ขั้นตอนการสร้างบารมี (พระเผด็จ ทตฺตชีโว)

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย paang, 4 เมษายน 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]



    เมื่อเราได้ติดตามดูการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่พระชาติแรกเป็นต้นมา ก็พอจะสรุปได้ว่า มี อยู่ ๒ ขั้นตอนใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

    ขั้นตอนที่ ๑

    ช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้จริง เป็นการบำเพ็ญบารมีแบบพระอรหันต์ทั่วๆ ไป คือ พยายามละเว้น ความชั่วทุกชนิดอย่างเด็ดขาด ขวนขวายทำความดีทุกอย่างที่ขวางหน้าโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก และพยายามกลั่นจิตใจให้ผ่องใสไม่ว่างเว้น เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ ในชาตินั้นๆ โดยอาศัยคำสอนจากนักปราชญ์บัณฑิต ตลอดจนพระพุทธเจ้าในยุคนั้นๆ ขั้นตอนที่ ๑ นี้ ถ้าจะแบ่งย่อยการบำเพ็ญบารมีออกไปอีกก็ได้ ๒ ระยะคือ

    ระยะแรก สร้างบารมีไปเงียบๆ โดยไม่เอยปากบอกใคร และไม่ชักชวนใคร เพราะบารมียังอ่อนอยู่ ต้องใช้เวลาไปในระยะนี้ทั้งหมด นานถึง ๗ อสงไขยกัป

    ระยะหลัง สร้างบารมีไป ก็ประกาศให้ชาวโลกทราบไป และบำเพ็ญตนเป็นกัลยาณมิตร ด้วยการชักจูงผู้อื่นให้สร้างบารมีตาม จะกระทั่งบารมีแก่กล้าเต็มที่ พอจะหมดกิเลสเป็นพรอรหันต์ได้ (ในพระชาติที่เป็นสุเมธดาบส) ซึ่งใช้เวลานานอีก ๙ อสงไขยกัป

    ขั้นตอนที่ ๒

    ทุ่มเทชีวิต สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกโดยส่วนรวม คือ นับตั้งแต่ทันทีที่สุเมธดาบสได้รับพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร จนกระทั่งได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูของเรา ขั้นตอนที่ ๒ นี้ เป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่มีต่อสัตว์โลก ไม่มีศาสดาใดๆ จะเทียบเทียมได้ เพราะต้องใช้เวลาต่อไปอีกถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เพื่อสัตว์โลกทั้งหลาย มิใช่เพื่อพระองค์เองเลย ยิ่งกว่านั้นยังเป็นขั้นตอนที่ต้องประพฤติปฏิบัติอย่างรอบคอบ รัดกุม เรียกว่า สร้างบารมี ๑๐ จึงควรที่พวกเราจะต้องจดจำแบบแผนของพระองค์ไว้ให้ดี และตั้งใจปฏิบัติตาม อย่างทุ่มเท

    เพื่อความสะดวกในการจดจำ และนำไปปฏิบัติตามจึงขอสรุปการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการอีกครั้งหนึ่งในเชิงปฏิบัติคือ

    ๑. ทานบารมี ทรงวางแผนแห่งการเสียสละ เพื่อเตรียมเสบียงข้ามชาติ จะได้ไม่ต้องอกอยากยากจน เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลกผู้ไม่ประมาททั้งหลาย

    ๒. ศีลบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งความสำรวมระวังตน เพื่อป้องกันการเบียดเบียน กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๓. เนกขัมมบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งการตัวความกังวลน้อยใหญ่ จะได้ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ด้วยการเสียสละครอบครัว ไม่เป็นภาระในการครองเรือน เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๔. ปัญญาบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งการแสวงหาและสร้างเสริมปัญญาให้งอกงามถึงที่สุด เพื่ออาศัยปัญญานั้นฟาดฟันกิเลสให้มอดมลาย เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๕. วิริยบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งการฝึกหัดดัดตนจนกระทั่งมีความประพฤติปฏิบัติดีพร้อมบริบูรณ์ ทั้งทางกาย วาจา และ ใจ ใครๆ จะตำหนิไม่ได้ เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๖. ขันติบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งการต่อสู้หักหาญกับอุปสรรคน้อยใหญ่ ทุกๆ ชนิดแบบเย็นๆ จนกว่าจะชนะ แต่ไม่ยอมถอยหลังแม้แต่ก้าวเดียว เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๗. สัจจบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งความเป็นคนตรง ที่มีความจริงจัง และจริงใจ ทั้งแก่บุคคลและความดี เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๘. อธิษฐานบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งความฉลาดรอบคอบในการทำความดี และความเด็ดเดี่ยวในการทำความดีนั้นๆ ไปจนกว่าจะสำเร็จ เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๙. เมตตาบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งความรักสากลให้คนทั้งโลกมีความรกใคร่ปราถนาดี มีไมตรีซึ่งกันและกันเหมือนญาติร่วมสายโลหิต เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก

    ๑๐. อุเบกขาบารมี ทรงวางแบบแผนแห่งความเที่ยงธรรม มีใจสงบเรียบสม่ำเสมอ มั่นคง ไม่เอนเอียงขึ้นลง เป็นตัวอย่างแก่ชาวโลก



    ..........................................................

    คัดลอกมาจาก
    หนังสือ บวชสร้างบารมี
    โดย พระเผด็จ ทตฺตชีโว
    http://www.dhammajak.net/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...