เสียงธรรม ตำนานศักดิ์สิทธิ์ EP4 เรื่องเล่าปรมาจารย์ตั๊กม้อ,ขงจื้อ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 26 กันยายน 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
    โอวาท ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ bōdhidharma 菩提達摩 Pútídámó Dámó

    Bhodhidham
    Published on Feb 17, 2017

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2019
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
    ........................................... LpTugmor.jpg
    “ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นชาวอินเดียครับ เล่ากันว่าเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียแคว้น หนึ่งทีเดียวนะครับ ก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นท่านเป็นนักรบที่เก่งกาจมาก ต่อมาไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงออกบวชเสียยังงั้นแหล่ะ บางทีท่านอาจจะได้ดวงตา เห็นธรรมหรือไม่ก็เบื่อการรบราฆ่าฟันกันเต็มทีจึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบสุขทางใจบ้าง น่ายกย่องนะครับ

    คำว่า “ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นคำเรียกในภาษาจีนครับ “ปรมะ” หรือ “ปรมา” นั้นมาจาก คำว่า “บรม” ซึ่งแปลว่า “ยิ่งใหญ่” ดังนั้นคำว่า ปรมาจารย์ตักม้อ จึงหมายถึง อาจารย์หรือครูผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีนามว่า “ตักม้อ” นั่นเอง คำว่าตักม้อนี้ชาวจีนเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโม” เพราะนามเดิมของท่านในภาษาอินเดียเรียกว่า “ตะโมภิกขุ” (ภาษาไทยเรียกท่านว่า พระโพธิธรรม) พอไปอยู่เมืองจีนจึงกลายเป็น “ตักม้อ” ไป ครั้นพอมาถึงเมืองไทยก็มีผู้เติม “ไม้ตรี” เข้าไปอีกตัวหนึ่งจึงกลายเป็น “ตั๊กม้อ” ไปด้วยประการฉะนี้ ต่อไปนี้ผมจึงขออนุญาตเรียกนามท่าน ปรมาจารย์ตักม้อในหนังสือเล่มนี้ว่า “อาจารย์ตั๊กม้อ” ก็แล้วกันนะครับ ฟังแล้วค่อยคุ้นหูเป็นสำนวนแบบไทยๆ สักหน่อย

    เนื่องจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อเป็นชาวดินเดียจึงมีผิวกายดำคล้ำและมีเส้นผมหยิกงอ ดังนั้น ภาพของท่านในสายตาของชาวจีนจึงดุร้ายน่ากลัวราวกับโจรผู้ร้ายทีเดียวเชียวละครับ ภาพการ์ตูนของผมก็เลยต้องวาดให้มีลักษณะดุดันตามไปด้วย แต่ความจริงแล้วอาจารย์ตั๊กม้อท่าน เป็นคนดีเป็นฝ่ายธรรมะครับ ถ้าไม่ดีจริงคงไม่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาและไม่สามารถเดินทางไปเผยแพร่ธรรมะในประเทศจีนจนแพร่หลาย เป็นที่เคารพยกย่องของชาวจีนเป็น จำนวนมากมานานนับเป็นพันๆปีทีเดียว แสดงว่าคนดีนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างหน้าตาสวยงามเสมอไป คนรูปชั่วใจดีมีถมไป ส่วนคนที่รูปงามแต่จิตใจชั่วร้ายก็มีมากเหมือนกัน ต้องคอยระวังกันให้ดีก็แล้วกันนะครับ

    เรื่องราวของอาจารย์ตั๊กม้อที่เด่นดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่มากมายหลายเรื่องผมจะขอเล่า ให้ฟังสักสองสามเรื่องนะครับ แต่ถ้าท่านผู้อ่านอยากจะทราบเรื่องราวให้มากไปกว่าที่ผมเล่าก็ต้องไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมกันเองครับ เรื่องแรกซึ่งเล่าขานเกี่ยวกับความเก่งกล้าสามารถ ของอาจารย์ตั๊กม้อนั้นคือในสมัยแรกที่ท่านเดินทางจากประเทศอินเดียไปยังประเทศจีนนั้นมีอยู่ ตอนหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องเดินทางข้ามลำน้ำแต่ไม่สามารถจะหาเรือนั่งข้ามไปได้ ท่านอาจารย์ตั๊ก ม้อจึงแสดงอภินิหารข้ามลำน้ำด้วยวิธีอันน่าตื่นเต้นพิสดารคือ ท่านหักต้นอ้อท่อนหนึ่งโยนลง ไปในน้ำแล้วโดดลงไปยืนเหยียบอยู่บนต้นอ้อต้นนั้นอาศัยเป็นเรือพาท่านลอยข้ามลำน้ำไปขึ้นยังอีกฝั่งหนึ่งอย่างสบายอารมณ์ ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างพากันแตกตื่นเลื่อมใสในความ สามารถของท่านและเล่าขานเรื่องนี้สืบต่อๆกันมาจนถึงทุกวันนี้

    เรื่องที่สองคือ เมื่อท่านเดินทางไปถึงประเทศจีนใหม่ๆ ชาวจีนที่นับถือพุทธศาสนาในขณะ นั้นยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงหลักธรรมที่แท้จริง ต่างแบ่งแยกกันออกเป็นนิกายต่างๆมากมายและปฏิบัติธรรมผิดออกไปจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นท่านเป็นพระที่เดินทางมาจาก อินเดียซึ่งเป็นแดนพุทธภูมิจึงพากันมาตั้งคำถามและลองภูมิท่านจนรู้สึกรำคาญ ท่านอาจารย์ตั๊กม้อคงอิดหนาระอาใจมากจึงนั่งสมาธิหันหน้าเข้าหาผนังหินในถ้ำไม่ยอมพูดจากับใครเป็นเวลานานถึง 9 ปี เล่นเอาพวกที่ชอบไปอวดรู้ลองภูมิพากันหลบฉากหนีหน้าไปเพราะแตกตื่นในวิธีการนั่งสมาธิแบบพิสดารของพระจากเมืองอินเดีย ส่วนคนที่เลื่อมใสก็พากันเข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนธรรมะกับท่านจนกลายเป็นหลวงจีนวัดเส้าหลินอันมีชื่อเสียงโด่งดังสืบต่อๆกันมานั่นแหล่ะครับ

    เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์ตั๊กม้อใช้วิทยายุทธปราบคนพาลอภิบาลคนดีจนมีคนเคารพเลื่อมใสมากมายทั่วไปในเมืองจีน คือตอนที่ท่านเดินทางธุดงค์จาริกไปทั่วเมืองจีนนั้นได้ช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านด้วยวิชาการต่อสู้อันแปลกพิสดารที่ท่านได้เรียนรู้ไปจากอินเดีย นอกจากนั้นท่านยังได้รวบรวมบันทึกเคล็ดวิชาในการฝึกการต่อสู้อันสุดแสนจะพิสดารต่างๆรวมเข้าไว้เป็นคัมภีร์เล่มหนึ่ง เรียกว่า “คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง”

    คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนบน” บันทึกวิชาฝึกความแข็งแรงของร่างกาย (ฝึกโยคะ) และการต่อสู้ไว้ 72 กระบวนท่า ท่อนที่สองเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนล่าง” บันทึกเคล็ดวิชาต้องห้าม (วิชามาร) เอาไว้ 36 ประบวนท่า เคล็ดวิชามารเหล่านี้เป็นแนวทางการ ฝึกวิทยายุทธของคนที่เหี้ยมโหดชั่วร้ายซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝีมือของท่าน อาจารย์ตั๊กม้อจึงยึดเอามารวมไว้เป็นคัมภีร์ท่อนล่างและกำหนดให้เป็น ”วิชาต้องห้าม” คือห้ามมิให้ฝึกเนื่องจากวิธีการฝึกนั้นผิดทั้งครรลองคลองธรรมและผิดศีลธรรมจึงเก็บซ่อนคัมภีร์ท่อนล่างไว้อย่างมิดชิด
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
    -หลักการปฏิบัติธรรม คำสอน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ จากเว็บไซต์ :-

    ww.baanmaha.com/community/thread32213.html - แคช
    ถนนหลายสายย่อมนำไปสู่มรรค แต่โดยพื้นฐานแล้วย่อมมีทางเพียง 2 ทางเท่านั้น คือภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การเข้าถึงทฤษฎี หมายถึงการเข้าใจอย่างชัดเจนถึงเนื้อหาสาระในการสอน และความเชื่อที่ว่าสรรพชีวิตย่อมรวมอยู่ในธรรมชาติอันเดียวกัน แต่ความเข้าใจตามหลักทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งชัดเจน เพราะเราถูกห่อหุ้มด้วยอำนาจแห่งเวทนาและความหลง
    สำหรับบุคคลที่ขจัดความหลงออกได้ ย่อมพบความจริงคือ บุคคลที่เพ่งพินิจต่อกำแพงธรรม (สุญญตาธรรม) อยู่เสมอ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในตนเองและผู้อื่น ย่อมรวมความเป็นปุถุชนและพุทธะเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคงไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปกับอำนาจคัมภีร์ตำรา
    บุคคลเช่นนั้น ย่อมประสบกับความสำเร็จ และไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีด้วย การไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปกับหลักทฤษฎี เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเข้าสู่กระแสธรรม


    การเข้าสู่กระแสธรรมโดยการปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติที่ประกอบไปด้วยหลัก 4 ประการ (อริยสัจแบบมหายาน) เหล่านี้คือ

    1.การกำหนดรู้ทุกข์
    2.การปรับปรุงแก้ไขทุกข์อยู่เสมอ
    3.การไม่มีความทะเยอทะยาน
    4.การเจริญภาวนาธรรม (อริยมรรค)
    ประการที่ 1. การกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อแสวงหาอริยมรรคย่อมเผชิญกับความยากลำบาก ผู้แสวงหาย่อมคิดถึงตัวเอง (ด้วยความท้อถอยว่า) "ในกัปกัลป์ที่ผ่านไป อันกำหนดนับไม่ได้นี้ ฉันได้ใช้ชีวิตสิ้นเปลืองไปกับสิ่งไร้สาระ และเวียนว่ายไปในภพภูมิต่างๆมากมาย บ่อยครั้งที่เราโกรธอย่างไร้เหตุล และละเมิดฝ่าฝืนทำสิ่งผิดนับครั้งไม่ถ้วน
    มาบัดนี้ แม้จะไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่เราก็ต้องถูกลงโทษด้วยอดีตกรรม เมื่อกรรมชั่วให้ผลตอบสนอง ทั้งเทวดาและมนุษย์ก็ไม่อาจมองเห็น ฉันจะก้มหน้ารับผลกรรมอันนี้ด้วยจิตใจที่เปิดเผย และจะไม่คร่ำครวญพร่ำบ่นถึงความไม่เป็นธรรม"

    พระสูตรกล่าวว่า "เมื่อท่านพบกับความทุกข์ยากลำบากอย่าเสียใจ เพราะมันจะทำให้เกิดอุปาทาน" เมื่อเข้าใจเช่นนี้ชื่อว่าท่านทำถูกต้องกับทฤษฏี และการกำหนดรู้ทุกข์ย่อมทำให้ท่านเข้าสู่กระแสแห่งอริยมรรค

    ประการที่ 2.การปรับปรุงแก้ไขทุกข์อยู่เสมอ ในฐานะเราเป็นสัตว์ที่ต้องตาย เราถูกสังขารธรรมทั้งหลายครอบงำไม่ใช่ตัวเราเอง ความทุกข์ความสุขที่เราได้รับล้วนเกิดจากสังขาร (การปรุงแต่งกาย-ใจ) เราจะไม่มีความรู้สึกเป็นสุขถ้าเราประสบโชคอันยิ่งใหญ่ เช่นชื่อเสียง โภคทรัพย์ เป็นต้น อันเป็นผลของบุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญไว้ในอดีตกาล เมื่อเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงโชคลาภก็หมดไป

    ทำไมเราต้องยินดีพอใจในชีวิตเช่นนั้นด้วยเล่า ? เมื่อความสำเร็จและความล้มเหลวต่างก็เป็นสังขารธรรมทั้งนั้น จึงไม่ควรปล่อยจิตใจให้ฟู-แฟบไปกับสังขารเหล่านั้น ผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับกระแสแห่งความสุข ความทุกข์ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคอย่างเงียบๆ

    ประการที่ 3. การไม่มีความทะเยอทะยาน คนในโลกนี้ถูกความหลงครอบงำ พวกเขาจึงมักหมกมุ่นมัวเมาอยู่กับโลกธรรม ด้วยความหลงละเมอทะเยอทะยาน แต่ผู้รู้ (วิญญูชน) ย่อมตื่นตัว ท่านเหล่านั้นย่อมเลือกทำตามเหตุผลมากกว่าความเคยชิน และมีโยนิโสมนสิการ คือทำทุกสิ่งไว้ด้วยใจอันแยบคาย และปล่อยร่างกายให้เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล

    ปรากฏการณ์(รูป-นาม) ทุกอย่างเป็นของว่างเปล่า ไม่มีคุณค่าควรแก่การทะยานอยาก ความเสื่อมกับความเจริญเกิดขึ้นและดับไป สลับกันอยู่ตลอดเวลา ความยินดีพอใจอยู่ในภพทั้งสาม เป็นเสมือนการอาศัยอยู่ในเรือนที่ไฟกำลังไหม้อยู่ การมีกายนี้จึงเป็นทุกข์
    มีใครบ้างที่อาศัยกายนี้แล้ว พบกับความสงบสุข บรรดาผู้ที่เข้าใจสัจธรรมข้อนี้ ย่อมถ่ายถอนตนเองออกจากภพทั้งปวงและหยุดการปรุงแต่ง หรือทะยานอยากในสิ่งใดๆ

    พระสูตรกล่าวว่า "การแสวงหาด้วยความทะยานอยากย่อมเป็นทุกข์, การไม่แสวงหาด้วยความอยากย่อมเป็นสุข" เมื่อไม่ทะยานอยาก ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในกระแสแห่งอริยมรรค

    ประการที่ 4. การเจริญภาวนาธรรม คำว่า ธรรม หมายถึงปรมัตถสัจจะซึ่งถือว่าธรรมชาติทั้งปวงเป็นสิ่งบริสุทธิ์ด้วยธรรมสัจจะนี้ ปรากฏการณ์ทั้งปวงจึงเป็นความว่าง กิเลสตัณหา และอุปาทาน ทั้งที่เป็นอัตตวิสัยและภาวะวิสัยเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่จริง

    พระสูตรกล่าวว่า "ธรรมะ" เป็นนิชชีวะ คือ มิใช่สัตว์ บุคคล เพราะว่างเปล่าจากความมั่นหมายจากสัตว์บคุคลและธรรมะเป็นอนัตตา เพราะว่างเปล่าจากความมั่นหมายแห่งความเป็นตัวตน (ที่จะปฏิบัติตาม)

    บุคคลผู้นั้นย่อมอุทิศทั้งกายชีวิต ตลอดถึงทรัพย์สมบัติให้เป็นทานโดยไม่เสียดาย และไม่หวังผลตอบแทนใดๆจากการให้ ไม่ว่าเป็นวัตถุ ข้าวของเงินทอง และไม่มีความลำเอียงยึดติดในการให้ทาน และช่วยสั่งสอนให้ผู้อื่นได้ขัดเกลากิเลสโดยไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในรูปแบบ

    ดังนั้นเมื่อตนเองปฏิบัติได้สำเร็จแล้ว ก็สามารถช่วยเหลือผู้อื่น และทำให้เขาได้เข้าถึงธรรมได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน เพราะการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นก็เป็นการบำเพ็ญบารมีธรรมไปด้วย และเมื่อบำเพ็ญบารมีธรรมทั้ง 4 ประการ นั้นก็ช่วยกำจัดความหลงของตนเองไปด้วย ซึ่งไม่ต้องไปบำเพ็ญคุณธรรมอย่างอื่นอีก (นอกจากบารมีธรรม 4 ประการ)

    เมื่อตั้งอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ ก็ไม่ต้องปฏิบัติธรรมอันอื่นอีกก็ได้ นี้คือความหมายของคำว่า "การปฏิบัติธรรม"
    ************************************
    ขอบพระคุณที่มา :- http://www.bansuanporpeang.com/node/6996
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
    วันรำลึกปรมาจารย์ตั้กม้อ 10 November
    Calendar.jpg
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
    ความเป็นมาของ... พระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม่อ)

    THE BACKGROUND - ความเป็นมา-
    98,488 viewsFeb 2, 2020
    พระโพธิธรรม หรือ ปรมาจารย์ตั๊กม่อ เป็นพระภิกษุชาวอินเดียที่ได้นำหลักธรรมของพุทธศาสนาแบบเซน “จิตสู่จิต” มาเผยแพร่ ว่ากันว่าแก่นคำสอน คือการชี้ตรงไปที่จิตใจ เพื่อให้เห็นธรรมชาติเดิมแท้ และบรรลุถึงพุทธภาวะ กล่าวกันว่าคำสอนที่ไม่ใช่เพียงแค่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นการปฏิวัติสังคมวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ทั้งในจีน ญี่ปุ่น รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เซนแพร่ไปถึง นอกจากนั้นท่านยังได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นกำนิดแห่งวิชากังฟู วัดเส้าหลิน อีกด้วย วันนี้ –ความเป็นมา- จึงขอนำทุกท่านไปทำความรู้จักกับชีวประวัติของ พระโพธิธรรม ท่านนี้ เมื่อพร้อมแล้วเราไปฟังกันเลยครับ ---

    ----- **ขอบคุณข้อมูลจาก** หนังสือ โพธิธรรมคำสอน เรียบเรียงโดย พระพุทธยานันทภิกขุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...