มโนมยิทธิ กับ มรรคผลนิพพาน

ในห้อง 'ฝากคำถามถึงหลวงพ่อเล็ก' ตั้งกระทู้โดย สรณัฐ, 4 มีนาคม 2009.

  1. สรณัฐ

    สรณัฐ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2007
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +45
    ถ้าหากเราปฏิบัติดังนี้ 1.ให้ทานโดยจิตคิดสละเพื่อลดความยึดถือ 2.ถือศีลให้บริบูรณ์ 3.ใช้มโนมยิทธิเกาะนิพพานอย่างเดียว(ไม่ท่องเที่ยวไปดูสิ่งอื่น) จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือไม่ หรือว่าต้องมีการพิจารณาขันธ์5 โดยความเป็นไตรลักษณ์ประกอบกัน แล้วถ้าเป็นการปฏิบัติขั้นละเอียดขึ้นไปการเป็นพระอรหันต์นั้นจำเป็นต้องรู้แจ้งอริสัจหรือไม่ครับ แล้วอย่างธรรมกายที่หลวงพ่อสดสอนถ้าทำจริง ๆ จะบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ เห็นบางคนบอกว่าธรรมกายไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นสมถะขั้นต้น แล้วเรื่องที่นิพพานของธรรมกายยังต้องรบกับมารจริงมั้ยครับอยากได้คำตอบแบบตรง ๆ ครับใจต้องการธรรมะจริง ๆ ครับ กราบขอบพระคุณหลวงพี่ครับ ;aa10
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2009
  2. แงซาย ชายดอย

    แงซาย ชายดอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +1,314
    สาธุครับ
    พระธรรม คำสอน พระพุทธองค์ เป็นเพียงผู้บอก (หลวงพ่อนำมาบอกต่อ ย้ำสอนพวกเรา )

    เราต้องพึ่งตัวเองเท่านั้น เราต้องทำดี ทำถูก ทำจริง สิ่งที่เราตั้งใจไว้เกิดแน่นอนครับ
     
  3. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    ลองอ่านกระทู้นี้ดูนะคะ ^^

    หลวงพ่อไปพบลูกศิษย์ตายแล้วไปอยู่ที่พระนิพพาน
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153092
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ว่าแต่รู้เหรอ เคยสัมผัสเหรอ จึงไปเกาะนิพพาน ^-^
     
  5. สรณัฐ

    สรณัฐ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2007
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +45

    นิพพานแบบไปโดย มโนมยิทธิ จะโปร่ง โล่ง เบา คับ แต่ผมศึกษามาหลายแบบอ่ะคับ รวมทั้งพวกสติปัฏฐาน อย่างถ้าคนทำสติปัฏฐาน เค้าจะบอกว่า รู้กายรู้ใจ ตามจริงโดยไม่แทรกแซง จะทำให้เห็น ไตรลักษณ์ ของกายกับใจ แล้วก็จะเริ่มเบื่อหน่าย แล้วเห็นความจริงตามลำดับ จนปล่อยวางกายใจ จิตจะเข้าไปเห็นนิพพาน แล้วบรรลุธรรมตามลำดับ .. แต่ก็ทำทั้งสองอย่างอ่ะคับ อย่างของสติปัฏฐาน เค้าจะบอกว่าเมื่อเห็นความจริงจิตจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด แล้วหยุดความปรุงแต่ง จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ เพื่อประชุมองค์มมรรคทั้งแปด เพื่อ ทำลายสังโยชน์ แล้วในขณะนั้นจิตก็จะเข้าไปประจักษ์กับนิพพานแว๊บนึง แล้วถอนออกมา แต่ สังโยชน์จะทำลายไปในเบื้องต้น 3 ตัว อ่ะคับ เป็นพระโสดาบัน.. อย่างมโนมยิทธิ จะใช้จิตไปนิพพาน จนจินชินกับอารมณ์นั้น ใช่ป่าวคับ แล้วเวลาเกิดอริมรรคตอนบรรลุธรรม จะเป็นแบบไหน ยังไง ประมาณเนี่ยคับ อย่างมโนมยิทธิ เราจะรู้ว่าบรรลุแล้ว เมื่อใด ประมาณเนี้ยอ่ะคับ [​IMG]
     
  6. mr.surin

    mr.surin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +129
    [​IMG]



    บารมี ๑๐ ประการ
    ดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(วีระ ถาวโร)
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ทั้ง ๑๐ อย่างนี้ เป็นบารมี ๑๐ อย่าง

    บารมี แปลว่า ทำให้เต็มไม่บกพร่อง ท่านที่หวังมรรคผลต้องบำรุงบารมีให้ครบถ้วนจนเป็นกิจประจำใจ ไม่ละเลยเหินห่างและบกพร่อง ต้องคิดต้องตรอง ประคับประคองไว้เป็นปกติ ดังจะอธิบายไว้พอเข้าใจ



    ๑. ทาน
    ทาน แปลว่า การให้ นักปฏิบัติต้องมีจิตใจจดจ่อเพื่อการให้ด้วยจิตใจที่หวังการสงเคราะห์อยู่เป็นปกติ คิดไว้เสมอด้วยจิตที่ภาคภูมิว่า ถ้าการให้ด้วยการสงเคราะห์มีแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้นความสบายสุขสันต์จะมีแก่เราอย่างหาสุขอื่นเปรียบมิได้ ในขณะใดท่านมีคนต้องการความสงเคราะห์ แต่เรางดเว้นการให้เสีย จะถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะคิดว่าเราพ่ายแพ้ต่อความตระหนี่ อันเป็นกิเลสตัวสำคัญที่เข้ามาเหนี่ยวรั้งใจ การให้นี้ต้องไม่พิจารณา บุคคล ถึงสุขภาพ และฐานะ ถือเอาเพียงว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ เราก็ช่วยตามต้องการ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ ความขัดข้องของเขา และไม่หวังการตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น

    ๒. ศีล
    ศีล แปลว่า ปกติ การรักษาอาการตามความพอใจของปกติชน ที่มีความปรารถนาอยู่ เป็นสุข ไม่อยากให้ใครฆ่า หรือทำร้ายร่างกาย ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งทรัพย์สิน
    ไม่ต้องการให้ใคร มาละเมิดความรัก
    ไม่ต้องการฟังคำพูดที่ไร้ความจริง
    และไม่ต้องการความคลั่งไคล้ด้วยการย้อมใจ ด้วยสุราเมรัย ที่ทำให้สติสัมปชัญญะฟั่นเฟือน
    เมื่อปกติของใจคนและสัตว์เป็นอย่างนี้ เราก็ไม่ทำลาย ปกติของความปรารถนาความพอใจของชาวโลก โดยไม่ละเมิดในสิ่งที่ปกติของจิตใจต้องการ ฉะนั้นศีล ท่านจึงแปลว่า ปกติ คือรักษาอารมณ์ปกติของจิตใจของคนและสัตว์ ไม่ต้องการให้ได้รับความเดือดร้อน
    การรักษาศีลก็ต้องรักษาให้เข้าถึงใจ ไม่ใช่รักษาแต่เปลือกศีล ตามที่นักเทศน์บางท่านเคยเทศน์มา ท่านเทศน์ว่า ศีลรักษากายกับวาจาให้เรียบร้อยนั้น ไม่เข้าถึงความจริงของศีล
    การรักษาศีลต้องรักษาอย่างนี้
    ไม่ละเมิดบทบัญญัติของศีล คือทำให้ศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย และศีลทะลุด้วยตนเอง
    ไม่แนะนำให้คนอื่นทำ
    และไม่ยินดีต่อเมื่อผู้อื่นทำแล้ว
    ต้องรักษาระดับนี้จึงจะเป็นศีลเพื่อมรรคผล

    ๓. เนกขัมมะ
    เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช หมายถึงการอดในกามารมณ์ อย่างที่ท่านทรงพรหมจรรย์ โดยตัดใจไม่ใยดีในอารมณ์ยั่วเย้าด้วยอำนาจกามฉันทะ คือความพอใจในกามารมณ์ คือไม่นิยมรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสเลิศ สัมผัสที่นิ่มนวล และการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ด้วยเห็นว่าเป็นภัยใหญ่ของการปฏิบัติเพื่อมรรคผล โดยพิจารณาให้เห็นความเป็นทุกข์ของการที่มีความประสงค์อย่างนั้นตัวอย่างของคนคู่มีความทุกข์ มีอยู่อย่างดาษดื่น ควรพิจารณาค้นคว้าให้เห็นด้วยตนเอง ถ้าทำตลอดกาลไม่ได้ ก็ให้ปฏิบัติตัดกามารมณ์เป็นครั้งเป็นคราว จิตจะค่อยๆ ชินไปจนตัดใจได้ เป็นปกติ

    ๔. ปัญญา
    ปัญญา แปลว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา แปลว่า ความเฉลียว ฉลาดก็ได้ ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความพลัดพรากจาก ของรักของชอบใจ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นทุกข์ จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายต่อการเกิดใน ชาติภพต่อไป จนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ คือไม่มีความหวั่นไหวในเมื่อความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นแก่สังขาร

    ๕. วิริยะ
    วิริยะ แปลว่า ความเพียร ความเพียรนี้ต้องมีประจำใจจริงๆ วิริยบารมีเป็นเครื่อง ควบคุมใจในเวลาที่จิตใจเกิดความท้อถอย ต้องตัดสินใจบากบั่นไม่พรั่นพรึงต่ออุปสรรคใด ๆ แม้จะต้อง สิ้นลมปราณก็ตามที ในเมื่อเรานี้เป็นนักเสียสละ แม้แต่ชีวิตจะสูญสิ้นไป เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไปก็ตามที ถ้ามรรคผลนิพพานที่เราปรารถนานี้ยังไม่ปรากฏเพียงใด เราจะไม่ละความพยายามประพฤติปฏิบัติไป โดยไม่คำนึงถึงอุปสรรค

    ๖. ขันติ
    ขันติ แปลว่า ความอดทน หรือ อดกลั้นต่ออารมณ์ที่เข้ามายั่วยวนให้เกิดความรัก ความโกรธ ความหลง มีความอดกลั้น อดทนเป็นพิเศษ ไม่ยอมให้อารมณ์ฝ่ายชั่วเข้ามาล้างอารมณ์ วิปัสสนาญาณได้

    ๗. สัจจะ
    สัจจะ แปลว่า ความตั้งใจจริง เราจะไม่ยอมเลิกละความตั้งใจเดิม แม้แต่จะต้องตายก็ตาม

    ๘. อธิษฐาน
    อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจมั่น คือเมื่อตั้งใจไว้แล้วเพียงใด จะไม่ยอมแก้ไข เปลี่ยนแปลงไปจากความตั้งใจเดิมเป็นอันขาด ทั้งนี้หมายถึงตั้งใจไว้ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าตั้งใจไว้เดิม ผิดพลาด เมื่อพิจารณาทราบแล้ว แก้ไขให้ถูกต้องได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ตรงตามแนวปฏิบัติเพื่อมรรคผล ไม่เสียอธิษฐาน ถ้าผิดแล้วขืนดันทุรังไม่ยอมแก้ไข กลายเป็นมานะกิเลส เสียหายใหญ่

    ๙. เมตตา
    เมตตา แปลว่า ความรักที่ปราศจากความใคร่ด้วยอำนาจกิเลส หมายถึง รักด้วยความปราณี ไม่มีอารมณ์ในส่วนของกิเลสเจือปน ทำจิตของตนให้มีความรักอย่างกว้างขวาง แม้แต่คนที่เคยประกาศตนเป็นศัตรูมาในกาลก่อน ถ้าเห็นหน้าเข้าเราก็มีจิตใจแช่มชื่นไม่ลำบาก ไม่มีการอาฆาต จองล้างจองผลาญ แต่กลับมีความเมตตาปราณีสงสาร หวังสงเคราะห์ให้มีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ

    ๑๐. อุเบกขา
    อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หมายถึง เฉยต่ออารมณ์ที่เป็นทุกข์และเป็นสุขอันเป็นวิสัยของโลกีย์ คือ ไม่ยอมยินดี ยินร้าย ต่ออารมณ์ของโลกวิสัย ทำจิตใจให้ว่างต่ออารมณ์ที่เป็นสุข และทุกข์อันเป็นโลกีย์วิสัยเสีย

    บารมีทั้ง ๑๐ อย่างนี้ นักวิปัสสนาญาณต้องมีครบถ้วน แล้วต้องปฏิบัติได้เป็นปกติ ไม่ใช่ท่องจำได้ การปฏิบัติได้ก็ต้องเป็นไปตามความพอใจเป็นปกติ ไม่ใช่ฝืนใจ ถ้าบังคับใจ ฝืนใจอยู่ ก็เห็นจะยังนานหน่อยที่จะเข้าถึงมรรคผล

    ถ้าท่านเห็นว่า การประพฤติตามในบารมี ๑๐ นี้ เป็นปกติธรรมดา ไม่มีอะไรหนักใจแล้ว ท่านก็เป็นคนที่ใกล้ต่อมรรคผลผู้หนึ่ง เช่นเดียวกับท่านที่ได้บรรลุมรรคผลมาแล้ว นั่นเอง

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2009
  7. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    อย่างมโนมยิทธิ เราจะรู้ว่าบรรลุแล้ว เมื่อใด ประมาณเนี้ยอ่ะคับ

    ของอย่างนี้เป็น "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" วิญญู คือผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน
    มรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ อย่าคิดมากเลยนะคะ ถ้าถึงเมื่อไหร่ก็จะรู้เองค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2009
  8. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    ขออนุญาตนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หน้า2)มาตอบนะคะ "ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณเป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มีญาณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็ทรงหมายเอาญาณที่เป็นทิพยจักษุญาณนี้ ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนวิสุทธิ วิมุตติแปลว่าหลุดพ้น ,ญาณแปลว่ารู้ ,ทัสสนะ แปลว่าเห็น ,วิสุทธิ แปลว่าหมดจดอย่างวิเศษ คือหมดไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอกไว้เพื่อรู้)"
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    นิพพานโดยบารมีพระ กับนิพพานโดยการตัดกิเลส

    คิดว่าต่างกันยังไงเอ่ย เจ้าของกระทู้ ลองอ่านแล้วพิจารณาดูเองนะครับ

    หรือจะถามพระท่านเอาก็ได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...