บุญวาสนามาจากการบริจาค

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 22 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>เกริ่นนำ

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] “บุญวาสนามาจากการบริจาค” เป็นพระสูตรในพุทธศาสนาที่ได้รวบรวมพุทธโอวาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสถึงบุญอันสำเร็จด้วยทาน ให้ชาวโลกได้ประจักษ์และเข้าใจในบุญญานุภาพแห่งทานอันเป็นเหตุให้มนุษย์มีสภาพชีวิตที่แตกต่างกันไปในอายุ วรรณะ สุข ยศ ฯ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ดั่งที่พระองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า ผู้ให้ทานย่อมเป็นผู้กำชัยไว้ทั้งสองโลก คือ
    ... เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน 1
    ... เพื่อความสุขในสัมปรายภพ 1
    ด้วยเหตุนี้ “การบริจาค” จึงเป็นหลักประกันชีวิตที่ดีที่สุด อันผู้มีปัญญาได้เลือกแล้ว เมื่อบริจาคย่อมเป็น “บุญ” อันเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวไม่ให้ชีวิตตกลงไปในทางที่ชั่ว ให้ดำรงอยู่แต่ในทางที่ดีตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ อีกทั้งบุญเป็นขุมทรัพย์ เมื่อมีอยู่ติดตัวแล้วจะอำนวยประโยชน์และความสุขคือ “วาสนา” มาให้อย่างมากมาย เหนือสิ่งใดเมื่อจากไปในโลกหน้า บุญก็ยังตามติดเป็นที่พึ่งที่ยึดถือให้ไปสู่ภพภูมิที่ดีอีกด้วย ...
    อานิสงส์แห่งธรรมทาน
    พุทธพจน์:
    “...ดูกรสุภูติ หากชายคนหนึ่งทำทานโดยการ
    ถวายทานด้วยสมบัติกองสูงเท่ากับภูเขาพระสุเมรุทั้ง
    จักรวาลมารวมกัน ส่วนอีกคนหนึ่ง รับฟังคำสอนไว้
    ในใจ อ่าน เรียนรู้ จดจำ แล้วสั่งสอนผู้อื่น
    บุญกุศลของชายคนแรกยังไม่มากเท่าหนึ่งใน
    ร้อย หนึ่งในพัน หนึ่งในแสน ของบุญกุศลที่ชายคน
    ที่สองได้รับ เพราะไม่สามารถจะเปรียบกันได้เลย”


    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>บุญวาสนามาจากการบริจาคเรื่องจริงฤาอุบาย

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="159"> <tbody><tr> <td width="159">พุทธพจน์:
    “ถ้าสัตว์โลกจะพึงเห็น
    อานิสงส์แห่งการบริจาค
    เหมือนกับที่ตถาคตเห็น
    มาตรแม้นว่าใครจะมาขอศรีษะ
    ก็สามารถตัดให้เขาไปได้”</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>มิจฉาเป็นเหตุ

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="238"> <tbody><tr> <td width="238">รู้ได้อย่างไรว่า ผลแห่งทานมีจริง
    ผลแห่งการบูชามีจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ที่มีวาทะอย่างนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า:
    ...ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
    ...การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล
    ...ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดี-ทำชั่วไม่มี
    ...โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี ฯลฯ
    ดังนี้ เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักดำเนินอยู่ในอกุศลธรรม คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเขาเหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม
    ...ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากลับเห็นว่าโลกหน้าไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ...ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดำริว่าโลกหน้าไม่มี ความนึกคิดของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ
    ...ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่าโลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา
    ...ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขากล่าวว่าโลกหน้าไม่มี ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นปรปักษ์ต่อพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า
    ...เขาละคุณคือเป็นคนมีศีลแล้ว ตั้งไว้เฉพาะแต่โทษ คือความเป็นคนทุศีล อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ย่อมครอบงำเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยด้วยประการฉะนี้แล” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>บุรุษตาบอด

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] ถ้าเช่นนั้นแล้วมนุษย์จะรู้เห็นในสิ่งที่เหนือไปกว่า
    ความสามารถที่จะรับรู้ได้อย่างไร เพราะข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้?

    พุทธพจน์:
    พ. “... ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิดเขาไม่เห็นรูปดำ รูปขาว ไม่เห็นรูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีชมพู รูปที่เสมอและไม่เสมอ หมู่ดาว ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
    พ. เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่มีรูปดำ รูปขาว ไม่มีคนเห็นรูปดำ รูปขาว ไม่มีรูปเขียว ไม่มีคนเห็นรูปเขียว ไม่มีรูปเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปเหลือง ไม่มีรูปแดง ไม่มีคนเห็นรูปแดง ไม่มีรูปสีชมพู ไม่มีคนเห็นรูปสีชมพู ไม่มีรูปที่เสมอและไม่เสมอ ไม่มีคนเห็นรูปที่เสมอและไม่เสมอ ไม่มีหมู่ดาว ไม่มีคนเห็นหมู่ดาว ไม่มีดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
    เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นย่อมไม่มี เมื่อเขากล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบหรือมาณพ”
    สุ. “... ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปดำรูปขาวมี คนเห็นรูปดำรูปขาวก็มี รูปเขียวมี คนเห็นรูปเขียวก็มี รูปแดงมี คนเห็นรูปแดงก็มี รูปสีชมพูมีคนเห็นรูปสีชมพูก็มี รูปที่เสมอและไม่เสมอมี คนเห็นรูปเสมอและไม่เสมอก็มี หมู่ดาวมี คนเห็นหมู่ดาวก็มี ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ คนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็มี เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่มีผู้ที่กล่าวดังนี้ ไม่ชื่อว่ากล่าวชอบ ท่านพระโคดม ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>เห็นต่างกัน

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    “... ดูกรอัคคีเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือนิคม สหาย 2 คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้วจูงมือกันเข้าไปยังที่ตั้งภูเขา
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ครั้นแล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า “แน่ะเพื่อน! เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร?”
    สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า “เพื่อนเอย ! เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์”
    สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า “แน่ะเพื่อน ! ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย”
    สหายที่ยืนบนภูเขาจึงลงมายังเชิงเขาข้างล่าง แล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้วเอ่ยถามสหายนั้นว่า “แน่ะเพื่อน ! เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้ว เพื่อนเห็นอะไร”
    สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า “เพื่อนเอ๋ย ! เรายืนบนภูเขาแล้ว แลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ ...” <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>พรหมโลกมีจริง

    </td> </tr> <tr> <td>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="238"> <tbody><tr> <td width="238">จะปลงใจเชื่อได้อย่างไรว่าพรหมโลกมีจริง
    ยังมีข้อเปรียบเทียบให้ชัดเจนไปกว่านี้อีกหรือไม่?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    พ. “... ดูกรมาณพ บุรุษผู้เกิดแล้วทั้งเจริญแล้วในบ้านนฬการ คามนี้แล เขาออกจากบ้านฯ พึงถูกถามถึงหนทางแห่งบ้านฯ จะพึงชักช้า หรือตกประหม่าหรือไร?”
    สุ. “ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม เพราะบุรุษนั้นทั้งเกิดแล้ว ทั้งเจริญแล้วในบ้านนฬการคาม รู้จักทางของบ้านฯ ทุกแห่งดีแล้ว”
    พ. “ดูกรมาณพ บุรุษผู้เกิดแล้วทั้งเจริญแล้วในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางของบ้านฯ ไม่พึงชักช้า หรือตกประหม่าแลตถาคตถูกถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ชักช้า หรือตกประหม่าเช่นเดียวกัน
    ดูกรมาณพ เราย่อมรู้จักทั้งพรหมโลกและปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก อนึ่ง ผู้ปฏิบัติด้วยประการใดจึงเข้าถึงพรหมโลก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ผู้กำชัยทั้ง 2 โลก

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] ในกรุงพาราณสี มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ นันทิยะ เป็นผู้มีศีล มีศรัทธา พอใจในการปฏิบัติบำรุงพระสงฆ์
    เมื่อเขามีอายุพอจะครองเรือนได้แล้ว มารดาบิดาต้องการให้เขาแต่งงานกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ เรวดี แต่นางเป็นผู้ไม่มีศรัทธา นันทิยะจึงไม่ต้องการ แต่มารดาบิดาของนันทิยะต้องการ ท่านทั้งสองจึงขอร้องให้นางเรวดีทำใจให้ศรัทธาในพระรัตนตรัย เมื่อพระสงฆ์มาฉันอาหารที่บ้าน ขอให้นางเรวดีช่วยปูลาดอาสนะ ตั้งเชิงบาตร รับบาตร นิมนต์ให้นั่งกรองน้ำด้วยเครื่องกรอง เมื่อพระฉันเสร็จแล้วให้ล้างบาตร ถ้าทำได้อย่างนี้นันทิยะจะพอใจ
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    เรวดีต้องการแต่งงานกับนันทิยะจึงยอมทำตาม ท่านทั้งสองได้เล่าให้นันทิยะฟัง นันทิยะจึงยอมแต่งงานด้วยและนางมีบุตรกับนันทิยะ 2 คน ต่อมาเมื่อมารดาบิดาของนันทิยะสิ้นชีวิตแล้วนางก็ได้ครองความเป็นใหญ่ในเรือน
    จำเดิมแต่มารดาบิดาสิ้นชีวิตแล้ว นันทิยะยิ่งให้ทานมากขึ้นเป็นมหาทานบดี(ผู้เป็นใหญ่ในทาน) เตรียมทานสำหรับภิกษุสงฆ์ ตั้งค่าอาหารสำหรับคนกำพร้าและคนเดินทางไว้ที่ประตูเรือน
    ต่อมาเขาได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์แห่งเสนาสนทานจึงได้สร้างศาลา 4 มุข มี 4 ห้องในมหาวิหารอิสิปตนะ มีเครื่องนั่งเครื่องนอนพร้อม เมื่อจะมอบถวายเสนาสนะนั้น เขาได้ถวายมหาทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วถวายน้ำทักษิโณทกแด่พระตถาคต ขณะเดียวกันนั่นเอง ปราสาททิพย์พร้อมด้วยเหล่าเทพอัปสรได้ปรากฏขึ้นรอคอยเขาอยู่ในเทวโลก
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ต่อมาวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะจาริกไปในเทวโลก ยืนอยู่ใกล้ปราสาทนั้น พวกเทพบุตรมาหาท่านกันมาก ท่านถามเทพบุตรเหล่านั้นว่า ปราสาทพร้อมด้วยเทพอัปสรเหล่านั้นเกิดขึ้นเพื่อใคร? เทพบุตรเหล่านั้นเรียนให้ทราบว่า เกิดขึ้นเพื่อ นันทิยะ ผู้สร้างวิหารถวายพระศาสดาที่ป่าอิสิปตนะ
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ฝ่ายพวกเทพอัปสรเห็นพระเถระแล้ว ลงจากปราสาทนมันสการพระเถระและกล่าวว่า “พวกข้าพเจ้าเกิดที่นี่เพื่อรอเป็นบาทบริจาริกาของนันทิยะแต่ไม่เห็นเขามาเลย รออยู่นานเบื่อเหลือเกิน พระคุณเจ้ากลับไปเมืองมนุษย์แล้ว กรุณาบอกเขาด้วยว่า ขอให้ละมนุษยสมบัติอันเป็นเหมือนภาชนะดิน แล้วมารับทิพยสมบัติอันเป็นเสมือนภาชนะทองคำด้วยเถิด”
    พระมหาโมคคัลลานะกลับจากเทวโลกแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า “เป็นไปได้หรือที่ทิพยสมบัติจะเกิดขึ้นในเทวโลกรอบุคคลผู้ทำความดีซึ่งยังอยู่ในมนุษยโลก?”
    พระศาสดาตรัสตอบว่า “โมคคัลลานะ ก็ทิพยสมบัติเกิดขึ้นแก่นันทิยะ เธอเห็นเองแล้วมิใช่หรือ เหตุไฉนจึงถามเราอีกเล่า?
    ดูกรโมคคัลลานะ บุญที่บุคคลทำแล้วย่อมไปรอต้อนรับเขาอยู่ในเทวโลก เหมือนญาติมิตรรอต้อนรับผู้เป็นที่รักของตน ซึ่งเดินทางกลับมาจากแดนไกล เช่นนี้แล”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="333"> <tbody><tr> <td align="center" width="333">“ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
    ผู้มีความเห็นชอบคือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า
    ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่ ผลแห่งการบูชามีอยู่ ฯ ...
    สัตว์บางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    เพราะเหตุแห่งความประพฤติธรรม

    ผู้มีความเห็นผิดคือ มีความเห็นวิปริตว่า
    ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี ผลแห่งการบูชาไม่มี ฯ ...
    สัตว์บางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก
    เพราะเหตุแห่งความไม่ประพฤติธรรม อย่างนี้แลฯ”


    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>อำนาจแห่งผลบุญวาสนา

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="289"> <tbody><tr> <td width="289">พุทธพจน์:
    “ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส
    ให้ข้าวและน้ำด้วยศรัทธา
    ข้าวและน้ำนั้นแลย่อมพระนอเขา
    ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น
    สมควรเปลื้องความเหนียวแน่น
    อันครอบงำมลทินของใจเสีย พึงให้ทาน
    บุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    พุทธพจน์:
    “... ดูกรนายคามณี แต่ภัทรกัปนี้ไป 91 กัป ที่เราระลึกได้ เราไม่รู้สึกว่าเคยเบียดเบียนสกุลไหนๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุกแล้วเลย
    อนึ่งเล่า ครอบครัวใดใดมีฐานะมั่งคั่ง มีทรัพย์มากมีสมบัติมาก มีเงินและทองมากครอบครัวทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการให้ทาน” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ผลบุญในมนุษย์โลก

    </td> </tr> <tr> <td>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="289"> <tbody><tr> <td width="289">เพราะเหตุไร คนบางคนจึงยากจนเข็ญใจ
    ทั้งๆ ที่ทำงานหนักมาตลอด แต่บางคนไม่ต้อง
    ทนลำบากมากนัก ก็มีฐานะร่ำรวยมีกินมีใช้ไปตลอด ?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    พุทธพจน์:
    “... ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตามย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป ฯลฯ
    เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้นหากตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ ณ ที่ใดๆ จะเป็นผู้มีโภคะน้อย”
    “... ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตามย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป ฯลฯ
    เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ ณ ที่ใดๆ จะเป็นผู้มีโภคะมาก”</td></tr></tbody></table>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ทำไมไม่สวย แต่รวย และสูงศักดิ์

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="289"> <tbody><tr> <td width="289">เพราะเหตุไร สตรีบางคนเกิดมาจึงมีรูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่
    แต่มีทรัพย์สมบัติมากและสูงศักดิ์?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพระนางมัลลิกา สตรีบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าเล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด
    แต่เขาเป็นผู้ให้ทานคือ ข้าว น้ำ ยวดยาน และเป็นผู้มีใจไม่ริษยาในลาภสักการะของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน
    ถ้าสตรีนั้นจุติจากอัตตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทรามรูปชั่วไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งมีทรัพย์มากมีสมบัติมากและสูงศักดิ์ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ทำไมจึงสวย แต่ยากจน และต่ำศักดิ์

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="289"> <tbody><tr> <td width="289">เพราะเหตุไร สตรีบางคนเกิดมาจึงมีรูปงาม
    แต่ยากจนขัดสนแต่ต่ำศักดิ์?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพระนางมัลลิกา สตรีบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ แม้ถูกว่ามากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง
    แต่เขาเป็นผู้ไม่ให้ทานคือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภสักการะของผู้อื่น ทั้งกีดกันและตัดรอน
    ถ้าสตรีนั้นจุติจากอัตตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม แต่เป็นคนยากจนขัดสนและต่ำศักดิ์ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ทำไมจึงสวย รวยทรัพย์ และสูงศักดิ์

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="289"> <tbody><tr> <td width="289">เพราะเหตุไร สตรีบางคนเกิดมาจึงมีรูปงาม
    บริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติและสูงศักดิ์อีกด้วย?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพระนางมัลลิกา สตรีบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง
    เป็นผู้ให้ทานคือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาดยาน ระเบียบ ของหอมและเป็นผู้ไม่มีใจริษยาในลาภสักการะของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน
    ถ้าสตรีนั้น จุติจากอัตตภาพนั้นกลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณดียิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีสมบัติมากและสูงศักดิ์ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>สิ่งที่ได้ยาก 5 ประการ

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="302"> <tbody><tr> <td width="302">การอ้อนวอนหรือบนบานศาลกล่าวเพื่อให้ได้
    สิ่งที่ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ วิธีการนี้จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรท่านเศรษฐี สิ่งที่น่าปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ แต่ได้โดยยาก 5 อย่าง คือ อายุ วรรณะ (ผิวพรรณ) สุข ยศ และสวรรค์ ทั้ง 5 อย่างนี้ไม่สามารถมีได้ด้วยการอ้อนวอน เพราะถ้ามีได้ด้วยวิธีการอย่างนั้นแล้ว ใคร่เล่าจะขาดแคลนและยากจน เมื่อพอใจสิ่งใดแล้วอ้อนวอนก็ได้สิ่งที่ต้องการหมด!
    ดูกรท่านเศรษฐี ผู้ใคร่จะได้สิ่งเหล่านี้ ควรบำเพ็ญปฏิปทาที่ทำให้ได้สิ่งเหล่านี้จึงจะได้ ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ ย่อมได้สิ่งที่น่าพอใจ ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ประเสริฐและประเสริฐสุด ย่อมได้สิ่งที่เลิศ ประเสริฐและประเสริฐสุด
    ดูกรท่านเศรษฐี ผู้ต้องการอายุ หรือวรรณะ สุข ยศ ที่น่าใคร่น่าพอใจ ไม่ควรอ้อนวอน พึงบำเพ็ญปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อธรรมที่น่าใคร่ น่าพอใจนั้นๆ เพราะปฏิปทาที่ปฏิบัติแล้วนั้นย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ อายุ หรือวรรณะ สุข ยศ ตามประสงค์ บุคคลผู้นั้นย่อมได้อายุหรือวรรณะ สุข ยศ อันเป็นของทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ นั่นแล ...”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="280"> <tbody><tr> <td width="280">“แม่น้ำเป็นที่อยู่แห่งฝูงปลาส่วนมาก
    ย่อมหลั่งไหลไปสู่สาครห้วงทะเลหลวง
    อันจะประมาณไม่ได้
    เป็นที่อยู่แห่งรัตนะหลายชนิด ฉันใด
    ห้วงบุญย่อมหลั่งไหลเข้าสู่นรชนผู้เป็นบัญฑิต
    ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่ง เครื่องปูลาด
    เหมือนห้วงน้ำหลั่งไหลเข้าไปสู่สาคร ฉันนั้นฯ”
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ผลบุญในเทวโลก

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="280"> <tbody><tr> <td width="280">นอกเหนือไปจากพระอริยเจ้าแล้ว
    ชาวบ้านอย่างเราๆ มีสิทธิไปสวรรค์ได้หรือไม่?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเฟ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย ... ฯลฯ มีความเห็นชอบ
    บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น
    ดูกรพราหมณ์ ด้วยเหตุที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ... มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาด้วยกรรมนั้น
    “... ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นบุคคลที่เลิศในการให้ทาน เมื่อสิ้นอายุขัยจบชีวิตลง ด้วยบุญกุศลที่ท่านได้สั่งสมไว้มากมาย อำนวยผลให้ท่านไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในวิมานสวรรค์ชั้นดุสิต
    ด้วยบุญบารมีได้บันดาลให้เสวยสุขในเทวพิภพ เสมือนหนึ่งหลับแล้วตื่นขึ้นได้ประสบทิพยสมบัติอันโอฬาร อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีความเบิกบานได้ดับขันธ์มาจากเรือนเศรษฐีที่นครสาวัตถี ด้วยบุญบารมีคือ บุญทาน บุญศีล บุญภาวนา นับเป็นบุญที่ได้สั่งสมมามากมายเหลือประมาณ
    อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีความชื่นบานเป็นอย่างยิ่ง เห็นจริงตามพระพุทธดำรัสที่ทรงตรัสประทานไว้ว่า
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="334"> <tbody><tr> <td align="center" width="334">“ผู้มีบุญที่กระทำไว้ ย่อมสบายใจทั้งโลกนี้และโลกหน้า
    สบายใจว่าบุญกุศลที่เราได้กระทำไว้แล้ว
    เมื่อจิตดับสูญเสียชีวิตไปสู่ภพใหม่ย่อมสุขใจในสุคติสถานฯ”
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ผลแห่งการถวายน้ำ

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล ขณะที่พระกัจฉายนะเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระพุทธองค์ ระหว่างทางก็ได้พบกับสาวใช้ของเศรษฐีนางหนึ่ง นางนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้นอยู่ที่ริมแม่น้ำด้วยความปริวิตกเป็นอย่างมาก
    พระกัจฉายนะจึงได้เข้าไปถามความทุกข์ร้อนใจ เหตุใดจึงได้มานั่งร้องไห้อยู่เช่นนี้ เป็นเนื่องมาจากสาเหตุใด นางจึงเอ่ยปากพูดด้วยความซ้ำใจว่า
    “หลบไป! บอกท่านแล้วจะมีประโยชน์อะไร!”
    พระกัจฉายนะจึงกล่าวว่า “อาตมาเป็นสาวกของพระพุทธองค์สามารถที่จะแก้ไขปัญหาของเธอได้”
    สาวใช้เมื่อได้ฟังคำพูดที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาแล้ว จึงเริ่มสบายใจขึ้น และได้เล่าสาเหตุความเป็นมาให้ฟังว่า
    “ฉันเป็นคนยากจนค่นแค้น ตลอดชีวิตต้องกตรากตรำลำบากเพราะฉะนั้น ฉันจึงไม่คิดจะมีชีวิตอยู่”
    พระกัจฉายนะจึงกล่าวต่อนางว่า “เธออย่าได้โศรกเศร้าเลยคนจนใช่ว่าจะต้องลำบากและโชคร้าย คนรวยก็เช่นกัน มีโลภ ละโมบ โทสะและความกังวล เป็นคนขอเพียงมีความสงบสุข ยากจนแล้วทำไมต้องโศรกเศร้าล่ะ?”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    สาวใช้ “ท่านเป็นบรรพชิต ย่อมปล่อยวางในอารมณ์โลก ไม่เหมือนฉันที่เป็นข้าทาสตลอดชีวิต การกินก็ขาดแคลน ไม่มีเสรีภาพ ถูกเจ้านายตีเอาบ่อยๆ อยู่ก็ไม่มีดี ตายก็ไม่ได้ ทำไมฉันจะไม่คิดตาย”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    พระกัจฉายนะ “หากเป็นเช่นนี้ เธอทำไมไม่เอาความยากจนบอกขายแก่อาตมาล่ะ! เธอต้องรู้ว่าความยากดีมีจนนั้นมันมีเหตุปัจจัยชาตินี้ยากจน เป็นเพราะชาติก่อนไม่ได้บริจาคทาน อันเป็นเหตุแห่งความมั่งมี ปัจจุบันจึงได้มีผลเช่นนี้”
    เมื่อสาวใช้ได้ฟังดังนั้น จึงเกิดรู้ตื่นเข้าใจในเหตุปัจจัยของความยากจนทันที จึงคิดที่จะให้ทานเพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า นางจึงกล่าวว่า “ขอบคุณพระคุณเจ้าที่ทำให้ฉันเข้าใจในเหตุปัจจัย แต่ฉันก็ไม่มีเงิน สิ่งของก็ไม่มี แม้แต่คนโทใส่น้ำนี้ก็เป็นของเจ้านาย แล้วฉันจะบริจาคได้อย่างไร”
    พระกัจฉายนะ จึงชี้แนะความกระจ่างในการให้ทานแก่สาวใช้เพิ่มอีกว่า “การบริจาคไม่ต้องใช้เงิน เมื่อเห็นผู้อื่นบริจาคก็อนุโมทนาสาธุ มีใจปิติยินดีก็ใช้ได้ ตอนนี้ขอให้เธอบริจาคน้ำสักหนึ่งขันแก่อาตมาเพื่อเป็นการเริ่มบริจาคทาน และเพื่อความสบายใจของเธอ”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    เมื่อสาวใช้ได้กระจ่างถึงความหมายการบริจาคทานแล้ว นางได้นำไปปฏิบัติ และมีความยินดีในการบริจาค เนื่องจากบุญกุศลที่เกิดขึ้นจากการบริจาคน้ำ ต่อมาหลังจากนางตายไปก็ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ...
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น ดิฉันจึงได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์วิมาน ที่บุญกรรมสร้างให้แก่ดิฉันอยู่สวยงามในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นถูกนิรมิตขึ้นเพราะการบริจาคน้ำในครั้งนั้น ดิฉันประเสริฐกว่าพวกนางอัปสรตั้งพัน ดิฉันครอบงำนางอัปสรเหล่านั้นทั้งหมดด้วยฐานะ 10 ประการฯ
    ดิฉันท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือเทวดาและมนุษย์ ไม่รู้จัก ทุคติเลย บนยอดเขา ยอดไม้ ในอากาศหรือพื้นดินก็ตาม ดิฉันต้องการน้ำเมื่อใด ดิฉันย่อมได้โดยเร็วพลันเมื่อนั้น ทิศที่ไม่มีฝนมีอยู่ก็เพราะดิฉันเร่าร้อนกระหายน้ำแล้ว มหาเมฆรู้ความดำริของดำฉันย่อมยังฝนให้ตกลง ในบางครั้งเมื่อดิฉันถูกหมู่ญาตินำเอาออกไป มหาเมฆได้ยังฝนให้ตกลงคราวที่ดิฉันปรารถนาฝน ในสรีระของดิฉันไม่มีความเร่าร้อนหรือความกระวนกระวายเลย และละอองธุลีก็ไม่มีในกายของดิฉัน
    นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน ด้วยประการฉะนี้แล ...ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ผลบุญในโลกเดรัจฉาน

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="334"> <tbody><tr> <td width="334">ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน
    แต่ทำไมปัจจัยความเป็นอยู่จึงแตกต่างกัน?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... ฯลฯ มีความเห็นผิด แต่บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์
    บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมัา ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข ... ฯลฯ เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดนั้นๆ
    ดูกรพราหมณ์ ด้วยเหตุที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง ม้า โค สุนัข ด้วยกรรมนั้น และด้วยเหตุที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา ของหอม เครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดเดรัจฉานด้วยกรรมนั้นฯ”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ผลบุญในเปรตภูมิ

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    “... ท่านโคดมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่าทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภค ทานนี้
    ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ ?”

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด
    บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือ ว่ามิตรสหาย หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ด้วยปัตติทานมัย(บุญที่เกิดขึ้นแก่เปรตด้วยการอุทิศ) จากมนุษย์โลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยผลบุญที่เกิดขึ้นแก่เปรตด้วยการอุทิศนั้น”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ผลแห่งการอุทิศ

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] ในอดีตกาลนับย้อนหลังไป 92 กัปแต่ภัทรกัปนี้มีนครหนึ่งชื่อ กาสี พระราชาหรงพระนามว่า ชัยเสน พระราชเทวีพระนามว่า สิริมา พระโพธิสัตว์นามว่า ผุสสะ ได้บังเกิดในพระครรภ์ของพระนางและต่อมาได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ
    พระเจ้าชัยเสนเกิดความคิดเห็นแก่ตัวขึ้นมาว่า บุตรของเราเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระธรรมเป็นของเรา และพระสงฆ์ก็เป็นของเรา เมื่อคิดเห็นดังนี้ ก็ทรงอุปัฏฐากด้วยพระองค์เองทุกวัน ไม่ทรงยอมให้คนอื่นร่วมด้วย
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    มีพี่น้องสามคน ผู้ต่างมารดากันเป็นพระกนิษฐภาดาของพระพุทธเจ้า พากันคิดว่าอันธรรมดาว่าไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคลผู้เดียวและพระบิดาดของพวกเราก็ไม่ยอมให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่นเลย
    “ทำอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์บ้าง?”
    พี่น้องทั้งสามพระองค์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เอาเถิด! พวกเราจะทำอุบายสักอย่างหนึ่งให้ได้ จึงไปสร้างสถานการณ์ชายแดนประหนึ่งว่าเกิดการปั่นป่วน พระราชาทรงสดับว่า ชายแดนเกิดความปั่นป่วน จึงได้ส่งพระโอรสทั้งสามพระองค์ไปปราบ
    ครั้นพี่น้องทั้งสามไปปราบสงบแล้วจึงกลับมา พระราชาทรงพอพระทัยโปรดประทานพรว่า “พวกลูกๆ ปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเอาสิ่งนั้นเถิด!”
    “ข้าพเจ้าองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า!” พี่น้องทั้งสามพระองค์กราบทูล พระราชาตรัสว่า “ขอให้เว้นการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเสีย พวกเธอจงเลือกเอาอย่างอื่นเถิด !”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “พวกข้าพระพุทธเจ้า ไม่ต้องการอย่างอื่นพระเจ้าข้า!” พระราชบุตรทั้งสามกราบทูลยืนยัน
    พระราชาตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงกำหนดเวลามาเถิด!” พวกพระราชบุตรทูลขออุปัฏฐาก 7 ปี พระราชาก็ไม่ทรงอนุญาต จึงได้ต่อรองลงมา 6 ปี 5 ปี 3 ปี 2 ปี 7 เดือน 6 เดือน 5 เดือน 4 เดือน จนกระทั่งลดลงมาเหลือ 3เดือน จึงทรงอนุญาต
    พระราชบุตรทั้งสามพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด 3 เดือน
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน นี้แก่ข้าพระองค์เถิด”
    พระพุทธเจ้าทรงรับด้วยอาการดุษณีภาพ(นิ่ง)
    พวกราชบุตรเหล่านั้นจึงส่งลิขิตไปถึงนายเสมียนในชนบทของตนว่า พวกเราจะอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าตลอด 3 เดือนนี้ ขอท่านจงจัดแจงสัมภาระต่างๆ สำหรับการอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า มีวิหารเป็นต้น นายเสมียนเหล่านั้นจัดแจงทุกอย่างแล้วได้มีลิขิตตอบไป
    ฝ่ายพระราชบุตรทั้งสามนั้นต่างนุ่งผ้ากาสายะ พร้อมทั้งบุรุษ 1,000 คน ผู้ร่วมทำการขวนขวายได้พากันอุปฏฐากพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์โดยความเคารพ ฝ่ายบุตรคฤหบดีคนหนึ่งผู้เป็นห้องเครื่องของพระราชบุตรทั้ง 3 พร้อมด้วยภริยาเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสเขาได้ถวายทานวัตรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานโดยเคารพ ฝ่ายเสมียนในชนบทพากันเข้าไปพร้อมกับชาวชนบทประมาณ 11,000 คน ได้ให้ทานโดยเคารพอย่างยิ่ง
    ในคนเหล่านั้น ชาวชนบทบางพวกได้เกิดขัดใจกันขึ้นเหล่านั้นจึงได้พากันทำอันตรายแก่ทานพากันกินไทยธรรม(เครื่องให้ทาน) ด้วยตนเองและเอาไฟ เผาโรงครัว
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ฝ่ายพระราชบุตรทั้ง 3 ครั้นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าครบ 3 เดือนแล้วก็ได้พาพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์กลับพระวิหาร
    บรรดาท่านเหล่านั้น พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระราชบุตรทั้งสาม เสมียนในชนบทและผู้ร่วมงานกุศลทั้งหมดเมื่อถึงแก่กรรมแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ตามลำดับส่วนพวกชนที่ขัดใจกันและทำลายเครื่องให้ทาน ก็พากันไปบังเกิดในนรก ชนทั้งสองพวกนั้นจากสวรรค์ถึงสวรรค์ จากนรกถึงนรก ด้วยอาการอย่างนี้ผ่านไป 92 กัป
    ... ครั้นลุถึงภัทรกัปนี้ ในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ คนผู้ขัดใจกันเหล่านั้นมาเกิดเป็นเปรต ในสมัยนั้นพวกมนุษย์พากันให้ทาน แล้วอุทิศเพื่อเปรตทั้งหลายผู้เป็นญาติของตนว่า “ขอผลแห่งทานนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของเราเถิด”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    บรรดาเปรตญาติเหล่านั้นต่างก็ได้เสวยสมบัติ ส่วนเปรตที่พวกญาติมิได้ทำบุญอุทิศให้คือ เปรตพวกที่ขัดใจกันและพากันเผาโรงครัวนั้นต่างก็พากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ แล้วกราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะพึงได้เสวยสมบัติอย่างพวกเขาบ้างไหมหนอ?”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรเปรตทั้งหลาย ในบัดนี้พวกเธอยังไม่ได้ แต่ในอนาคตจะมีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า... โคดม ในกาลนั้นแหละจะมีพระราชาพระนามว่า...พิมพิสาร ใน92 กัปจากภัทรกัปนี้ พระองค์ได้เป็นญาติของเธอ พระองค์ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วจะอุทิศแก่พวกเธอ “พวกเปรตได้ฟังดังนั้นก็เกิดความตื่นเต้นดีใจราวกับว่าตนจะได้รับผลแห่งทานในวันรุ่งขึ้นก็ไม่ปาน
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ครั้นพุทธันดรหนึ่งผ่านไปพระพุทธเจ้าแห่งเราทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว
    ราชบุตรทั้งหลายพร้อมทั้งบริวารเหล่านั้น 1,000 คน จุติจากสวรรค์แล้วได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์ ต่างพากันออกบวชเป็นฤาษี และได้เป็น ชฏิล 3 พี่น้อง ตั้งสำนักอยู่คยาสีสะประเทศ
    นายเสมียนในชนบทได้มาเกิดเป็น พระเจ้าพิมพิสาร
    บุตรคฤหบดีผู้เป็นขุนคลังได้มาเกิดเป็นเศรษฐีชื่อ วิสาขะ ภริยาของบุตรคฤหบดีได้มาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีนามว่า ธรรมทินนา
    ส่วนคนนอกนั้นก็ได้มาเกิดเป็นบริวารของพระราชานั่นเอง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ล่วงไป 7 สัปดาห์ ก็ได้เสด็จมายังกรุงพาราณสีทรงโปรดพระปัญจวัคคีย์ โปรดชฏิล 3 พี่น้องพร้อมทั้งบริวาร 1,000 คน แล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โปรดพระเจ้าพิมพิสารจนได้บรรลุฯ แล้ว
    พระเจ้าพิมพิสารทรงนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์เพื่อรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ ส่วนพวกเปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสารก็ได้รอรับถวายทานแล้ว ก็ทรงดำริว่าจักหาสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าว่าจะทรงประทับที่ไหนหนอ จึงทำให้ทรงลืมอุทิศส่วนบุญไปให้พวกเปรตญาติเสียสนิท
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    พวกเปรตญาติที่รออยู่ เมื่อไม่ได้รับผลบุญจึงเสียใจในคืนนั้นจึงได้พากันร้องโหยหวนน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ในที่ใกล้พระราชนิเวศน์ ที่บรรทม พระราชาก็ทรงตกพระทัย
    เช้ารุ่งขึ้น จึงทรงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องเสียงนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เสียงร้องนั้นมิได้เป็นนิมิตรร้ายแต่ประการใด แต่เป็นเสียงเปรตญาติของพระองค์มารอส่วนบุญที่เมื่อวันก่อนพระองค์ถวายทานแล้วมิได้อุทิศแก่พวกเขา พวกเขาจึงพากันผิดหวังและมาส่งเสียงร้องดังกล่าว
    พระราชาตรัสถามว่า
    “เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะได้รับหรือพระเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ได้สิ! มหาบพิตร”
    พระราชาจึงทรงนิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์เพื่อรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ
    พระราชาพิมพิสารเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทานเตรียมไว้ ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงพระราชนิเวศน์
    ทรงประทับบนที่อาสนะที่บรรจงจัดไว้ ฝ่ายเปรตเหล่านั้นก็พากันมารอด้วยหวังว่าวันนี้พระราชาถวายทานแล้วจะทรงอุทิศผลบุญให้พวกเขาบ้างเป็นแน่ จึงพากันไปยืนอยู่ในที่ต่างๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำให้พระราชาได้ทรงเห็นเปรตเหล่านั้น พระราชาเมื่อจะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก(กรวดน้ำ) จึงทรงอุทิศว่า
    “ขอผลแห่งทานนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติด้วยเถิด”
    ในทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีอันดารดาษด้วยดอกอุบลได้บังเกิดแก่พวกเปรต เปรตเหล่านั้นได้พากันอาบและดื่มในสระนั้น ได้ระงับความกระวนกระวาย ความลำบากและความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดังทองคำ
    พระราชาได้ถวายข้าวยาคู ของเคี้ยวและของบริโภคแล้วอุทิศให้ ในขณะนั้นเอง ข้าวยาคู ของเคี้ยวและอาหารอันเป็นทิพย์ก็ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น เปรตเหล่านั้นพากันบริโภคอาหารทิพย์เหล่านั้นแล้ว ต่างก็มีร่างกายผ่องใสกระปรี้กระเปร่า
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้า ที่นอน ที่นั่ง แล้วทรงอุทิศให้เครื่องประดับชนิดต่างๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาดที่นอน เป็นต้น อันเป็นทิพย์ก็ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น และสมบัติของเปรตเหล่านั้นก็ได้ปรากฏต่อพระพักตร์พระราชา โดยการอธิษฐานของพระพุทธเจ้าพระราชาทรงทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัยยิ่งนัก
    เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่พระราชา ดังนี้
    เปรตทั้งหลายมาสู่เรือนของตน ยืนอยู่ภายนอกฝาเรือน ตรอกกำแพง ทาง 3 แพร่งและใกล้บานประตู
    เมื่อข้าว น้ำ ของเคี้ยวและของบริโภคเป็นอันมาก อันญาติทั้งหลายตั้งไว้แล้ว ญาติไรๆ ของเปรตเหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย
    ชนเหล่าใดเป็นผู้อนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาดปราณีตอันเป็นของควรโดยกาล ด้วยอุทิศเจตนาอย่างนี้ว่า
    “ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นผู้ถึงความสุขเถิด”
    ส่วนเปรตผู้เป็นญาติผู้ละโลกนี้ไปแล้วเหล่านั้น มาประชุมพร้อมกันแล้วในที่นั้น เมื่อมีข้าวและน้ำเป็นอันมาก ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า “เราทั้งหลายได้สมบัติเช่นนี้ เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงเป็นผู้มีอายุยืนนานเถิด”
    การบูชาอันผู้ให้ทั้งหลายทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และผู้ให้ทั้งหลายก็หาไร้ผลไม่ เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรมไม่มีพาณิชยกรรมเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน สัตว์ทั้งหลายผู้ไปเกิดในภูมิเปรตนั้นย่อมมีชีวิตอยู่ด้วยผลแห่งทานที่ญาติทั้งหลายอุทิศให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="299"> <tbody><tr> <td width="299">“น้ำฝนตกลงในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด
    ทานที่ญาติทั้งหลายให้แล้วจากมนุษย์โลกนี้
    ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
    ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด
    ทานที่ญาติทั้งหลายอุทิศให้แล้วจากมนุษย์โลกนี้
    ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน”
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะคุณ (บรรพชน) อันท่านได้ทำแล้วในกาลก่อนว่า ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้ได้ทำกิจนี้แก่เรา ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตร เป็นสหายของเรา ดังนี้ ควรให้ทาน เพื่อผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว
    แต่การร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี ความร่ำไรรำพันอย่างอื่นก็ดี บุคคลไม่ควรทำเลย เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายผู้ละไปแล้ว ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น
    อันทานนี้แลที่ท่านให้แล้ว ประดิษฐานไว้ดีแล้ว ย่อมสำเร็จโดยพลัน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้นตลอดกาลนาน...”
    </td></tr></tbody></table>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ทานบดี... ผู้ให้คือเจ้าแห่งทาน

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="299"> <tbody><tr> <td width="299">“เมื่อเรือนถูกไฟไหม้
    บุคคลผู้เป็นเจ้าของขนเอาสิ่งของอันใดออกได้
    สิ่งของอันนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น
    แต่ของที่ถูกไฟไหม้ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ฉันใด
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="299"> <tbody><tr> <td width="299">โลก(หมู่สัตว์) ถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้
    ผู้มีปัญญาพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน
    ทานที่ให้แล้วจะน้อยก็ตาม มากก็ตาม
    ชื่อว่าเป็นอันนำออกดีแล้ว ฉันนั้น”
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    พุทธพจน์:
    “... จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตนเอง ให้ของไม่อร่อยแก่บุคคลอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็น ทาสแห่งทาน
    ผู้ใดบริโภคสิ่งใดด้วยตนเอง ให้สิ่งนั้นแหละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็น สหายแห่งทาน
    ผู้ใด ตนเองเป็นผู้อยู่ด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของอร่อยแก่บุคคลอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นหัวหน้า เป็น เจ้าแห่งทาน
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>อานิสงส์แห่งการให้

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ ผู้บริจาคแล้ว
    อานิสงส์แห่งทานของผู้ให้ฯ ทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะเป็น อย่างไร?
    พุทธพจน์:
    “... ดูกรท่านสีหเสนาบดี
    1) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
    2) สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหา ฯ
    3) กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ย่อมขจร
    4) ผู้ให้จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือ ที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป
    ทั้งหมดนี้เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองฯ
    5) ผู้ให้เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายภพฯ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง 4 ข้อเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน 4 ข้อนี้ อนึ่ง แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดีอยู่ คือ...
    - ข้าพระองค์เป็นผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
    - สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาข้าพระองค์
    - กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ย่อมขจรไปทั่ว
    - ข้าพระองค์จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือ ที่ประชุมกษัตริย์ พรหมณ์ คฤหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง 4 ข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน 4 ข้อนี้ แม้ข้าพระองค์เองก็ย่อมทราบดีอยู่ ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง(ข้อที่ 5) ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกข้าพระองค์ว่า ... “ผู้ให้เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ ก็แต่ว่าข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้ฯ
    พ. อย่างนั้นท่านสีหเสนาบดีๆ ผู้ให้เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ต่างกันที่เจตนา

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="192"> <tbody><tr> <td width="192">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร
    เมื่อบุคคลให้ทานแล้ว
    มีเจตนาการให้ที่แตกต่างกัน?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    พุทธพจน์:
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร?
    เมื่อบุคคลให้ทานเพื่อหวังผล</td> </tr> </tbody></table>
    “... บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแล้วให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนั้นเขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้นจาตุมหาราช เมื่อสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีการกลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้...”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร?
    เมื่อบุคคลให้ทานเพราะคิดว่าเป็นเรื่องดี</td> </tr> </tbody></table>
    “... ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
    เขาผู้นั้นเมื่อให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อเขาสิ้นกรรม ...หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ...”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร?
    เมื่อบุคคลให้ทานตามประเพณี
    </td> </tr> </tbody></table>
    “... บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานด้วยคิดว่า มารดา บิดา ปู่ย่า ตายายเคยให้ เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ฯลฯ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เมื่อเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ...”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร?
    เมื่อบุคคลให้ทานเพื่ออนุเคราะห์</td> </tr> </tbody></table>
    “... บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาให้ทานคือ ข้าว ... ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เมื่อเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา ...ฯ”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร?
    เมื่อบุคคลให้ทานเพื่อสบายใจ
    </td> </tr> </tbody></table>
    “... บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้จิตจะผ่องใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทานคือ ข้าว น้ำ ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เมื่อเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา ...ฯ”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">ผลแห่งทานจะเป็นอย่างไร?
    เมื่อบุคคลให้ทานเพื่อชำระจิต</td> </tr> </tbody></table>
    “... ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเมื่อเราให้ทานนี้จิตจะผ่องใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนี้แล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เมื่อเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาคือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ...”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="224"> <tbody><tr> <td align="center" width="224">“จิตของพระโพธิสัตว์นั้น
    ไม่ควรยึดติดอยู่กับรูปฯ เมื่อบำเพ็ญทาน
    สุภูติ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    ควรจะบริจาคทานเพื่อสงเคราะห์เวไนย์”
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>บุญกุศลไร้ขอบเขต

    </td> </tr> <tr> <td>พุทธพจน์:
    “... ดูกรสุภูติ จิตของพระโพธิสัตว์นั้นไม่ควรจะยึดติดอยู่ในขณะให้ทาน นั่นก็คือเขาควรจะบริจาคทานโดยปราศจากจิตที่ยึดมั่นอยู่ในรูป เขาไม่ควรจะบริจาคทานโดยจิตที่ยึดมั่นอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในผัสสะ และในสรรพสิ่ง
    สุภูติ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์พึงบริจาคทานโดยปราศจากความหลงผิดยึดติดในรูปลักษณ์ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? หากจิตของพระโพธิสัตว์มิได้ยึดติดในลักษณะแล้ว การบริจาคทานนั้นก็จะเป็นบุญอันหาที่เปรียบมิได้
    สุภูติ เจ้าคิดเห็นอย่างไร เจ้าสามารถหยั่งถึงความกว้างใหญ่ของอวกาศที่แผ่ไปจรดทิศตะวันออกได้ไหม?”
    “ หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
    “สุภูติ เจ้าจะสามารถหยั่งถึงความกว้างใหญ่ไพศาลของอวกาศในทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ ตลอดจนอนุทิศทั้งปวง รวมทั้งขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้ได้หรือ?”
    “ หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
    “สุภูติ เมื่อพระโพธิสัตว์บริจาคทานโดยปราศจากจิตที่ยึดติดในรูป...ฯ บุญนั้นก็ยิ่งใหญ่หยั่งประมาณมิได้เช่นกัน...”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ฟุ้งทวนลม

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    “... ดูกรอานนท์ สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือนิคมใดในโลกนี้ เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินมีไทยธรรมเครื่องบริจาคอันปล่อยแล้ว มีมืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการแจกจ่ายทาน
    สมณพราหมณ์ทุกทิศ ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือนิคมแห่งโน้นเป็นคนมีศีล... ฯ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการแจกจ่ายทาน
    แม้เทวดาทั้งหลาย ก็กล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือนิคมแห่งโน้นเป็นคนมีศีล... ฯ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการแจกจ่ายทาน
    ดูกรอานนท์ กลิ่นดอกไม้ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ กลิ่นจันทร์ กลิ่นกฤษณา หรือ กระสำพัก ก็ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัตบุรุษฟุ้งทวนลมไปได้ เพราะสัตบุรุษฟุ้งไปทุกทิศ ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ทานของสัตบุรุษ

    </td> </tr> <tr> <td>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="254"> <tbody><tr> <td width="254">เมื่อผลแห่งทานต่างกันที่ลักษณะการให้
    แล้วลักษณะการให้เช่นไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัตบุรุษ 5 ประการนี้ คือ
    ... ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา
    ... ย่อมให้ทานโดยเคารพ
    ... ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
    ... เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
    ... ย่อมให้ทานไม่เดือดร้อนตนและผู้อื่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธา
    ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรรณดียิ่งนักในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล(บังเกิดขึ้น)
    ครั้นให้ทานโดยเคารพ
    ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงานเป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำสั่งตั้งใจใคร่รู้ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
    ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
    ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
    เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
    ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 สูงยิ่งขึ้นในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
    ย่อมให้ทานไม่เดือดร้อนตนและผู้อื่น
    ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ จากทางการ จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัตบุรุษ 5 ประการนี้แล ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ให้ด้วยศรัทธา

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] พระมหาโมคคัลลานะ ถามเหตุที่ได้มาเป็นนางเทพธิดาว่า
    “ดูกรนางเทพธิดา ยศและวรรณะของท่านยิ่งใหญ่ สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหล่าเทพนารีและเหล่าเทพบุตรทั้งหลายประดับประดาดีแล้ว ฟ้อนรำขับร้องทำให้ทานร่าเริง ห้อมล้อมเพื่อบำเรอท่าน วิมานของท่านเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิมานทองคำ น่าดูน่าชมมาก ทั้งท่านเล่าก็เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้าเหล่าที่สมบูรณ์ด้วยความปรารถนาทุกอย่าง มีความเป็นอยู่อันยิ่งใหญ่ ร่าเริงใจอยู่ในหมู่ทวยเทพ
    ดูกรนางเทพธิดาท่าน อันอาตมาถามแล้ว ขอจงบอกผลนี้บังเกิดแห่งกรรมอะไรหนอ ?
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “... ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลก เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลของคนทุศีล ซึ่งเป็นตระกูลที่มีพ่อแม่สามีไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่ ดิฉันถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีลได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ แล้วจึงได้บอกแก่แม่สามีว่า มีพระสมณะมาที่นี่ ดิฉันเลื่อมใส ได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านด้วยมือของตน แม่สามีด่าดิฉันว่านางสู่รู้ ทำไมเธอจึงไม่ถามฉันเสียก่อนว่าจะถวายทานแก่สมณะดังนี้เล่า เพราะการถวายขนมเบื้องนั้น แม่สามีเกรี้ยวกราดทุบตีดิฉันด้วยสาก ดิฉันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานจึงสิ้นชีพลง พ้นจากการทรมานอย่างสาหัส จุติจากมนุษย์นั้นแล้วจึงได้มาเกิดบนสวรรค์ เป็นพวกเดียวกันกับเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์
    เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญกรรมนั้น”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ให้โดยเคารพ

    </td> </tr> <tr> <td>พุทธพจน์:
    “...ดูกรคฤหบดี คนให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตามแต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทาน
    ทานนั้นๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงานก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ ฯ
    ดูกรคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตามแต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทาน
    ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ ดังนี้แลฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>สวรรค์อยู่ใกล้แค่เอื้อม

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] “... ลำดับนั้น เจ้าปายาสิเริ่มให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้าคนเดินทาง วณิพกและยาจกทั้งหลาย แต่ในทานนั้นเธอได้ให้โภชนะเห็นปานนี้คือ ปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับข้าวและได้ให้ผ้าเนื้อหยาบมีชายขอดเป็นปมๆ
    และมาณพชื่อ อุตตระ เป็นเจ้าหน้าที่ในทานนั้น เขาให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ว่า ด้วยทานนี้ขอให้ข้าพเจ้าร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้นอย่าได้ร่วมกันในโลกหน้าเลย
    เจ้าปายาสิ ได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว รับสั่งให้เรียกอุตตระมาณพมาแล้วได้ตรัสว่า พ่ออุตตระ ได้ยินว่าเธอให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ทุกครั้งว่า ด้วยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้ร่วมกันในโลกหน้าเลย ดังนี้หรือ ฯ
    อย่างนั้น พระองค์ ฯ
    พ่ออุตตระ ก็เพราะเหตุไรเธอให้ทานแล้ว จึงอุทิศอย่างนั้นเล่าพ่ออุตตระ พวกเราต้องการบุญ หวังผลแห่งทานแท้ๆ มิใช่หรือ
    ในทานของพระองค์ยังให้โภชนะเห็นปานนี้ คือ ปลายข้าวซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับข้าว พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้องแม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงบริโภค อนึ่งเล่า ผ้าก็เนื้อหยาบมีชายขอดเป็นปมๆ พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้องแม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงนุ่งห่ม พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพวกข้าพระพุทธเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะชักจูงผู้ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่พอใจไปด้วยสิ่งไม่เป็นที่พอใจอย่างไรได้ฯ
    พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้นเราบริโภคโภชนะชนิดใดเธอจงเริ่มตั้งไว้ซึ่งโภชนะชนิดนั้นเป็นทาน เรานุ่งห่มผ้าชนิดใด เธอจงเริ่มตั้งไว้ซึ่งผ้าชนิดนั้นเป็นทาน
    อุตตระมาณพรับพระดำรัสเจ้าปายาสิแล้ว เริ่มตั้งไว้ซึ่งโภชนะชนิดที่เจ้าปายาสิเสวย และเริ่มตั้งไว้ซึ่งผ้าชนิดที่เจ้าปายาสิทรงนุ่งห่ม
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    เพราะเหตุที่เจ้าปายาสิมิได้ทรงให้ทานโดยเคารพ มิได้ทรงให้ทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มิได้ทรงให้ทานโดยความนอบน้อม ทรงให้ทานอย่างทิ้งให้ ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว เข้าถึงความเป็นสหายกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชคือ ได้วิมานชื่อ เสรีสกะ อันว่างเปล่า
    ส่วนอุตตระมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้นให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อมมิได้ให้ทานอย่างทิ้งให้เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตกเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์คือ ถึงความเป็นสหายกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ฯ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>บุคคลผู้เป็นเลิศ

    </td> </tr> <tr> <td>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="254"> <tbody><tr> <td width="254">คนดีในโลกนี้มีมากมาย แต่คนเช่นไรที่พระพุทธองค์
    ทรงตรัสสรรเสริญว่าเป็นบุคคลผู้เลิศ ผู้ประเสริฐ?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากกอยู่ในโลก คือ
    ... บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น 1
    ... ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน 1
    ... ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น 1
    ... ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย 1
    บรรดาบุคคล 4 จำพวกนี้ บุคคลผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ เป็นประธาน อุดมและเป็นผู้ประเสริฐ...”</td></tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="235"> <tbody><tr> <td width="235">สัตบุรุษมีวิธีเก็บทรัพย์ไว้อย่างไร
    จึงได้ประโยชน์อย่างเอนกอนันต์
    อสัตบุรุษเก็บทรัพย์ไว้อย่างไร
    จึงหมดสิ้นไปโดยเปล่าประโยชน์?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    “... ดูกรมหาบพิตร อสัตบุรุษได้สมบัติอันโอฬารแล้ว ไม่ยังตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย ไม่ยังมารดาและบิดาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุข ให้ไดรับความอิ่มหนำ ไม่ยังทาสกรรมกรให้ได้รับความสุขให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังมิตรและสหายให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ยังทานอันมีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ให้ตั้งอยู่ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
    สมบัติเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบอย่างนี้ ทางการทั้งหลายย่อมนำไปบ้าง โจรทั้งหลายย่อมนำไปบ้าง ไฟย่อมไหม้เสียบ้างน้ำย่อมพัดไปเสียบ้าง ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักย่อมนำไปบ้างฯ
    ดูกรมหาบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ สมบัติที่มิได้ใช้สอยโดยชอบของเขาเหล่านั้นย่อมถึงความหมดสิ้นไปเปล่า โดยไม่ถึงการบริโภคฯ
    ดูกรมหาบพิตร ในที่ของอมนุษย์มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส น้ำเย็น มีน้ำจืดสนิท ใสตลอด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนไม่พึงตักเอาไปเลย ไม่พึงดื่ม ไม่พึงอาบ หรือไม่พึงกระทำประโยชน์ตามความต้องการได้
    ดูกรมหาบพิตร ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่มิได้บริโภคโดยชอบนั้นพึงถึงความหมดสิ้นไปเปล่าโดยไม่ถึงการบริโภค แม้ฉันใด ดูกรมหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้วไม่ยังตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย... ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมบัติที่มิได้บริโภคโดยชอบของเขาเหล่านั้นย่อมถึงความหมดสิ้นไปเปล่า โดยไม่ถึงการบริโภคฉันนั้นเหมือนกันฯ”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “... ดูกรมหาบพิตร ส่วนสัตบุรุษได้สมบัติอันโอฬารแล้ว ย่อมยังตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมยังมารดาและบิดาให้ได้รับความสุขให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมยังบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมยังทาสกรรมกรให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมยังมิตรและสหายให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมประดิษฐานไว้ซึ่งทานอันมีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
    สมบัติเหล่านั้นของเขาที่บริโภคโดยชอบอยู่อย่างนี้ ทางการย่อมนำไปไม่ได้ โจรทั้งหลายย่อมนำไปไม่ได้ ไฟย่อมไม่ไหม้ น้ำย่อมไม่พัดไป ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักย่อมนำไปไม่ได้ ฯ”
    “... ดูกรมหาบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ สมบัติที่บริโภคอยู่โดยชอบของเขาเหล่านั้นย่อมถึงการบริโภค ไม่ถึงความหมดสิ้นไปเปล่าฯ
    ดูกรมหาบพิตร ในที่ไม่ไกลคามหรือนิคม มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส มีน้ำเย็น มีน้ำจืดสนิท ใสตลอด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนพึงตักไปบ้าง พึงดื่มบ้าง พึงอาบบ้าง พึงกระทำประโยชน์ตามความต้องการบ้าง
    ดูกรมหาบพิตร ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่บริโภคอยู่โดยชอบนั้นพึงถึงการบริโภค ไม่ถึงความหมดสิ้นไปเปล่า แม้ฉันใด ดูกรมหาบพิตรสัตบุรุษได้สมบัติอันโอฬารแล้ว ย่อมยังตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมบัติที่บริโภคอยู่โดยชอบของเขาเหล่านั้นย่อมถึงการบริโภค ไม่ถึงความหมดสิ้นไปเปล่า ฉันนั้นเหมือนกันฯ” <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ...

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] “... ดูกรมหาบพิตร ครั้งหนึ่งอาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิ ครั้งนั้นเองเวลาเช้า อาตมภาพถือบาตรเข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิดนี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า ? มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด
    ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้นอาตมภาพได้เอาข้าสุกจากหม้อข้าวเอาแกงจากหม้อแกง ฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
    ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงบริโภค แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
    มารดาบิดาบอกว่า ดูกรพ่อ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า กัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป
    ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดว่า “เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ” ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา
    ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ปิติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน...”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “... ดูกรมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมก็สมัยนั้นกุฏิรั่ว อาตมภาพจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปดูหญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อ
    เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่เท่านั้นอาตมภาพได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาเถิด
    ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาแล้ว ลำดับนั้นมารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเล่า ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ดูกรน้องหญิง กุฏิของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว มารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวว่า เอาไปเถิดเจ้าข้า เอาไปตามสะดวกเถิดท่านผู้เจริญ
    ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเสียเล่า? มารดาบิดาตอบว่า ดูกรพ่อ ภิกษุทั้งหลายบอกว่า กุฏิของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว
    ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้นฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า “เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ” ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา
    ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ปิติ และสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน และครั้งนั้นเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่ทั้งหลังนั้นมีอากาศเป็นหลังคาอยู่ตลอดสามเดือนถึงฝนตกก็ไม่รั่ว
    ดูกรมหาบพิตร ฆฏิการะช่างหม้อมีคุณเห็นปานนี้...” <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ได้ผลตรงกันข้าม

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="272"> <tbody><tr> <td width="272">บุญวาสนาเกิดจากการทำบุญบริจาคเพื่อชีวิตเป็นสุข
    หากแสวงบุญลูกเดียวโดยไม่แคร์ไม่สนใครจะเป็นหรือตาย
    ผลนั้นจะได้สักประมาณเท่าไหร่?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    พ. “... บุคคลผู้เลี้ยงบุตรและภรรยาของตน เมื่อทรัพย์มีน้อยก็ให้ได้ บุคคลนั้นชื่อว่า ... ประพฤติธรรม หรือแม้แต่ผู้ยากจนเข็ญใจเลี้ยงชีพด้วยการขออาหาร ผู้นั้นยังชื่อว่า...ประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด ทานที่ให้แล้วย่อมมีผลมาก
    เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ( 1กหาปณะ เท่ากับ 4 บาท) การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลผู้ประพฤติธรรมให้อยู่...”
    ท. “เพราะเหตุไร การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความประพฤติธรรมเล่า?”
    พ. “บุคคลเหล่าหนึ่งตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้นจัดว่ามีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ (ประพฤติธรรม)”
    พ. “...อีกประการหนึ่ง พิธีฯ ที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาประกอบบูชาแก่คนผู้ควรบูชาจำนวนพัน พิธีฯ ของคนเช่นนั้นผลที่ได้ย่อมไม่ถึงแม้เสี้ยวแห่งผลทานของคนเข็ญใจ (ประพฤติธรรม) ผู้ยังทรัพย์ให้เกิดโดยชอบให้อยู่”
    ท. “เพราะเหตุไร พิธีฯ นี้ก็ยิ่งใหญ่ มีค่ามาก จึงไม่เท่าค่าแห่งผลทานของบุคคลที่ให้โดยชอบธรรมเล่า?
    พ. “เพราะว่าคนบางพวกตั้งอยู่ในกายกรรมอันไม่เสมอกันทำสัตว์ให้ลำบากบ้าง ฆ่าให้ตายบ้างทำให้เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้ทาน ทานนั้นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา พร้อมทั้งอาชญา จึงไม่เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่งผลทานที่บุคคลให้แล้วโดยชอบธรรม
    เพราะเหตุนี้ พิธีฯ ที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาประกอบ บูชาแก่คนที่ควรบูชาจำนวนพันๆ ผลที่ได้จงไม่เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่งผลทานของคนเข็ญใจ(ประพฤติธรรม) ผู้ยังทรัพย์ให้เกิดโดยชอบให้อยู่ โดยนัยอย่างนี้แล...”</td></tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ทักขิเณยบุคคล พึงให้ทานแก่คนเช่นไรได้ผลมาก

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    “พืชอันหว่านลงในนาที่สมบูรณ์
    เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล
    ธัญชาติย่อมงอกงาม ไม่มีศัตรูพืช
    ย่อมแตกงอกงาม
    ถึงความไพบูลย์ให้ผลเต็มที่ ฉันใด
    โภชนะที่บุคคลบริจาคแด่ผู้มีศีล ก็ฉันนั้น
    ย่อมนำมาซึ่งกุศลอันสมบูรณ์
    เพราะกรรมที่เขาทำนั้นสมบูรณ์แล้ว”

    ทาน...บุคคลพึงให้ในที่ไหนหนอแล?
    พุทธพจน์:
    “จิตย่อมเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ในที่นั้นแล”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ให้แก่ผู้มีธรรม

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    “... บุคคลซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลนั้นแล เป็นผู้ควรรับแก่ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลีเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
    เพราะหตุที่ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันบุคคลสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม...ฯ”
    “อนึ่ง ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้วยิ่งเป็นการดี ชนใดเกิดมาให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้มีธรรมอันบรรลุแล้ว ด้วยความหมั่นและความเพียร บุคคลนั้นย่อมล่วงพ้นเวตรณีนรกของพญายมไปได้”

    พุทธพจน์:
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="right">... พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน
    ผลย่อมไม่ไพบูลย์
    ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ ฉันใด
    ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ในบุคคลผู้ทุศีล
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีผลไพบูลย์
    ทั้งไม่ยังผู้ให้ได้ปลาบปลื้ม
    ...พืชแม้น้อยอันบุคคลหว่านแล้วในนาดี
    เมื่อฝนหลั่งสายน้ำโดยสม่ำเสมอ
    ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ แม้ฉันใด
    ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้ว
    ในท่านผู้มีศีล มีคุณความดี ผู้คงที่
    บุญย่อมมีผลมาก ฉันนั้นเหมือนกัน”
    </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ให้แก่ชนทั้งหลาย

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    “... อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดี ทานที่เลือกให้พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว บุคคลทั้งหลายผู้ควรแก่การรับ ย่อมมีอยู่ในโลกกคือหมู่สัตว์นี้
    ทานทั้งหลายอันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อมมีผลมากเหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี ฉะนี้”
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากคือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="367"> <tbody><tr> <td width="180">... แก่มารดาบิดา 1</td> <td width="187">... แก่บุตรภรรยา 1</td> </tr> <tr> <td>... แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร 1</td> <td> ... แก่มิตรสหาย 1</td> </tr> <tr> <td>... แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว 1</td> <td>... แก่พระราชา 1</td> </tr> <tr> <td>... แก่เทวดาทั้งหลาย 1 </td> <td>... แก่สมณพราหมณ์ 1</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆเมื่อตกให้ข้าวกล้าเจริญงอกงามย่อมตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากฉันใด
    สัปบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากคือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
    ในชั้นต้นระลึกถึงอุปการะที่ท่านทำไว้ก่อน ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรม สัปบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้วและมีศีลเป็นที่รัก ทราบธรรมแล้ว ย่อมบูชาผู้ประพฤติธรรม บูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน ผู้ไม่มีบาป ประพฤติพรหมจรรย์
    สัปบุรุษนั้นเป็นผู้เกื้อกูลแก่ชนทั้งปวง ตั้งมั่นแล้วในสัทธรรมกำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว ย่อมประสบโลกอันเกษม...ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ให้แก่สรรพสัตว์

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    “... อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี บุคคลใดประพฤติเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายอยู่ ไม่ทำบาป เพราะกลัว ความติเตียนแห่งผู้อื่น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ บุคคลซึ่งเป็นผู้กลัวบาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการทำบาปนั้น
    สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำบาป เพราะความกลัวบาปแท้ ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ความบริสุทธิ์แห่งทาน

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="272"> <tbody><tr> <td width="272">เพราะเหตุไร ทานที่ให้แล้วจึงไม่มีผล
    มีผลฝ่ายเดียว มีผลมาก และมีผลอันเลิศ?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรอานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทาน 5 อย่างฯ
    1) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทานของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ฯ
    2) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างายิ่ง ให้ทานในคนมีศีลทานของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับฯ
    3) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีลเราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลมาก
    4) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
    5) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อใสดีเชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแลเลิศกว่าวัตถุทานทั้งปวง ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>พึงให้ทานแก่คนเช่นไร... มีผลมาก

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="272"> <tbody><tr> <td width="272">มีบางคนกล่าวหาพระพุทธองค์ว่า ทรงสรรเสริญเฉพาะ
    ทานที่ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ไม่ทรงส่งเสริมสนับสนุน
    ทานที่ให้แก่ผู้อื่น ดังนี้จริงหรือไม่?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรวัจฉะ ผู้ใดพูดว่าพระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราคนเดียว ทานที่ให้แก่คนอื่นๆ หามีผลมากไม่ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด ทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง
    ดูกรวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ 3 อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ 3 อย่างนี้
    วัตถุ 3 อย่างเป็นไฉน คือ
    1) ... ย่อมทำอันตรายแก่บุญของผู้ให้
    2) ... ย่อมทำอันตรายแก่ลาภของผู้รับ
    3) ... บุคคลนั้นย่อมเป็นอันถูกกำจัดและถูกทำลายก่อนทีเดียวแล”
    “ดูกรวัจฉะ ก็เราพูดเช่นนี้ว่า ผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะ หรือน้ำล้างขันไป แม้ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำคลำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้าน ด้วยตั้งใจว่า... สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้
    ดูกรวัจฉะ เรากล่าวกรรมซึ่งมีการสาดน้ำล้างภาชนะนั้น เป็นเหตุว่าเป็นที่มาแห่งบุญ จะป่วยกล่าวไปไยถึงในสัตว์มนุษย์เล่า!”</td></tr></tbody></table>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>สัตบุรุษ

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="272"> <tbody><tr> <td width="272">สัตบุรุษ... คือบุคคลเช่นไร?
    เกิดในสัญชาติใด?
    มีอาชีพอะไร?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์ :
    “... ดูการสารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษให้จงฟังคำของเรา โคอุสุภะที่เขาฝึกแล้ว สมบูรณ์ด้วยกำลัง ประกอบด้วยเชาว์อันดี จะเกิดในสีสรรชนิดใดๆ คือ สีดำ ขาว แดง หมอก พร้อย หม่น หรือแดงอ่อน ชนิดใดชนิดหนึ่ง โคที่ฝึกแล้วย่อมนำธุระไป สมบูรณ์ด้วยกำลัง เดินได้เร็ว คนทั้งหลายย่อมเทียมโคตัวนั้นในการขนภาระ ไม่คำนึงถึงสีของมัน ฉันใด”
    “ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ที่ฝึกแล้ว เป็นผู้มีวัตรดี ตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล กล่าวคำสัตย์ มีใจประกอบด้วยหิริ บำเพ็ญพรหมจรรย์ ไม่มีอาสวะ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น แม้จะเกิดในสัญชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล หรือ คนเทขยะมูลฝอย ในบุคคลที่ปราศจากธุลีนั้นแล ทานที่ให้ย่อมมีผลมาก
    ส่วนคนพาล ไม่รู้แจ้ง ทรามปัญญามิได้สดับตรับฟัง ย่อมพากันให้ทานในภายนอก ไม่คบหาสัตบุรุษ (ผู้ทรงคุณธรรม) ชนเหล่าใดคบหาสัตบุรุษผู้มีปัญญาดี ได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ชนเหล่านั้นย่อมพากันไปสู่เทวโลก หรือพึงเกิดในตระกูลสูงในโลกนี้ ชนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต ย่อมบรรลุนิพพานโดยลำดับฯ”

    พุทธพจน์:
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td align="center" width="278">...นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
    หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
    ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ
    ย่อมมีผลมาก
    ...นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
    หมู่สัตว์มีโทสะเป็นโทษ เพราะหตุนั้นแล
    ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ
    ย่อมมีผลมาก
    ...นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
    หมู่สัตว์มีโมหะเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
    ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ
    ย่อมมีผลมาก
    ...นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
    หมู่สัตว์มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
    ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา
    ย่อมมีผลมากฯ
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ห้วงบุญเหลือคณานับ

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td width="278">ผลแห่งทานอันนับไม่ได้ อันประมาณไม่ได้ มีหรือไม่
    ผู้ให้-ผู้รับจักต้องกอปรด้วยคุณสมบัติเช่นไร?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานอันประกอบด้วยองค์ 6 ประการ องค์ 6 ประการนี้เป็นไฉน คือ
    องค์ 3 ของผู้ให้
    ... ก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ 1
    ... กำลังให้ทานอยู่ ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส 1
    ... ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมปลื้มใจ 1
    องค์ 3 ของผู้รับ
    ... เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ 1
    ... เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ 1
    ... เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ 1
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์ 6 ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล”
    “การถือประมาณบุญแห่งทานที่ประกอบด้วยอค์ 6 ประการอย่างนี้ว่าห้วงบุญห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ มีอารมณ์เลิศมีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย
    แท้จริง บุญแห่งทานนั้นย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงบุญห้วงกุศลที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่าเท่านั้นลิตร เท่านี้ร้อยลิตร เท่านี้พันลิตร หรือเท่านี้แสนลิตร ไม่ใช่ทำได้ง่าย
    แท้จริง น้ำในมหาสมุทร ย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงน้ำที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียว ฉะนั้น ฯ”
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td align="center" width="278">“ผู้ให้... ก่อนจะให้ทานเป็นผู้ดีใจ
    กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส
    ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ
    ผู้รับ... เป็นผู้สำรวม
    ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ
    ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
    ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ
    ผู้ให้ ต้อนรับด้วยตนเอง
    ถวายทานด้วยมือตนเอง
    ทานนั้นย่อมมีผลมาก
    ผู้ให้ เป็นผู้มีปัญญา
    มีศรัทธา เป็นบัณฑิต
    มีใจพ้นจากความตระหนี่
    ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว
    ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุข
    ไม่มีความเบียดเบียน ฯ”

    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>เขตที่มีผลมาก

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td width="278">ทานที่ให้ในสัตว์เดียรัจฉาน ในผู้ทุศีล ในผู้มีศีล
    ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อสำเร็จ...ฯ ผลที่ได้นั้น
    จะแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรอานนท์ ก็ทานที่เจาะจงผู้รับมี 14 อย่าง คือ
    1. ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
    2. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ
    3. ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
    4. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อการสำเร็จเป็นพระอรหันต์
    5. ให้ทานแก่พระอนาคามี
    6. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อการสำเร็จเป็นพระอนาคามี
    7. ให้ทานแก่พระสกทาคามี
    8. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อการสำเร็จเป็นพระสกทาคามี
    9. ให้ทานในพระโสดาบัน
    10. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อการสำเร็จเป็นพระโสดาบัน
    11. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
    12. ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล
    13. ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล
    14. ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน
    ดูกรอานนท์ ใน 14 ประการนั้น
    ... บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลแห่งทานได้ ร้อยเท่า ... ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลแห่งทานได้ พันเท่า ... ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลแห่งทานได้ แสนเท่า ... ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลแห่งทานได้ แสนโกฏิเท่า ... ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อการสำเร็จเป็นพระโสดาบัน พึงหวังผลแห่งทาน จนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้
    จะป่วยกล่าวไปไยในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อสำเร็จ... ในพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธะ และในคถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ปัจจัยที่ให้กับผลที่ได้

    </td> </tr> <tr> <td>พุทธพจน์:
    “ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
    ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
    ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
    และผู้ให้ของที่ประสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
    นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดีและให้ของที่ประเสริฐ
    นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ
    ดังนี้แลฯ”
    </td> </tr> </tbody></table>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ยิ่งให้ยิ่งเพิ่มกำไร

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td width="278">เพราะเหตุไร คนบางคนค้าขายจึงขาดทุน
    บางคนไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์ บางคนได้กำไรตามที่
    ประสงค์ บางคนกลับได้ยิ่งกว่าที่มุ่งหมายไว้?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “...ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์เถิดแต่เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่เขาปวารณา ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมขาดทุน”
    “... บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์เถิด แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ไม่เป็นไปตามประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์”
    “... บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วย่อมปวารณว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์เถิด เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรตามที่ประสงค์”
    “... บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์เถิด เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ยิ่งกว่าที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์”
    “... ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ทำการค้าขายขาดทุน ทำการค้าขายไม่ได้กำไรที่ประสงค์ ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์ และทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์ ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ทำบุญได้บุญ ทำบุญได้บาป

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td width="278">ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำนี้ย่อมเป็นสัจธรรม
    เมื่อทำบุญก็น่าจะได้บุญ แต่แล้วทำไมจึงกล่าวว่า
    ทำบุญกลับได้บาปเพิ่มขึ้นไปอีก?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรบพิตร พิธีที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ต่างๆ ต้องได้รับความพินาศ และผู้รับ(ผู้บริโภค) เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด เช่นนี้ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรืองใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่
    เปรียบเหมือนชาวนา ถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่หัก ที่เสีย ถูกลมและแดดแผดเผาแล้ว อันไม่มีแก่น ยังไม่แห้งสนิทลงในนาไร่อันเลวซึ่งเป็นพื้นที่ไม่ดี มิได้แผ้วถางตอและหนามให้หมดทั้งฝนก็มิได้ตกชะเชยโดยชอบตามฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือ ชาวนาจะพึงได้รับผลอันไพบูลย์หรือ ?
    หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านกัสสปะ...ฯ
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “... ดูกรบพิตร ส่วนพิธีที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และผู้รับก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ เช่นนี้ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่
    เปรียบเหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่ไม่หัก ไม่เสีย ไม่ถูกลมแดดแผดเผา อันมีแก่นแห้งสนิทลงในนาไร่อันดีเป็นพื้นที่ดี แผ้วถางตอและหนามหมดดีแล้ว ทั้งฝนก็ตกชะเชยโดยชอบตามฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือชาวนาจะพึงได้รับผลอันไพบูลย์หรือ?
    เป็นอย่างนั้น ท่านกัสสปะ...ฯ” <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>มหาทาน

    </td> </tr> <tr> <td>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="278"> <tbody><tr> <td width="278">หากชีวิตต้องมาประสบเคราะห์ร้ายภัยพิบัติอยู่เสมอ
    ทำอย่างไรชีวิตจึงสงบสุข ไม่มีเวร ไม่มีภัยใดมาเบียดเบียน?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน 5 ประการนี้ เป็นมหาทาน
    1. เป็นผู้เว้นจากการเบียดเบียนแก่สัตว์ เป็นทาน
    2. เป็นผู้เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทาน
    3. เป็นผู้เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นทาน
    4. เป็นผู้เว้นจากการพูดเท็จ ฯลฯ เป็นทาน
    5. เป็นผู้เว้นจากเครื่องมึนเมา เป็นทาน
    นี้แลชื่อว่าเป็นผู้ให้ความไม่มีเวร ความไม่มีภัย ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีเวร ความไม่มีภัย ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีเวร ความไม่มีภัย ความไม่มีเบียดเบียนหาประมาณมิได้เช่นนี้แลฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ให้ทรัพย์เป็นทาน

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">ให้โภชนะเป็นทานอย่างเดียวจะได้บุญหรือไม่
    และเมื่อของมีน้อย บุญที่ได้จะเท่ากับจำนวนของน้อยหรือเปล่า?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ 5 อย่าง 5 อย่างเป็นไฉน คือ
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="338"> <tbody><tr> <td width="114">... ให้อายุ 1 </td> <td width="116">... ให้วรรณะ 1 </td> <td width="108">... ให้สุข 1</td> </tr> <tr> <td>... ให้กำลัง 1
    </td> <td>... ให้ปฏิภาณ 1</td> <td> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้กำลังแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้โภชนะเป็นทานชื่อว่าให้ฐานะ 5 อย่าง นี้แล...ฯ”
    “... อีกประการหนึ่ง แม้เมื่อของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล บุคคลพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยย่อมแบ่งให้ได้ บุคคลพวกหนึ่งมีของมากก็ให้ไม่ได้ ทานที่ให้แต่ของน้อยก็นับเสมอด้วยพัน ฯ
    อนึ่ง ท่านผู้รู้กล่าวทานกับการรบว่ามีสภาพเสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อยก็ชำนะคนขลาดที่มากได้ เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้จะน้อยย่อมชำนะหมู่กิเลสแม้มากได้ ถ้าบุคคลเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมย่อมให้ทาน แม้น้อยเขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการบริจาคมีประมาณน้อยนั้น” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ให้แรงกายเป็นทาน

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">เมื่อใจเป็นทุกข์
    มีสิ่งใดที่จะช่วยบรรเทา
    หรือแบ่งเบาความทุกข์ได้บ้าง?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... เมื่อท่านมีทุกข์แล้ว จะนำทุกข์ของท่านมาให้เราก็ไม่ได้เรามีทุกข์แล้ว จะนำทุกข์ไปให้ทานผู้อื่นก็ไม่ได้ แม้ความสุขก็มีอาการ เช่นกัน สุขและทุกข์ไม่มีใครจะช่วยกันได้
    สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ มีแต่อำนาจแห่งกุศลผลบุญ มีการให้ทาน รักษาศีล เท่านั้น ที่จะเป็นผู้ช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้”</td></tr></tbody></table>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ให้ธรรมะเป็นทาน

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
    เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตรัสสรรเสริญว่า
    การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    พ. “... สุภูติ บุคคลหนึ่งมีกายใหญ่เปรียบดังเขาพระสุเมรุ เจ้าจะคิดอย่างไร กายนั้นมหาศาลไหม ?”
    สุ. “ มหาศาลยิ่งพระพุทธเจ้าข้า เพราะพระพุทธองค์รับสั่งว่ามิใช่ร่างกายจริง หากสักแต่เรียกว่า ร่างกายอันยิ่งใหญ่”
    พ. “สุภูติ หากมีแม่น้ำหลายสายเช่นแม่น้ำคงคา มีจำนวนราวเม็ดทรายในคงคานที จำนวนเม็ดทรายในท้องนทีทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมีจำนวนมหาศาลใช่ไหม?”
    สุ. “มหาศาลยิ่งนักพระพุทธเจ้าข้า จำนวนท้องนทีก็นับจำนวนมิได้ จำนวนเม็ดทรายก็ยิ่งมากมายมหาศาลยิ่งนัก”
    พ. “สุภูติ ตถาคตขอบอกความจริงแก่เจ้า หากกุลบุตรกุลธิดามีจำนวนเต็มจักรวาล หรือจำนวนดุจเม็ดทรายในท้องนทีเหล่านั้น ถวายทานด้วยรัตนมณีทั้ง 7 ประการ คิดดูซิว่าบุญกุศลของเขาจะมากมายเพียงใด?”
    สุ. “ มหาศาลยิ่งนักพระพุทธเจ้าข้า”
    พ. “ หากกุลบุตรกุลธิดา จดจำคำสอนในพระสูตรแล้วนำไปสั่งสอนผู้อื่น บุญกุศลของเขาย่อมมากกว่าผู้ถวายทาน (ข้างต้น) นอกเหนือจากนั้น สุภูติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เมื่อมีการสั่งสอนพระสูตร เจ้าจะต้องรู้ว่าทวยเทพ มนุษย์และอสูร จะพากันน้อมเครื่องสักการะมาบูชาดุจเดียวกับการบูชาที่ที่มีเจดีย์หรือวัดของพระพุทธองค์ ลองคิดดูซิว่าบุญกุศลของผู้ที่อ่านและศึกษาพระสูตรจะมากมายสักเพียงใด”
    “ สุภูติ เจ้าจะต้องรู้ว่า เขาผู้นั้นย่อมเข้าถึงธรรมะขั้นสูงสุดที่หายากโดยแท้ ไม่ว่าที่ใดก็ตามที่พบพระสูตร พระพุทธองค์และพระสาวก ย่อมอยู่ที่นั่นด้วย” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>เหตุขัดขวางมิให้บุคคลบริจาค

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG]พุทธพจน์:
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td align="center" width="304">“เพราะความตระหนี่
    และความประมาทอย่างนี้
    บุคคลจึงให้ทานไม่ได้
    บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่
    พึงให้ทาน ฯ”
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรโกสิยเศรษฐี บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่งของปานกลางให้ตามปานกลางควรแบ่งของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลย ย่อมไม่สมควร
    ดูกรโกสิยเศรษฐีเพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วยเพราะผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>อะไรๆ ก็ของเรา

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">ทำไมคนตระหนี่จึงดูเหมือนไม่มีความสุข
    ทั้งๆ ที่เงินทองก็มีกินมีใช้อยู่อย่างเหลือเฟือ?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ความหวงไว้นี้ เรียกว่า ... ความตระหนี่
    กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใดมีลักษณะเช่นว่านี้เรียกว่ามัจฉริยะความตระหนี่
    เพราะเหตุนี้แล ความละโมบ ความโกรธ ความหลงผิด ผูกพยาบาท ลบหลู่คุณท่าน ยกตนเทียบเท่า ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำคนตระหนี่...
    นกชื่อว่ามัยหกะ เที่ยวไปตามไหล่เขาและซอกเขา บินไปสู่ต้นเลียบอันมีผลสุกแล้วร้องว่า “ของเรา ของเรา”
    “เมื่อนกมัยหกะนั้นรำพันเพ้ออยู่อย่างนั้น ฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมาจิกกินผลเลียบแล้วพากันบินไปต้นอื่น ส่วนนกมัยหกะนั้นก็ร้องเพ้ออยู่นั่นเอง
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รวบรวมทรัพย์ไว้มากมายแล้ว ตนเองก็ไม่ได้ใช้สอย ทั้งไม่แบ่งปันให้ญาติทั้งหลายตามส่วนบุคคลนั้นไม่ใช้เป็นค่าเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ดอกไม้และเครื่องลูบไล้อะไรๆ สักครั้งเดียวเลย ไม่สงเคราะห์ญาติทั้งหลาย
    เมื่อบุคคลนั้นเฝ้ารำพันอยู่อย่างนี้ว่า “ของเรา ของเรา” โจรทางการ หรือทายาทที่ไม่ชอบพอกัน ย่อมมาถือเอาทรัพย์ไป บุคคลนั้นก็รำพันเพ้ออยู่นั่นเอง
    สัตบุรุษอาศัยทรัพย์สมบัติแล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ ย่อมได้เกียรติคุณเพราะทรัพย์นั้น ละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>บุคคลอันไม่พึงคบหาสมาคม

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
    หากจะดูให้แน่ๆ ว่าคนไหนควรคบหา
    คนไหนควรถอยห่าง จะสังเกตุรู้ได้อย่างไร?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก 3 จำพวกเป็นไฉน คือ คนตาบอด 1 คนตาเดียว 1 คนสองตา 1
    บุคคลตาบอดเป็นไฉน?
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีนัยน์ตาอันเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ไม่มีนัยน์ตาเครื่องรู้ธรรมะที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า... คนตาบอด”
    บุคคลตาเดียวเป็นไฉน?
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้ มีนัยน์ตาอันเป็นเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น แต่ไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า... คนตาเดียว”
    บุคคลสองตาเป็นไฉน? “... ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้นทั้งมีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลรู้ธรรมที่มีโทษ และไม่มีโทษรู้ธรรมที่เลวหรือประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ... คนสองตา
    “... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกฯ โภคทรัพย์เห็นปานดั่งนั้น ย่อมไม่มีแก่คนตาบอดเลย และคนตาบอดย่อมไม่ทำบุญอีกด้วย โทษเคราะห์ย่อมมีแก่คนตาบอดเสียจักษุในโลกทั้งสอง
    ต่อมา เราได้กล่าวถึงคนตาเดียวนี้ไว้อีกคนหนึ่ง คนตาเดียวนั้นเป็นผู้คลุกเคล้ากับธรรมและอธรรม แสวงหาโภคทรัพย์โดยการคดโกงและการพูดเท็จ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมยทั้งสองอย่างก็มาณพผู้บริโภคกาม ย่อมเป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์ เขาผู้เป็นคนตาเดียวจากโลกนี้แล้วไปนรก ย่อมเดือดร้อน
    อนึ่ง คนสองตา เรากล่าวว่าเป็นบุคคลที่ประเสริฐสุด คนสองตานั้นย่อมให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน แต่ทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม เพราะเป็นผู้มีความคิดเประเสริฐสุด มีใจไม่สงสัย ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญ ซึ่งบุคคลไปถึงแล้วไม่เศร้าโศก
    บุคคลควรเว้นคนตาบอดกับคนตาเดียวเสียให้ห่างไกล แต่ควรคบคนสองตาซึ่งเป็นบุคคลผู้ประเสริฐสุด...ฯ”</td></tr></tbody></table>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>แม้แต่พุทธะยังเมิน

    </td> </tr> <tr> <td>[​IMG] มีเศรษฐีคนหนึ่งนิสัยเป็นคนขี้เหนียวและโลภมาก ไม่ชอบบริจาคทานทำความดี แต่หมู่นี้ดวงกำลังตก การค้าขาดทุน ยิ่งแย่ไปกว่านั้นต้องมาเจ็บไข้ได้ป่วยชีวิตก็เลยอับเฉา
    ปกติเศรษฐีผู้นี้ไม่เคยเข้าวัดเข้าวา เข้าหาพระสงฆ์องค์เจ้า แต่มาครานี้เขาได้จัดเตรียมอาหารดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระ เพื่อขอพรท่านให้ช่วยสวดปัดเป่าเคราะห์ร้ายทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข
    พระอาจารย์: “นโมขออาราธนาพระโพธิสัตว์ ณ ดินแดนอันไกลโพ้น ได้โปรดคุ้มครองผู้บริจาคท่านนี้ด้วยเถิด
    เมื่อท่านเศรษฐีได้ยินว่าพระโพธิสัตว์ ณ ดินแดนอันไกลโพ้นก็ชักจะเอะใจ จึงทักท้วงขึ้นมา “ พระคุณเจ้าท่านสวดผิดไปหรือเปล่า?”
    พระอาจารย์ตอบว่า “อาตมาสวดผิดตรงไหน?”
    ท่านเศรษฐีจึงถามว่า “ทำไมพระคุณเจ้าไม่อัญเชิญพระโพธิสัตว์ที่สถิตอยู่ใกล้ๆ สักหน่อย แต่ท่านกลับไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์มาจากแดนไกลเล่า?”
    พระอาจารย์ตอบว่า “พฤติกรรมของเจ้าขี้เหนียวออกอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ใกล้ๆ รู้จนหมดแล้ว หากอันเชิญท่านมาช่วยเจ้า เกรงว่าท่านจะไม่ลงสู่ประรำพิธี เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอัญเชิญพระโพธิสัตว์ ณ ดินแดนอันไกลโพ้นให้มาช่วยปัดเป่าเคราะห์ภัย เพราะพระท่านยังไม่รู้พฤติกรรมของเจ้าไงเล่า!”
    </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>ผู้ปราชัยทั้ง 2 โลก

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี
    กับคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ให้ สิริจะบังเกิดแก่คนเช่นไร?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในเมืองเวสาสีนี้มีบุคคลอยู่ 2 คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี คนหนึ่งมีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน
    ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อจะอนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนไหนก่อน จะเป็นคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุนฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียวพูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ จักอนุเคราะห์คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธาเป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนนั้นก่อนเทียวฯ
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหา พึงเข้าไปหาใครก่อนฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียวพูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหา จักเข้าไปหาคนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหา พึงเข้าไปหาคนนั้นก่อนเทียวฯ
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ พึงรับของใครก่อนฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียวพูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ จักรับของคนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ พึงรับของคนนั้นก่อนเทียวฯ
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม พึงแสดงแก่คนไหนก่อนฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียวพูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม จักแสดงแก่คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม พึงแสดงแก่คนนั้นก่อนเทียวฯ
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กิตติศัพท์อันงามของคนไหนพึงขจรไปฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี กิตติศัพท์อันงามของคนนั้นจักขจรไปได้อย่างไร ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน กิตติศัพท์อันงามของคนนั้นเทียวพึงขจรไปฯ
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนที่จะพึงเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ ก็ตาม เช่น ที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ พึงเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไปฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียวพูดเสียดสี จักเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ ก็ตาม ... ฯ จักเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไปอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธาเป็นผู้ให้ความสนับสนุนเขาผู้นั้นพึงเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ ก็ตาม พึงเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไปฯ
    พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนเมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ฯ
    สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียวพูดเสียดสี เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นผู้ยินดีให้ความสนับสนุน เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    พ. อย่างนั้นสีหะ อย่างนั้นสีหะ ผู้ให้เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"> <tbody><tr> <td>บุญญานุภาพ

    </td> </tr> <tr> <td>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">คน 2 คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆ กัน
    คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ คนทั้งสองนั้นเมื่อตายไปแล้ว
    พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้นทั้งที่เป็นเทวดา
    เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือไม่?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    พ. “... ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดาย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย์ ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นเทวดาย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้ฯ”
    สุ. “... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้นทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ?”
    พ. “... ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมความพิเศษแตกต่างกันคือ ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อมข่มผู้ไม่ให้ได้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์ ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อมข่มคนผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้ฯ”
    สุ. “... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้นทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ?”
    พ. “... ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ คนให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการคือ
    ... เมื่อออกปากขอ ย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอ ย่อมได้น้อย
    ... เมื่อออกปากขอ ย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
    ... เมื่อออกปากขอ ย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
    ... เมื่อออกปากขอ ย่อมได้บริขารคือยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปากขอ ย่อมได้น้อย
    ... เมื่ออยู่ร่วมกับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิตย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้ฯ”
    สุ. “... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่าควรให้ทานควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต ฯ”
    พ. “... อย่างนั้นสุมนา อย่างนั้นสุมนา ควรให้ทานควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต ...ฯ” </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>วิบากของคนตระหนี่

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="304"> <tbody><tr> <td width="304">คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
    ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่
    วิบากของคนพวกนั้นจะเป็นเช่นไร?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พุทธพจน์:
    “... คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขาทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่
    คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานหรือยมโลกถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุลคนยากจน ซึ่งจะหาท่อนผ้าอาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก
    คนพาลเหล่านั้นต้องประสงค์สิ่งใดแต่ผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้นสมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังเป็นทุคติอีกด้วย ...ฯ”</td></tr></tbody></table>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr><td>ภัยของคนตระหนี่

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="311"> <tbody><tr> <td align="center" width="311">“ผู้เป็นคนตระหนี่ขี้เหนียวจัด แม้ว่าจะมีทรัพย์ถึง 80 โกฏิ
    ก็มีชีวิตเป็นอยู่อย่างยาจก ดังนี้”
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    ในกรุงสาวัตถีมีเศรษฐีชื่อ อานนท์ มีทรัพย์สมบัติประมาณ 80 โกฏิ แต่เป็นคนตระหนี่มาก เขาจะประชุมพวกญาติทุกครึ่งเดือนแล้วให้โอวาทแก่บุตรของตนชื่อ มูลศิริ ว่า
    “ เจ้าอย่าได้ทำความสำคัญว่าทรัพย์ 80 โกฏินี้มาก เจ้าไม่ควรให้ทรัพย์ที่มีอยู่หมดไป แต่ควรจะทำทรัพย์ใหม่ให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราทำทรัพย์แม้เพียงกหาปณะหนึ่งให้หมดไป ทรัพย์ทั้งสิ้นก็ย่อมจะหมดไปได้”
    อานนท์เศรษฐีได้ยกตัวอย่างว่า “พึงดูยาหยอดตา ที่ใช้ไปทีละหยดๆ ใช้นานไปมันก็หมดขวดได้ นี่เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
    พึงดูการก่อรังของจอมปลวกทั้งหลาย มันได้ก่อขึ้นเพียงวันละเล็กวันละน้อย จอมปลวกก็ใหญ่ขึ้นมาได้ นี่เป็นทางเจริญแห่งโภคทรัพย์”
    ท่านอานนท์เศรษฐีได้ฝังขุมทรัยพ์ไว้ 5 แห่ง แต่ไม่ได้บอกให้บุตรรู้ ด้วยความตระหนี่และหวงทรัพย์ เมื่อเขาตายแล้วก็ยังมีความผูกพันในทรัพย์นั้น จึงไปเกิดในท้องของหญิงจัณฑาลยากจนที่อาศัยอยู่ใกล้ประตูแห่งหนึ่งใกล้พระนครนั่นเอง
    ตระกูลแห่งคนจัณฑานที่อานนท์เศรษฐีไปเกิดนั้น ต้องทำงานรับจ้าง มีอยู่ประมาณพันคน พากันออกรับจ้างเป็นกลุ่มอยู่ นับแต่ที่เขาไปเกิดอยู่ในท้องมารดาแล้วก็ทำให้มารดาไปรับจ้างไม่ได้ค่าจ้างเลย ไปรับจ้างกับพวกไหนก็ทำให้คนพวกนั้นพลอยอดไปด้วย พวกจัณฑาลเหล่านั้นได้กล่าวกันว่า
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    “บัดนี้ พวกเราแม้ทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้แม้แต่ก้อนข้าวในหมู่พวกเรานี้ เห็นจะมีคนกาลกิณีอยู่เป็นแน่!”
    ครั้นแล้วจึงแจกพวกจัณฑาลออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่อานนท์เศรษฐีไปเกิดอยู่ในท้องมารดา พอไปเข้ากับฝ่ายไหน ก็ทำให้ฝ่ายนั้นอดอยาก ในที่สุดนางก็ถูกเขาคัดออกมาอยู่คนเดียว ทำให้นางต้องอดอยากตลอดมา
    เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว เอาบุตรไปหากินด้วย ก็ไม่มีใครจ้างต้องพากันอดทั้งแม่และลูก จึงต้องให้ลูกอยู่ในที่พัก นางจึงพอหากินได้บ้าง และทารกนั้นเมื่อเกิดมาก็วิกล มือ เท้า นัยน์ตา หู จมูก และปากไม่เหมือนคนปกติ มีรูปร่างน่าเกลียดดุจปีศาจคลุกฝุ่น
    แม้กระนั้น มารดาก็ยังไม่ทิ้ง บุตร นางทนเลี้ยงลูกด้วยความอดอยากฝืดเคืองเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทารกโตพอจะหากินได้เองแล้ว นางก็เอาชามกระเบื้องใส่มือแล้วกล่าวว่า “ลูกเอ๋ย! แม่ลำบากเพราะเจ้ามามากแล้ว บัดนี้แม่ไม่อาจจะเลี้ยงเจ้าต่อไปได้อีกแล้ว อาหารที่เขาจัดไว้ตามโรงทานมีอยู่ เจ้าจงไปหาเลี้ยงปากท้องเอาเองเถิด”
    เมื่อกล่าวแล้ว นางก็ได้ปล่อยทารกไว้ ทารกนั้นก็ได้เดินไปจนถึงบ้านของตนเพราะระลึกชาติก่อนได้ จึงเข้าไปสู่เรือนของตนโดยที่ไม่มีใครเห็น เขาผ่านซุ้มประตูไปถึง 3 แห่ง พอมาถึงซุ้มที่ 4 บุตรของมูลศิริเศรษฐีเห็นเข้าก็เกิดความหวาดกลัวร้องไห้จ้า!!!
    ลำดับนั้น พวกบริวารของเศรษฐีได้กรูกันเข้ามาแล้วต่อว่าทันที “เฮ้ย! เอ็งจงออกไป ไอ้คนกาลกิณี” ว่าพลางก็โบยตีจนบอบซ้ำแล้วจับเอาไปโยนกองขยะ
    ครั้งนั้นแล พระศาสดามีพระอานนท์ติดตาม ได้เสด็จบิณฑบาตมาถึงที่นั้น แล้วทอดพระเนตรฯ เมื่อพระอานนท์ทูลถามแล้ว จึงได้เชิญมูลศิริเศรษฐีออกมาพร้อมด้วยบริวารประชุมกัน
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="16">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table>
    พระศาสดาได้ตรัสถามเศรษฐีว่า “ท่านรู้จักทารกนั้นไหม?”
    มูลศิริเศรษฐีทูลตอบว่า “ไม่รู้จัก พระเจ้าข้าฯ”
    พระศาสดาจึงตรัสว่า “ทารกนั้นคือ อานนท์เศรษฐี ผู้เป็นบิดาของท่าน”
    ครั้นแล้วพระศาสดาได้ตรัสกับทารกว่า “อานนท์เศรษฐี ท่านจงบอกขุมทรัพย์ใหญ่ 5 แห่ง ที่ท่านฝังไว้แก่บุตรของท่านเถิด”
    พระศาสดาทรงยังมูลศิริเศรษฐีผู้ไม่เชื่อ ด้วยการพาไปขุดขุมทรัพย์ บัดนั้นเอง มูลศิริเศรษฐีจึงเลื่อมใส ได้ถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่มูลศิริเศรษฐีว่า
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="311"> <tbody><tr> <td align="center" width="311">“คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า
    บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่
    ตนแลย่อมไม่มีแก่ตน
    ส่วนบุตรและทรัพย์จะมีแต่ที่ไหน”
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="33" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="333"> <tbody><tr> <td align="center" width="333">“... บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึกด้วยคิดว่า
    เมื่อกิจที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้น ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่เรา
    เพื่อเปลื้องการประทุษร้ายจากทางการบ้าง
    ความบีบครั้นจากโจรบ้าง เพื่อเปลื้องหนี้สินบ้าง
    ทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวเกิดอันตรายบ้าง
    ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในโลกเพื่อประโยชน์นี้แล
    ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้เป็นอย่างดี ในน้ำลึกเพียงนั้น
    ขุมทรัพย์นั้นทั้งหมด ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เขา
    ในกาลทั้งปวงทีเดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่เสียบ้าง
    ความจำของเขาย่อมหลงลืมเสียบ้าง
    สัตว์ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง โจรทั้งหลายลักไปเสียบ้าง
    ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อเขาไม่เห็นบ้าง
    เมื่อใดเขาสิ้นบุญ เมื่อนั้นขุมทรัพย์ทั้งหมดนั้นย่อมพินาศไป ...” “...ขุมทรัพย์คือ บุญ
    เป็นขุมทรัพย์อันผู้ใดฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน
    ศีล ความสำรวม และความฝึกตน
    ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี
    ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดีฯ
    ขุมทรัพย์นั้นชื่อว่า ... อันผู้นั้นฝังไว้ดีแล้ว
    ใครๆ ไม่อาจผจญได้ เป็นของติดตามตนไป
    บรรดาสมบัติทั้งหลายเมื่อเขาจำต้องละไป
    เขาย่อมพาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป
    ขุมทรัพย์คือ ...บุญ
    ไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น โจรลักไปไม่ได้
    บุญอันใดติดตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น
    บุญนี้ให้สมบัติที่พึงใคร่ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ...”

    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="93%"><tbody><tr> <td>ศรัทธาบริจาคได้บุญมาก

    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
    </td> </tr> </tbody></table>
    “...การทำความดี ไม่ต้องยึดรูปแบบ มีใจก็สำเร็จได้ บุญกุศลไม่ได้แบ่งแยกว่าใหญ่หรือเล็ก ให้มีการบริจาคทั่วไป แต่การบริจาคต้องใช้ปัญญาจึงจะสามารถได้รับบุญ หากบริจาคด้วยความแค้นเคือง เสียดาย หรือบริจาคโดยไม่ใช้ปัญญา ก็จะได้บุญน้อยลง ทั้งๆ ที่บริจาคมากแต่ผลตอบแทนเล็กน้อย
    สมัยที่พระพุทธองค์ออกจาริกบิณฑบาต พร้อมกับเผยแผ่พุทธธรรม ความหมายคือให้เวไนยสัตว์ได้มีการบริจาคเพื่อสร้างเนื้อนาบุญเพื่อเป็นการชำระล้างวิบากกรรมและเพิ่มพูนปัญญา ตลอดจนการฟังธรรมปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุนี้ การบริจาคขนาดใหญ่ก็ถึงขั้นอุทิศกาย วาจา ใจ ที่เล็กๆ ก็คือการเลี้ยงอาหาร แบบนี้ให้หนึ่งงอกสิบ ให้สิบงอกร้อย ให้พันงอกหมื่น ตลอดจนเป็นบุญกุศลที่ไร้ขอบเขต เช่นการหว่านไถของเกษตรกร หากได้ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ก็ยิ่งเก็บเกี่ยวได้มาก ไม่เพียงประโยชน์ต่อผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถย้อนกลับมาสู่ตัวเองอีกด้วย ดังนั้น การบริจาค จึงเป็นบารมีหนึ่งที่ใช้บำเพ็ญศีลของโพธิสัตว์
    การบริจาคไม่ใช่เพียงเป็นเงินทองแต่อย่างเดียว การยิ้มให้คนชมความดีคนอื่น เอาพุทธธรรมที่เรารู้ดีถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น หรือไม่ก็ใช้แรงกายทำประโยชน์ให้แก่สังคม ล้วนเป็นบุญจากการบริจาคทั้งนั้น เช่นการดูแลสถานธรรมและงานบริการธรรมไปด้วย หรือทำงานเพื่อให้งานประชุมธรรมดำเนินไปด้วยดี อุทิศได้ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน
    อีกประการหนึ่ง เมื่อเห็นหมู่ชนแล้วมีน้ำใจไปทำดี การบริจาค ก็คือสามารถเอาความคิดตนเองไปกล่อมเกลาผู้คน เอาใจที่ปิติ ใจนอบน้อมไม่คิดหวังผลไปบริจาค ก็เหมือนเป็นนาดี ไถหว่านน้อยแต่เก็บเกี่ยวมาก แบบนี้คือจิตศรัทธาแท้จริง อย่าได้ยึดถือบุญกุศลภายหลังทำความดี หรือคิดคำนวณยอดบริจาคว่าบริจาคมากน้อยเท่าใด หรือถือตนว่าได้สร้างบุญเต็มเปี่ยมแล้ว นี่คือการขีดขวางรากธรรม การไม่ติดในภาพลักษณ์ บริจาคโดยการปล่อยวาง ไม่ติดอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมารมณ์ เช่นนี้คือ การบริจาคภายใน การตั้งใจอุทิศโดยไม่หวังผลหรือนึกเสียดาย เช่นนี้จึงมีความสุขสงบ ของมาก็ตอบรับ ผ่านไปก็ไม่ติดค้าง เมื่อไม่ยึดในอัตตาจึงว่างในอัตตา
    หวังเวไนย์ทั้งหลายไม่คิดความอยาก ให้ใจตนสะอาดเสมอศรัทธาบริจาคไม่หวังผลตอบแทน ทุกอย่างหาเอาที่กาย อุทิศแรงกาย บริจาคกว้างขวาง ความสำเร็จย่อมบริบูรณ์ บุญกุศลเหลือคณานับ”


    คัดลอกมาจาก

    http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=168


    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...