ้ามันไม่รุนแรง มันก็ปั๊บเดียวมันก็หยุดได้.

    ธรรมะบนเขา

    วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑

    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LpSuchartApichatoAnapa.jpg
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ยารักษาทุกข์ทางใจ ๖ มกราคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    วันเวลากับการตัดภพตัดชาติ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    รีบทำกิจที่ควรกระทำ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ทิ้งสุขปลอมแล้วจะเจอสุขจริง พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    photo.jpg
    Phrasuchart

    Published on Jan 21, 2018
    พระธรรมเทศนา ชุดธรรมะบนเขา ๓๔ เรื่อง "รีบทำกิจที่ควรกระทำ" โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2018
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    วิธีสร้างความสงบของใจ ๘ มกราคม ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    วิธีบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้จิตใจ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Jan 27, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2018
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ฝึกจิตให้อยู่กับความว่างเปล่า ๑๗ กันยายน ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ไม่ประมาทในชีวิต ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    สิ่งต่างๆ เป็นอนัตตา ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Jan 28, 2018
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • photo.jpg
      photo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.2 KB
      เปิดดู:
      519
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    คุณสมบัติของผู้ที่จะบรรลุธรรม ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    คุณลักษณะของจิตในพระนิพพาน ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    แสงสว่างในที่มืด ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    คำสอนของพระพุทธเจ้า ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Feb 3, 2018
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • photo.jpg
      photo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.2 KB
      เปิดดู:
      438
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    คำสอนที่ลึกซึ้งมาก พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    สิ่งที่สำคัญที่สุด ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    เหตุของความแตกต่าง ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


    คำตอบของชีวิตว่าเกิดมาทำไม ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Feb 19, 2017
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • photo.jpg
      photo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.2 KB
      เปิดดู:
      429
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043


    หัวใจคำสอนของพระพุทธเจ้า ๑ มีนาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


    เหตุของการเกิดมรรคผลนิพพาน ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    วิธีฟังธรรมเพื่อมรรคผลนิพพาน ๒๔ มกราคม ๒๕๕๙ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Mar 1, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2018
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    เหตุของความสุข ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ปัจจัยสี่ทางร่างกายและจิตใจ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart

    Published on Mar 11, 2018
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ฟังธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    บุญให้ความสุขใจ ๖ เมษายน ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    สร้าบุญบารมี ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on Mar 18, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    เติมธรรมให้ใจ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ธรรมะคือธรรมชาติ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    เชื่อคนตาดี ๒๙ เมษายน ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    การทำงานตามหลักพระพุทธศาสนา ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on May 1, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043

    จิตใจไม่มีวันตาย ๑๓ เมษายน ๒๕๖๑ /พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ขั้นตอนการกำจัดความทุกข์
    ๑๔ เมษายน ๒๕๖๑/พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


    ที่พึ่งที่แท้จริง ๒๒ เมษายน ๒๕๖๑@พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    ใจที่สะอาดบริสุทธิ์ สุขที่สุด ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    Phrasuchart
    Published on May 12, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...