ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ประกันไฟ

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> ประกันไฟ </center> จิตดวงเดียวกันมันจะรับหน้าที่ ๒ อย่างพร้อมกันไม่ได้ คือ บาปที่ทำไปแล้วก็เป็นบาปจริง บุญที่ทำไปแล้วก็เป็นบุญจริง จิตจะรับหน้าที่ทั้งบุญและบาปพร้อมกันไม่ได้ เหมือนเรามีมือข้างเดียว เมื่อถืออะไรอยู่เต็มมือแล้ว เราจะเอามือข้างนั้นหยิบอะไรอย่างอื่นมาใส่อีกย่อมไม่ได้ ต้องวางของเก่าในมือออกเสียก่อน จึงจะหยิบของอื่นได้ นี่เป็นเรื่องของใจ ย่อมอุปมาฉันเดียวกันนี้
    ถ้าดวงจิตของเราเป็นบุญเรื่อยไป บาปมันก็ไม่มีที่พึ่งที่จะเกาะ ถ้าทำไม่สม่ำเสมอ มันก็มีที่เกาะได้เปรียบเหมือนเรามีเรือลำหนึ่ง เราก็แจวออกไปในมหาสมุทร ถ้าเราอยู่ใกล้ๆฝั่ง อีกามันก็บินไปบินมาจากฝั่งไปเกาะที่เสากระโดงเรือได้ ถ้าเราไม่อยากให้มันเกาะ เราก็ต้องแจวออกไปให้ไกลๆที่สุด กามันก็จะไม่มีโอกาสไปเกาะได้ เพราะเรืออยู่ไกลจากฝั่งมากนัก มันก็ไม่มีที่อาศัย จะขืนบินต่อไปอีกก็ไม่ได้ ถ้าขืนบินไปมันก็ต้องลืมฝั่ง เมื่อลืมอย่างนี้มันก็มีหวังต้องตายในมหาสมุทร เพราะหมดกำลัง หมดอาหาร มันก็ต้องตาย ฉันใด ดวงจิตของเราถ้าบุญไปจับอยู่เป็นจำนวนมาก เจ้าบาปก็ต้องเร่ร่อน ไม่มีที่พักพิงอาศัย ถ้ามันใกล้ หมายความว่าบุญเป็นส่วนน้อย บาปมันก็บินเข้ามาอีก บางทีมันก็ไปคอยอยู่ฝั่งโน้น ถ้าคนใดมีกำลังจิตอ่อนมันก็อยู่ใกล้ และเข้าไปจับเกาะได้ง่าย
    เช่น เวลาที่เรามาวัดนี้ ความดีของเรายังมีไม่พอ ครั้นกลับไปถึงบ้าน จิตมันก็มักบงการให้ทำความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็เลยทำไปกับมัน เหมือนเราฟังเทศน์จบ พอลุกขึ้นบาปมันก็ไปคอยอยู่ที่บันได ถ้าเราหันหน้าหันหลัง มันก็เข้ามาเกาะทันที แม้บางทีเรากำลังนั่งฟังเทศน์อยู่ มันก็ยังบินโฉบเข้ามาได้ ตัวบาปนี้คือ“กา” ถ้าใครมีกำลังจิตกล้าเข้มแข็ง มันก็ไปคอยอยู่ไกล จนเราไปถึงบ้านมันก็ไม่กล้ามาเกาะ บางทีมันบินไปเกาะคนอื่นที่ไม่มีธรรม พอคนนั้นเขามาคุยกับเรา เราก็สนทนาปราศัยด้วย ค่อยๆเชื่อมประสานวาจาติดต่อกันทีละนิดๆ ก็เลยกลายเป็นเกิดความชั่วไปก็ได้ นี่ก็เพราะความดีของเรามีไม่มากพอ
    ถ้าเรามีบาดแผล (คือความชั่ว) อยู่ในตัว เราก็ควรหาผ้าสะอาดมาปิดและชะด้วยยา คอยใส่ยาและเอาผ้าปิดปากแผลไว้ ก็จะมีหวังหาย (คือรักษาศีลและเจริญธรรม) การชะล้างก็คือเรื่องดีไม่ดีทั้งหลายทั้งหมด เราจะไม่เกี่ยวข้องเลย นี้แหละเป็นตัวกุศลจิต ดวงจิตก็จะเกิดความสบาย แล้วก็จะมีรสเกิดขึ้น คือ ความเย็นอกเย็นใจ เหมือนเราเข้าไปนั่งอยู่ในเขาหรือในถ้ำ ซึ่งมีน้ำตกลงมาเป็นสาย และมีลมบริสุทธิ์พัดเข้ามาทางช่องใดช่องหนึ่ง ดวงจิตของเราก็จะมีความเย็น ไม่มีความร้อนรน ใจก็จะบานชื่นเหมือนดอกมะลิที่อิ่มน้ำค้างในฤดูเดือน ๑๒ ดวงจิตก็เกิดกำลัง
    ถ้าดวงจิตไม่มีรส มันก็ไม่เกิดกำลัง เพราะมันอดแห้งโกโรโกโส เมื่อมันไม่มีรส มันก็ไปเที่ยวหากินซึ่งกระดูกบ้าง หนังแห้งๆบ้าง มันไม่ได้กินข้าวน้ำที่สมบูรณ์ มันก็เกิดความผอมเหี่ยวแห้ง เพราะดวงจิตถ้าไม่มีกุศล มันก็ผอมโกโรโกโส แล้วก็วิ่งซอกๆแซกๆไปตามเรื่องตามราวของมัน ไปเก็บโน่นเก็บนี่มากิน สักแต่ว่ากินๆเข้าไป แต่ก็ไม่ได้อะไรดีสักอย่าง ไม่มีรสอะไรสักชิ้นสักอัน ถ้าดวงจิตมันอ้วนพีมีกำลังแล้ว ก็คิดทำอะไรสำเร็จได้ทุกอย่าง
    พระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นว่า พวกเรามันผอมโกโรโกโสจึงทรงสงสาร ท่านจึงสอนว่า จิตที่มันแล่นไปตามรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนั้น มันเป็นก้อนไฟนะ ไม่ใช่อาหาร คือ “จักขุง อาทิตฺตัง” ตามันก็ทำความร้อนให้ สิ่งใดที่เห็นด้วยตาเป็นรูปทั้งหมด รูปเหล่านี้ข้างในมันมีก้อนไฟ แต่ข้างนอกมันฉาบไว้ด้วยสิ่งสวยงาม “โสตํ อาทิตฺตํ” หูก็เป็นความร้อน คือเสียงที่เราแสวงหากันมาตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย ซึ่งผ่านเข้ามาทางหูนั้น มันเป็นเสียงร้อน เป็นแสงไฟ แสงอาทิตย์นั้นเผาคนไม่ตาย แต่เสียงนั้นมันเผาคนให้ตายได้ มันจึงร้อนยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ “ฆานํ อาทิตฺตํ” จมูกก็เป็นความร้อน กลิ่นนั้นมีมาตั้งแต่แรกเกิดที่เขาเจาะจมูกมาให้ และธรรมดาของกลิ่นนั้น กลิ่นเฉยๆไม่มีดอก มีแต่เหม็นกับหอม ๒ อย่าง ถ้ากำลังเราอ่อนก็ไม่รู้สึกกินกลิ่นเข้าไปในดวงจิต นั่นแหละกินลูกระเบิดเข้าไป ถ้ายังไม่ไปสะกิดถูกชะนวนมันเข้าก็ยังไม่เป็นไร “ชิวฺหา อาทิตฺตํ” รสต่างๆที่ผ่านลิ้นก็นับไม่ถ้วน ถ้าใครไปติดหลงอยู่ก็เท่ากับผู้นั้นกินก้อนไฟเข้าไป มันระเบิดเมื่อไรก็พุงทะลักนั้นแหละ
    มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเข้าไปพัวพันกับสิ่งเหล่านี้ ก็เท่ากับกินลูกระเบิดของพญามัจจุราชเข้าไป มันระเบิดเมื่อไรก็วอดวายเมื่อนั้น ถ้าเรารู้จักคายก็ปลอดภัย ถ้าเรากลืนเข้าไปก็มีภาระอันหนัก จะนั่งก็นั่งไม่ติด จะนอนก็นอนไม่ลง จะยืนก็ยืนไม่อยู่ จะเดินก็เดินไม่ไหว มันร้อนไปหมดทั้งสิ้น หมดลมเมื่อไรก็หมดร้อนเมื่อนั้น “กาโยอาทิตฺโต” ผัสสะก็เป็นเครื่องเผาผลาญมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าใครไม่มีบุญกุศลอยู่ในจิตแล้ว มันก็ย่อมทำความเสียหายได้มาก
    ตัวโลโภ โทโส และโมโห ๓ ตัวนี้เป็นก้อนเหล็กแดงก้อนใหญ่เบ้อเร่อ ที่เขาลนไฟเผาจนร้อนโชน แล้วก็นำมาจิ้มที่หัวเรา ตัวโลโภอยากได้อะไร มันไม่ได้สมใจ มันก็กลายเป็นโทโส เมื่อโทโสแล้ว มันก็หน้ามืดกลายเป็นโมโห ลืมหมดไม่รู้ว่าอันใดเป็นบุญ อันใดเป็นบาป ถ้ามันอยู่กับลูกเมีย มันก็ลืมลูกลืมเมีย ฆ่าลูกฆ่าเมียได้ ถ้ามันเกิดกับผู้หญิงมันก็ลืมสามี ฆ่าสามีได้ ถ้ามันอยู่กับพ่อแม่ มันก็สามารถฆ่าพ่อฆ่าแม่ให้ตายได้ นี่เป็นเรื่องของตัวโมหะ ดวงจิตที่สัมปยุตด้วยกิเลส ๓ ตัวนี้ มันจึงพาให้เราไปนรกได้อย่างสบายใจเลย เหตุนั้นจึงเรียกว่า ไฟก้อนใหญ่ที่มีอยู่ในดวงจิตของมนุษย์
    “โลโภ” ถ้าความโลภมันเกิดขึ้นแล้ว เราเห็นว่าอะไรควรเอาก็เอา ไม่ควรก็ไม่เอา อย่างนี้ถึงไฟมันจะไหม้ เราก็ยังไม่พินาศฉิบหายหมดเนื้อหมดตัว เพราะมีประกันไฟ คนไม่มีประกันไฟ คือคนที่โลภมากจัดๆ มันกล้าทำความทุจริต อย่างนี้ฉิบหายหมดตัวเลย คนมีประกันไฟนั้น คือ เมื่อเรามีความโลภ แต่ก็ยังมีการตัดใจเสียสละ นำสิ่งของทองเงินไปฝากไว้ตามพระเจ้าพระสงฆ์และวัดวาอารามบ้าง แม้เราจะตายไปด้วยความโลภนั้น แต่เราก็ยังได้บำเพ็ญบุญกุศลเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชาไว้ในศาสนา เปรียบเหมือนตัวเราได้จ่ายเงินชำระเครื่องประกันภัยของเราไว้เสมอๆ อย่างนี้ถึงไฟไหม้ เราก็ยังมีสมบัติเหลือติดอยู่บ้าง
    “โทโส” เจ้าตัวนี้พอมันโกรธจัดขึ้นมา ก็ไม่มีพระไม่มีเจ้า ไม่มีลูกเมียพ่อแม่ละ มันย่อมกินเลือดมนุษย์ได้หมดเลย ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ ก็เกิดแตกกัน วิวาทกัน ทำร้ายกัน ถึงขนาดไปอยู่ในเขตแดน ๕ แดน ๖ บางขวางนั่นแหละ อย่างร้ายที่สุดก็ต้องถูกประหารชีวิต ยิงเป้า นี่มันร้ายยิ่งกว่าไฟไหม้บ้านเสียอีก ทรัพย์สมบัติก็หมดเกลี้ยงตัว เพราะฉะนั้นเราจึงควรไปหาเครื่องประกันชีวิตเสีย คือ วันพระก็มารักษาศีล ๕ ศีล ๘ เพื่อชำระสะยาปิดแผลของเรา คือ ล้างบาปอกุศลที่มีอยู่ในดวงจิตดวงใจและกายวาจา แม้จะล้างไม่หมดก็ให้บรรเทาเบาบางลง ถึงมันจะยังมีไฟอยู่บ้าง ก็ให้มีพอให้ได้หุงข้าวสุกหรือใช้ประโยชน์ภายในบ้านในเรือนของเราอย่าให้มัน มีมากถึงกับไหม้บ้าน
    ไฟจะดับได้ก็โดยอาศัยต้องเจริญเมตตาภาวนา ดวงจิตนั้นก็จะไม่มีโกรธเกลียดพยาบาท มีแต่เมตตาจิตว่า คนเราในโลกนี้ต่างก็มามุ่งดีเหมือนกันทุกคน แต่ความดีมันไม่เสมอกัน ต้องอาศัยปัญญาถี่ถ้วน แล้วพิจารณาเหตุผลและให้อภัยว่า คนเรามีดีชั่วไม่เสมอภาคกัน ถ้ามันเสมอภาคกันหมด ก็ต้องโลกแตก ถ้าดีเสมอกันหรือชั่วเสมอกัน โลกเป็นต้องแตกแน่ เช่น คนชอบทำสวนก็ทำกันแต่สวนอย่างเดียว หรือชอบทำนาก็ทำกันแต่นาอย่างเดียว คนค้าขายก็ไม่มี คนทำราชการก็ไม่มี หรือชอบทำราชการก็ทำกันแต่ราชการอย่างเดียวนาสวนก็อย่าทำกินกัน ก็จะพากันอ้าปากแห้งเท่านั้น ถ้าเสมอภาคเท่ากันไปหมด ไฟบัลลัยกัลป์จะต้องเผาพินาศภายในไม่กี่วัน ให้พิจารณาดูว่า แม้แต่ในตัวของเรานี้มันก็ไม่เสมอกัน ตัวอย่างเช่น นิ้วมือเราก็ต้องมีสั้นมียาว มีเล็กมีใหญ่ ถ้านิ้วมันเท่ากันไปหมดทั้ง ๑๐ นิ้ว ก็เหมือนกับมือผียักษ์นั่นแหละ สภาพของอวัยวะร่างกาย มันก็ไม่เสมอภาคกัน ทำไมความประพฤติทางกายกรรม วจีกรรม มันจะเสมอภาคกันได้ แม้ใจที่คิดนึกตรึกตรองมันก็ไม่เสมอกัน ต้องพิจารณาอย่างนี้ แล้วอภัยโทษซึ่งกันและกัน
    คนเรามีสมบัติอยู่ในตัว ๔ อย่าง คือ ๑. กายกรรม ๒. วจีกรรม ๓. มโนกรรม และ ๔. มรรยาท (คืออุปนิสัย) เหล่านี้มีอยู่ต่างๆกัน เหตุนั้นท่านจึงสอนให้พิจารณาให้รอบคอบทุกด้าน คือ ท่านสอนว่าเดินอยู่ก็ให้พิจารณา ยืนอยู่ก็ให้พิจารณา นั่งอยู่ก็ให้พิจารณา และนอนอยู่ก็ให้พิจารณา คือ พิจารณากายกรรมที่เขาทำเป็นอดีตล่วงมาแล้วอย่างหนึ่ง วจีกรรรมที่เขากล่าวมาแล้วอย่างหนึ่ง และมโนกรรรมดวงจิตที่เขาเจตนาร่วมกับเรามาแล้วอย่างหนึ่ง นี่คือพิจารณาส่วนต่ำ แล้วก็พิจารณาอนาคตว่า ต่อไปเมื่อภัยแห่งชีวิตมาถึง เช่น เราเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างหนัก ได้รับความกันดารลำบากยากแค้น ถ้าเขาอยู่กับเรา เขาอาจช่วยอุปภัมภ์อุ้มชูประคับประคองเรา แสดงอัธยาศัยดีต่อเรา หรือวาจาของเขาอาจเป็นปากเสียงปลอบโยน หรือร้องบอกกล่าวคนโน้นคนนี้ให้มาช่วยเหลือเราได้ เพราะธรรมดาคนเรานั้น เมื่อถึงเวลาคับขันย่อมจะปล่อยดูดายกันไม่ได้ อย่าว่าแต่พวกเราๆนี้เลย แม้พวกฝูงโจรอยู่ด้วยกันมันก็ช่วยเหลือกัน หรือในสงครามบางทีเขารบกันตาย แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็ยังมาเก็บซากศพไปฝังและทำบุญให้ นี่เราเป็นญาติมิตรสหายวงศ์วานกัน จะไม่ช่วยกันเทียวหรือ
    ผู้ที่อยู่ร่วมกันปัจจุบันก็มีเจตนาดีร่วมกันเป็นมิตรกัน เราก็ควรต้องรักใคร่เมตตากัน เช่น เมืองจีนนั้นยามปกติเป็นชาติที่รบกันเองมากที่สุด เพราะพลเมืองมันมาก หลายแคว้นหลายมณฑล แต่พอสงครามต่างชาติเกิดขึ้น พวกจีนทั้งหมดประเทศต่างก็พากันมาร่วมรบกับต่างชาติด้วยความสามัคคีปรองดอง กัน ฉันใดพวกเราพุทธบริษัทก็ย่อมมีมรรยาทและอัธยาศัยใจคอสูงๆต่ำๆไม่เสมอภาคกัน ถ้ามีความจำเป็นเกิดขึ้น ก็คงจะร่วมมือช่วยกัน ทำเช่นนี้เมตตาของเราก็จะทั่วถึง คนเบื้องสูง กลาง ต่ำ ก็จะรักใคร่กัน ไฟก้อนใหญ่ก็จะหายไปด้วยความเมตตา
    เมื่อเป็นดังนี้ก็จะเห็นว่า บาปมีจริง และให้ผลร้ายแก่ผู้ไม่สนใจในธรรม บุญมีจริง และให้ผลดีแก่ผู้สนใจ นี้ก็อาศัยพวกเรามาหาเครื่องประกันชีวิต คือ ได้แก่การมาเจริญสมถกรรมฐาน ขับไล่ตัวกิเลสให้ห่างไกลออกไป ดวงจิตที่เป็นไปในกามฉันทะ พยาบาท ฯลฯ วิจิกิจฉาก็จะหมด จิตนั้นก็จะตั้งมั่นอยู่ในตัวสมาธิกำหนดอยู่ในวิตก คือ “พุทโธ” ๆ ดังนี้ วิจารทำให้เกิดความสบาย โปร่งเบา เมื่อดวงจิตมีธรรม และได้อิ่มในรส คือ ปีติ ก็มีมโนสัญเจตนาหาร จะทำอะไรด้วยทางกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ย่อมสำเร็จหมด

    *********
     

แชร์หน้านี้

Loading...