เสียงธรรม พระมหากัสสปเถระ ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านธุดงค์

ในห้อง 'เสียงธรรม' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 28 มกราคม 2021.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    Thudong.jpg
    39.พระกุมารกัสสปเถระ ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านแสดงธรรมได้วิจิตร อ่านโดย อ.เพ็ญศรี อินทรทัต

    Mahatep Blesss
    Oct 11, 2022
    ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร / สภาพชีวิตครองคู่ / อุปสมบทด้วยวิธีรับโอวาม ๓ ข้อ / ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์ / ขับไล่นางเทพธิดา / เป็นประธานปฐมสังคายนา / สาระสำคัญของปฐมสังคายนา / ชีวิตบั้นปลาย

    - พระอรหันต์ 80 องค์ เพลย์ลิสต์ทั้งหมด https://www.youtube.com/watch?v=3DEnQ...
    - 40พระภิกษุณีอรหันต์ : พุทธสาวิกาในสมัยพุทธกาล https://www.youtube.com/playlist?list...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2023
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    พระมหากัสสปะเถระ 'ยอดธุดงค์'ของแท้
    ในวันที่ธุดงค์กลางเมืองกลายเป็นเรื่อง ทำให้‌หวนนึกถึงพระมหากัสสปะเถระผู้ได้ชื่อว่า‌เป็นเอตทัคคะหรือเป็นยอดของพระภิกษุใน‌เรื่องธุดงควัตร
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์


    ในวันที่ธุดงค์กลางเมืองกลายเป็นเรื่อง ทำให้‌หวนนึกถึงพระมหากัสสปะเถระผู้ได้ชื่อว่า‌เป็นเอตทัคคะหรือเป็นยอดของพระภิกษุใน‌เรื่องธุดงควัตร

    พระมหากัสสปะเถระ อัครสาวกรูปที่ 3 ‌ของพระพุทธเจ้าในพุทธกัลป์นี้ เป็นเอตทัคคะ‌ด้านธุดงควัตร เพราะท่านถือวัตรปฏิบัติ 13 ‌ประการ ซึ่งเป็น“ปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษเพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง”อย่างเคร่งครัด

    ธุดงควัตรมี 13 ข้อ คือ

    1.ถือผ้าบังสุกุลใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเป็น‌วัตร

    2.ใช้ผ้า 3 ผืน คือ ไตรจีวรเป็นวัตร

    3.บิณฑบาต บริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มา‌จากการรับบิณฑบาตเท่านั้นเป็นวัตร

    4.บิณฑบาตตามลำดับเป็นวัตร

    5.ฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร นั่งฉันเพียง‌ครั้งเดียว บริโภคอาหารเพียงวันละครั้งเดียว

    6.ฉันในบาตร นำอาหารทุกชนิดมารวมกัน‌ในบาตรเป็นวัตร

    7.ห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือ รับ‌บาตรมาแล้ว ไม่รับอะไรอีกแล้ว แม้หลังจากนั้น‌จะมีผู้ถวายอะไรอีก ก็จะไม่รับแล้วแม้จะถูกใจก็ตาม

    8.อยู่ป่าเป็นวัตร

    9.อยู่โคนไม้เป็นวัตร

    10.อยู่กลางแจ้ง ไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย ‌เป็นวัตร

    11.อยู่ในป่าช้าเป็นวัตร

    12.ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็น‌วัตร ใครขอให้สละที่พักนั้น ก็พร้อมสละได้ทันที

    13.ถือการนั่งเป็นวัตร จะอยู่ใน 3 อิริยาบถ ‌คือ ยืน เดิน นั่ง ไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย

    พระมหากัสสปะจะมาเกิดและได้อุปสมบท‌จนได้เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์ในพุทธกัลป์นี้ ‌เพราะท่านมีเจตจำนงด้วยความปรารถนาอัน‌แน่วแน่ว่า ขอให้ได้เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์‌ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง

    ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นมหาเศรษฐีชื่อว่าเวเทหะ ‌ในยุคพระพุทธเจ้าซึ่งมีพระนามว่าพระปทุมุต‌ตระมีทรัพย์สมบัติ 80 โกฏิ

    ในวันที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นสถาปนา‌สาวกองค์ที่ 3 นามว่ามหานิสภเถระไว้ใน‌ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นยอดของภิกษุผู้สอน‌ธุดงค์นั้น ท่านได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระปทุมุต‌ตระอยู่ด้วย เมื่อได้ยินเรื่องราวดังกล่าวก็เกิด‌ความเลื่อมใสเกิดขึ้นเป็นกำลัง จึงได้ขออาราธนา ‌ภิกษุสงฆ์ที่มีอยู่ทั้งหมดให้มาฉันภัตตาหารที่จะ‌ถวายในวันรุ่งขึ้น

    พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุมีมากถึงหกล้าน‌แปดแสนองค์ แต่เวเทหะเศรษฐีก็ยืนยันพระศาสดาจึงรับนิมนต์

    วันรุ่งขึ้น เวเทหะเศรษฐีได้ถวายทานสม‌อยาก เพราะไม่มีภิกษุใดเหลืออยู่ในอารามเลย ‌เว้นแต่มหานิสภเถระที่ยังออกบิณฑบาตอยู่ ‌เมื่อเวเทหะเศรษฐีนิมนต์ให้เข้ามาฉันที่บ้าน ‌ท่านก็ปฏิเสธว่าไม่ควร

    เวเทหะเศรษฐีจึงข้องใจนักว่า พระภิกษุรูปนี้มีคุณวิเศษอย่างไรหนอ จึงได้ทูลถาม‌พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายว่า ‌“ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภัตตาหารอยู่ในเรือน ‌แต่พระมหานิสภเถระนั้นไม่นั่งคอยภิกษาใน‌เรือนอย่างนี้ เราอยู่ในเมือง พระมหานิสภเถระ‌นั้นอยู่ในป่าเท่านั้น เราอยู่ในที่มุมบัง พระมหา‌นิสภเถระนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้น ดังนั้น ‌พระมหานิสภเถระนั้นมีคุณอย่างนี้”

    เมื่อเวเทหะเศรษฐีได้ฟังเช่นนั้นยิ่งเกิดศรัทธาปสาทะ และปักใจแน่วแน่ว่า อยากจะ‌เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์ของพระพุทธเจ้า‌พระองค์ใดพระองค์หนึ่งในกาลข้างหน้า ท่าน‌จึงทูลถามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า หากทำมหาทาน 7 วัน จะสมปรารถนาหรือไม่ ‌พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาแล้วทรงมีพุทธ‌พยากรณ์ว่า ท่านจะสมปรารถนา“อีกแสนกัป‌นับจากนี้ ท่านจะเป็นพระสาวกที่ 3 ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามหากัสสปะเถระ

    68DB5886F043418887238E2228825297.jpg

    หลังจากนั้น เวเทหะเศรษฐีก็เวียนว่ายตาย‌เกิดจนถึงพุทธกัปปัจจุบัน ท่านจึงเกิดมาเป็น ‌ปิบผลิมาณพในสกุลขอกบิลพราหมณ์ แห่ง‌นครมคธ ส่วนนางภัททากาปิลานีคู่บารมี‌หลายชาติมาแล้วนั้นก็มาถือกำเนิดในสกุลของ‌โกลิยพราหมณ์ ในนครเดียวกัน

    พราหมณ์ทั้งสองสกุลนี้ร่ำรวยมาก แต่คู่‌บารมีทั้งสองก็ปรารถนาจะครองตนเป็นโสด‌เพราะต่างคิดจะถือพรหมจรรย์ แต่เมื่อต่างถูก‌จับให้คู่กันเพราะมีชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติ‌เสมอกัน หนุ่มสาวทั้งสองก็แต่งงานกันโดย‌ครองเรือนด้วยการประพฤติพรหมจรรย์โดยมิเสื่อมคลาย ต่างตกลงกันว่าเวลานอนจะเอา‌พวงดอกไม้วางไว้กลางที่นอน ปิบผลิมาณพ จะ‌นอนทางด้านขวา นางภัททากาปิลานีจะนอน‌ด้านซ้าย

    ถ้าดอกไม้ด้านใดเหี่ยวก็เป็นอันรู้กันว่าผู้ใด‌เกิดราคะจริตขึ้นแล้ว

    ทั้งคู่อยู่กันมาเช่นนั้นจนบิดามารดาสิ้นไป‌โดยทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ถึง 87 โกฏิ

    ทั้งสองสละทรัพย์สมบัติออกแสวงหาทาง‌ดับทุกข์ หลังจากวันหนึ่ง ปิบผลิมาณพ เห็นพวกนกกาคุ้ยเขี่ยสัตว์ มีไส้เดือน จากรอยไถใน‌ที่นาซึ่งบริวารลงแรงอยู่แล้ว ถามว่าสัตว์เหล่านี้‌กินอะไร?แล้วบริวารตอบว่ามันกินไส้เดือน ‌มาณพเมื่อถามว่า บาปที่สัตว์เหล่านี้ทำตกอยู่‌แก่ใคร?เหล่าบริวารตอบว่านายท่าน บาปเป็นของท่าน

    เช่นเดียวกัน ข้างนางภัททากาปิลานีนั้นวันเดียวกันนั้นเองเธอได้หว่านเมล็ดงา 3 หม้อ‌ลงในไร่ แล้วเห็นนกกาลงมากิน เมื่อเธอถามว่า ‌สัตว์เหล่านี้กินอะไร แล้วได้รับคำตอบว่า พวก‌มันกินสัตว์ นางถามว่า อกุศลจะเป็นของใคร?‌แล้วได้รับคำตอบว่าเป็นของนายหญิง

    ตกค่ำทั้งสองได้เล่าเรื่องนี้สู่กันฟังแล้วเห็น‌ตรงกันว่า หากมีชีวิตอย่างนี้ มีอกุศลเยี่ยงนี้ถึงจะมีทรัพย์มากอักโขก็ไร้ประโยชน์ใดๆ ต่าง‌จึงพากันทานทรัพย์สมบัติ ปลดเปลื้องข้าทาส‌บริวารออกแล้วหาชีวิตอันประเสริฐ

    เมื่อออกบวชนั้น ท่านทั้งสองได้เดินตามกัน‌มาระยะหนึ่งแล้วระลึกขึ้นได้ว่า ใครเห็นเข้าคง‌ไม่ควร ต่างจึงแยกกันไปคนละทาง

    ตามตำนานระบุว่า เมื่อทั้งสองท่านแยก‌ทางกันนั้น มหาปฐพีถึงกับสะเทือนเลื่อนลั่นแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงประทับนั่ง‌ในพระคันธกุฎี ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ยังได้‌สดับเสียงแผ่นดินไหว

    เมื่อทรงพิจารณาสาเหตุแล้วจึงพบว่าปิบผลิมาณพ และนางภัททากาปิลานี สละ‌สมบัติแล้วบวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวจึงไหวด้วย‌กำลังแห่งคุณของคนทั้งสอง พระพุทธองค์จึง‌เสด็จฯ ไปสงเคราะห์แก่ท่านทั้งสอง โดยไปนั่ง‌ดักประทับนั่งขัดสมาธิที่โคนต้นพหุปุตตนิโครธ ‌ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เปล่ง‌พระรัศมีออกจากพระวรกายราว 80 ศอก

    เมื่อพระมหากัสสปะเถระเห็นพระพุทธองค์ ‌ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างสูงสุด จึงเข้าไป‌สักการะพร้อมทั้งกราบทูลปวารณาตนเป็น‌สาวก

    มีจารึกไว้ในพระอรรถกถาว่า การถวาย‌สักการะโดยเลื่อมใสอย่างหมดจิตหมดใจแล้วปวารณาเป็นพุทธสาวก โดยกล่าวว่า“ข้าพระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง‌เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็น‌สาวก”ขึ้น 3 ครั้ง ของพระมหากัสสปะนั้นมีการเปรียบไว้ว่า ถ้าพระมหากัสสปะเถระกระทำการเคารพเช่นนี้ต่อผู้อื่นที่มิใช่พระสัมมา‌สัมพุทธเจ้าแล้ว“ศีรษะของผู้นั้น พึงหลุดจาก‌คอ ดุจตาลสุกหล่นฉะนั้น”และว่า“หาก‌พระมหากัสสปะเถระพึงความเคารพ ด้วยจิต‌เลื่อมใสอย่างยิ่งนี้ต่อมหาสมุทร มหาสมุทรจะต้องถึงความเหือดแห้ง ดุจหยาดน้ำที่ใส่ในกระเบื้องร้อน หากพึงทำความเคารพต่อ‌จักรวาล จักรวาลต้องกระจัดกระจายดุจกำแกลบ หากพึงทำความเคารพต่อเขาสิเนรุ ‌เขาสิเนรุต้องย่อยยับดุจก้อนแป้งที่ถูกกาจิก ‌หากพึงทำความเคารพต่อแผ่นดิน แผ่นดินต้อง‌กระจัดกระจายดุจผุยผงที่ถูกลมหอบมา”

    หลังพระมหากัสสปะกล่าวถวายตัว ‌พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบทด้วยวิธี ‌โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา หรือการอุปสมบท‌ด้วยการให้โอวาทแก่พระมหากัสสปะเถระด้วย‌โอวาท 3 ประการ ว่า

    เพราะเหตุนั้นแล กัสสปะ เธอพึงศึกษา‌อย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และ‌ความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า,เธอ‌พึงศึกษาอย่างนี้แหละ กัสสปะ

    เพราะเหตุนั้นแล กัสสปะ เธอพึงศึกษา‌อย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่ง‌ประกอบด้วยกุศล,เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้นทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ รวบรวม‌ไว้ทั้งหมดด้วยใจ,เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลกัสสปะ

    เพราะเหตุนั้นแล กัสสปะ เธอพึงศึกษา‌อย่างนี้ว่า ก็สติที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่ง‌ประกอบด้วยความสำราญ จักไม่ละเราเสีย,‌เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสปะ

    พระมหากัสสปะเถระเองได้สมาทานธุดงค์‌คุณ 13 ประการ

    หลังท่านบำเพ็ญเพียรเพียง 7 วันก็บรรลุ‌เป็นพระอรหันต์ในเช้าของวันที่ 8 นั่นเอง

    พระมหากัสสปะเถระได้รับการสถาปนา‌เป็นเอตทัคคะด้านธุดงค์ และได้รับการยกย่อง‌ให้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในลำดับที่สาม รอง‌จากพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ตามที่‌ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระปทุมุตตระพุทธเจ้า‌ในอดีตชาติ

    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระภิกษุรูปเดียวที่‌พระพุทธองค์ทรงประทานจีวรเก่าของพระพุทธ‌องค์

    ความนี้มีบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระศาสดา‌เสด็จเดินทางมีพระเถระเป็นปัจฉาสมณะ เมื่อ‌จะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระมหากัสสปะจึงพับผ้าสังฆาฏิของตัวซึ่งเป็นผ้าเก่าทบกันเป็น 4 ชั้น แล้วปูลาดถวาย เมื่อทรง‌ประทับนั่งแล้วเอาพระหัตถ์ลูบคลำ ก่อนตรัสว่า ‌“สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าผืนนี้ของเธอนุ่มดี”

    ท่านจึงกราบทูลว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ‌ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มสังฆาฏิเถิด”

    เมื่อพระศาสดาทรงตรัสถามว่า“แล้วเธอ‌จะห่มอะไร?”

    ท่านก็กราบทูลว่า“ข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของ‌พระองค์จึงจักห่ม”

    พระศาสดาตรัสว่า“จีวรนี้ที่เราห่ม ทาสีชื่อ‌ปุณณะทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ เราเข้าไปสู่ป่าช้า‌นั้นอันมีตัวสัตว์กระจายอยู่ ประมาณทะนาน‌หนึ่ง กำจัดตัวสัตว์เหล่านั้นแล้ว ตั้งอยู่ในมหาอริยวงศ์ ถือเอา ในวันที่เราถือเอาจีวรนี้ ‌มหาปฐพีในหมื่นจักรวาลส่งเสียงสั่นสะเทือน ‌อากาศนั้นส่งเสียง ตฏะ ตฏะ เทวดาใน‌จักรวาลได้ให้สาธุการว่า ภิกษุผู้ถือเอาจีวรนี้ ‌ควรเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตามธรรมชาติ ‌นั่งอาสนะเดียวเป็นวัตรตามธรรมชาติ เที่ยว‌ไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรตามธรรมชาติ ‌ท่านจักอาจทำให้สมควรแก่จีวรนี้ได้ ดังนี้”

    ว่าแล้วก็ทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ มี‌บันทึกว่า ในเวลานั้นปฐพีก็ไหวขึ้นเพราะไม่เคย‌มีการประทานจีวรที่ทรงห่มแล้วแก่พระสาวก‌องค์ใดเลย

    อรรถกถาระบุไว้ว่า ผู้จะได้รับการแต่งตั้ง‌เป็นเอตทัคคะทางด้านใดด้านหนึ่งนั้น ต้องได้‌มาด้วยเหตุ 4 ประการ คือ

    1.โดยเหตุเกิดเรื่อง 2.โดยการมาก่อน3.โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ และ 4.โดยเป็นผู้ยิ่ง‌ด้วยคุณ

    พระเถระบางรูปย่อมได้ตำแหน่งเอตทัคคะ ‌โดยเหตุบางอย่างหรือหลายอย่าง แต่พระมหา‌กัสสปะเถระนั้นได้ตำแหน่งนี้มาโดยเหตุครบทั้ง ‌4 อย่าง กล่าวคือ

    1.โดยเหตุเกิดเรื่อง คือ ทรงเปลี่ยนจีวรกับพระมหาเถระ ดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นผู้อาจ‌สามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ ผู้ถือผ้าบังสุกุล‌มาแต่เดิม

    2.โดยการมาก่อน คือ ท่านมิใช่เป็นผู้ทรง‌ธุดงคคุณมากในปัจจุบันเท่านั้น แต่ได้บำเพ็ญ‌บารมีในทางทรงธุดงคคุณมามากถึง 500ชาติแล้ว

    3.เป็นผู้ช่ำชองชำนาญในการแสดงธรรม ‌ชักนำให้พุทธบริษัทมีความปรารถนาน้อย มี ‌ความสันโดษ มีความสงัดกาย สงัดใจ ชักนำให้‌ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิถีแห่งการธุดงควัตร

    4.โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ คือ เว้นพระสัมมา‌สัมพุทธเจ้าแล้ว สาวกอื่นผู้เสมอเหมือน‌พระมหากัสสปะ ในเรื่องธุดงคคุณ 13 ไม่มี

    นอกจากจะได้รับการสถาปนาเป็นเอตทัคคะ‌ด้านธุดงควัตรแล้ว ท่านยังได้รับการสรรเสริญ‌จากพระพุทธองค์ในหลายประการ อาทิ ได้รับ‌การสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ในธรรมอันยิ่ง‌ของมนุษย์ โดยอนุปุพพวิหาร 9 และอภิญญา ‌6 และได้รับสรรเสริญว่าเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ใน‌ตระกูล ว่า“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปะ‌เปรียบเหมือนดวงจันทร์ เข้าไปหาตระกูล ไม่‌คะนองกายไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ‌ไม่ทะนงตัวในตระกูล”(พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 4)

    พระมหากัสสปะหลีกเน้นไปอยู่ป่าเป็นปกติ ‌เมื่อพระพุทธองค์ทรงละขันธ์ปรินิพพานแล้วถึง ‌7 วันจึงรู้ข่าว ท่านจึงนำภิกษุบริวารรีบมา ข้าง‌คณะสงฆ์และเจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมือง‌กุสินารา ได้เตรียมงานถวายเพลิงพระศพมา 6 ‌วันแล้ว ในวันที่ 7 จึงได้อัญเชิญพระศพไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออก‌ของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง

    เมื่อถึงวันแรม 8 คํ่า เดือน 6 ซึ่งเรียกว่า ‌“วันอัฐมีบูชา”มัลลปาโมกข์ หรือมัลลกษัตริย์‌ชั้นหัวหน้า 4 องค์ จุดไฟอย่างไรไฟก็มิลุกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราทั้งปวงจึงถามพระอนุรุทธะว่าอะไรเป็นเหตุเช่นนี้พระอนุรุทธ‌เถระจึงตอบว่า เป็นความประสงค์ของพวก‌เทวดา เพราะเทวดารู้ว่า พระมหากัสสปะเถระ‌พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ราว 500 รูป กำลังเดินทาง‌จากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา

    “จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคยังไม่‌สามารถติดไฟ จนกว่าท่านพระมหากัสสปะ ‌จะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มี‌พระภาคด้วยมือของท่าน”พระอนุรุทธะ กล่าว

    เมื่อท่านพระมหากัสสปะพร้อมหมู่ภิกษุมา‌ถึง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ‌3 รอบ แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของ‌พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว จิตกาธาร‌ของพระผู้มีพระภาคก็มีเพลิงลุกโพลงขึ้นเอง ‌เมื่อพระสรีระไหม้ไฟแล้ว น้ำก็ไหลหลั่งมาจาก‌อากาศ ดับจิตกาธารของพระองค์

    หลังจากนั้นพระมหากัสสปะยังได้เป็น‌ประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็น‌ครั้งแรกจนมีพระไตรปิฎกตกทอดมาจนถึงทุก‌วันนี้

    พระมหากัสสปะดำรงขันธ์มากระทั่ง 120 ปี ‌ท่านจึงปรินิพพาน

    ในพระคำภีร์ว่า ถึงเหตุการณ์ในคราวนั้นไว้ว่า ท่านเข้าไปสู่ระหว่างภูเขาทั้งสามลูก แล้ว‌อธิษฐานว่า ถ้าท่านดับสูญสิ้นอายุสังขาร เข้าสู่‌นิพพานแล้วเมื่อใด ขอภูเขาทั้งสามลูกนี้จงมา‌ประชุมกันเป็นลูกเดียว ให้ปรากฏเป็นห้องหับ‌อยู่ภายในภูผา อุปมาดังห้องที่ไสยาสน์ ในกาล‌ต่อไปเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป ทรง‌พระนามว่าพระเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในโลกนี้ ‌พระองค์จะเสด็จมา ณ ที่นี้ แล้วตรัสบอกแก่‌พระสงฆ์ว่าผู้นี้เป็นสาวกผู้ใหญ่ในศาสนาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามปรากฏว่า ‌อริยกัสสปะเถระ ถือธุดงค์ได้สิ้นทั้ง 13 ประการ ‌ตราบเท่าสิ้นชีวิต คือ ถือบังสุกุลิกธุดงค์ เตจีวริก‌ธุดงค์ บิณฑบาติกาธุดงค์ สัปปทานจาริกธุดงค์ ‌เอกาสนิกธุดงค์ ปัตตบินฑิกธุดงค์ ขลุปัจฉาภัต‌ติกธุดงค์ อารัญญิกธุดงค์ รุกขมลิกธุดงค์ อัพโภ‌กาสิกธุดงค์ โสสานิกธุดงค์ ยถาลันตติกธุดงค์ ‌เนสัชชิกธุดงค์ ตั้งแต่วันอุปสมบทมา ตราบเท่า‌ถึงวันเข้าพระนิพพาน

    แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นจะ‌เป็นผู้ถวายเพลิงศพท่านเอง

    จากนั้น ท่านก็เข้าสู่อนุปาทิเสสปรินิพพาน ‌แล้วภูเขาสามลูกก็รวมกันปิดสังขารท่านไว้ดัง‌อธิษฐาน

    ในวันที่ธุดงควัตร 13 พลิกผันเป็นธุดงค์‌ธรรมชัย สรีระสังขารของอัครสาวกผู้ได้ชื่อว่า‌เป็นยอดแห่งธุดงค์ก็ยังคงไม่ปรากฏ แต่วัตรปฏิบัติของจริง ซึ่งมีท่านเป็นสุดยอดเป็นอย่างไร ‌2,500 ปีล่วงแล้วก็ยังชัดเจนถึงทุกวันนี้
    :-https://www.posttoday.com/lifestyle/147358
     

แชร์หน้านี้

Loading...