เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    FFA39B23-978D-4E28-9D18-45746B865D57.jpeg
    7038C068-05E7-4F48-8AEC-8B95B73D6986.jpeg
    เริ่มการบำเพ็ญขั้นอุกฤษฏ์ไม่กินอาหาร 7 วันผ่านมา
    จะมีการอัพเดทแจ้งวันเวลาทุกๆ 7 วันผ่าน

    ถ้าเห็นหายไป ก็แสดงว่าตาย อดจนตายไปแล้ว เป็นการปฎิบัติต่อเนื่องจนกว่าร่างกายจะหมดสภาพ จนล้มหมอนนอนเสื่อ เข้าโรงบาล ICU จึงจะหยุดหันกลับมากินตามปกติ

    การบำเพ็ญตบะครั้งนี้ จะเป็นในฆราวาสวิสัย ยังไม่ใช่พระดาบส ฤาษีวิสัย หรือ ภิกษุสงฆ์วิสัย

    สภาวะที่ปรากฎก็มีมาเรื่อยๆค่อยสรุปผลในตอนท้ายฯ

    วัตถุประสงค์ ปฎิบัติบูชา ขั้นอุกฤษฏ์
    สถานะผู้ปฎิบัติ ศีล ๖ ทำงานตามปกติ
    มิใช่ไม่กินแล้วนั่งๆนอนๆ
    สถานะ เป็นผู้ที่มีสำรับอาหารเตรียมไว้เฉพาะทุกวัน
    เริ่มจากอดข้ามปี ปฎิเสธคำเชิญงานเลี้ยงทุกกรณี!
    [กระทู้นี้เป็นความเชื่อและความคิดเห็นส่วนบุคคล ที่ปฎิบัติและทำการทดลองด้วยตนเอง]

    [น้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้และนมจืดนมถั่วเหลืองไม่เกิน 3-5 ขวดหรือกล่องปกติต่อวันเพื่อทดแทนอาหารที่สามารถขบเคี้ยวได้ กินบ้างไม่กินบ้างแล้วแต่กรณี]

    "ทั้งนี้ก็เป็นไปเพื่อเป็นตัวอย่างหรือแบบทดสอบที่จะส่งผลทางร่างกายของมนุษย์ เพื่อการเรียนรู้ แก่ตนเองและผู้อื่น!"

    “ผู้ไม่อยาก ผู้นั้นเอาชนะความอยาก ชีวิตผู้นั้นจักต้องการสิ่งใด”
    แม้อาหารเพื่อดำรงชีพก็ยังไม่ต้องการ ชีวิตของเขาจักต้องการสิ่งใด

    E644EE36-FC12-4C8C-88A6-2F1E35AC04D4.jpeg 84077ADE-ECC0-4CB6-BB46-6DE3F236434F.jpeg 38031CAF-8783-47E0-BED0-A13AA44E74A3.jpeg B3808918-7899-4620-B31A-ACFC2C8B1FCE.jpeg 31343DF1-B827-45C7-9EFF-748493B1B5DF.jpeg 0CEC745E-3274-451F-AB0B-9A892DE28154.jpeg 028C4212-0985-48A2-B24E-8C4A638B229B.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2024
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    358E8F67-3285-4909-A6C2-392A775C9BCF.png 36F0226D-C61C-4930-881B-F0655D980A43.png E511F12A-7B23-44FA-B35F-9B76047CFBC7.jpeg 2D1A7561-11F4-41DE-82A9-21099D2067AC.jpeg

    ตำนานผีญี่ปุ่น โอมุคาเดะ (ŌMUKADE) ภูตตะขาบมหึมาเทียบเท่าภูเขา

    โอมุคาเดะ (Ōmukade) ภูตตะขาบยักษ์ ผิวหนังแข็งแกร่งราวเหล็กกล้า ที่ไม่ว่าศาสตราใดก็ไม่ระคายผิว แห่งประเทศญี่ปุ่น

    โอมุคาเดะ (Ōmukade) เป็นภูตผีญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นตะขาบยักษ์ที่ว่ากันว่าความยาวของมันสามารถขดรอบภูเขาขนาดใหญ่ได้ถึง 7 รอบครึ่ง มันมีลำตัวสีเข้ม ขาและหัวสีส้มสดใส หากมองผ่านเพียงผิวเผินอาจดูคล้ายกับมังกร พวกมันมีอุปนิสัยก้าวร้าวดุร้ายเป็นอย่างมาก แถมยังมีพละกำลังมหาศาล ที่น่ากลัวที่สุดคือพิษอันร้ายกาจที่ว่ากันว่าต่อให้เป็นมังกรหากโดนพิษของโอมุคาเดะเข้าก็ทำให้ต้องทรมานไม่เบาเลยทีเดียว นอกจากนี้ผิวหนังภายนอกของโอมุคาเดะแข็งแกร่งมากราวกับชุดเกราะทำให้อาวุธมีคมไม่ระคายผิว



    พฤติกรรมของโอมุคาเดะ

    โอมุคาเดะ เป็นภูตผีที่หาตัวได้ยากมาก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันปรากฏตัวออกมาก็จะกลายมาเป็นภัยคุกคามมนุษย์ทุกคนในพื้นที่ของมัน ร้อนถึงเหล่านักรบผู้กล้าหาญต้องแบกรับภาระในการเดินทางมากำจัดมันและกลายมาเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน



    จุดอ่อนของโอมุคาเดะ

    ถึงแม้ว่าผิวหนังของโอมุคาเดะจะแข็งแกร่ง แต่มันก็ไม่ได้ไร้เทียมทาน โอมุคาเดะมีจุดอ่อนที่ไม่น่าเชื่อเพียงอย่างเดียวคือ “น้ำลายของมนุษย์” ที่เป็นพิษร้ายต่อมัน ดังนั้น ถ้าหากนำน้ำลายมาเคลือบบนอาวุธก็สามารถฟัน แทงทะลุผิวหนังที่แสนแข็งจนสร้างอาการบาดเจ็บให้กับมันได้เช่นกัน



    ตำนานที่มีชื่อเสียงของโอมุคาเดะ

    ในจังหวัดชิงะ มีสะพานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งนามว่า “Seta no Karahashi” เมื่อนานมาแล้วมีงูกยักษ์ขนาดใหญ่ปรากฎตัวบนสะพานและนอนขวางไม่ยอมขยับไปไหน ทำให้ชาวบ้านต่างหวาดกลัวและได้รับความเดือดร้อนอย่างมากเพราะไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้

    วันหนึ่งนักรบผุ้กล้าหาญ “ฟูจิวาระ โนะ ฮิเดซาโตะ” ได้เดินทางผ่านมา เขาไม่ได้หวาดกลัวงูยักษ์แม้แต่น้อย เขาเดินข้ามสะพานแล้วกระทบร่างของมันไว้ใต้เท้า ทำให้งูที่บาดเจ็บต้องเลื้อยหนีไปทำให้สะพานกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

    คืนนั้น มีหญิงสาวที่แสนงดงามมาเยี่ยมเขา ณ ที่พัก เธอแนะนำว่าตนเองเป็นลูกสาวของราชามังกรแห่งทะเลสาบบิวะ ที่ถูกส่งมาเพื่อขอความช่วยเหลือ เพราะครอบครัวของเธอกำลังถูกโอมุคาเดะที่อาศัยอยู่บนภูเขามิคามิคุกคาม เธอมั่นใจว่าเขาจะต้องเป็นนักรบผู้กล้าหาญที่ช่วยพวกเธอได้ เนื่องจากเขาเหยียบร่างของเธออย่างไม่หวาดกลัวเลยสักนิด เขารับปากที่จะให้การช่วยเหลือและหยิบดาบกับคันธนู เดินทางไปยังหุบเขามิคามิ

    เมื่อไปถึงหุบเขา เขาก็ได้เห็นตะขาบขนาดมหึมาขดตัวอยู่บนยอดเขา มันยาวมากเสียจนร่างของมันล้อมรอบภูเขาเจ็ดรอบครึ่ง เขาหยิบคันศรออกมายิงใส่ตะขาบยักษ์แต่กลับไม่ระคายผิวแสนหนาของมัน จนกระทั่งเหลือธนูเพียงลูกเดียว เขาเลยนำน้ำลายของตัวเองมาเคลือบปลายศรเอาไว้แล้วอธิษฐานต่อฮาจิมัน เทพเจ้าแห่งนักรบ พร้อมกับยิงศรใส่ ปรากฏว่าคราวนี้ลูกศรเจาะทะลวงร่างจัดการโอมุคาเดะได้สำเร็จ

    ลูกสาวของราชามังกรปลาบปลื้มอย่างมากกับการช่วยเหลือในครั้งนี้ เธอจึงได้มอบของขวัญสุดพิเศษ คือ “ถุงข้าววิเศษ” ที่ไม่ว่าจะนำข้าวออกไปสักเท่าไหร่ก็จะไม่มีทางหมดลง กับหม้อปรุงอาหารที่สร้างสรรค์ค์เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟ และระฆังขนาดใหญ่ที่ต่อมาเข้าได้มอบให้กับมิอิเดระ นอกจากนี้ ราชามังกรยังแนะนำเคล็ดลับในการเอาชนะ “ไทระ โนะ มาซาคาโดะ” ที่จะกลายมาเป็นกบฏต่อต้านโค่นล้มเขาในอนาคตอีกด้วย...


    #บำเพ็ญตบะอดอาหารวันที่12
    CE0A4773-0C81-48E9-B517-F662E2637D67.jpeg 1FBA6D18-5C39-4ACE-BDB7-4CFB250B735E.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2024
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    เทพเจ้าไก่ The rooster god

    เทพ Abraxas ของกรีกโบราณ (เทพเจ้าไก่)

    เทพ อะบราซัส เป็นสุริยเทพและเทพแห่งปัญญาโบราณของกรีก และอียิปต์ โดยคำว่า อะบราซัส เมื่อเขียนด้วยอักษรกรีก หรือ ฮิบรูโบราณแล้วสามารถถอดรหัสได้เท่ากับ 365 ซึ่งเท่ากับจำนวนวันในหนึ่งปีของมนุษย์ โดยเทพอะบราซัสมักปรากฏรูปมีลำตัวเป็นมนุษย์แต่หัวเป็นไก่ เท้าทั้งสองเป็นงู ถือโล่ และแส้


    การนับถือเทพอะบราซัส มักพบมากในการทำเป็นเครื่องรางจากหินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อะบราซัส สโตน Abraxas stone ที่เชื่อว่าจะปกป้องสิ่งชั่วร้ายและไสยศาสตร์ได้


    IMG_20170101_073144.jpg


    เจ้าแม่พหุจรา ของอินเดีย (เทพกับไก่)

    เป็นเจ้าแม่ในตำนานพื้นบ้านของอินเดียว่าเป็นผู้ให้พลังโยคะจักระกุณฑาลินี อันเป็นประตูไปสู่การบรรลุโมกษะ (ความเชื่อเรื่องการหลุดพ้นในศาสานาฮินดู) โดยมากเจ้าแม่พหุจรา เทวี จะได้รับการบูชาจากสตรีที่ต้องการบุตร และชายข้ามเพศของอินเดียที่เรียกว่า "หิชะรา"หรือ "หิชฺระ" (มาจาก हिजड़ा ปัจจุบันมีคนใช้คำสแลงคือ "กินนร" किन्नर เรียกคนพวกนี้)

    ซึ่งมีตำนานเล่าว่าเมื่อเจ้าแม่พหุจราอวตารมาเกิดเป็นสตรีนางหนึ่ง มีชายผู้หนึ่งพยายามลวนลามนาง นางจึงสาปให้ชายผู้นั้นกลายเป็นสตรีไป ชายผู้นั้นหวาดกลัวขอโทษนางขอให้นางล้างคำสาป นางจึงให้ชายผู้นั้นเขาไปในป่า และแต่งตัวทำท่าทางแบบผู้หญิงต่าง ๆ แล้วจึงพ้นคำสาป

    หรือบางตำนานก็ว่า มีพระราชาคนหนึ่งบูชาเจ้าแม่พหุจราเทวี เพื่อขอบุตรก็ไม่เป็นผล คืนหนึ่งเจ้าแม่ไปเข้าฝันแนะนำให้เขาตัดอวัยวะเพศชายของตนเอง และแต่งตัวเป็นสตรีบูชานางแล้วก็จะได้บรรลุโมกษะคือการหลุดพ้นจากเรื่องทางโลก

    ซึ่งเจ้าแม่พหุจราเทวีทรงไก่เป็นพาหนะ ในขณะที่พระขันธกุมารใช้ธงรูปไก่เป็นสัญลักษณ์

    IMG_20170101_072809.jpg


    เทพดาวลูกไก่ หรือปีระกาของจีน (เทพดาวไก่)

    ในเรื่อง ไซอิ๋ว หรือซีโหยวจี 西游记
    ตอนปีศาจแมงมุมหนีไปหาศิษย์พี่ปีศาจตะขาบพันตา (百眼魔君/多目怪)
    เห่งเจีย ต้องไปเชิญพระโพธิสัตว์ผีหลานผัว(ผีหลานผัวผู่สัก 毗藍婆菩薩) ซึ่งเป็นแม่ของเหมายื่อซิงกวาน 昴日星官 ซึ่งเป็นเทพแห่งดาวลูกไก่ หรือบางตำนานว่าเป็นเทพนักษัตร์ปีระกามาปราบ
    8CA38ADD-4318-44D4-BDB4-FD24EB6019D8.jpeg
    พระโพธิสัตว์ผีหลานผัว (ผีหลานผัวผู่สัก 毗藍婆菩薩) ในบางตำนานกล่าวว่าเป็นอวตารของพระอากาศครรภ์โพธิสัตว์ (虛空藏菩薩)

    IMG_20170101_072115.jpg

    พระโพธิสัตว์ผีหลานผัว(ผีหลานผัวผู่สัก 毗藍婆菩薩) ปราบปีศาจตะขาบพันตาในเรื่องไซอิ๋ว (ซีโหยวจี 西游记)

    IMG_20170101_142714.jpg

    #โมกษะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2024
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ตำนานท้องถิ่นเล่าว่า เทพเจ้ามังกร ริวจิน เคยถูกตะขาบเข้าหู เมื่อเขาเห็นไก่ตัวหนึ่งกำลังกินตะขาบอย่างเอร็ดอร่อย ทำให้เทพเจ้าริวจิน เกิดอาการกลัวทั้งตะขาบและไก่ ต่อมาในสมัยของอาณาจักรริวกิว ผู้คนจะวาดภาพไก่บนเรือ และชักธงตะขาบ เพื่อป้องกันเทพเจ้ามังกรที่อาจมาทำอันตราย โดยเชื่อว่าการวาดตะขาบและไก่จะช่วยให้ผู้คนข้ามทะเลไปได้อย่างปลอดภัย

    #ไต้หวัน/ญี่ปุ่น
    76FA74C7-FCB3-4186-9FB2-AED434D72FEA.jpeg 7C1BA3B1-762F-4A1C-A7A6-799C1C8563E7.jpeg
     
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    6260CD9B-6374-4204-9778-FE6283516DA9.jpeg

    เทพเจ้าตะขาบแห่งภูเขาอาคางิ


    ว่ากันว่าเทพเจ้าแห่งภูเขาอาคางิ ในเขตโจโม เป็นตะขาบ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ณ เชิงเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขาอาคางิ เล่าต่อกันว่าห้ามฆ่าตะขาบ ใครก็ตามที่เห็นจะบอกว่า “ตะขาบเอ๊ย จงกลับไปที่ภูเขาอาคางิเถอะ” โยไม่ทำร้าย ตำนานกล่าวว่าตะขาบเป็นญาติของคน หากฆ่าจะถูกลงโทษ ที่นิโคโค ในจังหวัด โทซิกิ มีสถานที่มีอากาศชุ่มชื้น รียกว่า เซ็นโจงะฮะระ เทพาเจ้างูแห่งภูเขานิดโคฮุทาระ และเทพเจ้าแห่งหุบเขา อาคางิ เคยรบกัน เพื่อแย่งกรรมสิทธฺของวัด ซูเซนจิ เทพเจ้าอาคางิ แพ้คาดว่าเทพเจ้าองค์นี้ชอบการรบมาก กล่าวว่าตะขาบกับเหมืองแร่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะทองแดง ภูเขาที่มีเหมืองแร่ใหญ่ มักจะบูชาตะขาบ


    {๐} หลักศิลาจารึกบันทึกธรรม
    เรื่องภัยอันจักเกิดในพระวัสสา
    มีปรากฎจากอินเดียอัญเชิญมา
    อันความว่าฟ้าถล่มดินทลาย

    เริ่มไฟผลาญมาทางทิศตะวันออก
    เกิดช้ำชอกสมุทรศาสตร์พินาศหลาย
    ยักษ์ตีกันต่างม้วยมรอันตราย
    ความฉิบหายอุบาทว์ยุคมาถึงพลัน

    ความอดอยากยากแค้นทุกหย่อมหญ้า
    ปรารถนาเพียงข้าวปลาแก้อาสัญ
    หลีกลี้ภัยผจญนอกออกภัยกัน
    ไม่เหลือขวัญกำลังใจใคร่ติดตาม

    สมณะชีพราหมณ์ผู้ผ่องแผ้ว
    ไม่อาจแคล้วรอดชีวิตเป็นภักษา
    เข่นฆ่ากันเห็นชีวิตเป็นผักปลา
    ไร้ศีลธรรมจรรยาขาดหมดปราณี

    เชื่อคำโกงสอพลอกล่าวคำเท็จ
    อ้างสำเร็จมรรคผลบ่นมิจฉา
    บริษัทมารลัทธิผุดขึ้นมา
    ป่าเห็ดว่ามีมากแล้วยังแพ้ทาง

    สร้างสัทธรรมปฎิรูปยังส่งเสริม
    ถือดีเกินทำลายทิ้งอรรถกถา
    มอมเมาคนให้หลงผิดนองน้ำตา
    ด้วยเหตุว่าไม่หยั่งรู้ซึ่งชั่วดี

    ตั้งศรัทธาไว้ตรงที่ผู้ทำผิด
    ไร้ความคิดนึกตริตรองครรลองหา
    กี่มาน้อยต้องถึงฆาตปาดน้ำตา
    หลงวาจาอวดอ้างรู้ช่างง่ายดาย

    ผู้มีธรรมบางส่วนรักษาตัว
    ไม่เกลือกกลั้วอลัชชีเหล่ามิจฉา
    โมฆะบุรุษปาราชิกสิ้นชีวา
    หน้าเก่าไปเหล่าใหม่มาไม่ซ้ำวัน

    ล่วงมาถึงก่อนกึ่งพุทธสุดประหลาด
    แม้พลั้งพลาดบ้างแคล้วคลาดมีมากหลาย
    เจ็บไม่จบฤดูกาลผ่านทำนาย
    กว่าถึงปลายพระวัสสาน่ากังวล

    สัญญาณเกิดตรงทำนายพระปริตร
    ทรงลิขิตพยากรณ์ตามมรรคผล
    อันพระเจ้าปเสนธินั้นกังวล
    นอบน้อมองค์พระสัมมาทรงชี้ทาง

    พยากรณ์พระสุบินสิบหกข้อ……..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2024
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ชีวิตที่เหลืออยู่ไม่ควรประมาท!

    #จะให้ไปครบ 7 ดวง ในพุทธสมัยใด ท่านกล่าวมาตั้งแต่พุทธสมัยใดแล้ว!


    MASTER Keys

    #ในข้อนั้น ใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้เชื่อว่า ‘แผ่นดินใหญ่นี้
    และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญ พินาศ ไม่เหลืออยู่’ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอัน
    เห็นแล้ว

    # เหล่าสาวกผู้รู้ชัดคำสอนอย่างดียิ่ง
    #เหล่าสาวกผู้ไม่รู้ชัดคำสอน

    ง้วนดิน กระบิดิน เครือดิน ข้าวสาลีไร้แกลบรำ หญ้ากับแก้

    วิวัฒนาการของมนุษย์การสำรวจจักรวาลระดับบัญญัติคติความเชื่อแนวโน้มความน่าจะเป็นไป

    ขนาดของพระสรีระของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่ลดขนาดลง

    อายุขัยของมนุษย์โดยเฉลี่ย

    กระแสกรรมที่มนุษย์และสรรพสัตว์ก่อขึ้น

    เขียนผังเติมดวงอาทิตย์ลงในขอบเขตมหาทวีปใหม่ให้ครบ 7 ดวง

    ดาวที่คล้ายกับดวงอาทิตย์
    เขาพระสุเมรุและอาณาบริเวณโดยรอบกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวร้าย ทั้ง 4 มหาทวีปใหญ่

    กัปป์เจริญสูงสุดต้นจนถึงกับเสื่อมสุด

    เวลาที่เหลือ!

    เวลาในปัจจุบัน!

    # อยู่อย่างประมาท ไม่ได้รู้อะไรเลย ว่า มีองค์พระสัทธรรมสถิตอยู่ นึกว่ามีแค่พระไตรปิฎกที่จำลองคำสอนซึ่งธรรมและวินัยเอาไว้ คิดได้แค่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเข้าสู่พระนิพพานไปแล้ว ก็เหลือเพียงพระพุทธรูปจำลองไว้

    บวชมั่วซั่ว บวชมักง่าย จับพระไตรปิฎกเป็นตัวประกัน แสดงธรรมด้วยความมักง่าย ตามใจชอบ คะนองปาก ทั้งในโมฆะบุรุษไปจนถึงฆราวาสฝีปากกล้า

    ก็
    ปฎิสัมภิทาญาน ไม่รู้จัก เหตุและผลที่ไปที่มาไม่สามารถคาดคะเนอนุมานอย่างเข้าถึงและตรงไปตรงมาได้ เมื่อพระสัทธรรมทรงเคลื่อนไปที่ประเทศราชใด ประเทศราชนั้นก็ใช้ภาษาตนรองรับพระสัทธรรม สำเนียง ทำนอง ก็แตกต่าง คุณความหมายก็แตกต่างกันออกไป ประเทศไทยโชคดีที่มีภาษาศาตร์ที่ละเอียดอ่อน มีหลากหลายนัยยะ

    #จะไม่ให้สวดมนต์จะเอาแต่คำแปลที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาฯลฯ แล้วจะมีบัญญัติสัททะเป็นอารมณ์โคจรของพระมหาปกรณ์ได้อย่างไร ต่อให้สวดเพี้ยนจากทำนองก็ยังดีที่มีให้สวด

    อยากให้พระบาลีหายไปเหลือแต่คำแปลอย่างนั้นหรือ? ถ้าจะแก้ไขก็ควรให้พระผู้ถือสวดแจ้งบทนั้นๆว่ามาจากพระสูตรบทใด วรรคใด พุทธบริษัทก็ใส่ใจร่ำเรียนพระไตรปิฎกด้วยจึงจะเข้าใจเป็นมงคลปัญญาทันกัน

    พระมหาปกรณ์องค์จริงๆ ก็ยังคงสถิตอยู่ แต่เมื่อไหร่จะปฎิบัติให้เข้าถึงกันได้ ผู้มีบุญทั้งหลายฯ ควรรีบบำเพ็ญเพียร ให้ถึงบทธรรมอันเลิศฯ

    #ลงแต่หัวข้อ และมอบแนวทางไว้ เมื่อค้นหากถาธรรมจะสามารถผูกบทและวิสัชนาได้เองในขั้นต้น!

    อื่นๆ ก็เป็นเพียงความห่วงใย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4032.jpeg
      IMG_4032.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      58 KB
      เปิดดู:
      32
    • IMG_4033.jpeg
      IMG_4033.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      65.9 KB
      เปิดดู:
      32
    • IMG_4041.jpeg
      IMG_4041.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      51.2 KB
      เปิดดู:
      28
    • IMG_4083.jpeg
      IMG_4083.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      86.3 KB
      เปิดดู:
      30
    • IMG_4035.jpeg
      IMG_4035.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      100.9 KB
      เปิดดู:
      30
    • IMG_4036.jpeg
      IMG_4036.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      71.4 KB
      เปิดดู:
      28
    • IMG_4037.jpeg
      IMG_4037.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      100.3 KB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_4038.jpeg
      IMG_4038.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      87.3 KB
      เปิดดู:
      30
    • IMG_4039.jpeg
      IMG_4039.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      217 KB
      เปิดดู:
      34
    • IMG_4080.jpeg
      IMG_4080.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      201.1 KB
      เปิดดู:
      31
    • IMG_4082.jpeg
      IMG_4082.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      111.6 KB
      เปิดดู:
      28
    • IMG_4084.jpeg
      IMG_4084.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      254.7 KB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_3391.jpeg
      IMG_3391.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      48.3 KB
      เปิดดู:
      30
    • IMG_3775.jpeg
      IMG_3775.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      43.9 KB
      เปิดดู:
      28
    • IMG_4034.jpeg
      IMG_4034.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      54.8 KB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_4081.jpeg
      IMG_4081.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      223 KB
      เปิดดู:
      38
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2024
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ซ้ำเข้าไปอีก! ขนาบแล้ว ขนาบอีก!

    IMG_4236.jpeg

    ตามหลัก“มหาปเทส ๔” “สุญญตา”เป็นหลักตัดสินธรรมวินัย
    .
    ….. “ ทีนี้ ก็อยากจะพูดอีกนิดหนึ่ง ว่าให้ถือว่า“สุญญตา” หรือเรื่องสุญญตานี้ เป็นหลักตัดสินความผิดความถูกตามหลักของ“มหาปเทส” ถ้าเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมา จากนั้นจากนี้ จากพระไตรปิฎก จากคนพูด จากคณะสงฆ์ จากอะไรก็ตาม แล้วเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาว่าจะถูกหรือจะผิด พระพุทธเจ้าท่านตรัสหลักมหาปเทสไว้ ๔ อย่างด้วยกันว่า แม้จะได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าเอง, หรือจากคณะสงฆ์ที่มีมหาเถระเป็นประธาน, หรือว่าจากมหาเถระผู้เป็นพหุสูตร, หรือว่าจากพหุสูตรธรรมดาก็ตาม อย่าเชื่อว่าถูก ให้เอาไปทดสอบ “ วินเย โอสาเรตพฺพํ สุตฺตนฺเต สนฺทสฺเสตพฺพํ ” = ให้หยั่งเทียบลงไปดูในวินัย หยั่งเทียบลงไปดูในสูตร ถ้ามันเข้ากันได้กับหลักใหญ่นั้น ให้ถือว่าถูก
    ….. แม้จะได้มีคนพูดว่า นี้ฟังมาจากพระพุทธเจ้า ให้เชื่อเถอะ นี้ฟังมาจากคณะสงฆ์ทั้งหมด มีมหาเถระเป็นประมุข ให้เชื่อเถอะ อย่างนี้ท่านว่าอย่าเพ่อเชื่อ ให้เอาไปหยังดูในสูตร เทียบดูในวินัยนี้ หรือหยั่งดูในวินัย เทียบดูในสูตรก็ตาม ว่ามันเข้ากันได้กับหลักส่วนใหญ่หรือไม่?
    ….. หลักส่วนใหญ่ในที่นี้ ก็จะเป็นหลักของวินัยก็ดี หลักของพระสูตรก็ดี คือเรื่อง “สุญญตา” อย่างที่กล่าวแล้ว ฉะนั้น เราก็ตัดสินได้ทันทีว่า ถ้าเรื่องนี้ที่เขาเอามาพูดให้ฟัง แล้วมาอ้างว่าพระพุทธเจ้าสอนนี้ ไม่เป็นไป“เพื่อปล่อยวางความยึดมั่น”แล้ว ก็อย่าไปเชื่อ, ใครจะพูดก็ตามใจ ถ้าไม่เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง คือเป็นไปเพื่อสุญญตานี้ อย่าได้เชื่อว่าเป็นคําสอนที่ถูกต้องในพุทธศาสนา ถ้าเห็นชัดว่าปฏิบัติอย่างนี้เป็นไปเพื่อปล่อยวาง เพื่อว่างจากความยึดมั่นถือมั่น นี้จะถูกเป็นหลักในพระพุทธศาสนา
    ….. แม้หลักตัดสินธรรมวินัย ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระดับแรกๆ ต้นๆ ที่ว่า ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกําหนัดย้อมใจ เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ เป็นไปเพื่อสะสม เป็นไปเพื่ออยากใหญ่ นี้ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่ใช่ธรรมวินัยของพระศาสดา ต่อเมื่อเป็นไปเพื่อความไม่กําหนัด ความไม่ยึด ไม่ย้อม ไม่ประกอบทุกข์ ไม่สะสม ไม่อยากใหญ่ นั่นจึงจะเป็นธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น
    ….. แล้วยังมีว่า เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อระคนคลุกคลีกันเป็นหมู่ เป็นไปเพื่อความขี้เกียจ เป็นไปเพื่อการเลี้ยงยาก นี้ก็ไม่ใช่ธรรมวินัยของพระศาสดา เพราะเป็นไปเพื่อยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวกู เป็นของกู แม้ที่สุดแต่คําว่า“เลี้ยงยาก” เป็นคนเลี้ยงยาก นี้ผิดหลักพุทธศาสนา ตรงที่คนเลี้ยงยากคือคนยึดมั่นถือมั่น เห็นแก่ปากเห็นแก่ท้อง เห็นแก่ตัวกู
    ….. หลักตัดสินธรรมวินัยจะกล่าวไว้ในรูปใดก็ตาม กาลามสูตรก็ตาม โคตมีสูตก็ตาม มหาปเทสวินัยทั้งสี่ มหาปเทสธรรมะทั้งสี่ ก็ล้วนแต่มีหลักศูนย์กลางอยู่ที่ “สุญญตา”หรือ“ไม่สุญญตา” ทั้งนั้น ถ้าไม่เป็นไปเพื่อสุญญตาก็ไม่ใช่ คือผิดหมด ถ้าเป็นไปเพื่อสุญญตาที่เรียกว่า“สฺุญฺญตปฺปฏิสํยุตฺตา” ย่อมถูกหมด
    ….. ฉะนั้น จึงต้องเข้าใจคํานี้เรื่องนี้ให้ดีที่สุด สําหรับที่จะแยกคัดเนื้อพอกใหม่ออกไปเสีย ให้พบเนื้อเดิมแท้ของพุทธศาสนา โดยน้ำมือของสาวกของพระศาสดา ผู้ไม่มีความโง่งมงาย”
    .
    พุทธทาสภิกขุ
    ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “เรื่องเกี่ยวกับสุญญตาคือพุทธศาสนาเดิมแท้” เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๔ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒” หน้า ๓๑๓-๓๑๕
    ----------------------------------------------
    .
    อธิบาย ความหมายของคำว่า "สุญญตา" "โลกว่าง" "จิตว่าง"
    .
    "พระพุทธเจ้าตรัสว่า 'โลกนี้ว่าง เพราะไม่มีสิ่งใดที่ควรถือว่าเป็น "ตัวตน" หรือ "ของตน" เป็น"ตัวเรา" หรือ"ของเรา"...
    .
    จิตที่ไม่ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตน ของตน หรือกำลังไม่ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตนของตนนี้ ขอเรียกว่า "จิตว่าง" เพราะไม่มีคำอื่นที่ดีกว่านี้
    .
    มีคำอธิบายใน "ธัมมัปปโชติกา ภาค ๑" ว่า
    "ราคโทสโมเหหิ สุญฺญตตฺตา สุญฺญโต"
    (แปลว่า) ชื่อว่า "สุญญตา" เพราะว่าว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ เพราะจิตในขณะนั้นประกอบด้วยปัญญาเห็นว่าโลกว่าง
    .
    ด้วยเหตุนี้แหละ พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสสอนว่า "จงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างอยู่เสมอ" เหมือนอย่างทรงสอนโมฆราช ใน "โสฬสปัญหา" ว่า...
    "สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต = ดูก่อน โมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติ มองเห็นโลกโดยความเป็นของว่างอยู่เสมอไป" เมื่อเห็นโลกโดยความเป็นของว่าง จิตก็ไม่มีความยึดถืออะไรด้วย"อุปาทาน" ความว่างอย่างนี้ของจิตเราเรียกว่า "สุญฺญตา"
    .
    ฉะนั้น เราได้ใจความครั้งแรกว่า"โลกนี้ว่าง" เพราะว่างจาก "ตัวตน" "ของตน" ได้ใจความถัดมาว่า "จิตว่าง" เพราะว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ โดยเหตุที่จิตนี้ได้มองเห็นว่าโลกนี้ว่าง ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือว่าตัวตนของตน นี่คือ ความหมายของคำว่า "สุญญตา"
    .
    พุทธทาสภิกขุ
    ที่มา : ธรรมบรรยายเรื่อง "สุญฺญตา หัวใจของพุทธศาสนา"
    ---------------------------------------------
    .
    “โลกุตตระ” กับ “สุญญตา”
    .
    “โลกุตฺตรา”เป็นเรื่องเหนือโลก คือ เป็นเรื่องที่จะทำให้มนุษย์อยู่เหนือการครอบงำย่ำยีของโลก ถ้าถูกโลกครอบงำย่ำยี ก็หมายความว่า มีความทุกข์ ฉะนั้น เราจะอยู่เหนืออำนาจครอบงำของโลก
    .
    เมื่อใดอยู่เหนืออำนาจครอบงำของโลก เมื่อนั้น เรียกว่าอยู่เหนือโลก หรือ “โลกุตตระ”แล้วเรื่องนี้ต้องเป็น “สุญฺญตปฺปฏิสํยุตฺตา” คือ เนื่องเฉพาะด้วยเรื่อง “สุญญตา” ต้องเป็นเรื่องที่เนื่องด้วยสิ่งที่เรียกว่า “สุญญตา”
    .
    พุทธทาสภิกขุ
    ที่มา : ธรรมบรรยาย “สุญญตาหัวใจของพุทธศาสนา” เมื่อ ๙ มกราคม ๒๕๐๙
    # ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ - รวบรวม. #
     
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    IMG_3829.jpeg IMG_2490.jpeg IMG_2491.jpeg

    พระพุทธเจ้าไม่ตรัสเรื่องอื่น นอกจากเรื่อง “สุญญตา”
    .
    …. “...ที่จะพูดก็คือ จะพูดให้แปลกหูว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ตรัสเรื่องอื่น นอกจากเรื่อง “สุญญตา” ผมเขียนทิ้งไว้อย่างนี้ในบทความหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องพุทธศาสนากับคริสตศาสนา ว่า “พระพุทธเจ้าไม่ตรัสเรื่องอื่น นอกจากเรื่อง “สุญญตา” พูดแล้วก็ไม่มีใครสนใจ ; น่าประหลาดที่สุด ในเมืองไทยดูเหมือนไม่มีใครสนใจ ด้วยเหตุใดก็ตาม จะว่าพูดผิดก็ไม่สนใจ หรือว่าจะรู้แล้วไม่สนใจ แต่ผมไม่เชื่อว่าเขารู้แล้ว แล้วไม่สนใจ เพราะว่าค้านเรื่องสุญญตาอยู่สลอนไปหมด ฉะนั้น ต้องไม่รู้ แต่เห็นไปว่าเป็นเรื่องที่ผมคงจะว่าเอาเอง หรือว่าอะไรทำนองนั้น ก็เลยไม่สนใจก็ได้
    …. แล้วก็ยังมีแปลกที่ว่า มีคนคงจะเป็นนักศึกษาคนหนึ่งเขียนมาจากประเทศสวีเดน ถามมาว่าเอาหลักที่ไหนมาพูด ว่าพระพุทธเจ้าไม่ตรัสเรื่องอื่นนอกจากเรื่อง “สุญญตา”, ผมรู้ได้ทันทีว่าเขาไม่เคยอ่านข้อความตอนนี้ ที่พูดถึงสุญญตาในรูปพุทธภาษิต(คำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือ ถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัส) ซึ่งมีมากที่สุดในพระไตรปิฎก ตอนสังยุตตนิกาย คงไม่ได้อ่าน หรืออ่านก็ไม่ได้สนใจ
    .
    ที่มาของ “สุญญตา” มีอยู่ในพระพุทธภาษิต
    …. ทีนี้ ก็อยากจะพูดถึงหลักฐานที่มาของเรื่องนี้เสียเลยว่า ทุกคนควรจะได้ยินพระพุทธภาษิตข้อนี้ แล้วก็ท่องไว้ได้ด้วยก็ยิ่งดี ถ้าคุณสนใจก็ลองจดจำไปดีๆ มีพระพุทธภาษิตอยู่ใน สังยุตตนิกาย โดยมาก ที่เราเอามาใช้ได้เป็นประโยชน์ ส่วนที่มีข้อความที่เราเอามาใช้เป็นประโยชน์ได้มาก ก็มีอยู่ใน “อังคุตตรนิกาย หมวดว่าด้วยของ ๕ อย่าง” ไม่ว่าจะไปพูดอยู่ที่ตรงไหนของพระไตรปิฎกก็พูดด้วยคำพูดประโยคนี้ทั้งนั้น ที่ขึ้นต้นแล้วก็อธิบายไปต่างๆ กัน คือประโยคที่ว่า :
    “ เย เต สุตฺตนฺตา ตถาคต ภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตรา สุญฺญตปฺปฏิสํยุตฺตา.” ๖ คำเท่านั้น
    - เย เต นั้นไม่ใช่คำ เป็นคุณศัพท์ แปลว่า เหล่าใด
    - สุตฺตนฺตา แปลว่า ระเบียบแห่งสูตร,
    - ตถาคตภาสิตา – ที่ตถาคตกล่าวแล้ว,
    - คมฺภีรา – ลึกซึ้ง,
    - คมฺภีรตฺถา มีอรรถอันลึกซึ้ง,
    - โลกุตฺตรา – เหนือโลก
    - สุญฺญตปฺปฏิสํยุตฺตา – เนื่องเฉพาะด้วยสุญญตา
    …. ขอให้ไปพยายามเข้าใจคำ ๖ คำนี้ ก็เป็นต้นทางที่จะทำให้เข้าใจเรื่อง “สุญญตา” ได้. เย เต นั้น แปลว่า เหล่าใด เหล่านั้นในที่นี้ก็หมายความว่า “ชนิดไหนก็ตาม”
    …. ใจความของคำเหล่านั้นมีว่า ระเบียบแห่งสูตร คือว่า ข้อความที่ได้กล่าวไว้เป็นหลักเกณฑ์ เรียกว่า ระเบียบแห่งสูตรใดๆก็ตาม “ใดก็ตาม” คือหมายถึงทั้งหมด: ที่ตถาคตได้กล่าวแล้วเป็นเรื่องลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เหนือโลก แล้วก็เนื่องด้วยสุญญตา, นี่บ่งอยู่ในตัวประโยคนี้แล้วว่า ถ้าตถาคตกล่าว แล้วก็ต้องเป็นเรื่องเนื่องด้วยสุญญตา ถ้าไม่เนื่องด้วยสุญญตาก็คือตถาคตไม่กล่าว, ข้อความมันไปชัดอยู่ที่ข้อความหลังๆ ที่ยืดยาวออกไป แต่ว่าตัวสูตรตัวหลักมีเพียงเท่านี้
    …. ทีนี้ ก็มาคู่กันกับเรื่องที่ “ พระพุทธเจ้าท่านไม่กล่าว ” ก็มีตัวบทขึ้นมาอย่างเดียวกันอีกว่า…
    - เย เต สุตฺตนฺตา – ระเบียบแห่งสูตรทั้งหมดเหล่าใด
    - กวิกตา - ที่พวกกวีทำขึ้น
    - กาเวยฺยา - อยู่ในลักษณะของกาพย์กลอน คือว่าไม่ควรใช้คำว่ากาพย์กลอน ควรจะใช้คําว่ากวีนิพนธ์ อยู่ในลักษณะของกวีนิพนธ์
    - จิตฺตกฺขรา - มีตัวอักษรอันวิจิตร
    - จิตฺตพฺยญฺชนา – มีพยัญชนะอันวิจิตร
    - พาหิรกา เป็นเรื่องภายนอก
    - สาวกภาสิตา - เป็นคำที่สาวกภาษิต, เป็นคำสาวกกล่าว
    …. นี่นับดูว่ามีเท่าไร? ๖ คำอีกเหมือนกัน
    …. กวิกตา พวกกวี นักอักษรศาสตร์ที่มีปัญญาทั้งนั้น ร้อยกรองขึ้นมา.
    …. กาเวยฺยา อยู่ในรูปของกวีนิพนธ์ คือเป็นกาพย์กลอน ก็ได้ เป็นร้อยแก้ว ก็ได้ แต่มันเป็นรูปที่สละสลวยอย่างกวีนิพนธ์
    …. จิตฺตกฺขรา ใช้ตัวอักษรวิจิตร
    …. จิตฺตพฺยญฺชนา ใช้ตัวพยัญชนะวิจิตร อักขระกับพยัญชนะนี้ ที่จริงมันก็แทนกันได้.
    …. ตัวอักษรและตัวพยัญชนะในภาษาไทยเราถือว่าเหมือนๆ กัน แต่ถ้ามองโดยละเอียดลงไป ตามแบบของอักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ของอินเดีย เขาแยกออกจากกัน รูป ตัวหนังสือเรียกว่า อักขรา, ตัวหนังสือ เรียกว่า พยัญชนะ, ภาษาไทยเรามาใช้ว่าตัว ก ข ค ง นี้เป็นตัวพยัญชนะ ออกเสียงเป็นอย่างนั้น, ตัวอักษร รูปตัวอักษร เป็นอักขระ คล้ายๆว่ารูปตัวอักษรก็สวย พยัญชนะก็สวย พยัญชนะและเล็งทั้งสระ เรียกว่าตัวอักษรทั้งนั้น.
    …. พยัญชนะในที่นี้ มีความหมายไกลออกไป : คำว่าพยัญชนะที่คู่กันกับสระ เป็นรูปตัวหนังสือกับรูปของคำที่เกิดขึ้นจากตัวหนังสือ. เอาละ รวมกันเสียก็ได้ว่า ภาษามีอักขระและพยัญชนะวิจิตร ต่างจากธรรมดาตรงที่ว่า ไพเราะกว่า ; ถ้าธรรมดาก็ไม่ได้หมายถึงวิจิตร ไม่ไพเราะ
    …. คำว่า พาหิรกา : พาหิร แปลว่า ภายนอก พาหิรกา - เป็นไปในภายนอก คือมันนอกเรื่อง. ถ้าจะแปลสั้นๆ : พาหิรกา แปลว่า นอกเรื่อง นอกเรื่องของใคร? นอกเรื่องของเรา นอกเรื่องของเราพุทธบริษัทที่จะดับทุกข์โดยตรง ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ; ถ้ามันไม่เป็นอย่างนี้ก็เรียกว่า พาหิรกา กลายเป็นนอกเรื่อง เตลิดเปิดเปิงออกไปจากศาสนา หมายความว่าไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ถึงแม้จะเกี่ยวและอยู่ในขอบวงของพุทธศาสนาก็เป็นของใหม่ เหมือนกับที่เราเคยพูดกันอย่างละเอียดแล้วว่า พุทธศาสนาที่มีในหลายแง่หลายมุม.
    .
    พุทธศาสนาต้องอยู่ในฐานะที่เป็นเครื่องดับทุกข์โดยตรง
    …. พุทธศาสนาในฐานะที่จะเป็นเครื่องดับทุกข์โดยตรงนี้ เราเรียกว่า พุทธศาสนาในฐานะที่เป็น“ศาสนา” หรือเป็น religion ; แต่ถ้าพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นปรัชญา เป็นวรรณคดี เป็นศิลปะ เป็นอะไรมากมายออกไปอีกหลายอย่าง นั่นแหละคือจะนอกเรื่อง คือ “ส่วนเกิน” อยู่นอกขอบเขตของการดับทุกข์ ละก็เรียกว่า “ส่วนเกิน” คือ นอกเรื่อง เป็น “พาหิรกา” ก็ได้. ทีนี้ มันจะเตลิดเปิดเปิงไปเป็นเรื่องศาสนาอื่นก็ได้ โดยพระสาวกผู้นั้นไม่รู้ ไปเอาศาสนาอื่น ศาสนาพราหมณ์ มากล่าวไว้ในพุทธศาสนา...ฯ”
    .
    พุทธทาสภิกขุ
    ที่มา : ธรรมบรรยายชุดสุญญตาธรรม ลำดับที่ ๑ หัวข้อเรื่อง “สุญญตา เป็นเรื่องทั้งหมดของพุทธสาสนา” บรรยายเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๔ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒” หน้า ๒๗๓ – ๒๗๖
    ----------------------------------------------
    .
    “สุญญตา” คือ ตัวแท้ของพุทธศาสนา
    แต่อาจเปลี่ยนแปลงไปเสมือนเนื้อกลอง “อานกะ
    .
    …. “ ทําไมจึงได้พูดเรื่อง “สุญญตา” คือตัวพุทธศาสนาเดิมแท้? นี่ก็เพราะเหตุที่ว่า จะได้รู้จักเนื้อเดิมแท้ โดยแยกออกมาเสียได้จากเนื้อพอกใหม่ของพุทธศาสนา ; ไม่ว่าศาสนาไหนจะต้องมีอาการอย่างนี้ทั้งนั้น คือมีของเดิมแท้ที่พระศาสดาได้สั่งสอนไว้อย่างไร แล้วค่อยๆ มีเรื่องเรียกว่า “เนื้อพอกใหม่” หรือเนื้องอกใหม่ ที่ค่อยๆมีขึ้นตามกาลเวลา, แล้วปัญหามันก็เกิดขึ้นตรงที่ว่า คนมาหลงเนื้อพอกใหม่แทนเนื้อเดิมแท้ โดยไม่รู้สึกตัว
    …. เนื้อพอกใหม่นี้มาแทนเนื้อเดิมแท้ โดยที่ดูไม่ออก, ดูออกไม่ง่ายสําหรับคนทั่วๆไป เพราะว่ามันค่อยๆงอกทีละนิดโดยไม่รู้สึกตัว, มันผันแปรมาทีละนิดโดยไม่มีใครจะสังเกต หรือไม่ทันจะสังเกตเห็น นี่คือข้อที่ทําให้เกิดเป็นปัญหายุ่งยาก คือข้อที่มันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดขึ้นมาแทนของเดิมนี้ “โดยไม่รู้สึกตัว” เสร็จแล้วผลลัพธ์หรือคุณค่าของมันก็เปลี่ยนไปโดยไม่รู้สึกตัวด้วยเหมือนกัน ไม่มีใครรู้ว่านี่มันได้มีการเปลี่ยนแปลง แม้ในส่วนที่เป็นผลของเรื่องนี้ มันไม่เหมือนกับที่เราจะเปลี่ยนอะไหล่ให้แก่รถยนต์ หรือเรือ หรืออะไร ซึ่งเปลี่ยนชนิดที่เรียกว่าทดแทนของเก่าเป็นส่วนๆ เอามาใส่ให้มันดีเหมือนเดิม
    …. เราอาจจะเปลี่ยนรถคันหนึ่ง ทุกๆชิ้นทุกส่วนที่ชํารุด ให้ดีเหมือนเดิมได้ หรือบางทีจะดีกว่าเดิมก็ได้ ถ้าเราตั้งใจจะทํา อย่างนี้ไม่ใช่เนื้องอกใหม่ หรือไม่ใช่เนื้อพอกใหม่ ; หมายความว่ามันเป็นชิ้นส่วนซึ่งแทนที่ของเดิมได้ เป็นส่วนๆ เป็นชิ้นๆไป มันก็ใหม่หรือถูกต้องอยู่เสมอ เราอาจจะเปลี่ยนรถยนต์คันหนึ่งทุกส่วน ให้ดีเหมือนเดิมได้ หรือดีกว่าเดิมได้ อย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นเนื้องอกใหม่
    …. ความเปลี่ยนแปลงของหลักธรรมะเรื่อง “สุญญตา” นั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสเปรียบเหมือนกับการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นการอุดปะใหม่ของกลองใบหนึ่งเรื่อยๆไป, แม้ว่ามันยังจะเป็นรูปกลองอยู่ได้ แต่เสียงหรือคุณภาพมันเพี้ยนไป เช่นอย่างน้อยเสียงก็ต้องเพี้ยนไป.
    …. มีพระบาลีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในสูตรๆหนึ่ง เป็นเรื่องอุปมาให้เข้าใจได้ดีที่สุด คือเรื่องกลอง สําหรับใช้ในกองทัพของกษัตริย์พวกหนึ่ง ในสมัยดึกดําบรรพ์ กษัตริย์พวกทสารหะ อยู่ในกลุ่มพวกปาณฑพของมหาภารตยุทธ ; พวกนี้มีกลองสําหรับประจํากองทัพใช้มาเรื่อยๆ ชื่อกลอง “อานกะ”, การที่มีชื่อเรียกอย่างนี้นั้น หมายความว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีอุดมคติ มีคําขวัญอะไรอยู่ในนั้น
    …. กลองนี้ทําด้วยไม้ หุ้มด้วยหนัง มีส่วนชํารุดที่ตัวกลอง เพราะเวลานานเข้า สืบมาหลายชั่วอายุคน ; ไม้บางส่วนเริ่มเสียไป เพราะผุกร่อน ก็ต้องแก้ไข คือว่าควักเอาส่วนที่เสียผุกร่อนนั้นออก แล้วก็ปะเนื้อไม้ใหม่อุดเข้าไปให้ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้ จนเป็นรูปกลองอยู่เหมือนเดิม. ต่อมาเกิดมีแผลผุหรือเนื้อไม้เสียตรงจุดอื่นอีก เจ้าหน้าที่ก็ต้องเอาไม้ใหม่มาปะอุดแทนไม้ส่วนเสียที่ควักออก
    คุณลองทํามโนภาพให้เห็นภาพพจน์อันนี้ให้ชัดเจน ว่ากลองนั้นจะอยู่ในลักษณะอย่างไรมากขึ้นๆ : จนมาถึงสมัยหนึ่ง มาตรวจดูปรากฏว่า เนื้อไม้ของเก่าไม่เหลืออยู่เลย เต็มไปแต่ไม้ใหม่ที่ปะประสานกันอยู่ยุ่ง เหมือนเนื้อไม้อัดบางชนิดสมัยนี้.
    …. ก็เป็นอันว่า ไม้เนื้อเดิมมิได้เหลืออยู่เลย มีแต่เนื้อใหม่ประสานกันอยู่ยุ่งไปหมด แล้วผลมันจะเป็นอย่างไร? มันก็มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป เช่นเสียงจะไม่เหมือนเดิมเป็นต้น แล้วความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ของคนทั้งหลายต่อกลองใบนั้นมันก็เปลี่ยนไป มีผลถึงกับจะต้องทําให้หากลองอันใหม่
    .
    …. พระพุทธเจ้าท่านตรัสเล่าเรื่องนี้ โดยมีพระประสงค์ที่จะทรงแสดงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา คือเกี่ยวกับธรรมวินัยของพระองค์ เลยตรัสต่อไปว่า :
    .
    …. “ภิกษุทั้งหลาย! จักมีสมัยหนึ่ง ซึ่งภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้ จะมีความเหินห่างไม่แยแส ไม่ตั้งใจสดับ ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ตั้งใจปฏิบัติต่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่ตถาคตได้กล่าวไว้ ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นเรื่องเหนือโลก คือ สุตตันตะทั้งหลายที่เนื่องเฉพาะด้วยเรื่อง“สุญญตา”, แต่ว่าสุตตันตะทั้งหลายเหล่าใด อันสาวกได้ทําขึ้น อันกวีได้ทําขึ้น อยู่ในรูปของกาพย์กลอน วิจิตรไพเราะด้วยตัวอักษร ด้วยพยัญชนะ เป็นเรื่องนอกแนว. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นพากันสนใจ พากันเงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง รับเอาไปยึดถือ”;
    .
    ….เมื่อเป็นอย่างนี้คําสอนของพระพุทธเจ้าก็จะค่อยๆเลือนไป มีคําสอนของคนรุ่นหลังเข้าไปแทน ก็จะเหมือนเนื้อกลองใบนั้น” ทีนี้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความเพี้ยนไปก็จะค่อยเกิดขึ้นๆตามลําดับ จนมีความเลอะเลือนแก่สิ่งที่เรียกว่าธรรมะและวินัย, จะเลอะเลือนในหลักสําคัญนี้ ทั้งฝ่ายธรรมะและวินัย ตรงนี้พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า “ธรรมะเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน, วินัยเลอะเลือนเพราะธรรมะเลอะเลือน”
    .
    พุทธทาสภิกขุ
    ที่มา : ธรรมบรรยายชุดสุญญตาธรรม ครั้งที่ ๓ หัวข้อเรื่อง “เรื่องเกี่ยวกับสุญญตาคือพุทธศาสนาเดิมแท้” เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๔ จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เล่มชื่อว่า “สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒” หน้า ๒๙๘-๓๐๐
    ## ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ – รวบรวม. ##
    .
     
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ..... “ พระพุทธเจ้าเองได้ตรัสไว้ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว ธรรมวินัยที่ทรงแสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลายนั้น จะเป็นศาสดาแทนพระองค์สืบต่อไป ธรรมวินัยนั้นเวลานี้อยู่ที่ไหน ก็รักษาไว้ในพระไตรปิฎก...ฯ
    ..... ควรจะยกพุทธพจน์ที่ตรัสเมื่อจะปรินิพพาน มาย้ำเตือนพุทธศาสนิกชนกันไว้เสมอๆ ว่า...
    ..... “ โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต, โส โว มมจฺจเยน สตฺถา ”
    ….. ( ที. ม. ๑๐/๑๔๑/๑๗๘ )
    แปลว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย, ธรรมและวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไป”
    ..... เวลานี้ ธรรมวินัยที่ทรงตั้งไว้เป็นศาสดาแทนพระองค์อยู่ที่ไหน ก็อยู่ในพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้น จึงถือว่าพระไตรปิฎกเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้า”
    .
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
    ที่มา : หนังสือ “กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย” ( ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ )
    IMG_4239.jpeg
     
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    เราชาวพุทธควรตื่นตัวต่อภัยคุกคามพระพุทธศาสนา
    หลักการสําคัญของพระพุทธศาสนามีความชัดเจนแน่นอนใน“พระไตรปิฎก”
    ตราบใดที่พระไตรปิฎกยังมีอยู่ ตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่
    .
    ..... “ แต่นับว่าเป็นเรื่องแปลกและน่าใจหาย ที่คนสมัยนี้กลับไม่เข้าใจว่า พระไตรปิฎกคืออะไร ทําไมต้องรักษาพระไตรปิฎก ทําไมต้องเอาพระไตรปิฎกมาเป็นมาตรฐานหรือเป็นเกณฑ์วินิจฉัยว่า อะไรเป็นธรรม วินัย อะไรเป็นคําสอนของพระพุทธเจ้า หากปราศจากความเข้าใจพื้นฐานเช่นนี้เสียแล้ว บางคนก็อาจไปไกลถึงขนาดที่ทึกทักเอาผิดๆว่า คําสอนของพระพุทธเจ้าใครจะว่าอย่างไรก็ได้
    ..... นอกจากนี้ ยังมีความสับสนระหว่าง ตัวหลักการของพระศาสนาเอง กับ ความคิดเห็นส่วนบุคคล ความสับสนนี้ซึ่งก็คงเกี่ยวเนื่องกับปัญหาแรก ย่อมนําไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมายอย่างแน่นอน
    ..... ถ้าเราถามว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร หรือสอนเรื่องอะไรว่าอย่างไร เราก็ต้องไปดูพระไตรปิฎกเพื่อหาคําตอบ เพราะเราไม่มีแหล่งอื่นที่จะตอบคําถามนี้ได้
    ..... แต่ถ้าเขาถามว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างนี้แล้วคุณจะว่าอย่างไร เราจะคิดอย่างไรก็เป็นสิทธิของเรา เป็นเสรีภาพของเราที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
    ..... แม้แต่ในกรณีหลัง เพื่อความเป็นธรรมต่อพระศาสดาเราก็ควรจะศึกษาคําอธิบายของท่านในคัมภีร์ต่างๆ ให้ชัดแจ้งก่อน แล้วจึงมาสรุปสิ่งที่ศึกษามาแล้ว ถ้าสรุปดีก็ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน สรุปไม่ดีก็ผิดพลาดก็ต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป แต่อย่างน้อยก็ต้องแยกให้ชัดอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไรก็ว่าไปตามคําสอนของพระองค์โดยซื่อสัตย์ แล้วเราเห็นว่าอย่างไร ก็ว่าไปตามอิสระที่เราเห็น แต่เวลานี้คนว่ากันนุงนังสับสนไปหมด
    ..... ที่จริงนั้น หลักการสําคัญของพระพุทธศาสนามีความชัดเจนแน่นอน และไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความคิดเห็นหรือคาดเดา แต่เป็นเรื่องของหลักฐานที่ชาวพุทธถือกันว่ามาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง คือมาใน“พระไตรปิฎก” และมีคัมภีร์อรรถกถาเป็นต้นอธิบายประกอบ ซึ่งชาวพุทธทุกยุคสมัยถือว่าเป็นเนื้อเป็นตัวของพระศาสนา เป็นหลักสําคัญที่สุด และได้เพียรพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ให้แม่นยํา ด้วยการทรงจํา ศึกษาเล่าเรียน และมีการ สังคายนาเป็นงานใหญ่หลายยุคสมัยตลอดมา
    .....# ใครก็ตามที่กล่าวอ้างว่าตนปฏิบัติได้โดยไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎก ก็คือพูดว่าตนปฏิบัติได้โดยไม่ต้องอาศัยพระพุทธเจ้า เมื่อเขาปฏิบัติโดยไม่อาศัยคําตรัสสอนของพระพุทธเจ้า เราจะเรียกการปฏิบัตินั้นว่าเป็นพระพุทธศาสนาได้อย่างไร? แน่นอนว่า นั่นเป็นการปฏิบัติลัทธิความเชื่อหรือความคิดเห็นของตัวเขาเอง หรือของใครอื่นที่คิดข้อปฏิบัตินั้นขึ้นมา หรืออย่างดีก็เป็นความที่เอามาเล่าต่อจากพระไตรปิฎกแบบฟังตามๆกันมา ซึ่งเสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน
    ..... ดังนั้น ชาวพุทธทุกคนจึงควรเฝ้าจับตาระแวดระวังบุคคล ๒ ประเภท คือ
    ..... (๑) ประเภทที่สร้างความสับสนระหว่างพุทธพจน์ที่แท้กับความคิดเห็นของตน โดยอ้าง“เสรีภาพทางวิชาการ” แฝงมาในรูปที่เรียกว่า“งานวิจัยทาง วิชาการ” และ
    ..... (๒) ประเภทที่อ้างว่าสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องอาศัยพระพุทธเจ้า
    ..... บุคคล ๒ ประเภทนี้ ซึ่งหาได้ไม่ยากนักในสังคมปัจจุบันของเรา ย่อมสามารถสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อพระศาสนาในระยะยาวได้โดยแท้ ยิ่งเมื่อมีผู้คล้อยตามด้วยหลงเชื่อโดยง่ายเป็นจํานวนมาก
    ..... เราจึงควรตื่นตัวต่อภัยคุกคามและร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาด้วยการส่งเสริมสัมมาปฏิบัติโดยอิงอาศัยคําสอนที่แท้ ซึ่งเราจะต้องช่วยกันรักษาให้บริสุทธิ์ อันที่จริงถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมาฟื้นฟูชาวพุทธให้กลับไปสู่พระธรรมวินัย ให้รู้จักศึกษาพระไตรปิฎกกันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
    ..... อย่างที่กล่าวแล้วก่อนหน้านี้ ตราบใดที่พระไตรปิฎกยังมีอยู่ ตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ พระพุทธศาสนาอันเป็นของแท้ดั้งเดิม ดังนั้น ตราบใดที่ยังมีพระไตรปิฎกอยู่ เราก็ยังมีโอกาสที่จะรู้จักพระพุทธศาสนาและได้รับประโยชน์ที่แท้จริงที่พึงได้จากพระศาสนาอันประเสริฐนี้”
    .
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
    ที่มา : บทความชื่อเรื่อง “พระไตรปิฎก : สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้” ฉบับภาษาไทย ( พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ ข้อความข้างต้น หน้า ๖๗ – ๖๙ )
    IMG_4423.jpeg
     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27



    โลกธาตุของใคร?
    ชมพูทวีป ฯ สวรรค์ นรก ของใคร?

    ใครไม่มีสวรรค์ ความดีอันว่างเปล่าเพราะทิฐิชั่ว !



    IMG_4419.jpeg


    อัญเดียรถีย์

    บางทีก็แฝงอยู่ในพระศาสนานี้เอง

    อ่านว่า อัน-ยะ-เดีย-ระ-ถี

    ประกอบด้วยคำว่า อัญ + เดียรถีย์

    (๑) “อัญ”

    บาลีเป็น “อญฺญ” (อัน-ยะ, ญ หญิง 2 ตัว) รากศัพท์มาจาก น (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ญา (ธาตุ = รู้) + อ (อะ) ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, ซ้อน ญฺ ระหว่างนิบาตกับธาตุ (น + ญฺ + ญา), “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ ญา (ญา > ญ)

    : น > อ + ญฺ + ญา = อญฺญา > อญฺญ + อ = อญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาไม่รู้”

    “อญฺญ” (คุณศัพท์) หมายถึง อื่น, ไม่เหมือนกัน, ต่างกัน, อันอื่น, คนอื่น (other, not the same, different, another, somebody else)

    “อญฺญ” ภาษาไทย ถ้าเป็นส่วนหน้าของคำสมาส ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “อัญ-”

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

    “อัญ-, อัญญะ : (คำวิเศษณ์) อื่น, ต่างไป, แปลกไป. (ป. อญฺญ; ส. อนฺย).”

    (๒) “เดียรถีย์”

    บาลีเป็น “ติตฺถิย” รากศัพท์มาจาก ติตฺถ + อิย ปัจจัย

    (ก) “ติตฺถ” (ติด-ถะ) รากศัพท์มาจาก ตรฺ (ธาตุ = ข้าม) + ถ ปัจจัย, แปลง อะ ที่ ต-(รฺ) เป็น อิ, แปลง ร เป็น ต (ตรฺ > ติรฺ > ติตฺ)

    : ตรฺ + ถ = ตรถ > ติรถ > ติตฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่เป็นเครื่องข้ามฟาก” (2) “ที่เป็นที่ข้ามฟาก” (3) “ความเห็นเป็นที่ให้สัตว์ทั้งหลายกระโดดดำผุดดำว่ายอยู่ในทิฐิหกสิบสอง”

    หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “ติตฺถ” ว่า ท่าน้ำ, ครูอาจารย์, เหตุ, ลัทธิ, ทิฐิ, น้ำศักดิ์สิทธิ์

    พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ติตฺถ” ดังนี้ –

    (1) a fording place, landing place, which made a convenient bathing place (สถานที่ลุยน้ำข้ามฟาก, ท่าน้ำซึ่งเป็นสถานที่อาบน้ำอย่างเหมาะเจาะ)

    (2) a sect (นิกายทางศาสนา)

    ในที่นี้ “ติตฺถ” ซึ่งแต่เดิมหมายถึง ท่าน้ำ แต่ความหมายโดยนัยกลายเป็นนิกายทางศาสนา

    (ข) ติตฺถ + อิย ปัจจัย

    : ติตฺถ + อิย = ติตฺถิย แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบในลัทธิ”

    บาลี “ติตฺถิย” ภาษาไทยใช้เป็น “เดียรถีย์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

    “เดียรถีย์ : (คำนาม) นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล. (ส. ตีรฺถิย; ป. ติตฺถิย).”

    อญฺญ + ติตฺถิย = อญฺญติตฺถิย (อัน-ยะ-ติด-ถิ-ยะ) แปลตามศัพท์ว่า “พวกประกอบในลัทธิอื่นโดยอาการที่ไม่รู้” หมายถึง ผู้ถือลัทธิอื่น, ผู้มิใช่ชาวพุทธ, เดียรถีย์ (an adherent of another sect, a non-Buddhist)

    “อญฺญติตฺถิย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อัญดิตถีย์” (อัน-ยะ-ดิด-ถี) และ “อัญเดียรถีย์” (อัน-ยะ-เดีย-ระ-ถี)

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

    “อัญดิตถีย์, อัญเดียรถีย์ : (คำนาม) พวกที่มีความเชื่อถืออย่างอื่น, พวกนอกพระพุทธศาสนา. (ป. อญฺญติตฺถิย; ส. อนฺย + ตีรฺถฺย).”

    อภิปรายขยายความ :

    “ติตฺถ” ตามตัวแปลว่า “ข้ามไป” ความหมายที่เข้าใจกันคือ ท่าน้ำ, ท่าเรือ, ฝั่ง, ท่าลง, ช่องลง, อวตาร (การลงมาแก้ปัญหา), ผู้สอน, ครู, อุบาย, ทฤษฎี, ลัทธิ, ความเชื่อถือ

    แนวคิดเชิงปรัชญามองว่า

    – ปัญหาชีวิตเปรียบเหมือนฟากฝั่งที่กำลังยืนอยู่

    – การแก้ปัญหาได้สำเร็จหรือหลุดพ้นจากปัญหาเปรียบเหมือนการข้ามไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง

    – ผู้ทำหน้าที่ชี้ทางแก้ปัญหาเปรียบเหมือนท่าน้ำอันเป็นที่ข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

    “ติตฺถิย” มีความหมายตามศัพท์ว่า “ผู้อยู่ในฐานะเป็นท่าน้ำ” (เป็นความหมายเชิงปรัชญา)

    “ติตฺถิย – เดียรถีย์” คำเดิมจึงหมายถึง “เจ้าลัทธิ”

    พระศรีศากยมุนีโคดมทรงศึกษาคำสอนของเจ้าลัทธิทั้งปวงจบสิ้นแล้วจึงทรงประกาศพระพุทธศาสนาอันมีคำสอนที่แตกต่างจากลัทธิทั้งหลายโดยสิ้นเชิง คำว่า “เดียรถีย์” จึงมีความหมายว่า “เจ้าลัทธินอกพระพุทธศาสนา”

    เรามักใช้คำว่า “เดียรถีย์” ในความหมายว่า ผู้กระทำการลบหลู่จ้วงจาบพระพุทธศาสนาหรือแสดงคำสอนที่วิปริตผิดธรรมวินัย

    เส้นแบ่งความหมายที่น่าจะชัดเจน คือ –

    1 ผู้กระทำการลบหลู่จ้วงจาบพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นบุคคลภายนอก เรียกว่า “เดียรถีย์” ถ้าเป็นบุคคลภายในก็ขาดจากความเป็นชาวพุทธทันที

    2 พระสงฆ์ที่ประพฤติล่วงละเมิดหรือแสดงคำสอนที่วิปริตผิดธรรมวินัย มีคำเรียกอยู่แล้วว่า “อลัชชี” (ผู้ไร้ยางอาย)

    “เดียรถีย์” และ “อัญเดียรถีย์” มีความหมายเหมือนกัน

    ภาษาไทยมักพูดกันว่า “เดียรถีย์” และแทบจะไม่มีใครรู้จักคำว่า “อัญเดียรถีย์”

    ความจริงเตือนใจ :

    – พระพุทธศาสนาไม่มีคำสอนและไม่เคยมีประวัติที่ทำลายหรือทำร้ายต่างศาสนา

    – เคยมีแต่ถูกทำลายหรือถูกทำร้ายโดยต่างศาสนา รวมทั้งโดยผู้ที่อยู่ในพระพุทธศาสนาด้วยกันนี่เอง-โดยเฉพาะที่มีความเห็นและความประพฤติวิปริผิดจากคำสอนที่ถูกต้อง

    เพิ่มความชัดเจน

    IMG_4424.jpeg
    IMG_4425.jpeg

    IMG_4448.jpeg
    IMG_4449.png
     
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    นึกออกไหม! ว่าผู้จะเข้าถึงฝั่งพุทธภูมิเป็นเช่นไร?

    เรากำลังแสดงถึงอะไร? มีกี่นัยยะ!

    เพื่อประโยชน์แค่ตัวเราเองหรือเพื่อผู้อื่นนั้นด้วย!

    ยังมิใช่สมัย มิใช่วาระ!

    แต่มีธรรมวาระ

    ผู้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรทั้งหลายก็สามารถเช่นเดียวกัน

    ขึ้นอยู่กับว่า ปรารถนา หรือไม่!





    IMG_5082.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2024
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27


    อยู่เฉยๆไม่ได้!

    ต้องลงเขาแล้ว!

    แม้หนทางยังอีกยาวไกล!

    เห็นเกวียนพระไตรปิฎกเมื่อไหร่ก็เห็นเรา!
    IMG_3055.jpeg







    IMG_5418.jpeg

    IMG_5417.jpeg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5430.jpeg
      IMG_5430.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      65.8 KB
      เปิดดู:
      12
    • IMG_5431.png
      IMG_5431.png
      ขนาดไฟล์:
      691.3 KB
      เปิดดู:
      10

แชร์หน้านี้

Loading...