สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำหรับผู้ที่ยังแยกความแตกต่างของมหาศีล และ ติรัจฉานวิชา ยังไม่ออก ไปพิจารณาใหม่ครับ เรื่องการทำนายทายทักลักษณะ ว่าไม่ให้ไปทำมาหากินในลักษณะนั้น มันหมายถึงอะไร? จำเพาะลักษณะนี้เพื่อใคร? เชื่อได้หรือไม่ได้

    เมื่อไม่ได้แสดงการพยากรณ์เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ แต่เป็นไปในทางที่เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ นี่ไม่ใช่ ติรัจฉานวิชา หรือขวางทางธรรมแต่อย่างใด เพราะเป็นการเกื้อหนุนให้ในการเจริญเข้าสู่พระสัทธรรม


    ประวัติพระนาลกเถระ




    การที่ท่านพระนาลกเถระ ท่านนี้ได้รับโอวาทจากพระบรมศาสดาในเรื่องการปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นปฏิปทาที่ทำได้โดยยาก ทำให้เกิดความยินดีได้ยาก และท่านได้สมาทานการปฏิบัติดังกล่าวอย่างอุกฤษฏ์ ซึ่งการปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์นี้ ในพุทธธันดรหนึ่ง จะมีพระที่ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ได้เพียงท่านเดียว และในพุทธันดรนี้พระเถระที่ปฏิบัติได้ก็คือท่านพระนาลกเถระผู้นี้เอง ที่เป็นดังนั้นเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในการนั้นไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อท่านได้เกิดมาและเติบใหญ่แล้ว วันหนึ่งท่านได้เห็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา (ปฏิบัติเพื่อความเป็นมุนี) จึงปรารถนาที่จะเป็นเช่นนั้นบ้างจึงตั้งความปรารถนาและบำเพ็ญบารมีตลอดแสนกัป เพื่อผลดังกล่าว

    กำเนิดเป็นนาลกมาณพในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านมีกำเนิดในวรรณะพราหมณ์ เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เป็นบุตรของน้องสาวของท่านอสิตฤๅษี บิดามารดาเรียกชื่อว่า นาลกะ ตระกูลของท่านเป็นตระกูลใหญ่มี ทรัพย์ได้ ๘๗ โกฏิ

    ประวัติอสิตฤๅษีผู้เป็นลุงของพระเถระ

    อสิตฤษีนี้เป็นปุโรหิตของ พระเจ้าสีหหนุพระชนกของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้เป็นอาจารย์บอกศิลปะแต่ครั้ง พระเจ้าสุทโธทนะยังมิได้ครองราชย์ย์ ครั้นครองราชย์แล้วพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นปุโรหิต เมื่ออสิตพราหมณ์เข้ามารับราชการในพระราชวังทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า พระเจ้าสุทโธทนะก็มิได้ทรงทำความเคารพเหมือนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงกระทำเพียงยกพระหัตถ์ประนมเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามราชประเพณีของเจ้าศากยะทั้งหลายที่ได้อภิเษกแล้ว

    ต่อมาอสิตปุโรหิตเบื่อหน่ายด้วยการรับราชการ จึงกราบทูลพระมหาราชว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จะบรรพชาพระเจ้าข้า พระราชาทรงทราบว่าอสิตปุโรหิตมีความแน่วแน่ที่จะออกบวช จึงตรัสขอร้องว่า ท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านอาจารย์อยู่ในอุทยานของข้าพเจ้าเถิด โดยที่ข้าพเจ้าจะไปเยี่ยมท่านอาจารย์เสมอ ๆ ปุโรหิตรับกระแสพระดำรัสแล้ว บรรพชาเป็นดาบส พระราชาทรงอุปถัมภ์อยู่ในส่วนนั่นเอง ดาบสกระทำกสิณบริกรรมยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว ตั้งแต่นั้นมา อสิตดาบสนั้นก็ไปฉันในราชตระกูล แล้วไปพักกลางวัน ณ ป่าหิมพานต์ หรือบนสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา หรือในนาคพิภพเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง

    อสิตฤๅษีทำนายลักษณะพระกุมารสิทธัตถะ

    วันหนึ่งขณะที่ท่านฤๅษีนั่งพักผ่อนกลางวันในดาวดึงส์พิภพอยู่นั้น ก็เห็นเหล่าเทวดา ขับระบำรำฟ้อน มีใจชื่นชม มีปีติโสมนัสอย่าง เหลือเกินนั้น ก็แปลกใจเพราะไม่เคยเห็นเหล่าเทวดามีปิติโสมนัสอย่างเหลือเกินเช่นนี้มาก่อน จึงถามถึงสาเหตุนั้นกับเหล่าเทวดา เทวดาทั้งหลายก็ตอบท่านฤๅษีว่า บัดนี้พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะอุบัติขึ้นแล้ว ต่อไปพระองค์จักประทับนั่งที่ลานแห่งต้นโพธิแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมจักร พวกข้าพเจ้าต่างยินดีเพราะเหตุนี้ว่า พวกเราจักได้เห็นพระพุทธองค์ และจักได้ฟังพระธรรมของพระองค์

    ดาบสนั้นฟังคำของเหล่าเทวดาแล้ว ก็ลงจากเทวโลกทันที ตรงเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ได้ยินว่าพระราชโอรสของพระองค์อุบัติแล้ว อาตมภาพอยากเห็นองค์พระกุมาร พระราชาจึงมีรับสั่งให้พาพระราชกุมารมา แล้วทรงอุ้มไปเพื่อให้นมัสการดาบส พระบาททั้งสอง ของพระโพธิสัตว์กลับไปประดิษฐานอยู่บนชฎาของดาบส

    ความจริงนั้น ชื่อว่าพระมหาสัตว์จะพึงไหว้ใครนั้นไม่มี ถ้าคนผู้ไม่รู้วางศีรษะของพระโพธิสัตว์ที่เท้าของดาบส ศีรษะของดาบสนั้นพึงแตกออก ๗ เสี่ยง ดาบสคิดว่า เราไม่สมควรทำตนให้พินาศเช่นนั้น จึงลุกจากอาสนะแล้วยกมือไหว้พระโพธิสัตว์ พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงทรงไหว้บุตรของตน

    ดาบสนั้นระลึกได้ชาติ ๘๐ กัป คือ ในอดีต ๔๐ กัป ในอนาคต ๔๐ กัป เห็นลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์ จึงใคร่ครวญดูว่า เธอจักได้ เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ทราบว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยมิต้องสงสัย ท่านเห็นว่าพระราชบุตรนี้เป็นอัจฉริยบุรุษ จึงได้ยิ้มขึ้น ต่อนั้นจึงใคร่ครวญต่อไปว่า เราจักได้ทันเห็นความเป็นพระพุทธเจ้านี้หรือไม่หนอ ก็เห็นว่า เราจักไม่ได้ทันเห็น จักตายเสียก่อน แล้วจักไปบังเกิดในอรูปภพ ซึ่งที่นั้น แม้พระพุทธเจ้าตั้งร้อยพระองค์ก็ดี ตั้งพันพระองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถที่จะเสด็จไปโปรดเพื่อให้เราตรัสรู้ได้ แล้วคิดว่าเราจักไม่เห็นอัจฉริยบุรุษผู้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นนี้ เราจักมีความเสื่อมใหญ่ คิดถึงตรงนี้แล้วก็ร้องไห้ออกมา พระราชาทรงเห็นดังนั้นแล้วจึงเรียนถามว่า ท่านนั้น เมื่อสักครู่ก็หัวเราะออกมา แล้วกลับมาร้องไห้อีกเล่า ข้าแต่ท่านดาบส อันตรายอะไรจักเกิด แก่พระลูกเจ้าของพวกเราหรือ ดาบสตอบว่า พระกุมารจักไม่มีอันตราย จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย

    ครั้นเมื่อทรงถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ออกมาเล่า ดาบสตอบว่า เราเศร้าโศกถึงตนว่า จักไม่ได้ทันเห็นพระมหาบุรุษผู้เป็นพระ พุทธเจ้าเช่นนี้ ความเสื่อมใหญ่จักมีแก่เราดังนี้ จึงได้ร้องไห้

    อสิตฤๅษีจัดการให้หลานชายออกบวชเป็นดาบส

    ต่อจากนั้นเมื่อออกมาจากพระราชวังแล้ว อสิตฤษี รู้ด้วยกำลังปัญญาของตนว่าตนมีอายุน้อย จึงพิจารณาว่า ในวงญาติของเรามีใครบ้างจักได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้มองเห็นนาลกทารกผู้เป็นหลาน เป็นผู้ได้สะสมบุญไว้ตั้งแต่ ศาสนาพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า และคิดว่านาลกมาณพถ้าเติบใหญ่ขึ้นพอมีปัญญาแล้วจะตั้งอยู่ในความประมาท ท่านนั้นเพื่อจะอนุเคราะห์นาลกมาณพนั้น จึงไปยังเรือนของน้องสาว แล้วถามว่า นาลกะ บุตรของเจ้าอยู่ไหน นางผู้เป็นน้องสาวตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เขาอยู่ในเรือน ท่านดาบสจึงสั่งให้เรียกเขามา เมื่อนาลกมาณพมาแล้ว ท่านดาบสก็พูดกับเขาว่า นี่แน่ะพ่อ บัดนี้พระราชโอรสอุบัติแล้วในตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเป็นหน่อพุทธางกูร พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อล่วงได้ ๓๕ ปี เจ้าจักได้เห็นพระองค์ เจ้าจงบวชในวันนี้ทีเดียว

    ในอนาคตเมื่อเจ้าได้ยินคำว่า “พุทโธ” ดังระบืออยู่ทั่วไปแล้ว นั่นหมายความว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ย่อมทรงเปิดเผยทางปรมัตถธรรม เจ้าจงไปเข้าเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามด้วยตนเอง ในสำนักของพระองค์ แล้วจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด

    นาลกมาณพคิดว่า ลุงคงจักไม่ชักชวนเราในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทันใดนั้นนั่นเองให้คนซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ให้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ประคองอัญชลีบ่ายหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ ด้วยกล่าวว่า บุคคลผู้สูงสุดในโลกพระองค์ใด ข้าพเจ้าขอบวชอุทิศบุคคลนั้น แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอาบาตรใส่ถุง คล้องที่ไหล่แล้วไปยังหิมวันตประเทศบำเพ็ญสมณธรรม

    นาลกดาบสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    นาลกดาบสนั้นเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ ได้บำเพ็ญเพียรเป็นดาบส รักษาอินทรีย์รอคอยพระชินสีห์อยู่ ครั้นเมื่อเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมโพธิญาณ โดยลำดับแล้วทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐในกรุงพาราณสี เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ได้โมทนาสาธุการไปตลอดสามโลก นาลกดาบสนั้นรอคอยอยู่อย่างนั้น เมื่อได้ยินข่าวอันพวกเทวดาผู้หวังประโยชน์แก่ตนพากันมาบอกแล้วจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระชินสีห์ผู้องอาจกว่าฤๅษีแล้ว ในเวลาที่ได้เห็นพระองค์ จิตเลื่อมใสอย่างสูงสุดก็บังเกิดขึ้นในใจของดาบสนั้น

    ครั้นเมื่อได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว นาลกดาบสกล่าวว่า อสิตฤษีผู้เป็นลุงของข้าพระองค์ รู้ว่าพระกุมารนี้จัดบรรลุทางแห่งสัมโพธิญาณ ท่านได้บอกกะข้าพระองค์ว่า ท่านจงฟังประกาศว่า พุทโธ ในกาลข้างหน้า ผู้บรรลุสัมโพธิญาณย่อมประพฤติมรรคธรรมดังนี้ วันนี้ข้าพระองค์ได้รู้ตามคำของอสิตฤๅษีว่า คำที่ท่านกล่าวนั้นเป็นคำจริง เพราะการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในบัดนี้เป็นพยานในคำพูดของท่าน เพราะเหตุนั้น ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทาอันสูงสุดของมุนี ผู้แสวงหาการเที่ยวไปเพื่อภิกษา แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ




    ผู้ที่ทำนายลักษณะ รู้ไปไกลถึงกระทั่ง พุทธสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ และชัดเจนชัดแจ้ง ไม่ใช่ เดา เอาสุ่มสี่สุ่มห้า ถ้าพิจารณาข้อนี้ไม่ได้และไม่ยอมรับ การพยากรณ์ทำนายต่างๆ ก็ต้องไม่เอาเรื่องมหาปุริลักษณะนั้นด้วย นี่จึงเป็นความวิบัติขาดสูญของผู้ที่มีสติปัญญาน้อยที่ไม่สามารถแจกแจงวิสัชนาธรรมให้ละเอียดอ่อนได้ เปรียบประดุจบุคคลตาบอดผู้ไม่รู้จักช้างแล้วลูบคลำช้าง แต่ไม่รู้ว่าเหมือนอะไร?


    อีกกรณีถ้าไม่ได้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดอหิงสกะ ก็ต้องเป็นไปตามคำทำนายของโหราจารย์อยู่ดี

    การปฎิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง หลุดพ้นจากกรรมดำ กรรมขาว เข้าสู่กรรมไม่ดำไม่ขาวได้ จึงสิ้นกรรม


    ไม่ใช่ไม่แม่นยำหรือไม่ดี แต่มีสิ่งที่สูงส่งกว่ารู้จริงรู้ชัดกว่าและเปลี่ยนแปลงโชคชะตาเช่นนั้นได้เพราะการปฎิบัติธรรม


    จึงไม่ส่งเสริมให้ทำมาหากินในลักษณะนั้น และไปหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องแบบนั้น เรื่องมันก็เป็นอย่างนี้



    นี่ยังไม่รวมที่ทรงให้นำบาตรไม้ที่ได้มาจากการแสดงฤทธิ์ของท่านปิณโฑลภารทวาชเถระ ไปทำยาหยอดตา ถ้าคิดแบบนี้ การปรุงยาในครั้งนี้ จะไปกล่าวหาว่าพระองค์ท่านส่งเสริมให้ปรุงยาอันผิด มหาศีล หากมีสติปัญญาคิดได้แค่นี้ ก็เอวังฯ

    asita-hermit-examined-birthmarks-i.jpg
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปัญญัติสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติซึ่งสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ
    บรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารผู้มี
    บาปเป็นเลิศ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก
    ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
    มนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ
    บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ บรรดา
    บุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้
    ใหญ่ยิ่ง มารเป็นเลิศ
    พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ อัน
    โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ ทั่วภูมิเป็น
    ที่อยู่ของสัตว์ ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ ฯ




    รามายณะ กวนเกษียรสมุทร อสุรินทราหู

    ความเกี่ยวข้องระหว่างพุทธและพราหมณ์ไม่รู้ไม่เห็นด้วยทัศนะวิสัยอันแน่ชัดด้วยญานหยั่งรู้แน่ชัด ยังไม่ควรสรุป
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) มหาเทพผู้ทรงอำนาจ และบารมี

    กล่าวถึง ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ว่า กุเวร - ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬ เรียก กุเวร ว่า กุเปรัน (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวร ชื่อ อลกาอยู่ บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่ง ของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า สวนไจตรต หรือ มนทร มีพวกกินนร และคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาล ประจำทิศเหนือ จีน เรียกว่า โต้เหวน หรือ โต้บุ๋น ญี่ปุ่น เรียก พสมอน

    ท้าวกุเวรนี้ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑป ชื่อ ภคลวดี กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถาน ของเหล่ายักษ์ บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์ เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน


    นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้ว ประพาฬ หอกทอง

    ลัทธิความเชื่อของพราหมณ์ กล่าวถึงประวัติของท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า ทรง เป็นโอรสของ พระวิศรวิสุมนี กับ นางอิทาวิทา แต่ในมหาภารตะว่า เป็นโอรสของพระปุลัสต์ ซึ่งเป็นบิดาของ พระวิศรวัส กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ท้าวกุเวรใฝ่ใจกับท้าวมหาพรหม เป็นเหตุทำให้บิดาโกรธ จึงแบ่งภาคเป็น พระวิศวรัส หรือ มีนามหนึ่งว่า เปาลัสตยัม ซึ่งรามเกียรติ์ไทยเรียกว่า ลัสเตียน ท้าวลัสเตียน หรือ พระวิศวรัสซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระวิศรวิสุมนี นั้น ได้นางนิกษา บุตรีท้าวสุมาลีรักษา เป็นชายา มีโอรสด้วยกันคือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก และ นางสำมะนักขา ดังนั้น ท้าวกุเวร จึงเป็นพี่ชายต่างมารดา และร่วมบิดาเดียวกับทศกัณฐ์ เหตุที่ท้าวกุเวรผิดใจกับผู้เป็นพ่อ เพราะไปฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นเทวดา ทำให้ผู้เป็นพ่อ คือ พระวิศรวิสุมนีโกรธ เพราะถือทิฐิว่า ตนเป็นยักษ์ ที่เป็นเทวดาต่ำศักดิ์กว่า ไม่ควรไปยุ่งกับเทวดา ที่บนสวรรค์ชั้นสูงกว่า เห็นคนอื่นดีกว่าพ่อของตน ก็เลยแบ่งภาคออกไปมีเมียใหม่ ลูกใหม่ ซะเลย ที่ท้าวกุเวร มีใจฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหมนั้น เป็นเพราะท้าวกุเวรนั้น ต้องการบำเพ็ญตบะบารมี หรือ สร้างสมความดี ด้วยการเข้าฌาน และบำเพ็ญทุกรกิริยา นานนับพันปี จนท่านท้าวมหาพรหมโปรดปราน ประทานบุษบกให้ อันบุษบกนี้ หากใครได้ขึ้นไปแล้ว สามารถล่องลอยไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ

    [ame]


    ในพระสูตรที่ชื่อว่า “อาฏานาฏิยะ” กล่าวว่า ท้าวกุเวร ตั้งเมืองอยู่ในอากาศ ข้างทิศที่อุตรกุรุทวีป (เหนือ)และ เขาพระสุเมรุ ยอดสุทัศน์ (ที่เป็นผาทอง) ตั้งอยู่ มีราชธานี 2 ชื่อ คือ อาลกมันทา และ วิสาณา มีนครอีก 8 นคร

    ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ อิจฉาวสุ หมายถึง มั่งมีได้ตามใจ ยักษ์ราชหมายถึง เจ้าแห่งยักษ์ มยุราช หมายถึง เป็นเจ้าแห่ง กินนร รากษเสนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส ส่วนในเรื่องรามเกียรติ์ เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า ท้าวกุเรปัน ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวร เอาไว้ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่า ในสมัยที่โลกยังว่าง จากพระพุทธศาสนา ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ ผู้หนึ่ง นามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพ ด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อย ตัดใส่ลงไปในหีบยนต์ แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตน และบุตรภรรยา ต่อมากิจการ เจริญขึ้น จนเป็นเจ้าของ หีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง 7 เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับ คนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อย จากหีบยนต์เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่น ๆ ให้เป็นทาน แก่คนเดินผ่านไปมา จนตลอดอายุขัย ด้วยอำนาจ แห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตร บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า'กุเวรเทพบุตร' ต่อมากุเวรเทพบุตร ได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแล พระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า 'ท้าวเวสสุวรรณ'

    ตามหลักฐานในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ยืนยันว่า 'ท้าวกุเวร' หรือ 'ท้าวเวสสุวรรณ' เทวราชพระองค์นี้ ได้สำเร็จเป็น พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเมื่อครั้ง 'จุลสุภัททะ ปริพาชก' เกิดความสงสัยในความเป็นมาแห่ง องค์สมเด็จ พระพุทธเจ้า ท่าน 'ท้าวเวสสุวรรณ' องค์นี้แหละ ที่ได้เสด็จไปร่วมต้อนรับด้วย และ ยังเป็นประจักษ์พยาน เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ ใช้เท้าจิกพื้นไพชยนตวิมาน ของพระอินทร์จนเกิดการ สั่นสะเทือนไป ทั้งดาวดึงส์ เทวโลก อันเป็นการเตือนสติสักกะเทวราชอีกด้วย และก็เชื่อกันตาม ฎีกามาลัยเทวสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า 'คทาวุธ' ของ 'ท้าวเวสสุวรรณ' นั้น เป็นยอดศัสตราวุธ มีอานุภาพสามารถทำลายโลกใบนี้ให้เป็น จุณวิจุณภายในพริบตา จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ท่านเป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ที่พิทักษ์รักษา พระพุทธศาสนา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ท่านท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์เลยทีเดียว ตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีรูปปั้นยักษ์ 1 ตน บ้าง 2 ตนบ้าง ยืนถือกระบองค้ำพื้น ส่วนมากจะมี 2 ตน เฝ้าอยู่หน้า ประตูโบสถ์ หรือ วิหารที่เก็บของมีค่า มีพระพุทธรูป และโบราณสมบัติล้ำค่าของทางวัดบรรจุอยู่ ด้านละ 1 ตน หรือไม่ก็บริเวณลานวัด หรือที่ที่มีคนผ่านไปมาแล้วเห็นโดยง่าย บ้างก็สร้างเอาไว้ในวิหาร หรือ ศาลาโดยเฉพาะก็มี ซึ่งยักษ์เหล่านั้น ถ้าเป็น ตนเดียว ก็จะหมายถึง รูปเคารพของท้าวเวสสุวรรณ แต่ถ้าเป็น 2ตนก็จะเป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวรรณ คอยทำหน้าที่ ปกปักรักษา ดูแลบริเวณวัด ( หมายเหตุ : มีกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า อาวุธที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกมี ๔ อย่าง คือ
    หนึ่ง วชิราวุธของท้าวสักกะ
    ถ้าท้าวสักกะทรงพิโรธแล้ว พึงประหารโดยวชิราวุธบนยอดเขาสิเนรุแล้ว วชิราวุธนั้นก็จะพึงชำแรกภูเขาสิเนรุซึ่งสูงหนึ่งแสนหกหมื่นแปดพันโยชน์ ลงไปถึงข้างล่างได้ (เข้าใจว่า ทำไมเหล่าอสูรจึงกลัวที่ท้าวสักกะโกรธกัน ก็สามารถส่งอาวุธลงไปทำลายได้ถึงวิมาณเลย)
    สอง คทาวุธของท้าวเวสวัณ (เวสสุวรรณ)
    คทาวุธที่ท้าวเวสวัณปล่อยในกาลที่ตนยังเป็นปุถุชนนั้น สามารถทำลายศีรษะของพวกยักษ์หลายพันแล้วได้ในคราวเดียว กลับมาสู่กำมือตั้งอยู่อีกได้ ยักษ์ทั้งหลายจึงกลัว ผีทั้งหลายจึงกลัว ท้าวเวสสุวรรณเป็นหัวหน้าของยักษ์และบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลาย ที่ไครๆไม่อาจต่อกรได้ ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้ ต้องรักษาสุดชีวิต ไครจะล่วงละเมิดเป็นไม่ได้ (เข้าใจเลยว่า ทำไมท้าวเวสสุวรรณจึงปกครองเหล่ายักษ์ที่เกเรได้ ส่วนที่ว่าในสมัยที่เป็นปุถุชนนั้น เพราะท้าวเวสสุวรรณตอนนี้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้แล้วที่จริงท้าวสักกะก็เป็นพระโสดาบันแล้วด้วยเช่นกัน)
    สาม นัยนาวุธของพระยายม
    ถ้าพระยายมพิโรธแล้ว สักว่ามองดูด้วยนัยนาวุธ กุมภัณฑ์หลายพันก็จะลุกเป็นไฟพินาศ ดุจหญ้าและใบไม้บนกระเบื้องร้อนฉะนั้น (เข้าใจเลยว่า ทำไมพระยายมจึงคุมเหล่ากุมภัณฑ์ได้ เพียงแค่มองด้วยนัยตาพิฆาตเมื่อโกรธเท่านั้นเอง ไหม้เป็นจุณได้เลย)
    สี่ ทุสสาวุธของอาฬวกยักษ์
    อาฬวกยักษ์โกรธ ถ้าปล่อยทุสสาวุธในอากาศแล้ว ฝนก็ไม่พึงตกตลอด ๑๒ ปี ถ้าปล่อยในแผ่นดินไซร้ วัตถุมีต้นไม้และหญ้าทั้งปวงเป็นต้น ก็จะเหี่ยวแห้งไม่งอกอีก ภายใน ๑๒ ปี ถ้าพึงปล่อยในสมุทรไซร้ น้ำทั้งหมดก็พึงเหือดแห้งดุจหยาดน้ำ ในกระเบื้องร้อน ฉะนั้น ถ้าจะพึงปล่อยในภูเขาเช่นกับเขาสิเนรุไซร้ ภูเขาก็จะเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ กระจัดกระจายไป.


    ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้น จาตุ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือมียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหา ราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ

    ท้าว เวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักชะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบ มีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ) กว่าท้าวมหาราชองค์อื่น
    พุทธศาสนาของเรานั้น กล่าวถึงท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ทิศ ที่เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔อันได้แก่ ท่านท้าวกุเวร เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ)ท่านท้าวธตรฐ เป็นโลกบาลประจำทิศบูรพา (ตะวันออก) ท่านท้าววิรุฬหก ประจำทิศทักษิณ (ใต้)และท่านท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศประจิม (ตะวันตก)
    ท้าวทั้ง ๔ คือ ท้าวจตุโลกบาล ผู้รักษาทิศทั้ง ๔ ตามตำนานทางศาสนา ท้าวจตุโลกบาลเป็นเทพในกามาวจรภูมิเป็นสวรรค์ชั้นแรกใน ๖ ชั้น คือ จตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดีปรนิมมิตวสวัตตี

    ตามแนวความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคันธรสูงจากพื้นผิวโลก ๔๖,๐๐๐ โยชน์สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสถานที่พิเศษกว่ามนุษยโลกในด้านความเป็นอยู่ และความสุข กามาวจรเทพชั้นนี้เรียกรวมกันว่า “จตุมหาราชิกเทวดา” ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซึ่งมีมหาราชทั้ง ๔องค์ครองอยู่แบ่งเป็นส่วน ๆ ไป คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุ วรรณเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวกุเวร

    (หนึ่ง) ท้าววิรูฬปักษ์เป็นเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง (บางตำราก็ว่าเจ้าแห่งครุฑ) ปกครองทิศตะวันตก ท้าววิรูปักษ์ หรือวิรูปักข์นี้ เป็นเทวราช มีนาคเป็นบริวาร มีหน้าที่ดูแลทิศปัจฉิม (ตะวันตก) ของภูเขาสินเนรุราช ในสุธรรมาเทวสภา ท้าวมหาราชองค์นี้จะผินพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีพระโอรสทั้งหมด ๙๐ องค์ ล้วนแต่ทรงพลัง กล้าหาญ งามสง่า และทรงปรีชาในกรณียกิจทั้งหลาย พระโอรสทั้งหมดล้วนแต่มีพระนามว่า “อินทร์” ในเทพนครด้านปัจฉิมนี้มีทิพย์สมบัติต่างๆ อันงดงามและดีเยี่ยม เท่าเทียมกับเทพนครอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันนี้ ท้าววิรูปักษ์ทรงครอบครองราชสมบัตินานเท่าเทียมกับเทวราชองค์อื่น ๆ

    (สอง) ท้าวกุเวร หรือเวสสุวัณ เป็นเจ้าแห่งยักษ์และภูติผี ปกครองทิศเหนือ ท้าวไพศรพณ์องค์นี้ เป็นพระราชาธิบดีของยักษ์ทั้งหลาย ในการพิทักษ์อาณาเขตด้านทิศอุดร (เหนือ)ของสุเมรุบรรพต มหาราชองค์นี้มีอาณาจักรครอบคลุมภาคเหนือทั้งหมด มีนครหลวงชื่ออิสนคร พระองค์มีโอรสจำนวน ๙๐ องค์ ล้วนแต่สง่างาม มีศักดานุภาพเป็นอันมาก ราชโอรสเหล่านี้มีพระนามว่า “อินทร์” ในเทพนครนี้เป็นทิพยวิมาน ทิพยสมบัติที่ท้าวเวสสุวรรณครองอยู่ท่ามกลางราชโอรส เป็นเวลาถึง ๕๐๐ปีทิพย์จึงสิ้นวาระแห่งเทพจตุโลกบาล

    (สาม) ท้าวธตรัฐ เป็นเจ้าแห่งวิทยาธร และคนธรรพ์ (บางตำราก็ว่าเจ้าแห่งกุมภัณฑ์) ปกครองทิศตะวันออก เป็นองค์หนี่งในมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ที่ครองชั้นจตุมหาราชิกาเป็นหัวหน้า คือราชาแห่งคนธรรพ์ มีหน้าที่บูชาทิศบูรพา (ตะวันออก) ของเขาพระสุเมรุ กล่าวว่าท้าวธตรฐมีโอรสหลายองค์ โดยมีนามเรียกกันว่า “ศิริ"ในวิมานที่อยู่ของมหาราชองค์นี้ล้วนแล้วไปด้วยสิ่งต่าง ๆ กันเป็นที่น่ารื่นรมย์เป็นเสียงดนตรีและร่ายรำ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ชื่นชมแก่พระองค์และพระโอรสทั้งหลาย

    (สี่) ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งอสูร และกุมภัณฑ์ (ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑ และนก) ปกครองทิศใต้ มหาราชองค์นี้เป็นใหญ่ในกุมภัณฑ์ ซึ่งให้การอารักขาด้านทิศทักษิณ (ใต้) แห่งเขาพระสุเมรุเทวดาโอรสของพระองค์มี ๙๐ องค์ด้วยกัน แต่ละองค์ล้วนมีแต่ฤทธิ์อานุภาพแกล้วกล้า ปรีชาชาญงามสง่า และเป็นที่ยกย่องเกรงขามทั่วไป ท้าวจตุโลกบาลองค์นี้มีสิ่งประดับบารมีมากมาย เสวยสุขอยู่ในหมู่ราชโอรส ตลอดพระชนมายุ ๕๐ ปีทิพย์หรือปีมนุษย์นับได้ ๑๖,๐๐๐ ปีเป็นประมาณ

    โดยเหตุที่ท้าวเวสสุวัณเป็น “เทพเจ้าแห่งทรัพย์ “เป็นผู้รักษาทรัพย์ในแผ่นดินเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศเหนือของสวรรค์ชั้นจตุ มหาราชิกาเป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์และภูตผีปีศาจและความมั่งคั่ง ไพบูลย์ทั้งหลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ไวศรวัณ เวสสุวัณ ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ธเนศวร (เจ้าแห่งทรัพย์) อุจฉาวสุ (มั่งมีได้ดั่งใจ) ยักษราช (ขุนแห่งยักษ์) รัตนครณ(พุงแก้ว) อีศะสขี(เพื่อนพระศิวะ)ฯลฯ


    ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวัณว่า “ท้าวไพศรพมหาราช” และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า” ท้าว ไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดรเถิงกำแพง จักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุกฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้น บ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้านแลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึง กลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัว๑ดูงามดั่งทอง”จากคำพรรณนาดัง กล่าวแสดงให้เห็นว่าท้าวเวสสุวัณหรือท้าไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมาย ไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง


    ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรค ทีฆนิกาย กล่าว ไว้ว่าดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวัณชื่ออาลกมันทาราชธานีเป็นนครเทพเจ้า ที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวัณเทวราชโลกบาลองค์นี้เป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบันและเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าว สักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวัณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราช โอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของ ท้าวเวสสุวัณนั่นเอง

    ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่าเมื่อ ถึงวันอุโบสถคือขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอโดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดิน ดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ถ้าใครทำบุญ ประพฤติธรรมทำความดีก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำ ไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลาย ก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้พญายมราช เพื่อให้นายนิรยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรก เหล่านั้น


    ศิลาจารึกสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ท้าว เวสสุวัณมีปราสาทช้างเรืองอร่ามด้วยแสงแก้วอยู่เหนือยอดเขายุคนทร มียักษ์เฝ้าประตูวังและยักษ์เสนาบดีอยู่หลายตนมีร่างทิพย์ ม้าทิพย์ ราชรถทิพย์และบุษบกทิพย์ มีศักดิ์เป็นใหญ่แก่ฝูงยักษ์ทั้งหลาย ๙ตนมีบริวารที่เรียกว่า”ยักขรัฏฐิภะ”ซึ่งมีหน้าที่สืบข่าวและตรวจตรา เหตุการณ์ต่างๆรวม ๑๒ ตนและยังมียักษ์ที่สำคัญเป็นเสนาบดียักษ์อีก ๒๘ นายที่คอยรับใช้ท้าวเวสสุวัณอยู่ดังจะเห็นว่า ท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน แม้กระทั่งใน ลัทธิของจีนฝ่ายมหายานว่า ท้าวโลกบาลทิศอุดรมีชื่อว่า ”โตบุ๋น”เป็นขุนแห่งยักษ์มีพวกยักษ์บริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ทางทิเบต มีกายสีทองคำถือธงและพังพอน ทางญี่ปุ่น ถือ ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภนามว่า "พิสะมอน "ถือแก้วมณีทวนและธงตามที่ได้พรรณนามานั้นเป็นเพียงประวัติย่อๆของท้าว เวสสุวัณเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่านมีความสำคัญมากเพียงใดโบราณาจารย์จึงได้จัด สร้างรูปไว้เคารพบูชามาตั้งกว่าพันปีมาแล้ว


    โดยสรุปแล้วท้าวเวสสุวัณ ถือเป็นเทพเจ้าที่สำคัญยิ่ง เป็นที่เคารพนับถือในหลายต่อหลายประเทศ ในไทยเราเองนั้นนับถือเทพเจ้าองค์นี้มาก ในฐานะผู้คุ้มครองในห้ปลอดภัยจากวิญญาณร้าย ดังเราจะเห็นได้ว่าครุบาอาจารย์มักทำผ้ายันต์ท้าวเวสสุวัณ เป็นผืนสีแดงไว้ติดตามประตู เพื่อป้องกันภูตีผีปีศาจ คติความเชื่อนี้ถือว่าเก่าแก่ และเป็นที่คุ้นตาที่สุด หรืออย่างพิธีสวดภาณยักษ์ ก็เช่น พระคาถาภาณยักษ์ หรือบท “วิปัสสิ”นี้เป็นพระคาถาทีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ท่าน โดยมีท้าวเวสสุวัณเป็นหัวหน้า นำมามอบให้พระพุทธเจ้า เพราะเห็นว่าบริวารของตนนั้นมีมาก บางพวกก็มีนิสัยดี แต่บางพวกมีนิสัยพาลเกเร อาจทำร้ายแก่พระธุดงค์ที่อยู่ตามป่าช้า ตามเขา ตามป่าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงได้มอบพระคาถาภาณยักษ์ถวายแด่พระพุทธองค์

    ปัจจุบันเราก็ยังสามารถพบเห็นการสวดภาณยักษ์ได้อยู่ และ จะเห็นรูปท้าวเวสสุวัณเด่นเป็นสง่าเสมอ ในพิธีสวดภาณยักษ์นี้ เพราะท้าวเวสสุวัณเป็นผู้ที่มีสิทธิเฉียบขาดในการลงโทษภูตีผีปีศาจทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นว่า ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเทพเจ้าที่มีคุณในการทำลายล้างสิ่งอัปมงคล ทั้งกันทั้งแก้เรื่องผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำทั้งหลายได้ ทั้งยังให้คุณเรื่องโภคทรัพย์อีกประการหนึ่ง ดังคำกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งปวง (ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระ กรรมฐาน เป็นต้น


    ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวัง ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณโณ หรือท้าวกุเวร
    (ตั้งนะโม ๓ จบ) ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วว่าดังนี้

    อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ ฯ

    อีกตำนาน

    ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้า แห่งผีเป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาล ทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณ ชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหา ราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ ท้าวกุเวรหรือท่านท้าวเวสสุวรรณนั้นส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลามีลักษณะอันโดดเด่นคือพระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณสำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัย จากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพ นับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือ ว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้นบางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก “กุเวร” ว่า “กุเปรัน” ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่าเป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาวมีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแยถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ “อลกา” อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุชื่อว่า “สวนไจตรต” หรือ “มนทร” มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระชื่อ ธรณีกว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ “ภคลวดี” กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปร


    เทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่าท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุตประมาณ200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง ท่านท้าวเวสสุวรรณ ๑ใน ๔ ท้าวจตุโลกบาล โดยมีท้าวธตรฐดูแลพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักข์ดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทิศตะวันตก และท้าวเวสสุวรรณรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือ โดยทั้ง ๔ ท่านมีหน้าที่แบ่งกันปกครองทั้งเหล่าคนธรรพ์ กินรี กินนร กุมภัณฑ์ นาค เทวดา และยักษ์ อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ในส่วนของท้าวเวสสุวรรณ ท่านจะปกครองเหล่าอสูรและยักษ์ ตลอดจน


    ภูติผีปีศาจทั้งหลาย ตามตำนานกล่าวว่าเริ่มแรก ท่านท้าวเวสสุวรรณปกครองอยู่ เมืองลงกา ต่อมาได้ถูกทศกัณฑ์มายึด และขับไล่ให้ท่านไปอยู่ที่อื่นพร้อมทั้งแย่งบุษบก (ของวิเศษที่พระพรหมมอบให้)ไปครอบครองอีกท้าวเวสสุวรรณจึงได้มาสร้างเมือง ใหม่อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา โดยท่านมีหน้าที่ดูแล ปกครองเหล่าอสูร ยักษ์ ตลอดจนเหล่าภูติผีปีศาจทั้งหมด และยังเป็นเจ้าบัญชีพระกาฬใหญ่ ท่านท้าวเวสสุวรรณท่านเป็นยักษ์ที่ใจบุญ อีกทั้งยังให้ความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยพุทธกาล กล่าวว่ามีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาโมกขธรรม มีพระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ยังไม่ได้สำเร็จอภิญญามักจะโดนบรรดาภูติผีปีศาจ หลอกหลอนไม่เป็นอันได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ คือการเจริญสมาธิกรรมฐานเพื่อชำระจิตใจให้สงบได้อย่างเต็มที่ ท่านท้าวเวสสุวรรณได้เสด็จลงมาจากเทวโลกเพื่อมากราบนมัสการสมเด็จพรสัมมา สัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งถวายมนต์ “ภาณยักษ์” ให้ไว้เพื่อเป็นมนต์ป้องกันเวลาพระภิกษุ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ตามป่าเขา ถูกบรรดา ภูติผี ปีศาจ ยักษ์ เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิ หลอกหลอน ซึ่งมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้ยังนำมาใช้สวดกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ โดยการสวดมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้มักจะทำเป็นพิธีการยิ่งใหญ่ ทุกวัดมักจะจัดให้มีการสวด “ภาณยักษ์” นี้ขึ้นเชื่อกันว่าใครที่ถูกคุณ ถูกของหรือโดนผีเข้าเจ้าสิง เมื่อเข้าไปในบริเวณพิธีสวด “ภาณยักษ์” สิ่งอัปมงคลต่างๆที่มีอยู่ในตัวก็จะหมดไปด้วย มนต์ภาณยักษ์อันวิเศษบทนี้และนอกจากนี้ ท้าวเวสสุวรรณยังเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยสัญญลักษณ์แห่งมหาเศรษฐี ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ระบุชื่อท้าวเวสสุวรรณ ล้วนมุ่งหมายทางมหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ อาทิ ท้าวรัตนครรถ (ผู้มีเพชรเต็มพุง) ท้าวกุเวรธนบดี (ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์) ท้าวธเนศวร (เจ้าทรัพย์) องค์อิฉาวสุ (ผู้มั่งมีได้ตามใจ) ท้าวเวสสุวรรณ (ยิ่งด้วยทอง) แม้แต่ชาวจีนก็ยกย่ององค์ท้าวเวสสุวรรณว่า เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวยในนาม “องค์ไฉ่ซิงเอี้ย” ซึ่งมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคนขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย แก้เสนียด อัปมงคลคุณไสยต่างๆหากท่านผู้ใดบูชาท่านท้าวเวสสุวรรณ ด้วยความเคารพศรัทธา จงเชื่อได้เลยว่าท่านจะประสบแต่ความโชคดีมีทรัพย์ ตลอดจนพ้นภัยจากบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลายในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป


    อีกตำนาน

    ตามตำนาน องค์ท้าวกุเวร



    ---บางตำนานก็เรียก...พระเศรษฐี เรียก....ไฉ่ฉิงเอี๊ย เรียก....ท้าวเวสสุวรรณ



    ---ในความเป็นมนุษย์ ย่อมมีศรัทธาเป็นที่ตั้ง มีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ความเชื่อในศาสตร์ ความเชื่อในศิลปวัฒนธรรม





    *มีตำนาน มากมายอ้างอิงถึงประวัติของแต่ละความเชื่อ



    ---ให้ยึดมั่นถือมั่นในความดี มีศีลธรรม คิดดีประพฤติดี มีสัจจะ ทั้งทางกาย วาจา ใจ องค์ท้าวกุเวร (ชัมภล) หรือ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย พระหัตถ์ด้านขวาถือลูกแก้ววิเศษ พระหัตถ์ด้านซ้ายถือพังพอน ที่กำลังคาย เพชร,นิล,จินดา,แก้วแหวนเงินทอง พระบาทซ้ายเหยียบหอยโข่ง นั่งท่ามหาราชเทวา



    *ความเชื่อในพระปางนี้



    ---มีมาตั้งแต่อินเดียผ่านไทยไปถึงเมืองจีน ที่เมืองจีนเรียกไฉ่ฉิงเอี้ย สลักอยู่ที่หน้าผาหิน



    ---ท้าวกุเวร วัดถ้ำคูหาพิมุข ถ้ำพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ท้าวกุเวรมหาราช (พระธนบดีศรีธรรมราช) ผู้ประทานโชคลาภและความมั่งคั่ง แห่งอาณาจักรทะเลใต้จำลองจากต้นแบบองค์ที่สวยที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์กีเม่ต์ ประเทศฝรั่งเศส พระธนบดี ศิลปะศรีวิชัย เนื้อสำริดสนิมเขียว อายุประมาณ 1,200 ปี องค์นี้มีความงดงามสุดยอด เป็นศิลปะศรีวิชัยบริสุทธิ์ นำมาเป็นต้นแบบจัดสร้างในครั้งนี้



    *พระธนบดีศรีธรรมราช (เจ้าแห่งโชคลาภ)



    ---จัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจำลองแบบมาจากรูปหล่อ ท้าวกุเวรเจ้าแห่งขุมทรัพย์ที่สร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย โดยมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พระธนบดี พระกุเวร พระรัตนครรภ์ เจ้าพ่อขุมทรัพย์ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ โบราณถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่มีหน้าที่ประทานความมั่งคั่ง ความมีโชคดีให้กับผู้บูชา ฯลฯ



    ---ท้าวกุเวร เป็นเทพผู้รักษาทิศเหนือ ตามลัทธิศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ



    *ประวัติของท้าวกุเวรกล่าวไว้ว่า



    ---พระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นเวลาหลายพันปี จนพระพรหมทรงเห็นใจโปรดให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง จากมหากาพย์รามายณะ กล่าวว่า เทพกุมารได้รับยานที่ขับเคลื่อนไปในอากาศได้ตามประสงค์ของเจ้าของคือ บุษบก



    ---บางตำรากล่าวว่าท้าวกุเวรมีม้าสีขาวเป็นพาหนะ มีมเหสีนามว่า จารวี หรือ ฤทธี มีโอรส 2 องค์ ชื่อ มณีครีพ หรือ วรรณกวี กับ นุลกุพล หรือ มยุราช



    ---มีธิดา 1 องค์ชื่อ มีนากษี ในรามเกียรติ์กล่าวว่า ท้าวกุเวรทรงเป็นบิดาคันธมาทน์ นายทหารของพระราม และมีสวนชื่อเจตรถอยู่บนยอดเขามันทร ท้าวกุเวรยังมีชื่อเรียกตามเรื่องราวและคุณสมบัติอีกหลายชื่อ เช่น กุตนุ (มีรูปร่างน่าเกลียด) รัตนครรภ(มีเพชรเต็มพุง) ราชราช (เจ้าแห่งราชา) นรราช ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ยักษราช (เจ้าแห่งยักษ์) รากชเสนทร์ (เป็นใหญ่ในพวกรากษส) ฯลฯ



    ---ตามเรื่องรามเกียรติ์ เรียกชื่อท้าวกุเวรว่า ท้าวกุเปรัน แต่ชื่อที่คนไทยคุ้นเคย คือ ท้าวเวสสุวัณ (สันสกฤต-ไวศรวณบาลี-เวสสวณ) ในคัมภีร์ไตรเพทกล่าวว่า ทรงเป็นอธิบดี ของพวกอสูร รากษสและภูติผี ในกลุ่มพวกนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายานในประเทศจีนกล่าวว่าโลกบาลทิศอุดร มีชื่อว่า "โตบุ๋น" แปลว่า " ได้ยินทั่วไป " มีพวกยักษ์เป็นบริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู



    ---ส่วนพวกธิเบตกล่าวว่าถือธงและพังพอน สีกายเป็นสีทองคำ ในประเทศญี่ปุ่นถือว่า โลกบาลทิศนี้ เป็นเทพเจ้าประจำโชคลาภมีนามว่า " พิสะมอน " ตรงกับนามว่า " ธนบดี " หรือ ธเนศวร อันเป็นนามหนึ่งของท้าวกุเวร แปลว่า ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ ส่วนหนึ่งของที่ถือนั้น มีแก้วมณีกับทวนหรือธง



    ---ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิวัชรยานในคัมภีร์สาธนมา กล่าวถึงท้าวกุเวรว่ามีหน้าที่เป็นทั้งธรรมบาล คือ ผู้มีตำแหน่งเทียบเท่าพระโพธิสัตว์ มีหน้าที่ทำสงครามปราบปรามปีศาจและยักษ์มารต่างๆ ซึ่งเป็นศัตรูต่อพระพุทธศาสนา ทรงเป็นโลกบาล (มีชื่อว่า เวสสุวัณหรือไวศรวีณ) คือ เทพผู้มีหน้าที่ปกป้องทิศทั้ง 4 (เฉพาะทิศเหนือ) อยู่บนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ คอยเฝ้าคอยดูแลทางเข้าสวรรค์ (ดินแดนสุขาวดี)



    ---พระธนบดีที่เก่าที่สุด เท่าที่พบในประเทศไทย มีการสร้างมาตั้งแต่ครั้งยุคสมัยศรีวิชัย เมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญได้อย่างดี พระธนบดียังถือว่าเป็นนิรมาณกายอีกปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตามคำภีร์พระมนู ซึ่งจะหมายถึงปางหนึ่งของจตุคามรามเทพก็ได้ ที่จะประทานความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งให้กับโลกมนุษย์ การสร้างพระธนบดีครั้งนี้จึงสร้างขึ้นจากศาสตร์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ



    *ตามคัมภีร์เก่าแก่กล่าวไว้ว่า



    ---ท่านเป็นผู้ประทานความมั่งคั่ง แผ่นดินใดที่อุดมสมบูรณ์พระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงเปี่ยมไปด้วยพระบรมเดชานุภาพเหนือกว่าพระราชาทั้งปวงหรือที่เรียกว่า "จักรพรรดิ" ท้าวกุเวรหรือชัมภลนี้ จะเป็นผู้ประทาน "สัตรัตนมณี" แก้วเจ็ดประการหรือสมบัติแห่งจักรพรรดิอันมีช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว จักรแก้ว การประทานสมบัติเจ็ดประการของมหาจักรพรรดิ เพื่อความรุ่งเรืองแห่งแผ่นดิน มีดังนี้



    ---ประการที่ 1 จักรรัตนะ คือ จักรแก้ว หมายถึง การมีอำนาจหรือเดชานุภาพแผ่ขยายไปทั่วทุกทิศ



    ---ประการที่ 2 หัตติรัตนะ คือ ช้างแก้ว หมายถึง การแสดงออกซึ่งความมีบารมีที่ยิ่งใหม่ความมั่นคง



    ---ประการที่ 3 อัสสรัตนะ คือ ม้าแก้ว หมายถึง การมีบริวารข้าทาสรับใช้ที่ดี



    ---ประการที่ 4 มณีรัตนะ คือ มณีแก้ว หมายถึง ความสว่าง ความมีสติปัญญา ความรู้



    ---ประการที่ 5 อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หมายถึง ได้คู่ครองที่ดีมีความงดงาม



    ---ประการที่ 6 คหปติรัตนะ คือ ขุนคลังแก้ว หมายถึง ความมีทรัพย์สิน เงินทองบริบูรณ์



    ---ประการที่ 7 ปริณายกรัตนะ คือ ขุนพลแก้ว หมายถึง ที่ปรึกษาคู่ใจ ผู้ให้ความรู้ ผู้ปกป้องคุ้มครอง บุตรที่ดี



    ---พระธนบดี หินแกะสลักที่มหาเจดีย์บุโรพุทโธ อินโดนีเซีย ศิลปะศรีวิชัยที่งดงาม ประจักษ์พยานถึงความสำคัญของพระธนบดี ผู้ประทานสมบัติพระจักรพรรดิแห่งอาณาจักรทะเลใต้ ดังนั้น อานุภาพแห่งพระธนบดีนี้ สามารถอธิษฐานขอพรได้ 7 ประการดัวยกัน ตามคุณลักษณะของสมบัติจักรพรรดิ 7 ประการ ซึ่งประทานให้โดยมหาราชผู้เป็นท้าวจตุโลกบาล ซึ่งคุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ตลอดกาล อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มีพระราชาธิราช ที่มีพระบรมเดชานุภาพเหนือกว่าพระราชาองค์อื่นปกครองทั่วน่านน้ำอาณาจักรทะเลใต้ มีพระมหากษัตริย์ที่ประกาศตนยิ่งใหญ่ ประดุจพระอาทิตย์ พระจันทร์ มีจารึกกรุงศรีวิชัย ประกาศความยิ่งใหญ่ ปรากฏชัดเจน



    *ในคัมภีร์รามายณะและมหาภารตะได้บันทึกไว้ว่า



    ---ท้าวเวสสุวรรณมีอีกนามหนึ่งคือ ท้าวกุเวร (ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหากาพย์ หมายถึง เทพผู้มีภารกิจคุ้มครองปกป้องโลกทั้งสาม) ซึ่งเป็นเทพแห่งยักษ์เป็นอสูรเทพ ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเจ้าแห่งอสูรเทพทั้งมวลนั่นเอง พระปุลัสตย์นั้นเป็นพระบิดาของท้าวเวสสุวรรณและท้าวเวสสุวรรณได้มีโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า พระวิศรวัส



    ---ท้าวเวสสุวรรณแม้จะเป็นเทพอสูร แต่เป็นอสูรที่มีชาวบ้านชาวเมืองเคารพนับถือเป็นอันมาก ดังจะเห็นว่าแม้ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีพระรูปของท้าวเวสสุวรรณติดไว้ตามบ้านต่างๆ เพื่อให้พระองค์ได้คุ้มครองดูแลปกป้องบ้านเรือนของครอบครัวนั้น ส่วนใหญ่พระรูปของท้าวเวสสุวรรณ จะถูกชาวบ้านชาวเมืองนำมาติดไว้ที่ประตูหรือหน้ารั้วเพื่อให้พระองค์ได้ปกป้องคุ้มครอง เพราะอีกนัยหนึ่งนั้นมีความเชื่อในหมู่ชาวอินเดียโบราณว่า ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สินด้วย



    ---พระนามในบางคัมภีร์ของท้าวเวสสุวรรณ อาทิ ยักษราช มยุราช รากษสเสนทร์ และธนบดี ซึ่งหมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์สินนั่นเอง การที่คนในพุทธศาสนาได้ทำบุญแล้วอธิษฐาน อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรนั้น จริงๆ แล้วในความเชื่อของพราหมณ์ ถือว่าหมายถึง ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวจตุโลกบาลนั่นเอง



    ---ท้าวเวสสุวรรณในบางคัมภีร์ เป็นอสูรเทพ เป็นยักษ์ 3 ขา มีฟัน 8 ซี แต่พระวรกายขาวกระจ่าง สวมอาภรณ์งดงามมีมงกุฎทรงอยู่บนพระเศียร แต่มีรูปกายพิการและมีพาหนะคือ ม้าสีขาวนวลราวกับปุยเมฆ องค์นี้เป็นศิลปะแบบธิเบต

    ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร



    ---ธิเบตเรียก นัม.โถ.เซ. จีนเรียก ใช้ป๋อเทียนอ๊วงหรือพีซามึ้งเทียนอ๊วงหรือแป๊ะไช้ซิ้ง ท่านมีสองสถานะคือ สถานะเทพผู้ประทานทรัพย์องค์ขาว และสถานะหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล



    ---ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อก่อนพระศากยะมุนีพุทธเจ้า จะปรินิพพานได้สั่งความแก่ท้าวจตุโลบาลไว้ว่า ในอนาคตต่อไปพุทธศาสนาจะประสพกับอุปสรรคมากมายจากพวกนอกศาสนา พวกไม่หวังดีต่อพุทธศาสนา จะทำร้ายพุทธศาสนา ขอให้ท้าวจตุโลกบาลช่วยกันปกป้องรักษาพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้ทำหน้าที่ปกป้อง พิทักษ์รักษาพุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมเสมอมา คาถาประจำองค์ โอม ไว ซา วา นา เย โซ ฮา ฯลฯ



    *คติชาวไทย



    ---ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ ท้าวกุเวรหรือท่านท้าวเวสสุวรรณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่ามหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย



    ---แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้นบางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่าเป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป



    ---ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาวมีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวร เป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณีกว้าง 50 โยชน์ ในน้ำดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วยหมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้



    ---เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่าท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง ท่านท้าวเวสสุวรรณ ๑ใน ๔ ท้าวจตุโลกบาล



    ---โดยมีท้าวธตรฐดูแลพื้นที่ อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักข์ดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทิศตะวันตก และท้าวเวสสุวรรณรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือ โดยทั้ง ๔ ท่านมีหน้าที่แบ่งกันปกครองทั้งเหล่าคนธรรพ์ กินรี กินนร กุมภัณฑ์ นาค เทวดา และยักษ์ อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา



    ---ในส่วนของท้าวเวสสุวรรณ ท่านจะปกครองเหล่าอสูรและยักษ์ ตลอดจนภูติผีปีศาจทั้งหลาย ตามตำนานกล่าวว่าเริ่มแรกท่านท้าวเวสสุวรรณปกครองอยู่เมืองลงกา ต่อมาได้ถูกทศกัณฑ์มายึดและขับไล่ให้ท่านไปอยู่ที่อื่น พร้อมทั้งแย่งบุษบก (ของวิเศษที่พระพรหมมอบให้) ไปครอบครองอีก



    ---ท้าวเวสสุวรรณจึงได้มาสร้างเมืองใหม่อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา โดยท่านมีหน้าที่ดูแลปกครองเหล่าอสูร ยักษ์ ตลอดจนเหล่าภูติผีปีศาจทั้งหมด และยังเป็นเจ้าบัญชีพระกาฬใหญ่ ท่านท้าวเวสสุวรรณท่านเป็นยักษ์ที่ใจบุญ อีกทั้งยังให้ความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยพุทธกาล กล่าวว่ามีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาโมกขธรรม มีพระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ยังไม่ได้สำเร็จอภิญญามักจะโดนบรรดาภูติผีปีศาจ หลอกหลอนไม่เป็นอันได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ คือการเจริญสมาธิกรรมฐานเพื่อชำระจิตใจให้สงบได้อย่างเต็มที่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ ได้เสด็จลงมาจากเทวโลกเพื่อมากราบนมัสการสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งถวายมนต์ “ภาณยักษ์” ให้ไว้เพื่อเป็นมนต์ป้องกัน



    ---เวลาพระภิกษุ สามเณร ที่ออกธุดงค์ตามป่าเขา ถูกบรรดาภูติผีปีศาจ ยักษ์ เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิ หลอกหลอน ซึ่งมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้ยังนำมาใช้สวดกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ โดยการสวดมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้มักจะทำ เป็นพิธีการยิ่งใหญ่ ทุกวัดมักจะจัดให้มีการสวด “ภาณยักษ์” นี้ขึ้นเชื่อกันว่าใครที่ถูกคุณ ถูกของหรือโดนผีเข้าสิง เมื่อเข้าไปในบริเวณพิธีสวด “ภาณยักษ์” สิ่งอัปมงคลต่างๆที่มีอยู่ในตัวก็จะหมดไปด้วย มนต์ภาณยักษ์อันวิเศษบทนี้และนอกจากนี้ ท้าวเวสสุวรรณยังเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยสัญญลักษณ์แห่งมหาเศรษฐี



    ---ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ระบุชื่อ ท้าวเวสสุวรรณ ล้วนมุ่งหมายทางมหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ อาทิ ท้าวรัตนครรถ (ผู้มีเพชรเต็มพุง) ท้าวกุเวรธนบดี (ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์) ท้าวธเนศวร (เจ้าทรัพย์) องค์อิฉาวสุ (ผู้มั่งมีได้ตามใจ) ท้าวเวสสุวรรณ (ยิ่งด้วยทอง) แม้แต่ชาวจีนก็ยกย่ององค์ท้าวเวสสุวรรณว่า เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวยในนาม “องค์ไฉ่ซิงเอี้ย” ซึ่งมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคน ขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย แก้เสนียด อัปมงคลคุณไสยต่างๆ หากท่านผู้ใดบูชาท่านท้าวเวสสุวรรณ ด้วยความเคารพศรัทธา จงเชื่อได้เลยว่าท่านจะประสบแต่ความโชคดีมีทรัพย์ ตลอดจนพ้นภัยจากบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลาย ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร



    *ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร



    ---ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า “ท้าวไพศรพมหาราช” และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า ”ท้าวไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดร เถิงกำแพงจักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุก ฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้นบ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้าน แลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึงกลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัวหนึ่งดูงามดั่งทอง”



    ---จากคำพรรณนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมายไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรคทีฆนิกายกล่าวไว้ว่า ดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวรรณ ชื่ออาลกมันทาราชธานี เป็นนครเทพเจ้าที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวรรณเทวราชโลกบาลองค์นี้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

    และเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าวสักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวรรณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นราชโอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของท้าวเวสสุวรรณนั่นเอง ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่า เมื่อถึงวันอุโบสถคือ ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอ โดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดินดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ ถ้าใครทำบุญประพฤติธรรม ทำความดี ก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลายก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก



    ---แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้ท้าวยมราช เพื่อให้นายนิริยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรกเหล่านั้น ศิลาจารึกสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณ มีปราสาทช้างเรืองอร่ามด้วยแสงแก้วอยู่เหนือยอดเขายุคนทร มียักษ์เฝ้าประตูวังและยักษ์เสนาบดีอยู่หลายตนมีร่างทิพย์ ม้าทิพย์ ราชรถทิพย์และบุษบกทิพย์ มีศักดิ์เป็นใหญ่แก่ฝูงยักษ์ทั้งหลาย ๙ ตนมีบริวารที่เรียกว่า ”ยักขรัฏฐิภะ” ซึ่งมีหน้าที่สืบข่าวและตรวจตราเหตุการณ์ต่างๆรวม ๑๒ ตนและยังมียักษ์ที่สำคัญเป็นเสนาบดียักษ์อีก ๒๘ นายที่คอยรับใช้ท้าวเวสสุวรรณอยู่ดังจะเห็นว่า ท้าวเวสสุวรรณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน



    ---แม้กระทั่งในลัทธิของจีนฝ่ายมหายานว่า ท้าวโลกบาลทิศอุดรมีชื่อว่า ”โตบุ๋น” เป็นขุนแห่งยักษ์ มีพวกยักษ์บริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ทางทิเบตมีกายสีทองคำถือธงและพังพอน ทางญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภนามว่า "พิสมอน" ถือแก้วมณีทวนและธงตามที่ได้พรรณนามานั้นเป็นเพียงประวัติย่อๆ ของท้าวเวสสุวรรณเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่านมีความสำคัญมากเพียงใด โบราณาจารย์จึงได้จัดสร้างรูปไว้เคารพบูชามาตั้งกว่าพันปีมาแล้ว โดยสรุปแล้วท้าวเวสสุวรรณ ถือเป็นเทพเจ้าที่สำคัญยิ่ง เป็นที่เคารพนับถือในหลายต่อหลายประเทศ ในไทยเราเองนั้นนับถือเทพเจ้าองค์นี้มาก



    ---ในฐานะผู้คุ้มครองให้ปลอดภัยจากวิญญาณร้าย ดังเราจะเห็นได้ว่าครูบาอาจารย์มักทำผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ เป็นผืนสีแดงไว้ติดตามประตู เพื่อป้องกันภูตีผีปีศาจ คติความเชื่อนี้ถือว่าเก่าแก่และเป็นที่คุ้นตาที่สุด หรือ อย่างพิธีสวดภาณยักษ์ ก็เช่น พระคาถาภาณยักษ์ หรือบท “วิปัสสิ” นี้เป็นพระคาถาที่ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ท่าน โดยมีท้าวเวสสุวรรณเป็นหัวหน้า นำมามอบให้พระพุทธเจ้า ปัจจุบันเราก็ยังสามารถพบเห็นการสวดภาณยักษ์ได้อยู่ และจะเห็นรูปท้าวเวสสุวัณเด่นเป็นสง่าเสมอในพิธีสวดภาณยักษ์นี้ เพราะท้าวเวสสุวรรณเป็นผู้ที่มีสิทธิเฉียบขาดในการลงโทษภูตีผีปีศาจทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นว่า ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเทพเจ้าที่มีคุณในการทำลายล้างสิ่งอัปมงคล ทั้งกันทั้งแก้เรื่องผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำทั้งหลายได้ ทั้งยังให้คุณเรื่องโภคทรัพย์อีกประการหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว



    *คติชาวจีน



    ---ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ หากเอ่ยถึงเทพเจ้าต่างๆ ที่ชาวจีนกราบไหว้บูชาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีอยู่ด้วยกันนับสิบสิบองค์ และองค์หนึ่งที่ชาวจีนมักบูชาเพื่อความโชคดี ความมั่งคั่ง ความร่ำรวยมีโชคมีลาภก็คือ ไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์แรก ที่ชาวจีนทุกครอบครัวกราบไหว้บูชากันในวันแรกของปีใหม่ ตามคติของชาวจีนคือ วันชิวอิก ตรุษจีนของปี เพื่อขอให้ท่านประทานความมั่งมีศรีสุข โชคลาภ ความร่ำรวย ชาวจีนให้ความเคารพนับถือและกราบไว้บูชากันมาหลายพันปีแล้ว



    ---ประวัติความเป็นมาของไฉ่ซิงเอี้ย นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน เท่าที่ศึกษาดูและพอจะมีหลักฐาน เค้าความจริงอยู่ด้วยกันหลายเรื่อง มีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ (บูไฉ่ซิงเอี้ย) และเทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋น (บุ่งไฉ่ซิงเอี้ย)



    ---ตามตำนานกล่าวกันว่า เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู๊ก็คือ เจ้ากงหมิง ซึ่งบำเพ็ญพรตอยู่บนเขาง้อไบ๊ สำเร็จมรรคผลเป็นเซียนที่มีอิทธิฤทธิ์สูงมาก หน้าตาดุร้าย มีหนวดเครารุงรัง มีสมุนร้ายกาจมาก คือ เสือดำ บางตำราว่าเป็นเสือโคร่ง และยังมีของวิเศษอีกหลายอย่าง เช่น แส้เหล็ก ไข่มุกวิเศษ เชือกล่ามมังกร แม้แต่เจียงไท่กง ซึ่งเป็นเทพผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่แต่งตั้งเทพเจ้าองค์ต่างๆ ยังสู้เจ้ากงหมิงไม่ได้และตอนหลังยังได้ของวิเศษอีก 4 อย่าง คือเจียป้อ หนับเตียง เจียใช้ หลี่ฉี ซึ่งเป็นของวิเศษที่สามารถเรียกเงินทองให้ไหลมาเทมา ช่วยให้การค้าราบรื่นได้กำไรงาม ประชาชนจึงพากันกราบไหว้ เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภเงินทองความมั่งคั่ง



    ---เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋น ตามตำนานกล่าวกันว่า คือ ปี่กาน อัครมหาเสนาบดีของจักกรพรรดิอินโจ้ว ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อิน หน้าตาสะอาดหมดจด รับใช้ราชสำนักด้วยความจงรักภักดี แต่ถูกนางสนมเอกของจักรพรรดิอินโจ้ว กลั่นแกล้ง โดยจะขอหัวใจของปี่กานมาเป็นยา ซึ่งปี่กานก็รู้ว่าถูกกลั่นแกล้ง แต่ก่อนที่จะควักหัวใจให้ไป ปี่กานได้รับยาวิเศษจากเจียงไท่กง ผู้ใดกินแล้วถึงแม้ไม่มีหัวใจและกินเข้าไปก่อนแล้ว ก่อนควักหัวใจจึงทำให้มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีหัวใจ พอควักหัวใจให้ไปแล้วก็เดินออกจากวังไป ตอนหลังเร่ร่อนไปตามหมู่บ้านต่างๆ เที่ยวโปรยเงินโปรยทองกลายเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สินเงินทอง และโปรยเงินทองให้ประชาชนอย่างทั่วถึง



    *ลักษณะที่สำคัญอันเป็นเอกลักษณ์



    ---เนื่องจากไฉ่ซิงเอี้ยเป็นเทพแห่งความโชคดี ความมั่งคั่งและความร่ำรวยและเป็นที่นิยมนับถือกันในหมู่ชาวจีน โดยเฉพาะชาวจีนที่ประกอบการค้า ดังนั้นจึงปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยขึ้นมา เพื่อสักการะบูชากันซึ่งมีตั้งแต่เป็นภาพวาด รูปปั้นเซรามิค (กระเบื้อง) และรูปหล่อโลหะ (มีน้อยไม่ค่อยพบเห็นเพราะจัดสร้างยาก ต้นทุนสูง)



    *ลักษณะที่ปรากฏในรูป



    ---เคารพดังกล่าว จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



    ---1.รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยในลักษณะนี้ จะเป็นรูปของไฉ่ซิงเอี้ยที่อยู่ในวัยกลางคนสวมใส่ชุดนักรบจีนโบราณ อันประกอบ ไปด้วยชุดเกราะ, หมวกขุนพลจีนโบราณ มือขวาจะถือกระบอง มือซ้ายถือเงินหยวน (หยวนเปา) ใบหน้าดุดันค่อนข้างไปในทางเหี้ยมโหด และมีพาหนะเป็นเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่



    ---2.รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบุ๋น รูปเคารพของไฉ่ซิงเอี้ยในลักษณะนี้ เป็นรูปของไฉ่ซิงเอี้ยอยู่ในชุดขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจีนโบราณ สวมหมวกขุนนาง มีปีกออกไปสองข้าง (ลักษณะเดียวกับหมวกของเทพลก) ชุดขุนนางจีนชั้นผู้ใหญ่ก็จะครบเครื่องครบครันทั้งเสื้อนอกเสื้อใน มือซ้ายจะถือเงินหยวน (หยวนเปา) หรือบางที่ไม่ได้ถืออะไรดังกล่าวเลย แต่มือทั้งสองจะถือแผ่นผ้าจารึกอักษร (ปัก) ที่คลี่ออกมาเป็นคำอวยพรที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาทุกท่าน



    ---อานุภาพของไฉ่ซิงเอี้ย ไฉ่ซิงเอี้ยเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง และความร่ำรวยของชาวจีนย่อมจะต้องมีอานุภาพในด้านอำนวยความมีโชคลาภ ความมั่งคั่งและความร่ำรวยให้แก่ผู้บูชา ซึ่งหากบูชาได้ถูกวิธีก็จะดียิ่งขึ้น สำหรับอานุภาพของไฉ่ซิงเอี๊ยนั้นขอจำแนก ออกเป็นภาคเพื่อจะได้เข้าใจได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น





    ---1.ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊นี้ชาวจีนที่นับถือเชื่อกันว่าจะมีอานุภาพ ให้คุณแก่ผู้บูชาในเรื่องของหนี้สินกล่าว คือ จะช่วยดลบันดาลให้ผู้บูชาที่เป็นเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้ จากลูกหนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ลูกหนี้ไม่คิดที่จะเบี้ยวหรือหนี ให้เจ้าหนี้ต้องลำบากลำบน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอานุภาพ ในการช่วยดูแลควบคุม บริวารลูกจ้างทั้งหลายให้อยู่ในกรอบในระเบียบ ให้ขยันทำการทำงาน โดยเฉพาะตามโรงงานใหญ่หรือบริษัทใหญ่ๆ ตลอดจนกิจการงานที่มีลูกน้องมากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊นี้ด้วย มีความเชื่อว่าท่านจะช่วยกำกับดูแล ลูกน้องให้ดีเป็นหูเป็นตาให้แก่ผู้บูชาหรือเจ้าของกิจการ ทั้งนี้และทั้งนั้นยังรวมไปถึงบรรดาข้าราชการทหาร ตำรวจที่อยู่ในระดับหัวหน้า (ชั้นสูงๆ) ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบู๊ด้วยกันทั้งสิ้น (ของจีน) นอกจากนี้ยังมีอานุภาพ ในการคุ้มครองบุตร ภรรยา (ของผู้บูชา) ทั้งที่อยู่ในบ้านและต่างถิ่นแดนไกลให้ทำตนเป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน



    ---2.ไฉ่ซิงเอี๊ยในภาคบุ๋น ชาวจีนเชื่อว่า ไฉ่ซิงเอี้ยในภาคบุ๋นนี้จะอำนวยพรให้ผู้บูชา มีความมั่งคั่งและมีความร่ำรวย มีโชคลาภเป็นประจำ โชคลาภที่ได้เป็นรายได้พิเศษ ที่นอกเหนือไปจากรายได้ประจำ ไฉ่ซิงเอี้ยในภาคนี้จะมีอานุภาพในด้าน เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ และโชคลาภ ที่ถือเป็นรายได้รายรับที่จะทำให้ผู้บูชามีความมั่งคั่งและมีความร่ำรวยเปรียบดังนักการฑูต ที่ดีมีความสามารถในการเจรจาโน้มน้าวให้ต่างชาติ ต่างภาษามีความเชื่อถือในประเทศของตน และเช่นเดียวกัน ทำให้ลูกค้าเชื่อถือในคุณภาพสินค้าและบริการ และกลายเป็นลูกค้าประจำ ดังนั้นผู้ที่จะบูชาไฉ่ซิงเอี้ยก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องบูชาไฉ่ซิงเอี้ยให้ครบชุด กล่าวคือ จะต้องมีรูปไฉ่ซิงเอี้ยทั้งในภาคบู๊และภาคบุ๋นคู่กัน เพื่อท่านจะได้อำนวยความเป็นสิริมงคลให้ครบทุกๆ ด้าน ดังกล่าวมาแล้ว



    *รูปแบบการจัดสร้าง เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิงเอี้ย"



    ---รูปหล่อบูชาไฉ่ซิงเอี๋ยในชุดนักรบยืนเหยียบเสือขนาดสูง 16 นิ้ว มือซ้ายถือเงินทองและไข่มุกวิเศษ มือขวาถือดาบคล้ายกระบอง สวมใส่เสื้อมังกร เหน็บแส้ไว้ข้างลำตัว จัดเป็นปางที่สวยสมบูรณ์แบบที่สุดของเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยปางบู๊ ก็ว่าได้ซึ่งรูปแบบจะเห็นได้ถึงความลงตัวของงานศิลปะจีนที่สวยงามอลังการยิ่งนัก ปั้นแบบโดยประติมากรชื่อดังซึ่งปั้นงานศิลปะจีนได้ สวยงามที่สุดแห่งยุค (ขอสงวนนาม)



    ---องค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยอยู่ในชุดนักรบเหยียบเสือ สวมใส่เสื้อมังกรชุดนักรบมือซ้ายถือก้อนเงินก้อนทองจีน มีไข่มุกวิเศษ มุกไฟล่อมังกร เป็นการเรียกทรัพย์โชคลาภ ข้างลำตัวเหน็บแส้เหล็กไว้ พระพักตร์เต็มไปด้วยเมตตา ปกติบู๊ไฉ่ซิงหน้าตาจะดุมาก ลักษณะต่างๆ ถูกต้องตามโหงวเฮ้งยิ่งนัก จมูกเจ้าทรัพย์เป็นมหาเศรษฐี เป็นเคล็ดว่าผู้บูชาจะได้ร่ำรวยเป็นสิริมงคล มีอำนาจบารมีประกอบกับปางบู๊เหยียบเสือนี้ มีความหมายยิ่งนัก เพราะเสือเป็นราชาแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล บ่งบอกถึงอำนาจ ราชศักดิ์ความสง่าผึ่งผาย ความกล้าหาญ ความทรงพลังทางอำนาจ ตลอดจนการค้าอีกด้วย



    ---และในภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบันเปิดกว้างถึงกันหมด การค้าขายก็ไม่ผิดอะไรกับสงครามการค้าดีๆ นี่เอง จึงควรบูชาบู๊ไฉ่ซิงเอี้ย เพื่อขอพระให้ท่านช่วยให้ทำการค้าประสบผลสำเร็จ และปางเหยียบเสือนี้สอดคล้องกับปีนักษัตรจอ ที่จะมาถึงในปี พ.ศ.2549 ยิ่งนัก เพราะเสือกับจอเป็นคู่มิตร (ซาฮะ) จะหนุนเสริมเติมพลังให้กันและกัน ผู้บูชาจะทำให้ธุรกิจการค้าพุ่งไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และเจริญก้าวหน้า เสื้อที่องค์ไฉ่ซิงเอี้ยสวมใส่นอกจากชุดนักรบยังมีเสื้อมังกรอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มังกรนั้นเป็นสัตว์ในเทพนิยายจีน ที่มีรูปลักษณะเด่นสะดุดตาหลายสิ่งหลายอย่าง รวมกันถึง 9 ประการกล่าว คือ



    ---หัวคล้ายอูฐมีเขาสวมอยู่คล้ายเขากวาง



    ---มีตาเหมือนกระต่าย



    ---มีหูเหมือนหูวัว คอเหมือนงู



    ---ลำตัวยาวเหมือนจระเข้ มีเกล็ดยาวตลอด



    ---ลำตัวคล้ายเกล็ดปลา



    ---กรงเล็บเหมือนนกเหยี่ยว ฝ่าเท้าเหมือนเท้าเสือ



    ---เลื้อยแล่นวิ่งซอนไชอยู่บนก้อนเมฆบนท้องฟ้า บางครั้งก็พบกำลังเลื้อยแล่นโต้คลื่นอยู่ในทะเล ใกล้หัวมังกร มีลูกกลมเป็นไข่มุกไฟลอยหมุนอยู่ มังกรถือเป็นสัตว์เทพเจ้ามีความเป็นอมตะ จะตายก็ต่อเมื่อสมัครใจเองและไม่มีกำหนด มังกรจึงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของชาวจีน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิริมงคลเ ป็นพื้นฐานของความเมตตา กรุณา พลังอำนาจวาสนา ความแคล้วคลาดปลอดภัย เป็นผู้พิทักษ์อำนาจของเทวดาที่คอยเฝ้าดูอยู่เหนือจักรวาลและมวลมนุษย์ แม้แต่ฉลองพระองค์จักรพรรดิจีน ยังต้องมี "มังกร 9 ตัว" เป็นหัวใจ



    ---รูปแบบที่มือขวาถือดาบคล้ายกระบอง เป็นการช่วยในเรื่องของการค้า การเจรจา อำนาจให้ดูมีบารมีน่าเกรงขาม แส้เหล็ก ที่เหน็บข้างลำตัวไว้ปราบเสือ เหมือนดั่งเอาไว้ควบคุมบริวารให้อยู่ในโอวาทไม่คดโกง มือซ้ายถือก้อนเงินก้อนทองไข่มุกวิเศษ ล้วนมีความหมายเป็นสิริมงคล ให้ผู้บูชามีทรัพย์สินเงินทอง ร่ำรวย มีอำนาจ วาสนา ยศฐาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศชื่อเสียงฯลฯ

    [ame]



    ตำนานอาฏานาฏิยปริตร

    อาฏานาฏิยปริตร คือ ปริตรของท้าวกุเวรผู้ปกครองนครอาฏานาฏา เพราะเป็นพระปริตรที่ท้าวกุเวรได้นำมากราบทูลพระพุทธเจ้า
    พระปริตรนี้กล่าวพระนามของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
    รวมทั้งอ้างอานุภาพพระพุทธเจ้า และเทวานุภาพ มาพิทักษ์ให้มีความสวัสดี

    มีประวัติว่า ในสมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ แขวงกรุงราชคฤห์
    ท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ, ท้าววิรุฬหก, ท้าววิรูปักษ์, ท้าวกุเวร(เวสสุวัณ) ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าในมัชฌิมยามแห่งราตรี ขณะนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลว่า อมนุษย์บางพวกเลื่อมใสในพระองค์ บางพวกไม่เลื่อมใส ส่วนใหญ่มักไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์สอนให้ละเว้นจากอกุศลกรรม มีปาณาติบาต เป็นต้น แต่พวกเขาไม่สามารถจะเว้นได้ จึงไม่พอใจคำสอนที่ขัดแย้งกับความประพฤติของตน

    เมื่อภิกษุปฏิบัติธรรมในป่าเปลี่ยว อมนุษย์เหล่านั้นอาจจะรบกวนได้
    จึงขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องคุ้มครอง คือ "อาฏานาฏิยปริตร" ไว้ แล้วประทานแก่พุทธบริษัท เพื่อสาธยายคุ้มครองตน และเพื่อให้อมนุษย์เกิดความเลื่อมใสพระศาสนา

    จากนั้น ท้างกุเวรได้กราบทูลคาถา เป็นต้นว่า "วิปัสสิสสะ จะ นะมัตถุ.."
    เมื่อท้าวมหาราชเหล่านั้นเสด็จกลับแล้ว พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสแก่พุทธบริษัทในภายหลัง

    อาฏานาฏิยปริตรที่มีปรากฏในฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค(ที.ปา.๑๑/๒๗๕-๘๔/๑๖๙-๗๘) มีทั้งหมด ๕๑ คาถา แต่พระปริตรที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นบทสวดที่โบราณาจารย์ปรับปรุงในภายหลัง โดยนำคาถาในบาลี ๖ คาถาแรก แล้วเพิ่มคาถาอื่นที่อ้างพระพุทธคุณและเทวานุภาพ เพื่อเป็นสัจจวาจาพิทักษ์คุ้มครอง ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า พระเถระชาวลังกาเป็นผู้ปรับปรุงพระปริตรนี้(พระปริตรแปลพิเศษ ฉบับพม่า หน้า ๔-๕)

    บทขัดอาฏานาฏิยปริตร
    อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
    อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
    ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา
    ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตัน ตัมภะณามะ เห ฯ

    พระมหาวีรเจ้าทรงแสดงพระปริตรใด เพื่อคุ้มครองพุทธบริษัทสี่ มิให้ถูกเบียดเบียนจากเหล่าอมนุษย์ผู้ดุร้าย หยาบกระด้างอยู่เสมอไม่เลื่อมใสคำสอนของพระโลกนาถ อันบัณฑิตยกย่องว่าเป็นคำสอนที่ดี ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด



    อาฎานาฎิยปริตร

    วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

    นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
    ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
    สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย

    สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
    หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ

    ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
    ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
    สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ เต ฯ

    ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต

    สักกัตวา ธัมมะ ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
    ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง ฯ

    ตำนาน

    สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินทราธิราช

    พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี

    ท้าวธตรฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
    ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
    ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิมท้าวเวสวัน เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระบรมสุคตเจ้า

    จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็ให้พวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา กุมภัณฑ์รักษาทิศทักษิณ นาครักษาทิศปัจจิม ยักษ์รักษาทิศอุดร

    ครั้นแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ประชุมพร้อมกันที่ อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พร้อมกับผูกมนต์อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งมีเนื้อความสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ มี

    พระวิปัสสี ผู้มีสิริอันงาม
    พระสิขี พุทธเจ้า ผู้มากด้วยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
    พระเวสสภู พุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส มีตบะ
    พระกกุสันธะ พุทธเจ้า ผู้มีชัยชนะแก่พญามารและเสนามาร
    โกนาคมนะ พุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วมีพรหมจรรย์อันจบแล้ว
    กัสสปะ พุทธเจ้า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากกองกิเลสทั้งปวง
    พระอังคีส พุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งหมู่ศากยราช ผู้มีศักดิ์ มีสิริ ดัง นี้เป็นต้น

    ครั้นผูกมนต์พระปริตรแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงประกาศแก่บริวารของตนว่า ธรรมอาณาจักรของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมครูของเราทั้ง ๔ ถ้ามีผู้ใดสาธยายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร นี้ขึ้น แล้วถ้าใครไม่เชื่อฟัง ไม่สดับ จะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม รุนแรง

    และแล้วมหาราชทั้ง ๔ ก็พร้อมใจกันลงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กราบบังคมทูลว่าหมู่ยักษ์ทั้งหลาย หมู่นาคทั้งหลาย หมู่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย และหมู่คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีจิตกระด้างหยาบช้า ละเมิดเบญจศีลเป็นอาจิณ ที่ยังไม่เลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยนั้นมีมากพวกที่เลื่อมใสนั้นมีน้อย

    เมื่อพระสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ในที่ห่างไกลจากมนุษย์สัญจร อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมจะย่ำยี หลอนหลอก กระทำให้เจ็บไข้เป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ แต่ต่อนี้ไปจะไม่บังเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกแล้ว ถ้าพระบรมสุคตเจ้าทรงพระกรุณาโปรดรับมนต์อาฏานาฏิยปริตรนี้ไว้ แล้วโปรดประทานให้พระภิกษุสาวก สาธยายอยู่เนือง ๆ อมนุษย์ทั้งปวงก็จะมิกล้าย่ำยีหลอนหลอกทำร้าย อีกทั้งยังจะช่วยปกป้องคุ้มครอง กันภัยทั้งปวงให้อีกด้วยพระเจ้าข้า

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับมนต์พระปริตรนั้นโดยดุษฏี

    ท้าวเวสวัณ ก็แสดงอาฏานาฏิยปริตรนั้นถวายและแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ก็ถวายมนัสการลา

    สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เรียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ

    ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า จบ


    ก็พอจะผูกเรื่องราวคร่าวๆแล้วถึงผู้ที่จะเดินทางมาจากดินแดนแห่ง"กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"หรือก็คืออุตรกุรุทวีปแล้วนำแก้ว 7 ประการ มาถวายพร้อมข้าทาสบริวารอันได้แก่

    จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ)
    เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงไม่รับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้

    ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ)
    ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

    ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
    ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

    มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ)
    มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้เกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน

    นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ)
    นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาสุภาพ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ

    ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ)
    คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหนก็เห็นไปหมด

    ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ)
    ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

    อาฏานาฏิยปริตร สวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย จากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข
    ในอาฏานาฏิยสูตร (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) ระบุไว้ว่า
    เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียน “รักขา”(ปริตร) นี้ ท่องบ่นดีแล้ว
    อมนุษย์ใด ๆ จะเป็นยักษ์ คนธรรมพ์ กุมภันฑ์ นาค ตลอกจนพวกพ้อง
    ถ้ามีจิตประทุษร้าย เข้าไปใกล้ ผู้เรียน“ รักขา” นี้ จะเข้าพวกไม่ได้
    จะชื่อว่าประพฤติผิดเหมือนโจร จะถูกลงโทษ .
    พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีจะคอยชี้ความผิดของอมนุษย์เหล่านั้น.

    พวกท่านยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีจะคอยชี้ความผิดของอมนุษย์โมฆะบุรุษเหล่านั้น.ในสำนักวัดนาป่าพงด้วยเถิด
    ท้าวเวส.jpg



     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภาพเขียนรูป “คนจูงหมา” อายุกว่า 20,000 ปี บนผนังถ้ำ “ภีมะเบตกา” (Bhimabetaka Cave) กลุ่มภาพเขียนโบราณอันมีชื่อเสียงในรัฐมัธยประเทศ ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย และภาพเขียนสีรูป “นายพรานกับสุนัข” อายุกว่า 15,000 ปี บนผาถ้ำหินทราย Tassili n' Ajjer ทางทิศตะวันออกของประเทศแอลจีเรีย ก็ล้วนแต่เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นร่องรอยของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขป่าในช่วงเริ่มแรกครับ

    นี่คือทางประวัติศาสตร์


    แต่ถ้ามามองดูในทางศาสนาพุทธ

    มหากัณหชาดก
    ว่าด้วย คราวที่สุนัขดำกินคน

    พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภความประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กณฺโห กณฺโห จ โฆโร จ ดังนี้.
    ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งในธรรมสภาพรรณนาถึงพระคุณของพระทศพล ที่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกว่า
    ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นจำนวนมาก ทรงละความผาสุกส่วนพระองค์เสีย ทรงประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลกโดยส่วนเดียว จำเดิมแต่บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรงถือบาตรจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จพุทธดำเนินทางสิบแปดโยชน์ ทรงแสดงธรรมจักรแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ตรัสอนัตตลักขณสูตร ประทานพระอรหัตแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด
    แล้วเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไปคยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิลพันหนึ่ง
    เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบทด้วยโอวาทสามข้อ
    ครั้งหนึ่ง เวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต
    ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้าตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์

    ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมาภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัตแก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะและศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการต่างๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.

    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.

    ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุสสินนรราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลื้องมหาชนให้พ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลส ด้วยจตุราริยสัจเทศนา ทำพระนครคือพระนิพพานให้เต็มแล้วเสด็จปรินิพพาน

    ครั้นกาลล่วงมานาน ศาสนาก็เสื่อม ภิกษุทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาไม่สมควร ทำการเกี่ยวข้องกับพวกภิกษุณีจนมีบุตรธิดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและพราหมณ์ ต่างละธรรมของตนเสียสิ้น โดยมากพวกมนุษย์ประพฤติอกุศลกรรมบถสิบ ผู้ที่ตายไปๆ จึงไปอัดแน่นกันอยู่ในอบาย.

    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชไม่เห็นเทวบุตรใหม่ๆ จึงตรวจดูมนุษยโลก ก็ทรงทราบว่า พวกมนุษยโลกไปเกิดในอบาย ทรงเล็งเห็นความที่ศาสนาของพระศาสดาเสื่อมโทรม ทรงดำริว่า จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงเห็นอุบายมีอยู่อย่างหนึ่ง จึงตกลงพระทัยว่า เราจักต้องทำให้มหาชนกลัว สะดุ้งหวาดเสียว แล้วค่อยปลอบโยนแสดงธรรม ยกย่องพระศาสนาที่เสื่อมแล้วให้ถาวรต่อไปได้อีกพันปี รับสั่งให้มาตลีเทพบุตรแปลงเพศเป็นสุนัขดำใหญ่เท่าม้าอาชาไนย มีรูปร่างดุร้าย มีเขี้ยวโตเท่าผลกล้วย มีรัศมีร้อนเป็นไฟ พลุ่งออกจากเขี้ยวทั้งสี่ รูปพิลึกน่าสะพรึงกลัว หญิงมีครรภ์เห็นเข้าอาจแท้งลูก มีเชือกผูกอยู่ห้าแห่งคือที่เท้าทั้งสี่และที่คอ บนศีรษะประดับพวงดอกไม้แดง

    ท้าวสักกะแปลงเพศเป็นนายพรานป่า นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มุ่นผมข้างหน้าไว้ข้างหลังแล้วประดับพวงดอกไม้แดง มือขวาถือปลายเชือกที่ผูกสุนัข มือซ้ายถือธนูใหญ่มีสายมีสีดังแก้วประพาฬ กวัดแกว่งวชิราวุธด้วยพระนขา เหาะลงในที่ห่างพระนครโยชน์หนึ่ง ส่งเสียงขึ้นสามครั้งว่า มนุษย์ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักพินาศทำให้มนุษย์ทั้งหลายหวาดเสียว แล้วไปชานพระนครส่งเสียงขึ้นอีก

    พวกมนุษย์เห็นสุนัขนั้นก็หวาดเสียวพากันเข้าพระนคร กราบทูลความเป็นไปให้พระราชาทรงทราบ พระราชารับสั่งให้ปิดพระนครโดยด่วน ท้าวสักกะได้โดดข้ามกำแพงสูงสิบแปดศอก เข้าไปข้างในพระนครพร้อมกับสุนัข พวกมนุษย์กลัวสะดุ้งหวาดเสียว ต่างก็หนีเข้าเรือนปิดประตู ฝ่ายสุนัขดำใหญ่ก็วิ่งไล่พวกมนุษย์ที่ตนได้เห็น ทำให้พวกมนุษย์หวาดเสียวไปพระราชนิเวศน์.
    พวกมนุษย์ที่พระลานหลวงพากันหนีไปด้วยความกลัวเข้าพระราชนิเวศน์แล้วปิดพระทวาร แม้พระเจ้าอุสสินนรราชก็พานางสนมทั้งหลายขึ้นปราสาท สุนัขดำใหญ่ยกเท้าหน้าขึ้นเกาะบานประตูแล้วเห่าลั่น เสียงที่สุนัขเห่าดังสนั่นเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัครพรหม สกลจักรวาลสะเทือนทั่วถึงกันหมด
    เสียงดังเช่นนี้ได้มีในชมพูทวีปสามครั้ง คือ
    เสียงของพระเจ้าปุณณกราช ใน ปุณณกชาดก ครั้งหนึ่ง
    เสียงของพระยาสุทัศนนาคราช ใน ภูริทัตชาดก ครั้งหนึ่ง และ
    เสียงในมหากัณหชาดกนี้ครั้งหนึ่ง
    ชาวพระนครพากันกลัวสะดุ้งหวาดเสียว แม้บุรุษคนหนึ่งก็ไม่อาจมาเจรจากับท้าวสักกะได้.
    พระราชาเท่านั้นดำรงพระสติไว้มั่นคง เยี่ยมพระแกล เรียกท้าวสักกะมาตรัสว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขของท่านเห่าเพื่ออะไร.
    ท้าวสักกะตอบว่า เห่าด้วยความหิว
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักให้ข้าวแก่สุนัข แล้วรับสั่งให้ให้ข้าวที่หุงไว้สำหรับคนในราชสำนักและสำหรับพระองค์ทั้งหมด สุนัขได้ทำข้าวทั้งหมดนั้นเหมือนกะเป็นข้าวคำเดียว แล้วก็เห่าขึ้นอีก
    พระราชาตรัสถามอีก ทรงสดับว่า บัดนี้สุนัขของเรายังหิวอยู่ จึงรับสั่งให้นำอาหารที่หุงไว้สำหรับช้างม้าเป็นต้นทั้งหมดมาให้ สุนัขได้กินคำเดียวหมดเหมือนกัน รับสั่งให้ให้อาหารที่หุงไว้สำหรับพระนครทั้งสิ้น สุนัขได้กินอาหารนั้นโดยทำนองนั้นแหละ แล้วก็เห่าขึ้นอีก
    พระราชาทรงตกพระทัยสะดุ้งกลัว ทรงดำริว่า นี่เห็นจะไม่ใช่มนุษย์ ต้องเป็นยักษ์โดยไม่ต้องสงสัย เราจะถามเหตุที่มาของนายพรานนี้
    เมื่อจะตรัสถามได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า

    ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้ดำจริง ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อนพุ่งออกจากเขี้ยว ท่านผูกไว้ด้วยเชือกถึง ๕ เส้น สุนัขของท่านจะทำอะไร.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺโห กณฺโห ความว่า เปล่งเสียงซ้ำด้วยอำนาจความกลัว หรือด้วยอำนาจกรรมอันมั่น. บทว่า โฆโร ได้แก่ ให้เกิดความกลัวแก่ผู้ได้พบเห็น. บทว่า ปตาปวา ความว่า มีแสงร้อน ด้วยความร้อนแห่งรัศมีที่พลุ่งออกมาจากเขี้ยวทั้งหลาย. บทว่า กึ วีร ความว่า พระราชาตรัสอย่างนั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวดุร้ายของท่านเห็นปานนี้นั้น ทำอะไร มันจับมฤคกินหรือจับอมิตรให้ท่าน ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยสุนัขตัวนี้ จงปล่อยมันไปเถิด.

    ท้าวสักกะได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า
    ดูก่อนพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มาเพื่อต้องการกินเนื้อ แต่เพื่อจะกินมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อใดจักมีมนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนั้นสุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินมนุษย์.

    คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ก็สุนัขตัวนี้มิได้มาในที่นี้ด้วยหวังว่า จะกินเนื้อมฤค เพราะฉะนั้นจะไม่มีประโยชน์สำหรับพวกมฤค แต่มาเพื่อจะกินเนื้อมนุษย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะทำความฉิบหายความพินาศให้แก่มนุษย์เหล่านั้น เมื่อใด ผู้นั้นทำพวกมนุษย์ให้ถึงความพินาศ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้ย่อมหลุด คือจักหลุดจากมือของเราไปกินผู้นั้น.

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขดำของท่านจักกินเนื้อมนุษย์ทุกคน หรือว่าจักกินแต่ผู้ที่มิใช่มิตรของท่านเท่านั้น
    ท้าวสักกะตอบว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ สุนัขจักกินเนื้อมนุษย์ที่มิใช่มิตรของเราเท่านั้น.
    คนเช่นไร ที่มิใช่มิตรของท่านในที่นี้.
    คนที่ไม่ยินดีในธรรม มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ชื่อว่าผู้มิใช่มิตร.
    ขอท่านจงกล่าวลักษณะคนเหล่านั้นให้เราทราบก่อน.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสบอกแก่พระราชา ได้ตรัสพระคาถาสิบคาถาว่า

    ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะมีบาตรในมือ มีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ ทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพ คนเหล่านี้เป็นคนทุศีล มิใช่มิตรของเรา สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อได้เมื่อใด สุนัขดำจะหลุดจากเชือกห้าเส้นไป เมื่อนั้น.

    เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่ามีตบะ บวชมีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ เที่ยวบริโภคกามคุณอยู่ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.

    เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว มีฟันเขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลีเที่ยวภิกขาจาร รวมทรัพย์ไว้ให้กู้ ชื่นชมยินดีด้วยดอกเบี้ยเลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิลเหล่านั้น.

    เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือสาวิตติศาสตร์ ยัญญวิธีและยัญญสูตร แล้วรับจ้างบูชายัญ เมื่อนั้น สุนัขดำเหล่านี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.

    เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดูมารดาบิดาได้ แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าวดูหมิ่นมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็นคนโง่เง่า เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจะคบหาภรรยาของอาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้าและน้าเป็นภรรยา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่และดาบ คอยดักอยู่ที่ทางฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.

    เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสีผิวกายบำรุงร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้จักหาทรัพย์ ร่วมสังวาสกับหญิงหม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของหญิงหม้ายนั้นหมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิงอื่นต่อไป เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลงหญิงเหล่านั้น.

    เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน เปิดเผยโทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอยู่ในโลก เมื่อนั้น สุนัขดำจะหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้นไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณกา ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้โดยโวหารว่าละอายเพียงปฏิญาณตนว่า เราเป็นสมณะ. บทว่า กสิสฺสนฺติ ความว่า คนเหล่านั้นย่อมทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพอย่างเดียว แม้ในเวลานั้น ก็ท้าวสักกะทำเป็นเหมือนไม่รู้จึงกล่าวอย่างนี้. จริงอยู่ ท่านมีประสงค์ดังนี้ว่า คนเหล่านี้ คือเห็นปานนี้ เป็นคนทุศีล ไม่ใช่เป็นมิตรของเรา เมื่อใด สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อคนเหล่านี้ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ ย่อมหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้นนี้.
    ด้วยอุบายนี้ พึงทราบประกอบอธิบายในคาถาทั้งปวง.
    บทว่า ปพฺพชิตา ได้แก่ เป็นผู้บวชในพระพุทธศาสนา. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า เที่ยวบริโภคกามคุณ ๕ ในท่ามกลางเรือน. บทว่า ทีฆุตฺตโรฏฺฐา ความว่า ชื่อว่า มีริมฝีปากสูงยาว เพราะมีเขี้ยวโต. บทว่า ปงฺกทนฺตา ได้แก่ ฟันประกอบด้วยมลทินดังเปือกตม. บทว่า อิณํ โมทาย ความว่า รวบรวมทรัพย์ด้วยภิกขาจารประกอบหนี้ด้วยความเจริญ ยินดีการทำเช่นนั้น เลี้ยงชีพด้วยทรัพย์ที่ได้มาจากภิกขาจารนั้นไปในกาลใด. บทว่า สาวิตฺตึ ได้แก่เรียนเวทคือสาวัตติศาสตร์. บทว่า ยฺํ ตตฺรฺจ ได้แก่ เรียนยัญญวิธี และยัญญสูตรในที่นั้น. บทว่า ภติกาย ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเข้าไปหาพระราชาและราชมหาอำมาตย์ แล้วบูชายัญเพื่อต้องการค่าจ้างอย่างนี้ว่า เราจักบูชายัญเพื่อท่าน ท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา. บทว่า ปหุสนฺตา ความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพอกเลี้ยง.
    บทว่า พาลา ตุมฺเห ความว่า คนพาลทั้งหลายกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้อะไร. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า จักไปด้วยอำนาจการเสพโมกขธรรม. บทว่า ปนฺถฆาฏํ ความว่า ยืนอยู่ในทางเปลี่ยว แล้วปล้นฆ่าพวกมนุษย์ ยึดเอาสิ่งของๆ พวกมนุษย์เหล่านั้น. บทว่า สุกฺกจฺฉวี ความว่า นักเลงหญิงทั้งหลายตบแต่งด้วยการขัดสีด้วยจุณน้ำฝาดเป็นต้น มีผิวพรรณขาว. ในบทว่า เวธเวรา ที่ชื่อว่านักเลงหญิงเพราะอรรถว่าประพฤติเป็นเวรกับหญิงหม้าย คือหญิงผัวตายเหล่านั้น. บทว่า ถูลพาหุ ความว่า มีร่างกายอ้วนพีด้วยการบำรุงร่างกายเป็นต้น มีการนวดขยำเท้าเป็นต้น. บทว่า อปาตุภา ความว่า เพราะไม่ปรากฏ คือเพราะไม่ทำทรัพย์ให้เกิด.
    บทว่า มิตฺตเภทํ แปลว่า ทำลายมิตร. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อใดนักเลงหญิงเห็นปานนี้คิดว่า หญิงเหล่านี้จักไม่ละพวกเรา จึงเข้าไปหาหญิงหม้ายผู้มีเงินร่วมสังวาสกัน เคี้ยวกินทรัพย์ของหญิงเหล่านั้น จักทำลายมิตรกับหญิงเหล่านั้น ทำลายความคุ้นเคยไปหาหญิงอื่นผู้มีทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นโจร.
    บทว่า อสปฺปุริสจินฺติกา ความว่า มีปกติคิดอย่างอสัตบุรุษ คือคิดทำร้ายผู้อื่น.
    เมื่อนั้น สุนัขดำหลุดออก ฆ่าพวกเหล่านั้นหมด กัดกินเนื้อแล.

    ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะได้ตรัสว่า ดูก่อนมหาราช คนเหล่านี้ไม่ใช่มิตรของเรา แล้วทรงแสดงสุนัขทำเป็นอยากจะวิ่งไปกัดพวกอธรรมนั้นๆ ขณะนั้น มหาชนมีจิตหวาดกลัว ท้าวสักกะทำเป็นฉุดเชือกรั้งสุนัขไว้ แล้วละเพศนายพราน เหาะขึ้นไปในอากาศดังดวงอาทิตย์แรกขึ้น รุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วตรัสว่า
    ดูก่อนมหาราช เราคือท้าวสักกเทวราช มาด้วยเห็นว่าโลกนี้จักพินาศ เพราะเดี๋ยวนี้ มหาชนพากันประมาทประพฤติอธรรม ตายไปๆ แออัดอยู่ในอบาย เทวโลกดุจว่างเปล่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักรู้สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ไม่ประพฤติธรรม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิดพระมหาราช
    แล้วทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาที่มีค่าตั้งร้อยสี่พระคาถาให้มนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมและศีล ทำพระศาสนาที่เสื่อมโทรมให้สามารถเป็นไปได้อีกพันปี แล้วพามาตลีเสด็จไปยังพิมานของพระองค์.

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดง แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราประพฤติประโยชน์แก่โลก แม้ในกาลก่อนอย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า
    มาตลีเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์
    ส่วนท้าวสักกะได้มาเป็น เราตถาคต แล.

    จบอรรถกถามหากัณหชาดกที่ ๖


    กรณีศึกษา

    71929401.jpg
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธรูปอนาคตพุทธะ เมตไตรย” หินตะกอนเนื้อละเอียดสีเข้ม ประทับนั่งห้อยพระบาทแบบกรีก
    ถูกเคลื่อนย้ายไปจากซากวิหารร้างกลางทุ่งพระเมรุไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระมหาธาตุกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ถูกเคลื่อนย้ายไปซ่อมแซมแล้วประดิษฐานในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ ในสมัยรัชกาลที่ 3
    ถึงจะถูกรื้อถอนทำลายมาหลายยุคสมัยจนแทบไม่มีหลักฐานหลงเหลือมากนัก แต่การขุดค้นทางโบราณคดีในปี 2481 ได้พบหลักฐานสำคัญคือ ชิ้นส่วนแตกหักส่วนล่างของพระวรกาย ของ ”พระประธานศิลาขนาดใหญ่” ที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในท่า “ประทับนั่งห้อยพระบาท” ที่ตรงแกนกลางซากอาคาร เป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถนำไปเชื่อมต่อ - โยงถึงซากชิ้นส่วนพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่ อีก 3 องค์ ที่วัดพระยางกงและวัดขุนพรหม นอกเกาะเมืองอยุธยาทางทิศใต้


    7192bf91.jpg
    7192ad9a.jpg
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รูปสลักของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย น่าจะเป็นรูปสลักบนผนังถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่แสดงภาพของพระพุทธเจ้าประทับนั่งแบบ “ปรลัมภาปทาสนะ” (ห้อยพระบาทแบบกรีก) บนบัลลังก์ภัทรอาสน์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะของการจีบนิ้วจับชายจีวรที่ตกลงมาเป็นเส้นโค้งเส้นเดียวและพาดผ่านพระเพลาทางด้านซ้าย ลักษณะของภาพเป็นการแสดงธรรมขั้นสูง ที่มีละเอียดอ่อนและเคร่งเครียด ต่อเหล่าเทพเจ้าของฮินดู (พระศิวะและพระวิษณุ) คล้ายแบบแผนของคติมหายาน (มหาสังฆิกะ) ในตอนเทศนา “พระสัทธรรมปุณฑริกสูตรบนยอดเขาคิชกูฎ” อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 12

    719222c6.jpg
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตำนานนางกวัก



    ครั้งนั้นมีอสูรตนหนึ่งชื่อ”ท้าวกกขนาก”ซึ่ง เป็นเพื่อนกับปู่เจ้าเขาเขียว ยักษ์ตนนี้ตั้งตนเป็นใหญ่เที่ยวไล่จับมนุษย์กินเป็นอาหาร ร้อนถึงพระรามต้องลงมาปราบ พระองค์ทรงใช้เขากระต่ายมาทำเป็นคันศร ใช้หนวดเต่ามาขึงเป็นสายและใช้หญ้าปล้องทำเป็นลูกศรแผลงไปฆ่าท้าวกกขนาก ฤทธิ์ศรทำให้พญายักษ์กระเด็นจากกรุงลงกาในชมพูทวีปมาตกบริเวณเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี แต่ยักษ์ตนนี้ยังไม่ตายเพียงแต่สลบไปเพราะฤทธิ์ศรของพระรามเท่านั้น พระรามจึงทรงสาปให้ศรดังกล่าวปักอกตรึงยักษ์ตรงนี้ไว้บนยอดเขาชั่วกัลป์ จะได้ไม่ไปทำอันตรายใครๆ ได้ อีก ศรที่ปักอกท้าวกกขนากนั้นจะคลายความแน่นลงทุกๆ สามปี และถ้าปล่อยให้ลูกศรหลุดจากอกได้เมื่อท้าวกกขนากก็จะกลับฟื้นคืนชีวิต ลุกขึ้นมาจับคนกินหมดทั้งเมือง นอกจากนี้ยังทรงสาปต่ออีกว่า เมื่อใดที่บุตรีของท้าวกกขนากซึ่งมีนามว่านางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ นำใยบัวมาทอเป็นจีวรจนสำเร็จเป็นผืน เพื่อนำไปถวายแด่พระศรีอาริยะเมตไตรย ที่จะทรงเสด็จมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ดังนั้นบุตรสาวของงท้าวกกขนาก จึงต้องอยู่คอยปรนนิบัติดูแลพระบิดา และพยายามทอจีวรด้วยใยบัว เพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่เสด็จมาตรัสรู้ในอนาคตกาล

    เมื่อ บุตรสาวของท้าวกกขนากมาคอยปรนนิบัติพระบิดา และทอจีวรด้วยใยบัวอยู่ที่เขาพระสุเมรุนั้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของนางลำบากยากจนขัดสนยิ่งนัก ฝ่ายปู่เจ้าเขาเขียวหรือ ท้าวพนัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ คือสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง มีตำแหน่งเป็น

    จ้าวแห่งป่าเขาลำเนาไพรทั้งปวงเมื่อทราบเรื่องจึงเกิดความสงสาร ได้ส่งแม่นางกวักบุตร สาวมาอยู่เป็นเพื่อน ด้วยบุญฤทธิ์ของนางกวัก จึงบันดาลให้พ่อค้าวานิชและผู้คน เกิดความเมตตาสงสาร พากับเอาทรัพย์สินเงินทอง พร้อมทั้งเครื่องอุปโภค บริโภคมาสู่ที่พักของบุตรีท้าวกกขนากเป็นจำนวนมาก ทำให้ความเป็นอยู่ของนางยักษ์มีความสมบูรณ์พูนสุขและเจริญด้วยลาภทั้งปวง
    อีก สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ท้าวกกขนากหลุดพ้นจากอำนาจของศรของพระรามนั้นมาจากศรที่ ปักอกท้าวกกขนากเองจะคลายความแน่นลงทุกๆ สามปี ด้วยความรอบคอบพระรามจึงทรงสั่งให้ไก่แก้วมาคอยเฝ้าท้าวกกขนากไว้ ถ้าเห็นศรเขยื้อนขึ้นเมื่อใด ให้ไก่แก้วขันขึ้นเป็นสัญญาณให้หนุมานได้ยิน หนุมานจะเหาะมาตอกศรกลับตรึงให้แน่นตามเดิม ตามตำนานยังเล่าอีกว่าขณะที่หนุมานตอกศรจะเกิดเป็นประกายไฟกระเด็นลุกไปเผา ผลาญบ้านเรือนของชาวเมืองลพบุรี เชื่อกันว่าด้วยเหตุนี้เองจะทำให้เกิดไฟไหม้ ครั้งใหญ่ขึ้นในจังหวัดลพบุรีทุกๆ สามปี นอกจากนี้ศรพระรามที่ปักอกท้าวกกขนาก จะหลุดถอนออกได้โดยง่ายถ้าถูกราดด้วยน้ำส้มสายชู ทำให้ชาวเมืองลพบุรีในสมัยก่อนไม่มีใครกล้านำน้ำส้มสายชูเข้าเมืองเพราะเกรง ว่าบุตรีของท้าวกกขนากจะแอบมาขอซื้อไปช่วยบิดาของนาง

    ลักษณะ ของแม่นางกวัก เป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ที่แกะจากปลายจะงอยของงวงช้าง ซึ่งค่อนข้างหายากในปัจจุบันนี้ จะเห็นกันก็เป็นแต่เพียงรูปปั้นผู้หญิงนั่งพับเพียบ นุ่งซิ่น และห่มผ้าสไบเฉียงแบบคนโบราณ มือซ้ายวางข้างลำตัว หรือถือถุงเงิน มือขวายกขึ้นในลักษณะกวัก ปลายนิ้วงอเข้าหาลำตัว “การยกมือขึ้นในลักษณะกวัก ถ้ามือยกสูงระดับปาก มีความหมายว่า กินไม่หมด หากว่ามือที่กวักอยู่ต่ำกว่าระดับปาก เขาถือว่ากินไม่พอ

    http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9570000016533

    http://www.brighttv.co.th/th/news/ไฟไหม้โรงงานผลิตอาหารสัตว์-จลพบุรี-เสียหายกว่า-3-ล้านบาท



    http://palungjit.org/4040097-post22413.html


    ไฟไหม้บ่อยครั้งจนไม่อยากจะมโนให้มาก

    นางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ นำใยบัวมาทอเป็นจีวรจนสำเร็จเป็นผืน เพื่อนำไปถวายแด่พระศรีอาริยะเมตไตรย ที่จะทรงเสด็จมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ดังนั้นบุตรสาวของงท้าวกกขนาก จึงต้องอยู่คอยปรนนิบัติดูแลพระบิดา และพยายามทอจีวรด้วยใยบัว เพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่เสด็จมาตรัสรู้ในอนาคตกาล

    บ้างก็ว่านางกับบิดาได้ตรอมใจตายไปแล้ว จะจริงหรือ


    ตำนานของยักษ์ไปอย่างไรมาอย่างไรจึงเล่ากันว่า มาสถิตอยู่บนถ้ำยอดเขาวงพระจันทร์นี้ และตามตำนานว่า ยักษ์ที่ว่านี้คือ ท้าว”กกขนาก” ยักษ์ตนสุดท้ายที่ไม่ยอมแพ้พระรามที่อยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ จึงถูกพระรามแผลงศร โดนยักษ์กระเด็นลอยละลิ่วข้ามมหาสมุทรอินเดียมาตกที่ยอดเขาลูกนี้ แล้วพระรามก็สาปให้ศรปักอกเอาไว้หากวันใดที่ศรเขยื้อนให้หนุมานลูกพระพาย(ลูกลม ถ้าตายเมื่อต้องลมพัดผ่าน จะกลับฟื้นคืนชีพ หนุมานจึงไม่รู้จักตาย) เอาฆ้อนมาตอกย้ำลูกศร ให้ปักอกไว้เช่นเดิม แต่ยักษ์โดนเข้าขนาดนี้ก็ยังไม่ตายนอนรอความตาย ฝ่ายนางนงประจันทร์ลูกสาวยักษ์ก็เหาะตามพ่อมา เพื่อปฏิบัติพ่อ เพราะพ่อยังไม่ตาย นอนอยู่ในถ้ำยอดเขานางพระจันทร์นี้และนางทราบว่าหากได้น้ำส้มสายชูมารดที่โคนศรแล้วศรจะเขยื้อนหลุดออกมาได้ แต่หากศรเขยื้อน ไก่แก้วก็จะขันเรียกหนุมานเอาฆ้อนมาตอกศร เมื่อนางนงประจันทร์ช่วยพ่อยักษ์ไม่ได้ ก็ตรอมใจตาย ฝ่ายยักษ์กกขนากเมื่อลูกสาวตายก็เลยตายตามไปด้วย จากตำนานนี้จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขานงประจันต์หรือนางพระจันทร์ ตำนานนี้เป็นผลให้ลพบุรีไม่มีน้ำส้มสายชูขายมานาน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อโอภาสี ได้ขึ้นมาบนเขานี้ และเห็นว่าบริเวณเขาทั้ง๔ ด้าน เป็นรูปเขาโค้ง มองทางไหนก็เห็นเป็นวงโอบล้อมอยู่ จึงขนานนามว่า “เขาวงพระจันทร์”

    https://th.wikipedia.org/wiki/เขาวงพระจันทร์


    ยักษ์หินถูกสาป ถ้าเป็นยักษ์ตนนี้ล่ะเป็นเรื่องแน่

    และถ้าแม่ย่า นางกวัก ท่านยังอยู่ ก็ต้องอยู่ด้วยสิ! ถ้ามีการแต่งเรื่องบิดเบือนไว้ หรือปกปิดเรื่องราวที่แท้จริงไว้ คิดหลายๆแหง่หลายทาง ลึกลับจริงๆ

    ตำนานนางกวักนั้นเริ่มมาจากวรรณคดีทางศาสนาพราหมณ์เรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของชมพูทวีป เรื่องราวของนางกวักบังเกิดขึ้นในตอนที่พระรามเดินดงผ่านมาทางเขาวงพระจันทร์เพื่อตามหานางสีดา และในระหว่างทางได้พบพญายักษ์ตนหนึ่งนามว่า ท้าวอุณาราช เมื่อท้าวอุณาราชพบพระรามก็พยายามจะจับกินเป็นอาหาร เพราะไม่ทราบว่าพระรามนั้นเป็นองค์นารายณ์อวตารมีฤทธิ์มาก หาใช่คนธรรมดาทั่วไปไม่

    พระรามจึงใช้ต้นกกทำต่างศรแล้วยิงตรึงท้าวอุณาราชเอาไว้กับเขาวงพระจันทร์ จากนั้นจึงสาปว่า ตราบใดก็ตามที่พระศรีอริยเมตไตรยังไม่ลงมาจุติ ตราบนั้นเจ้าจงติดตรึงอยู่กับเขานี้ไปชั่วกัลปวสาน จะพ้นจากคำสาปนี้ได้ก็ต่อเมื่อนางศรีประจันต์ผู้เป็นลูกสาวของท้าวอุณาราชได้ถวายผ้าไตรจีวรที่ทอด้วยใยบัวต่อองค์พระศรีอริยเมตไตรเมื่อท่านได้ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเท่านั้น
    ฝ่านนางศรีประจันต์จึงอุตสาหะทอผ้าไตรจีวรด้วยใยบัวเพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอริยเมตไตรที่จะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เมื่อชาวบ้านรู้ว่านางศรีประจันต์กำลังพยายามทอผ้าไตรจีวรด้วยใยบัวเพื่อให้พ่อของตนหลุดพ้นจากคำสาปจึงพากันรังเกียจเพราะเกรงว่าหากท้าวอุณาราชพ้นคำสาปมาเมื่อไหร่ จะเที่ยวไล่จับผู้คนกินเป็นอาหารอีก ด้งนั้นนางศรีประจันต์จึงถูกชาวบ้านรังเกียจไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
    เมื่อข่าวนี้รู้ถึงหูของ ปู่เจ้าเขาเขียว ซึ่งเป็นเพื่อนกับท้าวกกขนากก็บังเกิดความสงสารนางศรีประจันต์หลานสาว ปู่เจ้าเขาเขียวจึงส่ง นางกวัก ลูกสาวบุญธรรมของตนไปอยู่เป็นเพื่อนกับนางศรีประจันต์

    นางกวักผู้นี้ตามตำนานกล่าวว่าเป็นเด็กกำพร้า มีหน้าตาน่ารัก เมื่อไปอยู่กับใครต่างก็มีคนนิยมชมชอบ ไปอยู่บ้านไหนมีแต่คนรัก บ้านนั้นก็เจริญรุ่งเรือง มีความร่มเย็น มีความรักใคร่ปรองดองเกิดขึ้น ไปอยู่ร้านค้าใดก็ค้าขายเจริญดี ปู่เจ้าเขาเขียวได้แลเห็นว่านางกวักผู้นี้เป็นบุคคลที่มีบุญญาธิการมาแต่เดิม แต่ด้วยกรรมบางอย่างจึงพลัดพรากจากบิดามารดา ปู่เจ้าเขาเขียวจึงรับนางกวักเป็นบุตรสาวบุญธรรมและอบรมสอนกรรมฐานและวิชาอาคมให้

    ด้วยเดชบารมีและพระอาคมที่ปู่เจ้าเขาเขียวประสิทธิ์ไว้ให้นางกวัก จึงเกิดปาฎิหาริย์ขึ้นแก่นางศรีประจันต์ เพราะตั้งแต่นางกวักมาอาศัยอยู่ด้วย ชาวบ้านที่แต่เดิมรังเกียจนางศรีประจันต์กลับมีใจรัก เอาข้าวปลาอาหารมาให้ เอาใจใส่รักใคร่ดูแลอย่างผิดหูผิดตา ความอัศจรรย์นี้ทำให้นางศรีประจันต์และชาวบ้านประจักษ์ในบุญบารมีของนางกวัก จนเป็นที่กล่าวขานกันว่าแม้ใครก็ตามที่ศรัทธาในองค์นางกวักหากเอาภาพของนางก็ดี หาสิ่งสมมุติแทนตัวนางติดตัวไว้ก็ดี ด้วยอำนาจบุญบารมีของนางกวัก จะทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปเอาไว้ที่ร้านค้าก็ค้าขายดี เอาไว้กับบ้านเงินทองข้าวของก็เพิ่มพูนขึ้น

    ตั้งแต่นั้นมาเกียรติคุณของแม่นางกวักก็เป็นที่แพร่หลายและครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆมาก็ได้ประพันธ์พระคาถาต่างๆไว้สำหรับบูชานางกวัก อีกทั้งยังสร้างเป็นวัตถุมงคลนางกวัก ซึ่งมีทั้งหุ่นรูปปั้นนางกวัก เหรียญรูปนางกวัก และผ้ายันต์รูปนางกวัก หรือแม้กระทั่งการเสกวัตถุบางอย่างเช่น จวัก ก็นิยมลงด้วยพระคาถานางกวัก เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคล บูชาแล้วจะร่ำรวย อุดมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคทุกประการ

    คำว่า แล้วเท่านั้น นี่น่าคิด

    ระบุว่า ต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น! จริงหรือ?

    แล้วถ้าไม่ใช่ล่ะ คือ ท่านลงมาจุติตามพุทธประเพณี แล้วออกบวช เผอิญสืบรู้ คือรอมานาน ถ้าเกิดนำผ้ามาถวาย เป็นเรื่องแน่ๆ

    ถ้าเอาตามนี้ ก็แปลว่ายังไม่ได้ตาย ยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอนโดยสภาวะทิพย์

    ยักษ์ตนนี้ ตื่นหรือเปล่า แล้วพระศรีอาริยะเมตไตรย ท่านจะมาในลักษณะใด เป็น บรรพชิต หรือว่า เสด็จมาตามพุทธประเพณี และถ้าจุติลงมาจริงๆ แล้วถ้ามีนางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์นำจีวรที่ถักจากดอกบัวมาถวาย ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ถ้าอย่างนั้นก็น่าคิด น่าหวาดหวั่นอยู่มิใช่น้อย

    จะล้างแค้นจับมนุษย์ หรือไปทำให้เกิดเหตุเพทภัยหรือเปล่า พระศรีอาริยะเมตไตรย พระองค์ท่านจะเทศนาโปรดไหม? ยักษ์จะฟังไหม?ครานั้น



    tnews_1486020705_7301.jpg
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำหรับพระบริขารพุทธบริโภค (เครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า) ทั้งหลายนั้นได้รับอัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูป ๑๑ แห่งตามนครต่าง ๆ ดังนี้
    ๑. พระกายพันธ์ (ประคตเอว,สายรัดเอว) สถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร

    ๒. พระอุทมสาฎก (ผ้าคลุมอาบน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองปัญจาลราฐ

    ๓. พระจัมมขันธ์ (เครื่องหนังต่าง ๆ) สถิตอยู่ที่เมืองโกสลราฐ

    ๔. ไม้สีฟัน สถิตอยู่ที่เมืองมิถิลา

    ๕. พระธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองวิเทหราฐ

    ๖. มีด กับ กล่องเข็ม สถิตอยู่ที่เมืองอินทปัตถ์

    ๗. ฉลองพระบาทและถลกบาต (รองเท้าและถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า) สถิตอยู่ที่เมืองอุสิรพราหมณคาม

    ๘. เครื่องลาด (เครื่องปูนั่งนอน) สถิตอยู่ที่เมืองมกุฏนคร

    ๙. ไตรจีวร (ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ผ้าทาบ, ผ้าห่ม(จีวร),ผ้านุ่งสบง) สถิตอยู่ที่เมือง ภัททาราฐ

    ๑๐. บาตร เดิมสถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร ภายหลังไปอยู่ที่เมืองลังกาทวีป

    ๑๑. นิสีทนะสันถัต (ผ้าปูนั่ง,ผ้ารองนั่ง) สถิตอยู่ที่เมืองกุรุราฐ
    e0b89ae0b8b2e0b895e0b8a3.jpg
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

    พระพุทธศาสนา สมัยทวาราวดี
    ผืนแผ่นดินจุดแรกของอาณาจักรสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกกันว่า "แหลมทอง" ซึ่งท่าน พระโสณะกับพระอุตตระได้เดินทางจากชมพูทวีปเข้ามาประดิษฐานนั้น จดหมายเหตุของหลวงจีนเหี้ยนจัง เรียกว่า "ทวาราวดี" สันนิษฐานว่าได้แก่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น ปรากฏว่าเป็นหลักฐานประจักษ์พยานอยู่ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในครั้งนี้ เป็นแบบเถรวาทดั้งเดิม พุทธศาสนิกชนได้มีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น ศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะแบบทวาราวดี

    พระพุทธศาสนา สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
    พระพุทธศาสนาในยุคนี้เป็นแบบมหายาน ในสมัยที่ขุนนางเม้ากษัตริย์ไทย ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยปัจจุบัน ครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายานผ่านมาทางประเทศจีน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเซียกลาง พระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนทรงรับพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในจีน และได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นำเอาพระพุทธศาสนามาด้วย ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ มีราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นครั้งแรก

    พระพุทธศาสนา สมัยศรีวิชัย พ.ศ. ๑๓๐๐
    อาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงจัดหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน พระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงได้แผ่เข้ามาสู่ภาคใต้ของไทย ดังหลักฐานที่ปรากฏคือเจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และรูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

    พระพุทธศาสนา สมัยลพบุรี พ.ศ. ๑๕๕๐
    ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. ๑๕๔๐ และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น
    เมืองลพบุรี ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดี ส่วนข้างใต้
    เมืองสุโทัย ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดีส่วนข้างเหนือ
    เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
    เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงต้อนข้างเหนือ
    เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมด้วย กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ๒ แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน และภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาหลักของศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็ได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในด้านภาษาและวรรณคดีไทยตั้งแต่บัดนั้นมา สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น คือพระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นก็เป็นแบบขอม ถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี

    พระพุทธศาสนา สมัยเถรวาทแบบพุกาม
    ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับรามัญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จนถึงลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อกษัตริย์พุกาม (กัมพูชา) เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากขอมเช่นเดียวกัน คือเมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ ๔ มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามแบบพม่า

    พระพุทธศาสนา สมัยสุโขทัย
    หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง ๒ อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อยู่ทางภาคเหนือของไทย และอาณาจักรสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน เมื่อพ่อขุนรามคำแหงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง ๒ ครั้ง คือครั้งที่ ๑ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ครั้งที่ ๒ ในสมัยพระเจ้าลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม มีความสงบร่มเย็น ประชาชนเป็นอยู่โดยผาสุก ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน

    พระพุทธศาสนา สมัยอยุธยา
    พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามามาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์ เน้นความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิปาฏิหาริย์ มีเรื่องไสยศาสตร์เข้ามาปะปนอยู่มาก ประชาชนมุ่งเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น

    อยุธยาตอนแรก (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)
    ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา ๘ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน พ.ศ. ๒๐๒๕

    สมัยอยุธยาตอนที่สอง ( พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๑๗๓)
    สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พบพระพุทธบาทสระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

    สมัยอยุธยาตอนที่สาม (พ.ศ. ๒๑๗๓ - ๒๓๑๐)
    พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้พวกฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่ศาสนา และทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา ทรงนำพาประเทศชาติรอดพ้นจากการเป็นเมืองของฝรั่งเศสได้ เพราะมีพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

    สมัยอยุธยาตอนที่สี่ (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๑๐)
    พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสวยราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

    พระพุทธศาสนา สมัยกรุงธนบุรี
    ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่ายกทัพเข้าตีจนบ้านเมืองแตกยับเยิน พม่าได้ทำลายบ้านเมืองเสียหายย่อยยับ เก็บเอาทรัพย์สินไป กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้อิสระภาพ สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ทรงตั้งราชธานีใหม่ คือเมืองธนบุรี ทรงครองราชและปกครองแผ่นดินสืบมา ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างวัดเพิ่มเติมอีกมาก ทรงรับภาระบำรุงพระพุทธศาสนารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมือง มาคัดเลือกจัดเป็นฉบับหลวง แต่ไม่ยังทันเสร็จบริบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ต่อมา พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพไทยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มายังประเทศไทย ภายหลังพระองค์ถูกสำเร็จโทษเป็นอันสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรี

    พระพุทธศาสนา สมัยรัตนโกสินทร์
    รัชกาลที่ ๑ (๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์" ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆเช่นสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพน ฯ เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ และถือเป็นครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรมทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒

    รัชกาลที่ ๒ (๒๓๕๒- ๒๓๖๗)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช( สุก ) สมเด็จพระสังฆราช( มี ) และสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร)
    ในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงจัดส่งสมณทูต ๘ รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร ๓ ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น ๙ ชั้น คือชั้นประโยค ๑ - ๙

    รัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

    รัชกาลที่ ๔ (๒๓๙๔ -๒๔๑๑)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช ๒๗ พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๒๓๙๔ ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่นวัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "มาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

    รัชกาลที่ ๕ (๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงยกเลิกระบบทาสในเมืองไทยได้สำเร็จ ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือวัดวัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดใหั้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ ครั้น พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ จบ พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ และต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร
    ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน

    รัชกาลที่ ๖ (๒๔๕๓- ๒๔๖๘)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง ทรงโปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก
    พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม ๒๔๕๔ ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"
    พ.ศ. ๒๔๖๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่น ๆ เช่นวิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้น


    รัชกาลที่ ๗ (๒๔๖๘ - ๒๔๗๗)
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ ๔๕ เล่ม จำนวน ๑,๕๐๐ ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ ชุด โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด" ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า "ธรรมศึกษา" ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎร์ได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๘

    รัชกาลที่ ๘ (๒๔๗๗ - ๒๔๘๙)
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ ๘ ในขณะพระพระชนมายุ เพียง ๙ พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด ๘๐ เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
    ๒. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น ๑๒๕๐ กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒
    พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่
    พ.ศ. ๒๔๘๘ มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม
    พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราช เป็นรัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน

    สมัยรัชกาลที่ ๙ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ สืบมา)
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นราชกาลที่ ๙ สืบต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนี้
    - ด้านการศึกษา ประชาชนได้สนใจศึกษาพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ได้มีการจัดตั้งสมาคม มูลนิธิทางพุทธศาสนาเพื่อการศึกษามากมาย มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ พ.ศ. ๒๔๙๐ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายพระพุทธศาสนาขึ้น เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๐ และเปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนการศึกษาของพระสงฆ์ได้มีการยกระดับมาตรฐานการศึกษา เช่นยกระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และมีนโยบายจะเปิดระดับปริญญาเอกในอนาคต ได้มีการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยสากลทั่วไป และได้ออกกฏหมาย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง โดยรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีชื่อว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย" ปัจจุบันนี้ได้มีวิทยาเขตต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ ลำพูน นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย นครปฐม นครศรีธรรมราช เป็นต้น ส่วนการศึกษาด้านอื่น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ ระดับประถมปลาย และ ม.๑ ถึง ม.๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน จนได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ
    - ด้านการเผยแผ่ ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยได้มีองค์กรเผยแผ่ธรรมในแต่ละจังหวัด โดยได้จัดตั้งพุทธสมาคมประจำจังหวัดขึ้น ส่วนพระสงฆ์ได้มีบทบาทในการเผยแผ่มากขึ้น โดยใช้สื่อของรัฐ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ ม. ๑ ถึง ม. ๖ พระสงฆ์จึงได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนในโรงเรียนต่าง ๆ มีการประยุกต์การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการบรรยาย ปาฐกถา และเขียนหนังสืออธิบายพุทธธรรมมากขึ้น ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นมีพระเถระนักปราชญ์ชาวไทยในยุคนี้ ได้แก่ ท่านพุทธทาสภิกขุ และพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นต้น ในต่างประเทศได้มีการสร้างวัดไทยในต่างประเทศหลายวัด เช่นวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ ต่อจากนั้นได้มีการสร้างวัดไทยในประเทศตะวันตก คือวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ นับเป็นวัดไทยวัดแรกในประเทศตะวันตก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการสร้างวัดแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอเนีย ชื่อว่า วัดไทยลอสแองเจลิส ปัจจุบันมีวัดไทยในสหรัฐอเมริกา ประมาณ ๑๕ วัด นอกจากนั้นได้มีองค์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ได้จัดให้มีการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศขึ้นประจำทุกปี เพื่อส่งไปเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันตก ปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกได้หันมาสนใจพุทธศาสนากันมาก ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น ณ ประเทศไทย ( พ.ส.ล. ) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก
    - ด้านพิธีกรรม ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เป็นพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ให้เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า "รัฐพิธี" โดยให้กรม กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้จัด จัดให้มีงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเช่นวันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล ซึ่งสร้างขึ้น เมื่อคราว ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
    - ด้านวรรณกรรม ได้มีวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย มีปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายรูป จึงได้เกิดวรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเล่ม เช่นพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ หนังสือ พุทธธรรม ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นต้น

    _m39ahe9kHoQaDCLJqf4uWY24-Iqo6zUmQ4HibXU2JzaamIXX9dTEg==.gif
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มรดกทางวัฒนธรรมคืออะไร?
    มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง อนุสรณ์สถาน กลุ่มอาคารและสถานที่ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สุนทรียภาพโบราณคดี วิทยาศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา หรือมานุษยวิทยา ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมหรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้้า หรือสถานที่ส้าคัญที่อาจเป็นผลงานจากฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติและมนุษย์และได้ก้าหนดว่า มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ประกอบด้วยสิ่งสร้างสรรค์ ของคนในอดีตที่เป็น
    รูปแบบที่จับต้องได้ เช่น ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง รวมไปถึงสิ่งที่จับต้องไมได้(Intangible) เช่น ภาษา ศีลธรรมจริยธรรม สุนทรียศาสตร์ ตลอดจนอาหารการกิน การแต่งกาย ศาสนา และความเชื่อฯลฯ

    เอกสารโบราณเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหรือไม่?
    เอกสารโบราณ คือสิ่งที่มนุษย์ค้นคิด และประดิษฐ์ขึ้นด้วยมือไม่ใช่เครื่องจักร เพื่อน้ามาใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆทั้งของตนเองและสังคมของตน ดังนั้นเราอาจถือได้ว่าเอกสารโบราณก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง เพราะเป็นสิ่งที่สรรค์สร้างจากฝีมือมนุษย์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอกสารโบราณทั้งประเภทจารึก หนังสือสมุดไทย คัมภีร์ใบลาน ฯลฯล้วนเป็นโบราณวัตถุ เป็นหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งมีคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการและคุณค่าในฐานะที่เป็น “มรดก” ตกทอดมามาถึงลูกหลานในกาลปัจจุบัน



    เอกสารโบราณเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเภทใด?
    หากเรามองว่าเอกสารโบราณเป็นโบราณวัตถุชิ้นหนึ่ง หมายถึง วัสดุที่ใช้ในการบันทึก มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น หิน ดิน ไม้ เปลือกไม้ ใบลาน เป็นต้น วัสดุเหล่านี้มีรูปลักษณ์ที่จับต้องได้และสามารถท้าการอนุรักษ์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งวัสดุเหล่านี้ก็มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นมรดกสมบัติที่สามารถจับต้องได้ในขณะเดียวกันวิธีการ หรือขั้นตอนที่ท้าให้วัตถุธรรมชาติเหล่านี้มาเป็นวัสดุที่ใช้รองรับการบันทึก จนกลายมาเป็นเอกสารโบราณในเวลาปัจจุบันนี้ก็ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้นอกจากนี้ “เนื้อหา” ต่างๆ ที่ปรากฏ

    ในเอกสารโบราณ ที่เป็นสรรพวิชาการต่างๆ ของบรรพชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฎหมาย ต้ารา วรรณคดี ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ด้วยอีกเช่นกัน

    ใครจะเป็นผู้ดูแลมรดกเหล่านี้?
    ในบรรดาเอกสารโบราณทั้งหมดในประเทศไทย ตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นโบราณวัตถุ เป็นสมบัติของชาติ ซึ่งจะมีหน่วยงานที่ด้าเนินงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณก็คือ กรมศิลปากร เนื่องด้วยกรมศิลปากรท้าหน้าที่ดูแลสมบัติชาติ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้หลายอย่าง จึงท้าให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง เพราะขาดทั้งก้าลังคนและงบประมาณ

    ในปัจจุบันยังมีเอกสารโบราณ(นอกจากจารึก)อยู่อีกมากที่ยังขาดการดูแลและอนุรักษ์ ในขณะนี้เองในแต่ละภูมิภาคของประเทศก็มีการตื่นตัวที่จะช่วยกันทำงานเพื่ออนุรักษ์เอกสารโบราณในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมและดำเนินงานอย่างแข็งขัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการดูแลเอกสารโบราณทั้งประเทศ

    ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) เองในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ด้าเนินการเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโดยตรง เล็งเห็นว่าในประเทศไทยมีเอกสารโบราณที่สูญไปก็มาก และที่ยังคงเหลืออยู่ก็มาก แต่บุคลากร และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเอกสารโบราณก็มีน้อย ต้องทำงานต่อสู้กับเวลาที่คอยกัดกินเอกสารโบราณให้เสื่อมลงไปทุกวันๆ ดังนั้นจึงคิดจัดท้า “ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภาคตะวันตก” นัยหนึ่งเป็นการช่วยกันท้างานกับหน่วยงานอื่นๆ ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมงานที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นอกจากนี้การจัดท้าเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้บริการเผยแพร่นั้น ยังเป็นกระจายความรู้ ภูมิปัญญาของคนในอดีต ให้กับคนในยุคปัจจุบันได้น้าไปศึกษาต่อยอด ประยุกต์ใช้ในกิจการงานของตน และท้าให้ความรู้ ภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษของเราสั่งสมมายังคงอยู่ต่อไป


    อย่างไรก็ดี เราทุกคนในฐานะคนไทยและเป็นผู้ที่รับมอบ “มรดกทางวัฒนธรรม” เหล่านี้มาจากบรรพชน จึงมีหน้าที่ช่วยกันดูแล ปกปักษ์รักษา อนุรักษ์ เอกสารโบราณให้คงอยู่ต่อไป แต่หากเราจะเก็บรักษาแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่นำ“เนื้อหา” ที่อยู่ในเอกสารโบราณเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มรดกทางภูมิปัญญาที่เราเฝ้าปกปักษ์เหล่านี้ก็จะไม่มีความหมายใดๆ เลย เพราะทรัพยากร “วัฒนธรรม” แตกต่างจากทรัพยากรอื่นๆ ที่มีแต่จะใช้แล้วหมดไป แต่“วัฒนธรรม”นั้นยิ่งใช้ ยิ่งพอกพูน และคงอยู่ตราบนานเท่านาน


    ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะเจ้า สมบูรณ์ด้วย ปฎิสัมภิทาญาน อันศิลาจารึกต่างๆ อักษรโบราณตลอดจนถึงอักษรยุคสมัยใหม่เหล่านี้ เหมาะสมจะเป็นมรดกตกทอดของผู้ใคร่ศึกษาและจักเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดเลยทีเดียว นี่จึงควรส่งเสริมให้เกิดเหล่าอัญญาสิทธิ์ อัญญาธรรม ลองคิดดูเถิดว่า ประวัติและเหล่าแหล่งโบราณคดีต่างๆ จารึกต่างๆที่มีอยู่ในโลกและทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปใดๆ เก่าแก่สักแค่ไหน? ลองคิดดูผลที่ตามมา ของผู้ที่สามารถล่วงรู้ตำนานและประวัติศาสตร์ จะมีคุณค่าความสำคัญขนาดใด
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิตฉันใด ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

    “ความมีกัลยาณมิตร เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ (การครองชีวิตประเสริฐ) ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มากซึ่งอารยอัษฎางคิกมรรค”

    “อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชาติผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็พ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา ก็พ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส”

    “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนความมีกัลยาณมิตร, ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

    “ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ


    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

    “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

    “โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

    ทิฏฐธัมมิกัตถะ
    และ
    สัมปรายิกัตถะ

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
    “ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”

    “รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้นฉันนั้น”

    “ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”

    “ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”

    “สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

    “ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

    5-Pieces-No-Frame-Beautiful-Sunsuet-font-b-Buddha-b-font-Oil-font-b-Paintings-b.jpg
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฟังเอาเด้อพี่น้องมวลชาติชาวมนุษย์ เกิดมาในโลกาฮ่วมกันหลายชั้น
    พันธุ์ตระกูลเครือเหง้าเถากอพงศ์ญาติ มีอยู่หลายเชื้อชาติคำเว้ากะต่างกัน
    คำกลอนถอดยอดชั้นเป็นศาสนาพุทธ นำเอามาจารึกให้หมู่เฮาได้เฮียนฮู้
    คอยฟังดูภายหน้าโลกาสิไหวหวั่น
    ถึงสองพันห้าฮ้อยให้คอยท่าเบิ่งเอา
    เฮาสิจาตามเรื่องแผนเมืองภูมิศาสตร์ ฝูงหมู่นักปราชญ์เจ้าฟังแล้วให้ฮ่ำฮอน
    ทุกมื้อนี้โลกกำลังเดือดฮ้อนเขี่ยวขุ่นโกลาหล มนุษย์กวนกังวลโลกคนเผาไหม้
    องค์พระสัพพัญญูไท้ทรงธรรมฮู้ฮ่อม ซอมเบิ่งภายหน้าพุ่นเมืองบ้านสิวุ่นวาย
    พระองค์เห็นเหตุฮ้ายหลายอย่างในมนุษย์ ตอนปลายศาสนาพุทธ คนสิออกันตายดังขอนเขาปล้ำ
    องค์พระธรรมเห็นแล้วสรญาณสอดส่อง ฟังเด้อพวกพี่น้องลุงป้าย่าหลาน
    ชาวเพื่อนบ้านให้ฟังก่อนกลอนแถลง เฮาสิแปลงกลอนสารต่อธรรมพระองค์เจ้า
    บ่อนสินำมาเว้าพุทธทำนายตรัสแบ่ง เพิ่นแสดงบอกไว้ให้เฮาได้อ่านดู


    มาจะกล่าวถึงท้าวพระยาใหญ่ปัสเสน ทรงสุบินนิมิตเมื่อนอนฝันฮ้าย
    ฝันเห็นมาหลายเรื่องการเมืองพรากไพร่ สิบหกข้อบอกไว้พระองค์เจ้าเล่าฝัน

    ข้อหนึ่งนั้นฝันเห็นงัวตัวฮ้ายทั้งสี่สีแดง แล่นเข้ามาเหมิดแฮงจนดินไง่วุ้น
    ปรากฏว่าสิมุ่นฟ้าปิ้นดินไหว แล่นมาใกล้แล้วหนีไปคนละแห่ง
    คือขี้ฝ่ามันแบ่งยามเค้าขึ้นมา ฝนบ่ตกฮำนาหนีไปวับแวบ
    จักหน่อยนี้คนสิอึดฮอดแกลบเจียไก่ในฮัง ผิดแต่ครั้งหลัง ๆ โลกาฟ้าหย่อน ๆ ฯ

    ข้อสองนั้นฝันเห็นดอกไม้อ่อนออกดอกจูมจี หญิงอายุสิบสี่ปีเอาผัวซ้อนบ่อน
    หนอยกะมีลูกอ่อนไห้แอ่วกินนม พระสัตถาโคดมเล็งเห็นต้นเหตุ
    เป็นตะน่าสมเพทในเรื่องของคน เกิดมาบ่ทันโดนเอาผัวเทียมซ้อน มานอนชมดมกลิ่น
    ผิดฮีตคองป่องท้าง ทางต้นเล่าตัน ฯ

    ข้อสามนั้นฝันเห็นงัวพิกลเฒ่าขอกินนมนำลูก แลงและเช้าขอจู้ดูดกิน
    ตอนนี้อุปมาไว้คือสาวจีจูมจ่อ ออกจากบ้านงานสร้างบ่ห่วงใย
    ปล่อยพ่อแม่ทิ่มไว้ให้นั่งเจ่าเกาหัว ทรมานทนทุกข์ผ่อแต่ทางทอนท้อ
    ปล่อยเฮือนซานเอาไว้นาสวนฮั้วไฮ่ แล่นไปหารับจ้างให้เขาง้างเต่าตอง
    พอท้องไข่อ่องป่องแล้วเลยต่าวคืนมา ตากับยายยอมรับอั่งมะโนคาแค้น ฯ

    ข้อสี่นั้นฝันเห็นงัวแฮงน้อยเทียมเกวียนสลัดแอก แหวกหนทางมุ้นม้างเกวียนปิ้นปิ่นหมุน
    บ้านเมืองเฮาเกิดวุ่นเอาหัวดำออกก่อน เอาหัวด่อนไว้ก้นเมืองบ้านสิวุ่นวาย ฯ

    ข้อห้านั้นฝันเห็นอาชาไนยม้าโตเดียวมีสองปาก ทั้งฮูดากขี้ก้นมีแท้ป่องเดียว
    ปากหนึ่งเคี้ยวหญ้าอ่อนชอนสับ ปากหนึ่งกินทางลับบ่อิ่มเต็มเล็มเกี้ยง
    เพิ่นเผดียงสอนไว้อุปไมยผู้เพิ่นได้เป็นใหญ่ ในสมัยข้างหน้าคือม้าบ่เที่ยงธรรม
    มีแต่มื้อสิย้ำจ้ำไพร่ไหมกิน ศีลบ่มีพอโตชั่วทรามนามฮ้าย ฯ

    ข้อหกนั้นฝันเห็นหมาขี้ฮ้ายเงี่ยวหดถาดทองคำ การกระทำของฝูงหมู่คนโจรฮ้าย
    ฝูงคณาแนวเชื้อชาวกรุงสิตกต่ำ ฝูงหมู่ขุนไพร่น้อยชิงบ้านยาดเมือง
    เขาสิพาลหาเรืองกินเมืองรีดไพร่ มีแต่คนบาปใบ้สิเป็นเจ้านั่งนคร
    ราษฎรสิเดือดฮ้อนคือดั่งนอนหนาม ทุกข์บ่มียามเบาตึ่มเต็มลงเรื่อย
    เมืองคนเฮายังกะปานเฟือยล้อมหนามคองป้องถี่ หนีกะหนีบ่ได้หนามหุ้มห่อกวม ฯ

    ข้อเจ็ดนั้นพระองค์ฝันพบพ้อหมาอุบาทว์มันกัด กินเชือกเป็นเห็นชัดหน่ายสะอางผางฮ้าย
    ชายหาเงินมาให้หญิงเอาไปใช้จ่าย เมียเลยเป็นผู้ฮ้ายเอาเงินซ่อนเซี่ยงผัว
    เมียไปหาเกียกกั้วเอาชู้ใหม่มาชม โจมเงินทองของผัวค่อยถนอมชายชู้ ฯ

    ข้อแปดนั้นฝันเห็นเมฆตั้งก้อนเป็นโงนฝนลิน คนก็เอาไหกินมาต่งลินยังน้ำ
    การกระบวนไหน้อยค่อยเต็มก่อนไหใหญ่ บาดฝนตกโจ้น ๆ ไหใหญ่ล้น ไหน้อยบ่เต็ม
    เพิ่นหากอุปไมยไว้ไหไพน้อยใหญ่ คือดั่งเงินบาทเบี้ยไหลเข้าใส่ถง
    เขาสิโกงกินแท้ชาวเมืองพวกไพร่ ฝูงนายใหญ่สิเบียดเบียนไพร่ฟ้า สินจ้างค่าสูง
    ลุงสิสอนหลานไว้อุปไมยจอมปลวก ฮอดที่ดินบ่อนนั่งขี้กะจำจี้ส่งหลวง
    มีแต่แนวหวงห้ามเก็บภาษีแทบทุกอย่าง บ่มีทางสิได้ ไหน้อยจั่งบ่เต็ม ฯ

    ข้อเก้านั้น คำฝันมันต่าง ฝันเห็นสระใหญ่กว้างกลางขุ่นขอกใส
    มีดอกไม้เดียระดาดดวงหอม ซอมเบิ่งวังเวินใสข่วงกลางจนขุ่น
    ความฝันนี้ได้แก่ขุนเขาข้า เสนาข้าใหญ่ ใจบ่ใสมีแต่ลักโลภเลี้ยวเทียวส่อไพร่เมือง
    ต่อไปนี้คนสิได้เดือดฮ้อนเขี่ยวขุ่นโกลาหล ความทุกข์จนเผาผลาญไฮ่นาสูญสิ้น
    ขายที่ดินใช้หนี้นายทุนเขาทำไฮ่ พวกเสนาผู้ใหญ่หาแต่เงินใส่ไถ่ บ่ได้หวังโอบอุ้มเอาแหล่งไพร่เมือง ฯ

    ข้อสิบนั้น ฝันว่าหุงข้าวไว้เม็ดมากบ่มีสุก แสนสิดังไฟลุกเพิ่มทวีความฮ้อน
    เป็นที่อาทรแท้ไฟลามเผาจี่ หม้อข้าวหุงเดือดกุ้มสุมข้าวทั่วเตา
    บาดว่าเหลียวเบิ่งข้าวลางบ่อนบ่ทันสุก ไฟหากลนลามลุกจี่ลนจนดำปี้
    พระมณีเห็นแล้วเทศนาสอนสั่ง บอกว่าคองฮีตบ้านเมืองหน้าสิเสื่อมสูญ
    โลกของคนสิเกิดวุ่นเขี่ยวขุ่นมัวหมอง ผู้เป็นขุนเขาบ่ทำตามคองยองยีตีบ้าน
    การณ์สิมาภายหน้าเสนาสิโลภไพร่ หาแต่ทางสิได้ ตีม้างมุ่นหลาย
    พอเมื่อศักราชย้ายข้ามล่วงฤดูกาล ถึงเดือนห้าเดือนหก ฝนบ่ตกฮวยฮำป่าดงพงอ้อ
    รอไปถึงเดือนเก้าหนาวมาเอาผ้าห่ม มีแต่ลมแล่นต้องปิวปิ้นไหวไหว
    ต่อไปนี้คนสิถางป่าไม้ในป่าทำลายหมด องค์พุทโธสุคต เพิ่นหากทำนายไว้ ฯ

    ข้อสิบเอ็ดนั้น ฝันว่าเห็นท่อนไม้แก้วแก่นจันทน์แดง ของมันราคาแพงค่าสูงแสนตื้อ
    เขาเลยเอาไปซื้อขายกินแลกจ่าย จั่งแม่นเป็นตาหน่ายเอาแก่นจันทน์ใส่กะซ้าแขนห้อยเที่ยวขาย
    อันนี้แหล่วเพิ่นว่าภายหน้าพุ้นเคิ่งศาสนาพุทธ มนุษย์ในโลกามืดเมามัวกุ้ม
    ซุมหมู่ถือศีลมั่วจำในเจ้าหัวบ่าว เห็นผู้สาวแล้วกะเอิ้นเชิญเว้าดังสหาย
    นอกจากนั้นกะสิเป็นผู้ฮ้ายขายศาสนาพุทธ เอาพระธรรมลงมุดจ่ายขายกินจ้าง
    ตั้งเป็นตึกเป็นห้างขายกินปิ้นไป่ ทั้งพระสูตรพระวินัยเอาลงใส่กะซ้าโซนผ้าเที่ยวขาย
    จั่งแม่นเห็นต่อนฮ้ายขายรูปพระองค์ สงฆ์บ่ถือธรรมวินัยญาติโยมบ่ยำย่าน
    มีแต่คนพาลกล้าโกธาเขี่ยวขุ่น ศาสนาสิเกิดวุ่นสูญเศร้ามุ่นทลาย
    สงฆ์สิเป็นผู้ฮ้ายขายศาสนากู สัพพัญญูมองเห็นหน่ายสะอางผางฮ้าย

    ข้อสิบสองนั้น ฝันเห็นหมากน้ำเต้าจมลงสมุทรใหญ่ เลยบ่ไหลล่องขึ้นจมติ้งดิ่งลง ฯ
    ข้อสิบสามนั้น ฝันเห็นหินอยู่แจ้งก้อนใหญ่เทิงภู เบิ่งมันฟูนำของล่องไหลลงใต้
    อุปไมยสองข้อพอดีมีอยู่ บักน้ำเต้าของฟู เลยเล่ากับต่าวหล่ม จมติ้งดิ่งลง
    หินใหญ่น้อยสิลอยล่องตามกระแส องค์พุทโธเฮาแปลสั่งมาจาต้าน
    การณ์สิมาภายหน้าฝูงประชาสิได้ขึ้นเป็นใหญ่ ฝูงคนพาลบาปใบ้สิเฮไห้ทั่วเมือง
    ไผบ่ฮู้ทราบเรื่องในเรืองคองธรรม กรรมจักนำมาเถิงต่ำลงเป็นน้อย
    ศาสนากูด้อยถอยลงไปใกล้สิเคิ่ง เถิงละเด้อหว่างหั่นสิหันปิ้นปิ่นหมุน
    ชนผู้น้อยคอยสิเกิดมียศ ผู้แทนมีปรากฏทั่วแดนดินด้าว


    ข้อสิบสี่นั้น ฝันเห็นงูเห่าห่อมลงกราบฝูงกบ จงอางยอมือนบเขียดจ่านาน้อมไหว้
    ฝูงหมู่ทำทานฮ้ายมาขอเป็นสหายกับเขียดบักแอ่ง เพิ่นแสดงบอกไว้ให้เฮาได้ฮิ่นตรอง
    ต่อไปนี้ประชาโลกล้วน สิเป็นใหญ่ในโลกา พวกเสนาชาวขุนสิต่ำลงเป็นน้อย
    พวกสอพอกินบ้านสิคลานหาเข้ากราบ นบนอบนิ้วขอซื้อยาดเสียง
    อย่าขายดื้อพี่น้องฝูงงูเห่าหรือทำทาน มันสิคอยทำฮ้าย ให้หมู่เฮาได้หลงบ้าน ฯ

    ข้อสิบห้านั้น ฝันเห็นหงส์ทองเฝ้าตอมอีกามวลมาก พระองค์หากเทศน์ไว้ให้เฮาได้อ่านเห็น
    การณ์สิเป็นภายหน้าพุ้น ฝูงหมู่เสนา อมาตย์ในเวียงวังสิหลั่งลงเต็มบ้าน
    มาจัดการทำสร้างนาสวนฮั่วไฮ่ เป็นสงครามยาดไพร่สิเห็นแท้แน่นอน ฯ

    ข้อสิบหกนั้น ฝันเห็นหมาป่าฮ้ายพากันแล่นหนีแกะ พระโคดมทรงแนะบอกทางทายไว้
    ในสมัยภายหน้ากาลสิมาให้จำไว้เด้อพ่อ พวกคนชั่วเขาสิอยู่บ่ได้ไกลข้างห่างหนี
    คนทำดีสิได้ขึ้นเป็นใหญ่ในโลกา ศาสนาของกูสิเคิ่งปลายไปแล้ว
    คนในโลกากว้างเห็นกันแล้วคิดฮอด บ่ได้คิดเคียดแค้นคือด้ามดั่งหลัง
    ผิดกับตั้งแต่ครั้งสมัยเก่าโบฮาณ ทางสิบคืนซาวคืนสิย่อเป็นคราวมื้อ
    สมัยต่อไปนี้ มีพระบ่มีสงฆ์ มีถงบ่มีบ่อนห้อย สิไหลเวินอยู่คือจอก เพิ่นทำนายบอกไว้ ให้เฮาได้อ่านดู ฯ



    คุณยายผู้นี้ สำคัญนัก
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธทำนายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

    ปัญหา ความเจริญหรือเสื่อมแห่งพระพุทธศาสนาท่านว่า ย่อมขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัททั้ง ๔ เฉพาะอย่างยิ่งภิกษุบริษัทซึ่งเป็นผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ภิกษุประพฤติปฏิบัติอย่างไรจะชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ?

    พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอนาคตภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงามเมื่อชอบจีวรดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่า และป่าชัฏ จะประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร....
    “อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม..... จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร..... จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศด้วยปลายลิ้น แลจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต....
    “อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่ดีงาม..... จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร..... จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี แลจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ....
    “อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยภิกษุณีนางสิกขมานา แลสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลี... พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์
    “อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ แลสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลี... พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มีประการต่าง ๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล.... อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้นฯ”

    อนาคตสูตร ที่ ๔ ป. อํ. (๘๐)
    ตบ. ๒๒ : ๑๒๔-๑๒๕ ตท. ๒๒ : ๑๐๗-๑๐๘

    ๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔
    [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด
    ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็
    จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ
    จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่สมควร อัน
    ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้
    ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
    เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม
    เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนา-
    *สนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี แสวง
    หาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่
    เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อ
    ที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอ
    ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะดีงาม
    เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละเสนาสนะ
    อันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี และจักถึง
    การแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล
    ต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี
    นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา
    และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติ
    พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขาเวียนมา
    เพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่
    บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารามิก-
    *บุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
    พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี
    ประการต่างๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
    กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดใน
    บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
    ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    จบโยธาชีวรรคที่ ๓
    -----------------------------------------------------
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. เจโตวิมุติสูตรที่ ๑ ๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒ ๓. ธรรมวิหาริก-
    *สูตรที่ ๑ ๔. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๒ ๕. โยธาชีวสูตรที่ ๑ ๖. โยธา-
    *ชีวสูตรที่ ๒ ๗. อนาคตสูตรที่ ๑ ๘. อนาคตสูตรที่ ๒ ๙. อนาคต-
    *สูตรที่ ๓ ๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔ ฯ

    คำพูดที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำนายอะไรทั้งนั้นครับ.... คงต้องกลับไปเรียนใหม่ ห้ามแถ..รู้ทันหมด
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธฎีกาพยากรณ์
    ตอนที่ ๑

    ก่อนที่จะวิจารณ์พระพุทธฏีกาพยากรณ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระผมใคร่ขอนำเสนอข้อความที่ถอดออกมาจาก "ศิลาจารึก" ในเขตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย จากเอกสารเผยแพร่ธรรม ของพระเดชพระคุณ "พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ให้ท่านได้ทัศนา เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
    สาธุ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระสัพพัญญูรู้แจ้งโลกทั้งในอดีตและอนาคต ทรงมีเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกเป็นล้นพ้น เมื่อครั้งพระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่ ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
    ดูกรอานนท์ เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลาย ที่เกิดในยุคนั้นจะพบแต่ความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนไปใกล้ความแตกทำลายแผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ
    คนในสมัยนั้น (คือปัจจุบัน) จะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรงบ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎแห่งธรรมชาติไม่พ้น
    เริ่มแต่พระพุทธศาสนาล่วงเลย ๒,๕๐๐ ปีเป็นต้นไป ไฟจะลุกลามมาทางทิศตะวันออกไหม้วัดวาอาราม สมณะชีพราหมณ์จะอดอยากยากเข็ญ ลูกไฟจะตกจากฟ้าเป็นเพลิงเผาผลาญเหล็กกล้าจะทะยานจากน้ำ มหาสมุทรจะชอกช้ำ สงครามจะทั่วทิศ ศึกจะติดเมือง ข้าวจะขาดแคลน ทั่วแคว้นจะอดอยากผีโขมดป่าจะเข้าเมือง พระเสื้อเมืองทรงเมือง จะหนีเข้าไพร ผู้เป็นใหญ่มีอำนาจจะเรียกแมลงผีเสื้อเหล็กนับแสนตัว มาปล่อยไข่เป็นไฟผลาญ ยักษ์หินที่ถูกสาปให้หลับมาเป็นเวลานานจะตื่นขึ้นมาอาละวาด โลกดินฟ้าอากาศจะแปรปรวน ตลิ่งจะพังแผ่นดินจะล่มเป็นทะเล โลกมนุษย์จะดิ่งสู่ความหายนะ นักปราชญ์จะถูกทำร้ายให้สิ้นสูญ ในระยะนั้น ศาสนาของตาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรมเชื่อคำของคนโกงกล่าวคำเท็จ ไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติปฏิบัติดี กลับไม่มีใครเคารพยำเกรง
    พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ทั้งสองพระองค์สถิตย์อยู่ ณ เบื้องทิศตะวันออกของมัชฌิมประเทศ จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตาคตให้รุ่งเรืองสืบไปถึง ๕,๐๐๐ พระวรรษา
    ดู่ก่อนอานนท์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อย คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับว่าเป็นกรรมของสัตว์โลก ที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน
    ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศีล ๕ ประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษรู้จักพอ ไม่โป้ปดคดโกง ไม่หลงมัวเมาอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตาคตให้มั่นคง จึงพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล

    ท่านผู้อ่านที่เคารพ พระพุทธทำนาย หรือพุทธฏีกาพยากรณ์ดังว่านี้ พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสแก่พระอานนท์ พระพุทธอนุชา ซึ่งปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดจวบจนเสด็จสู่ปรินิพพานอันพระอานนท์นั้นนับได้ว่าเป็นผู้ที่ฟังธรรมของพระพุทธองค์มากที่สุด เป็นบุคคลสำคัญในการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ ๑ ท่านเป็นผู้ที่มีความจำเป็นเลิศ ท่านได้ถ่ายทอดหลักธรรมของพระพุทธองค์ที่ได้ยินได้ฟังมา แก่ที่ประชุมสงฆ์ และได้ใช้เป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาจนทุกวันนี้

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศพระศาสนา ได้ทรงมีพุทธดำรัสว่า ศาสนาของพระพุทธองค์นั้น จะมีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปี เท่านั้น ต่อจากนั้น โลกก็จะว่างจากศาสนา อยู่ในช่วงกลียุคจวบจนถึงวาระอันควร โลกก็จะอุบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาใหม่อีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า"พระศรีอาริยเมตไตรย์" เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่๕นับเป็นองค์สุดท้ายในภัทรกัปป์นี้

    ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ท่านได้ตรัสถามแก่พระอานนท์ว่า ในศาสนาของตถาคตรวม ๕,๐๐๐ ปี นี้ ใครจะขออะไรบ้าง

    พระอานนท์ก็ทูลขอให้ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ภิกษุณี ชี พราหมณ์ อุบาสก อุบาสิกา เป็นผู้ดูแลและบำรุงพระศาสนาเป็นเวลา ๒,๕๐๐ปี พระพุทธองค์ก็ตรัสถามต่อไปว่า ใครจะขออะไรอีก เหล่าเทพยดาทั้งหลาย ทั้งพระอินทร์ พระพรหม จึงทูลขอให้เหล่าทวยเทพทั้งหลาย ได้ปรนนิบัติบำรุงพระศาสนา เพียงครึ่งหนึ่งของพระอานนท์ คือ ๑,๒๕๐ ปี พระองค์ก็ทรงอนุญาตและก็ได้ตรัสถามต่อไปอีกว่า ยังเหลืออยู่ ๑,๒๕๐ ปี นั้นเล่า ใครจะขอต่อไป

    บรรดาเหล่าครุฑาวาสุกรี คนธรรม์ นาฏกุเวร นาคราช กินนร กินรี และภูติผีปีศาจ จึงทูลขอคุ้มครองดูแล และปรนนิบัติบำรุงต่อไปอีก ๑,๒๕๐ ปี โดยร่วมแรงร่วมใจกัน ผนึกกำลังกันไปจนกว่าศาสนาจะค่อย ๆ เรียวลงไป มนุษย์ก็จะเล็กลง ๆ ไปตามลำดับ ถึงกับจะต้องขึ้นแป้นขึ้นบันได สอยลูกมะเขือ ปีนขึ้นต้นเก็บเม็ดพริก พระสงฆ์องคเจ้าก็จะร่อยหรอ เหลือไว้เพียงผ้าเหลืองผืนน้อย ๆ ห้อยอยู่ที่หู เพื่อได้เป็นที่สังเกตดูว่า นั่นแหละพระสงฆ์ จนกระทั่งเล็กลง หรือเรียวลง เสื่อมลงจนหมดสิ้นพอดี ๕,๐๐๐ปี ตามพระพุทธฏีกากำหนดไว้


    https://sites.google.com/site/dhammatharn/home/phuthth-thanay
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เป็นเรื่องราวการทำนายช่วงเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ

    ในครั้งนั้นมีดาบสผู้หนึ่งนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนโดยทั่วไปเรียกว่า อสิตะ หรือ อสิตดาบส ผู้ซึ่งบำเพ็ญจนสำเร็จฌานสมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มากอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งได้เหาะไปยังดาวดึงส์เทวโลก ได้ยินเหล่าเทพยดากล่าวสาธุการที่พระโพธิสัตว์ลงมาจุติเป็นโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งพระดาบสเป็นผู้มีความคุ้นเคยและเป็นที่นับถือของราชวงศ์ศากยะ เมื่อทราบข่าวการประสูติจึงมาขอเข้าเฝ้า

    พระเจ้าสุทโธทนะจึงแต่งพระกุมารเข้ามาเพื่อไหว้พระดาบส แต่พระบาทของพระกุมารก็หันกลับไปประดิษฐานอยู่ ณ เกล้ามวยผมของพระดาบส พระดาบสทราบในทันทีว่าพระกุมาร คือ พระโพธิสัตว์มาจุติ จึงประคองอัญชลีเคารพพระกุมาร พระบิดาเห็นความมหัศจรรย์ดังนั้นก็ทรงไหว้พระโอรสตามอสิตดาบส ครั้นเห็นลักษณะของพระราชกุมารต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะ ในร่างกายของผู้ที่เป็นพระมหาบุรุษ ต้องสมบูรณ์ด้วยลักษณะสำคัญ ๓๒ ประการ เรียกว่ามหาปุริสลักษณะ เช่น มีรอยพระบาทเป็นรูปจักรและรูปมงคลอื่นๆ เป็นต้น และสมบูรณ์ด้วยลักษณะปลีกย่อยอีก ๘๐ ซึ่งเรียกว่าอสีตยานุพยัญชนะ จึงทำนายเป็น ๒ ประการคือ

    ๑. ถ้าอยู่ครองราชสมบัติ จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ
    ๒. ถ้าออกบวช จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก

    เมื่อถวายการพยากรณ์แล้วอสิตดาบสได้ใช้ทิพยญาณตรวจดูก็รู้ว่าพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้ในอนาคต ครั้นทราบแล้วก็ดีใจ ครั้นตรวจดูอนาคตเบื้องหน้าก็ทราบว่าตนจะมิได้มีชีวิตอยู่เพื่อเฝ้ารับพระโอวาทธรรมก็ร้องไห้

    อีกเรื่อง

    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติได้ ๕ วัน ได้มีพราหมณ์ ๘ คน ทำนายลักษณะพระราชกุมาร โกณฑัญญะซึ่งเป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุดได้รับคัดเลือกอยู่ในจำนวน ๘ คนนั้นด้วย

    โดยพราหมณ์ ๗ คน ได้ทำนายพระราชกุมารว่า มีคติ ๒ อย่าง คือ
    ๑. ถ้าอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
    ๒. ถ้าเสด็จออกผนวช จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลก


    ฝ่ายโกณฑัญญพราหมณ์ มีความมั่นใจในตำราทำนายลักษณะของตน ได้ทำนายไว้อย่างเดียวว่าพระราชกุมารจะเสด็จออกผนวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน

    ตั้งแต่นั้นมา โกณทัญญพราหมณ์ได้ตั้งใจไว้ว่า ถ้าตนยังมีชีวิตอยู่ พระราชกุมารเสด็จออกผนวชเมื่อไรจะออกบวชตาม


    ฝากข้อคิดสำหรับคนที่ไม่เอาคำทำนาย หรือคำพยากรณ์ใดๆทั้งสิ้น มีความเห็นว่า ไม่เป็นความจริง โดยไม่ใช้สมองพิจารณา ใช้ปาก หรือ ใช้นิ้วเคาะแป้นเป็นอย่างเดียว พอให้เป็นตัวอักษรพออ่านได้ เพื่อแสดงความชาญฉลาดของตนเอง ไม่ได้คิดวางแผนหลอกเอาวิชาหรอก แต่ว่าโชว์โง่จริงๆ
    ถ้าไม่เชื่อการทำนายหรือการพยากรณ์ใดๆ ก็ไม่น่าจะถือเอาตามส่วนเหล่านี้ที่นำมาแสดงให้เห็น ก็เพราะไม่เชื่อเห็นเป็นเดรัจฉานวิชา แล้วจะเอายังไง? ตัดทิ้งเลยดีไหม? พุทธประวัติ ทำนายมหาปุริลักษณะก็ไม่ต้องเอา

    อย่าอ้างว่านั้นคือพราหมณ์ทำนาย จึงเอา ขนาด สงฆ์ทำนายยังไม่เอา พระพุทธเจ้าทำนายยังไม่เอาไม่ยอมรับ ...แล้วพราหมณ์หรือมุณีแบบไหนเห็นพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มีญานทัสสนะวิสุทธิส่องไปถึงอดีตพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆนั่นอีก นี่เข้าสายพุทธภูมิแล้ว แม้จะเข้าสู่อรูปญานในปัจจุบันชาติก็เถอะ!

    เก่งกว่าเขาว่าอย่างนั้นเถอะ! แล้วทีนี้บุคคลที่ให้ความเชื่อถือสมัยนั้นมีผู้ใดบ้าง แล้วเป็นจริงอย่างที่เขาได้ทำนายไว้ไหม?

    นี่แสดงถึงสติปัญญาของผู้ไม่เอาอะไร? แต่อวดเก่งรู้ดีไปหมด

    ใบ้กิน...

    ตาข่ายดักคนโง่เขลาแต่อยากแสดงปัญญา คนที่ฉลาดๆมีปัญญาเขาก็หลุดข้ามผ่านเจริญอย่างต่อเนื่อง
    2016-06-07_103110.jpg
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากคัมภีร์ใบลานเรื่อง "หมากน้ำเต้าจมหมากหินฟู" ของวัดป่าสักน้อย ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง
    จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จารชื่อ "อภิชัย ยาตันคหัสถ์" ผู้สร้างชื่อ "นายน้อยตัน" จารไว้เมื่อ พ.ศ.2492


    มีใจความว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับที่เชตวันวนาราม ทรงปรารภถึงการดำรงอยู่นานหรือไม่นานของพระศาสนา โดยทรงปรารภเหตุที่เทวดาทั้งหลายได้กราบทูลถาม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาตอบ โดยที่ในมัชฌิมยามคืนหนึ่ง เหล่าเทพเข้าไปสู่ธัมมสภาคศาลาเป็นจำนวนมากเพื่อฟังธัมมกถาในสำนักของพระพุทธองค์ยาม
    เที่ยงคืนทั้งนี้ มีเทวดาชื่อ "ปัณณเทพ" เป็นหัวหน้าได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า การที่บางคนเกิดมาได้รับความลำบากยากแค้น แต่บางคนมีทรัพย์มั่งคั่ง บางคนรูปร้ายทุพพลภาพ บางคนอายุสั้น และบางคนอายุยืนยาวนั้นเป็นเพราะเหตุใด

    พระพุทธองค์ตรัสว่า การที่คนเกิดมาและอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นเพราะในชาติก่อน ได้ทำบุญให้ทานถือศีลฟังธรรม ส่วนคนที่เกิดมาลำบากเข็ญใจนั้น เป็นเพราะในชาติก่อนมิได้ทำบุญให้ทาน ไม่สงเคราะห์แก่ผู้ใด มีแต่กระทำบาป เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดในนรก พ้นจากนรกก็เกิดเป็นเปรต หากยังมีกรรมหนาแน่นอยู่หรือเคยฆ่าสัตว์มาก่อน ก็ต้องเกิดเป็นสัตว์ที่ตนเคยฆ่าอีกห้าร้อยชาติ แล้วจึงเกิดมาเป็นคนอนาถายากไร้

    คนที่มีรูปงามและมีอายุยืนนั้น ก็เนื่องมาจากอดีตชาติเคยทำบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่อิจฉาริษยาขึ้งโกรธต่อผู้ใด คนที่มีแต่ความอิจฉาริษยาอยู่ในใจนั้น มักเป็นผู้ผูกโกรธและไม่ทำบุญรักษาศีล พอเกิดมาจึงมีรูปร่างไม่งดงาม หรืออวัยวะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือมีอายุสั้น

    คนที่เกิดมามีสติปัญญาและความจำดี มีศิลปวิทยาเป็นประโยชน์ต่อตนและครอบครัว ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง หรือเป็นครูผู้สอนศิลปวิทยาแก่ผู้อื่นมาก่อน เมื่อเกิดมาอีกจึงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดส่วนคนที่เกิดมาแล้วโง่ทึบหรือเป็นบ้าเป็นใบ้นั้น เป็นเพราะในชาติก่อนมิได้ศึกษาเล่าเรียน ไม่ได้ฟังคำสอน หรือมีผู้สอนแล้วไม่เชื่อฟัง ก็ทำให้เกิดมาเป็นคนโง่ทึบและเป็นบ้าใบ้

    พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า พระองค์จะมีพระชนมายุเพียง 80 ชันษา ก็จะนิพพาน และได้กำหนดให้พระพุทธศาสนายืนอยู่ได้ 5,000 ปี เมื่อพระองค์นิพพานไปครบ1,000 ปีแล้ว ก็จะเกิดความยุ่งเหยิงเป็นครั้งคราว จะมีพระอริยสงฆ์และพระราชาช่วยกันกอบกู้เป็นระยะๆ เพื่อให้พระพุทธศาสนาสืบเนื่องต่อไปได้ครั้นพระองค์นิพพานไปแล้ว 2,500ปี พระศาสนาจะเริ่มถอยลง คนจะขาดความเคารพในพระธรรม พระภิกษุบางเหล่าจะแตกแยกกัน บางหมู่จะไปตั้งนิกายใหม่ บางหมู่จะนำเอาคำสอนของพระองค์ไปทำให้ไขว้เขว พระสงฆ์บางกลุ่มจะตั้งตนเป็นผู้วิเศษ ประพฤติตนเป็นมิจฉาทิฐิอลัชชี จะมีการหากินด้วยเดียรัจฉานวิชาต่างๆ คนทั้งหลายทำไร่นาลำบาก ท้าวพญาจะข่มเหงชาวบ้านชาวเมือง ความยุติธรรมจะบกพร่อง และเมื่อศาสนาของพระองค์มีอายุ 3,000 ปีแล้ว ท้าวพญาจะขัดแย้งกัน บ้านเมืองจะวุ่นวายฆ่าฟันกันไปทุกหย่อมหญ้า เกิดความแห้งแล้งและพืชผลจะตกต่ำ คนจะพากันล้มตายด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก และเมื่อโดยเฉพาะศาสนาของพระองค์พ้น 2,500 ปีไปแล้ว คนหลายๆ ครอบครัวจะได้ร่วมอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน หญิงชายอายุถึงสิบปีก็จะมีผัวมีเมียกันแล้ว

    ยามนั้นคนทั้งหลายจะไม่อ่อนน้อมต่อกัน และจะเกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพงไปทั่วบ้านทั่วเมือง เมื่อศาสนาของพระองค์ล่วง 2,500 ปีไปแล้ว จะเกิดปัญหา "หมากน้ำเต้าจักจม หมากหินจักฟู" หมาจิ้งจอกจักไล่กัดเสือ ช้างจะพากันกินถ่านไฟแดง คนใจบุญใจกุศลจะต้องหาบ แต่คนใจบาปจะเดินตัวเปล่า พ่อค้าจะอาสาออกศึก น้ำไม่ลึกจะพากันทำที่ว่ายน้ำเล่น กบเขียดจะไล่กินงู พญาครุฑจะเป็นบริวารของกาดำ หมาจิ้งจอกจะกินอาหารจากถาดทอง และราชสีห์จะเป็นบริวารของหมาจิ้งจอก

    ครั้งนั้นเทวดาถามว่า เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้ว พระองค์จะตั้งพระรัตนตรัยไว้อย่างไร ภายหน้าภายหลังไม่เสมอกันจะเป็นเหตุใด สัตว์ไม่เคยเกิดก็จะมี ที่มีแล้วก็จะเกิดมาอีก อันว่า หมากน้ำเต้าไม่เคยจมน้ำก็จักจม หมากหินซึ่งอยู่ใต้น้ำก็จักฟูลอยขึ้น จะเป็นด้วยเหตุใด

    พระพุทธองค์ตอบว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไป 2,500 ปีแล้ว "หมากน้ำเต้าจม" ได้แก่ คนทั้งปวงที่เคยบวชและเรียนพระไตรปิฎกจนถ่องแท้แล้วนั้น ต่อมากลับทำบาปและไม่รักษาศีล อีกทั้งยังแนะให้คนอื่นหลงผิดจนตกนรกหมกไหม้เป็นอันมาก คนเหล่านั้นเมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็จะไปจมอยู่ในอบายภูมิทั้ง 4 อันว่า "หินจะลอยไปตามกระแสน้ำ" นั้น ได้แก่ คนบ้านนอกซึ่งไม่รู้จักพุทธศาสนาจะพากันละเลิกมิจฉาทิฐินั้นแล้วทำบุญรักษาศีล และสร้างคุณงามความดีแก่บ้านเมือง เป็นผู้ค้นคว้าเอาวิชาความรู้มาเผยแพร่แก่กุลบุตรกุลธิดาสืบไปอีก คนเหล่านั้นจักได้ชื่อว่า "หมากหินจักฟู" ต่อมาท้าวพญาจะแย่งชิงอำนาจกันและแตกเป็นพวกเป็นเหล่า เมื่อรบกันแล้วผู้มีกำลังน้อยก็จะจ้างชาวป่าชาวดอยมาเป็นกำลัง โดยบอกว่าหากตนชนะแล้ว จะตั้งให้มีอำนาจและได้ทรัพย์สินของผู้แพ้นั้น พวกท้าวพญาหรือเสนาอำมาตย์ที่อาศัยพวกโจรหรือชาวบ้านชาวป่ามาเป็นนักรบ ซึ่งเมื่อชนะแล้วก็ตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่และได้ลูกเมียของพวกผู้แพ้ไปสมสู่อยู่กินด้วย อันนี้เรียกว่า "ราชสีห์จักได้เป็นบริวารของหมาจิ้งจอก" ส่วนวงศาลูกเมียของพญาผู้เสียอำนาจนั้นก็เท่ากับว่า "พญาครุฑไปเป็นบริวารของกาดำ" และพวกโจรหรือนักเลงชาวป่าชาวดอย เมื่อไม่มีความรู้แต่มีอำนาจหน้าที่แล้ว ก็จะใช้แต่ความหยาบช้าหาศีลธรรมมิได้ คนดีมีความรู้ก็จะพากันหันหนีเข้าป่า คนอธรรมจะได้ครองเมือง และบ้านเมืองก็ระส่ำระสายเกิดกลียุค อันนี้เรียกว่า "กบเขียดไล่กินงู" คือเมื่อศาสนาของพระองค์ผ่าน 2,500 ปีไปแล้ว คนทั้งหลายก็จะเป็นทุกข์และเดือดร้อนฉิบหายกันมากนัก

    เทวดาก็ทูลถามว่า หากเกิดเหตุเช่นนั้นจริง พระองค์จะให้พวกเทวดาทำอย่างไร พระพุทธองค์ตอบว่า หากคนยังเคารพและปฏิบัติตามในพระรัตนตรัยอยู่ ก็จะเป็นบุญของผู้นั้น แต่หากไม่ปฏิบัติตามก็เป็นกรรมของผู้นั้น จึงขอให้เทวดาทั้งหลายทำบุญรักษาศีลเจริญภาวนาฟังธรรมคำสอนของผู้รู้ สร้างกุศลและละเว้นจากบาป ทำจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วตั้งจิตปรารถนาให้ได้พบพระพุทธอาริยเมตไตรย เทวดาทูลถามต่อว่า คนที่อยากพบพระอาริยเมตไตรยนั้นพึงทำอย่างไร พระพุทธองค์ก็ตอบว่าให้มั่นคงในการทำบุญรักษาศีลเจริญภาวนาแล้วตั้งความปรารถนาว่าให้ได้พบกับพระพุทธอาริยเมตไตรย ก็จะได้พบกับพระพุทธอาริยเมตไตรยเป็นแน่แท้ เมื่อเทวดาทั้งหลาย มีปัณณเทพเป็นประธานได้รับฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าดังกล่าวแล้ว ก็มีความชมชื่นยินดีมากนัก จึงพากันกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วอำลาคืนสู่วิมานของตน
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธทำนาย

    ตามเรื่องในพระคัมภีร์ มีปรากฏอยู่เสมอว่า เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา คนใดคนหนึ่งตายลง พระผู้มีพระภาคมักจะตรัสว่า เขาได้ไปเกิดใหม่ในภาพนั้นๆ การที่พระพุทธองค์ทรงทำนายเช่นนี้ มีพระพุทธประสงค์อย่างไร?

    พุทธดำรัส “....ดูก่อนอนุรุทธะ ตถาคตย่อมพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทำกาละไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้นสาวกชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้นดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์ คือลาภสักการะและความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่าคนจงรู้จักเรานี้ก็หามิได้ ดูก่อนอนุรุทธะ กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีปราโมทย์มากมีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้น สิ้นกาลนาน......”

    นฬกปานสูตร ม. ม. (๑๙๘)
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุ
    ด้วยจักษุ ๕ ประการ คือ

    มีพระจักษุแม้ด้วย มังสจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย ทิพยจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย ปัญญาจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย พุทธจักษุ ๑
    มีพระจักษุแม้ด้วย สมันตจักษุ ๑


    ดวงตาเห็นธรรม


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก


    ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑
    ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า


    วันนี้เราพยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณาเห็นธรรมที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งในเทวโลก จึงหวั่นไหว ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว เย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๘๗๔ -

    ดวงตาเห็นธรรม.jpg
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "เพิ่นสิฮ่อนหาคนดีไผผู้มีศีลธรรมอยู่เขิงคาค้าง ไผเดินทางผิดเส้นทำตนเป็นคนชั่ว มันสิลอดกระด้งบ่มีค้างแผ่นเขิง"

    อุปมา

    เอาตะแกรงร่อนกรวดร่อนหินใหญ่ ที่เห็นเป็นก้อนใหญ่โตดังบ่ดีหลุดออกจากตะแกรงหมด ได้แต่ฝุ่นผงดีบ่ดังอยู่ติดตะแกรง ตามนัยอนาคตังสญานกถา หรือจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ

    พระยาธรรมมิกราชญานโพธิสัตว์เกิดขึ้นมาทำหน้าที่ เสด็จมาร่อนเอาคำสอนที่ผิดออก บอกหลักคำสอนที่ถูกต้องตามพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ยังพระสัทธรรมให้ผ่องใส ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ


    ธรรมทาน ชนะทานทั้งปวง สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง สัพพัง รสัง ธัมมรโส ชินาติ
    ยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง สัพพัง รติง ธัมมรตี ชินาติ


    เมื่อผู้เสวยวิมุตติแสดงธรรม ธรรมที่แสดงนั้นย่อมเป็นวิมุตติ ย่อมเจือด้วยวิมุตติ ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส พิจารณาตามก็จะสงบระงับร่มเย็น เมื่อเร่งให้ร้อนก็ร้อนจนเผาไหม้ วิมุตติญานทัสสนะกถาวิเศษอย่างนี้
    วิมุตติญานทัสสนะกถา
    อมตะวาจาที่แท้จริง อ่านเท่าไหร่ ดูเท่าไหร่ พิจารณาตามเท่าไหร่ ในกาลล่วงสมัยไปแล้วก็ตาม ก็จะไม่มีทางรู้สึกเบื่อหน่าย สำหรับผู้ที่เห็นธรรม เคารพธรรมจริงหรอกนะ
    เพราะเป็นทิพยภาษาที่ใส่จิตลงไปด้วย แน่นอนเป็นผลดีชโลมใจของผู้มีธรรมอันบริสุทธิ์อ่อนโยน
    ส่วนผู้หยาบคายแสวงอื่น จะเห็นเป็นของหยาบสิ่งไม่ดีงามสำหรับตน เหมือนลังเลที่จะดื่มน้ำ ในทะเลทรายเพราะกลัวน้ำมีพิษฉันนั้น


    เบื่อหน่ายนั้นไม่มี แต่เข้าไม่ถึงนี่น่าคิด ต้องเพียรพยายามสั่งสม

    ผู้มีกระแสนิรุตติญานทัสสนะ วิสัชนาธรรม โดยปฎิสัมภิทาญาน ไม่ว่าผู้ใดก็ไม่สามารถแสดงได้เทียมเท่า .นี่คือข้อจำกัดที่ชัดเจนในพระพุทธศาสนา เป็นภูมิของพระอริยะคือพระเสขะขึ้นไปสามารถล่วงรู้โดยชัดแจ้งอย่างไร้ข้อกังขา .และแน่นอน นี่คือธรรมสมบัติ .ที่ผู้หวังความเจริญใฝ่ฝันแสวงหา
    บอกความจริงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหนีได้พ้นเหมือนกัน .ว่าใครก็ตามหากได้ปฎิสัมภิทาญาน มีภูมิในองค์ผู้ที่ควรสนทนาด้วยที่แสดงตนไว้ .โดยเฉพาะปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก .ย่อมจะรู้ตัวดีว่า .ตนกำลังเพิกเฉยต่อภาระที่สมควรปฎิบัติและกระทำ .ในกาลนี้มีผู้ทำลายพระสัทธรรมอยู่ .รู้ทั้งรู้ว่าเขามุ่งทำลายก็ยังนิ่งเฉย ซึ่งบุคคลผู้นั้นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ในชาตินี้และอีกหลายๆชาติต่อๆไปจนจะมาแก้ไข ในสิ่งที่ตนปล่อยปละละเลยในครานี้ .ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือว่าฆราวาสหรือจะอยู่ในภพภูมิใดก็ตาม ทั้งๆที่สามารถที่จะช่วยแก้ไขดลบันดาล หรือร่วมมือร่วมใจทำกิจอันสมควรในการปกป้องรักษาพระสัทธรรมนี้อย่างสุดชีวิต .แม้จะต้องสูญสิ้นตกตายไปก็จักเจริญยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าภพเก่าภูมิเก่า นับร้อยนับพันทวีคูณเท่า ฉนั้นเราขอประกาศ ณ ที่นี้ว่า .ถ้ามีความสามารถแม้แต่จะส่งจิตอธิษฐานใจด้วยความปรารถนา แม้จะไม่สามารถมากไปกว่านี้ .เพราะ ถูกเพราะคุมขังคุกคามโดนกดขี่ข่มเหงอยู่ก็ตาม นั่นก็นับเป็นอานิสงส์มหาศาลแล้วที่ได้กระทำด้วยใจ แล้วไฉนเลย ทั้งกาย ทั้งวาจาจะน้อยกว่าเล่าซึ่งสามัญผลนี้ .ถ้าสามารถจงทำ ไม่สามารถจงตั้งจิตอธิษฐาน . ขอฝากไว้ตรงนี้ ขอให้ได้รับทราบโดยทั่วถึงกันทุกภพภูมิ .รู้สามารถแต่ไม่ช่วย แต่อยากจะได้สามัญผลในพระพุทธศาสนานี้ .แบบพวกชุบมือเปิบก็จงเตรียมตัวเดือดร้อน

    ขอขอบคุณที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ผมเป็นเพียงพยานผู้ส่งข่าวครับ ผมเชื่อว่า ในหมู่พวกท่านทั้งหลายที่รู้ในเรื่องนี้ เป็นบุคคลสำคัญ มีโอกาสจุติธรรมในตนทั้งนั้นครับ คือ พระธรรมลงมาโปรด ขอให้ได้พบครับ ทราบเรื่องราวเช่นนี้แล้ว จะต้องมีศรัทธาและได้พบเองแน่ๆ จะได้สิ้นสงสัยครับ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมอันยิ่งขึ้นไปครับ ความรู้สึกและความรู้ของพวกท่านจะเปลี่ยนไป เมื่อได้พบกับสัจธรรมที่ข้าพเจ้านำมาแสดง อย่างไม่เคยมีมาก่อนในชีวิต เชื่อเถอะครับ รอดูภาวะจิตของตนเองให้ดีๆ และดูภาวะฐานะในธรรมด้วย หากไม่มีบุญไม่ได้อ่านแน่นอนครับ เราต้องทำบุญร่วมกันมาแน่นอนครับ

    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ




    [ame]



    4,899 - 10,000 Share Non STop
    https://www.facebook.com/PalungjitFan/?fref=ts

    สุภาษิตอีสาน
    ฟังเอาท่อนคำสอนโลกใหม่ไผยังบ่ฮู้เขิงแก้วสิฮ่อนคนฟังเอาเด้อพี่น้องเพิ่นสิฮ่อนหาคนดีไผผู้มีศีลธรรมอยู่เขิงคาค้าง ไผเดินทางผิดเส้นทำตนเป็นคนชั่ว มันสิลอดกระด้งบ่มีค้างแผ่นเขิงเขิงแผ่นนี้ได้ชื่อว่าเขิงคำ เป็นคำสอนพระพุธโธเฮาตั้ง เพิ่นได้วางเอาไว้โพธิ์ศรีห่มใหญ่ สิเอาคนอยู่ซ้น โพธิ์กว้างสิอยู่เย็น โพธิ์นี้บ่ได้ปลูกตามดินเป็นโพธิ์ศีลโพธิ์ธรรมหว่านมาแต่เมืองฟ้าเว้านำธรรมคงฮู้ครูเฮาสอนสั่งคำพระสังฆเจ้าโปราณเฒ่าว่ามา พระศรีอาริยะเพิ่นสร้างโพธิ์ศรีสามห่มเอาคนเข้าอยู่ซ่นโพธิ์สิอยู่เย็นนี้หาหกแม่นคำสอนบ่อนพระองค์นำทางชี้ เอาว่าโพธิ์ศรีสามต้นคนเฮาสิได้เพิ่งตกมาฮอดเขิงข่อนตอนท้ายศาสนา

    พระศรีอารย์เพิ่นสิลงมาค้นเอาผู้ประเสริฐเลือกแต่ผู้ล้ำเลิศกระทำสร้างแต่บ่อนดีอันว่าพวกปล้นจี้เรื่องโหดสามารย์ ยมพิบาลมาจับเข้าสู่อเวจีกว้างให้ทำดีเอาไว้ เพื่อเอาตนเข้าฮ่ม มนุษสาโลกกว้างคนสิล้มท่าวตาย เพิ่นสิมาเลือกเอาไว้สามร่มโพธิ์ศรีให้พอดีเขิงแก้ว มันหากเถิงคาวแล้ว คนเฮาอย่านอนอยู่ ให้พากันตื่นถ้อนอย่านอนนิ่งสิเพิงไผ เดียวนี้แสงธรรมจ้าองค์พุทโธกำลังส่องมองไปไสก็เจิดจ้าแสงธรรมเจ้าส่องมาหวังให้โลกนี้กว้างปวงประชาชาวโลกพ้นจากมารหมู่ฮ้าใจเจ้าสิอยู่เย็น อย่าพากันเกียจคร้านเด้อท่านผู้ถือศิ่นถ้าไปกินนำพระผู้เพิ่นมีบุญล้นไผผู้ทนเอาไว้มีใจมั่นเที่ยงกะสิเถิงแห่งห้องวิมานแก้วอยู่เย็นทุกสิ่งในโลกนี้ ล้วนแต่อนิจจังวะคะสังขาราบ่เที่ยงตรงเด้อฟ้า ให้ทำดีเอาไว้เอาคนเข้าฮ่มให้พากันสร้างทางสิเข้าร่มโพธิ์ อย่าทำตนเป็นคนโก้หากินนำคนโง่ ฮู่ว่าโง่แล้วอย่าไปซ้ำตื่มแถม กรรมสิแนบนำก้นบ่ทันคนสิเห็นดอกไผผู้ทำชั่วช้ากรรมฮ้ายหากสิเห็นมันสิลอนกระด้งบ่ค้างว่างตาเขิง อย่าพากันเลวทรามให้จำจื่อเอาไว้ หากแม่นคำสอนเจ้าองค์พุทโธสอนสั่งขอให้ชาวพี่น้องฟังแล้วให้จื่อเอาจังสิเห็นทางเข้า โพธิ์ศรีสามห่มสู่อันมีทางลมภัยน้ำทั้งสามสิไหวหวั่นเฮงสิมาเตงตื่มซ้ำทำให้หมุ่นมะลายคนจะตายไปพร้อมนๆ นับบ่กัน ปีกุนผ่านเข้าไปแล้วสิแพวขึ้นกว่าแต่หลัง

    ไผผู้ยังอยู่เหลือค้างสิเห็นทางบุญบาป นอกจากกรรมหมู่ฮ้ายใจเจ้าสิชื่นบาน อย่าพากันเกียจคร้านให้ตั่งต่อถือศีลธรรม จังสิมีอันสูงอยู่สบายหายฮ้อนองค์พระธรรมเจ้าสิลงมาครองโลก หากสิเห็นเที่ยงแท้ไผทำสร้างบุญทันนั้น พระองค์เนาอยู่ยังเมืองใหญ่กรุงศรีปัจจุบัน อยู่เมืองล้านช้าง เพิ่นสิมาถึงแท้เดือนสิบเอ็ดมื้อแปดค่ำ พ.ศ. สองพันห้าร้อยปีกุนแท้แน่นอน พ.ศ. ล่วงมาถึงห้าโลกากว้างเมืองหลวงสิฮอดแฮ่งมนุษย์สิประสบเดือดฮ้อนทางสิพ้นแม่นบ่มี คันไผทำชั่วฮ้ายเมืองฟ้าสิบ่เห็น มีแต่จมลงพื้นอเวจีหม้อใหญ่ ท่านพระศรีเพิ่นสิกอดบ่ได้ อันนี้หากมีในห้องครองธรรม โลกใบนี้เป็นโลกใหม่ภัยมหันต์ศาสนาสองพันล่วงมาถึงแล้วคนเขาแซว ๆ

    เว้าโลกาบ่เก่าบางผองเจ็บป่วยไข้ตายเกินวัยเกินขนาดโรคประหลาดก็หากมาใหม่เรื่อยยาแก้ก็บ่ทัน อัศจรรย์น้อฟ้าโลกามันเปลี่ยนบ่เคยเห็นกะซ่างพ้อน้อนี้จังแม้นกรรม อันว่าทางฝนโลกาบ่คือเก่าคั่นว่าตกก็หากตกมาล้นจนท่วมทั่วแดนดินว่าแล้งจนแผ่นดินแดงคันว่าหนาวก็หนาวพาโลต่างหลังเหลือล้น คนเขาแซวๆ เว้าเป็นไปหมดทุกอย่างภัยพิบัติต่างๆก็หากบังเกิดขึ้นตายได้ง่าย พระเจ้ากล่าว ขอให้ชางพี่น้องฟังแล้วให้จื่อเอาท่านเอย


    ความหมายที่แท้จริง
    อัญญาสิทธิ์ อัญญาธรรม ผู้ดำรงด้วยปาฎิหาริย์ ๓ และเชี่ยวชาญ ปฎิสัมภิทาญาน


    พุทธทำนายจากพระโอษฐ์...จากหนังสือผูกอีสาน

    จังสิฮูงเหลื่อมเสมอแก้วหน่วยพิฑูรย์ ไผผู้มาเพียรสู้ตามพระธรรมเฮาชี้ช่องมานั้น สิบ่ขำเขือกฮ้อนคาถานั้นให้ฮ่ำเฮียน หรือสิเขียนใส่ผ้าพันหัวกันเสนียด หรือเอาไปกราบไหว้แลงเซ้าก่อนเข้านอนอานนท์เอ่ย อานนท์เป็นศิษย์แก้วเพียรเฮาบ่ได้ห่าง เฮาสงสารมากล้นภายหน้าศาสนา ฝูงหมู่อุบาสกอุบาสิกาคณาญาติ ให้พร่ำเพียรต่อสู้อย่าคร้านเศิกยาม เฮาแนะซ่องให้ยากง่ายตามความจริง อันความชั่วให้ละทิ้งเพียรไว้ตั้งแต่ดี ทางไกลก็สิเป็นทาง

    …บัดนี้จักกล่าวภาคพื้นติดต่อตามประวัติ ตามแต่เฮามองเห็น หากสิจาไปหน้า อันว่าแนวนามเชื้อผิวเหลืองชนะเลิศ พวกพระสังฆเจ้าประจำไว้สู่เมือง จำพวกผิวขาวเผี้ยงสิพากันแพ้พ่าย พญาครุฑราชเจ้าสิบินเข้าสู่สถาน อันนรานอรินเดินจรก็สิได้กลับต่าว สิได้ไหลหลั่งเข้ากรุงกว้างดั่งเดิม ยูท่างบำเพ็ญสร้างศีลทานบ่ได้ขาด ศาสนาของเฮาใกล้ คนเฮาไปบ่ได้หย่อน ควรหมั่นสีของหม่นเศร้าให้ใสแจ้งอยู่เฮิ่ง

    ไผผู้บ่เกียจคร้านเพียรหมั่นภาวนา ก็จักมีอายุยืนอยู่เสถียรหายฮ้อน องค์พระยาธรรมเจ้า(พระยาธรรมิกราช)สิลงมาครองโลก หากสิเห็นเที่ยงแท้ให้เพียรสร้างส่วนบุญ หัวทีนั้นพระองค์ทรงยั้งอยู่เมืองใหญ่สีปาด (กรุงเทพ)เป็นปัจจุบันเป็นเมืองลานช้าง(อีสาน)เฮาแท้เที่ยงจริง เผินจักมาเถิงแท้เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ

    ครั้น พ.ศ. ไปเถิงสองพันห้าฮ้อยแล้วปีกุนหน้า(๒๕๕๐)เที่ยงจริง ลูกแก่นต้นสิตามพ่อโดยเสด็จ กับทั้งหลานสององค์สิเหล่าเทียมมาพร้อม ตามแต่มาศะเกณฑ์ตั้งในระหว่างปีเถาะ(๒๕๕๔) ก็จักมีมหาสองยักษ์ยกพลมาล้นมาแต่ทางหนห้องทางปัจฉิมเอ้าอูด มากินสะมะณะพราหมณ์ทั้งหลายให้ตายประมาณได้เจ็ดล้านสามแสนห้าหมื่น บ่ใส่แต่ทอนั้นทวีเท่าทั่วแดน จนว่ามาเถิงปีมะโรง(๒๕๕๕)จังสิได้โค้งอ่วย

    ครั้นผู้ใดอยากพบหน้าพระธรรมเจ้าให้หมั่นเพียร เต็มใจสู้ทำศีลทานเททอด ให้พากันอุปฐากพ่อแม่เจ้าสองเฒ่าให้อยู่เย็น ลุเถิงเข้าเขตปีมะเสง(๒๕๕๖) แม่น้ำมหาสมุทรไหลเซาะออกมาพังม้าง ฝูงหมู่สังโฆเจ้ามัวหมองปองหาลาภ ธุดงคะคุณมีแต่ละน้อยเพียรสู้ก็บ่หลาย

    พอมาเถิงห้องปีมะเมีย(๒๕๕๗)แถมถ่าย คนจักละถิ่นบ้านเดินดั้นเทียวขอ ฝูงลูกเต้าสิพรากแม่มารดา กับทั้งบิดาพลัดพรากกันคนก้ำในระหว่างคราวนั้น มันจักเกิดเป็นหนามเสี้ยนคันคายอยู่ในบ่อน เพราะว่าผีป่าในบ้านอืดเสียงผีเมืองดั้นหนีภัยเข้าป่า เมืองกรุงศรีอยุธยาก็จักเกิดเดือดร้อนการเขี้ยวขุ่นมัว อันว่านารีสร้อยฝูงผู้หญิงสิลำบาก จักเกิดเข็ญยากยุ่งเสมอด้ามดั่งกัน วันคืนมื้อกังวนไหวหวั่น

    อานนท์เอ๋ยหากสิเนเที่ยงแท้ภายสร้อยศาสนา พอมาเถิงห้องพระยาลิงปีวอก(๒๕๕๙) คนสิออกจากบ้านเดินเข้าสู่ทะเล ถัดจากนั้นมาจวบปีระกา กรรมของพวกชาวมนุษย์มันสิบันดาลให้มีมืดควันคุงฟ้า ดูประมาณได้เจ็ดวันเป็นเขต ในเวลามืดนั้นเทวดาเฮียกเอิ้นเอาผีเสื้อยักษ์หลวง นับอ่านได้เถิงโกฏิเป็นประมาณมากินฝูงหญิงชายหมู่กรรมเหลือล้น กับทั้งฝูงผีเสื้ออีกแสนตัวแข็งขนาด ฝูงคนบุญอย่าได้ประมาทแท้คุณแก้วให้ฮำเพิง ให้พากันบำเพ็ญสร้างบำเพ็ญบำเพ็ญบุญอย่าได้หย่อน ลางเทื่อบุญช่วยยู้เวรฮ้ายสิแล่นหนีแท้แล้ว

    จำจากนี้สิเข้าเขตปีจอ(๒๕๖๑) พระยาอินทร์เผิ่นสิแปลงสารทิพย์หว่านโปรยลงพื้น สาส์นนั้นอินตาใช้ตัวทองเขียนขีด เพราะว่าบอกล่วงหน้าพระธรรมเจ้าสิล่วงลง บ่นานแท้ปีเดียวเสด็จด่วน ลงมาเที่ยวตรวจค้นตามบ้านหมู่คน ถ้าบ่ได้พบพ้อคำแห่งพระคาถา อันพระสงฆ์ทำนายคำสอนสั่งมาจริงแจ้ง กับทั้งเป็นคนฮ้ายประมาทธรรมหีนะโหด บอกว่าโทษผู้นั้นเห็นแท้สิเกิดกรรม เลยสิบรรดาลให้ตายโหงลงเลือด เพราะว่าเขาบ่ฮู้จำข้อแห่งพระธรรม ในคราวนั้นคนสิเกิดเหลือหลาย ทั้งหญิงชายบ่คัณนาได้ ฝูงหมู่อาหารเข้าบ่พอกินสิเขินขาด ความอดอยากก็จะบังเกิดขึ้นทั้งเฝ้าฮบเฮ็วแท้แล้ว

    ครั้นผู้ใดได้ฟังแล้วให้เว้าต่อกันฟังแด่เดอ ก็จักมีอานิสงส์อายุยืนยาวมั่น กับทั้งหวังเห็นหน้าพระยาธรรมิกราช เผินสิขึ้นผ่านแผ้วครองคุ้มให้อยู่เย็น ครั้นไผบ่บอกเล่าจาต่อกันไปมัวแต่ปิดบังเสียสิเกิดโภยภายซ้อย ทั้งบ่หวังเห็นห้องความเจริญดั่งเฮาบอก พระยาธรรมิกราชเจ้าเลยจ้อยแม่นบ่เห็น

    ...ข้อหนึ่งนั้นยังมีสามพี่น้องประสงค์แข่งแดงฤทธิ์ กำหนดกาลเวลาแข่งดีให้เห็นแจ้ง เจ้าผู้พี่ขานไขตามใจเฮารบสิบห้าวันจิงเซายั้ง องค์กลางนั้นเจ็ดวันหักเที่ยง พระองค์น้อยผู้หลังว่าสามมื้อบ่ให้กลายไผสิดีก็ดีหั้น ไผสิตายก็ตามช่าง บ่ให้๙กว่านั้นสิฮามมื้อเศิกคราว แต่นั้นมีมหาเถรเฒ่ากายงามเฮืองฮุ่ง ท่านนั้นเสด็จออกมาจากสามทวีปซ้ำมากั้นบ่ให้เฮ็ว ท่านนั้นโฉมสีเหลื่อมปุนเปรียบพระอาทิตย์ ฮองๆ ใสดั่งมณีโชติแก้ว ยังจักมาแถมซ้ำหกสิบองค์โดยด่วน เผิ่นประสงค์สิมาบอกห้ามภัยฮ้ายแห่งพระยา

    เวลาเข้าเถิงปีกุล(๒๕๖๒)จำจือเอาเนอเดือนสิบเอ็ดข้างขึ้นจำไว้อย่าสิลืม ให้พวกท่านทั้งหลายพร้อมหญิงชายชาวโลกเฮาเฮ๋ย ฮีบหากันก่อสร้างกุศลไว้ฮับพระองค์ ครั้นผู้ใดโมโหฮ้ายโลภาโลภมาก ศีลบ่เข้าพระธรรมเจ้าบ่เหลียว มีแต่เมาทางได้บ่ตรึกตรองทางชอบ เห็นแต่ทางหม่อตื้นตัวได้แม่นเอา อันว่าในหนห้วงศีลธรรมพระเจ้าเทศน์มานี้ เขาบ่ตั้งต่อสร้างให้เห็นแจ้งแก่ใจ คนผู้นั้นสิบ่ได้พบพ้อองค์เอกพระยาธรรม สิเกิดมีโภยภัยเบียดเบียนให้ตายเมี้ยน เพราะว่ายุคกุลีขึ้นนำภัยนับบ่ข่วย เมตตานับมื้อน้อยโมโหหุ้มห่อใจ

    ตามกระบิลเบื้ององค์พุทโธเผิ่นกล่าวมานั้น เผิ่นว่า พ.ศ. ๒๕๐๐ กลางปีมาแถมถ่ายมานั้น อุบาทฮ้ายโฮมฮ้อนสิเกิดเป็น มีแต่กุมกันวุ้นถกเถียงหาเหตุ เหลียวเห็นกันมีแต่คิดอยากฆ่าก็ทำได้ดั่งใจ บ่ว่าแต่ไกลและใกล้จีนจามแขกฝรั่ง เกิดรบเร็วอยู่บ่มั้วยั้งเขี้ยวเขาใส่กัน จนว่าโลหิตห้งเสมอธารแม่น้ำใหญ่ เลือดสิท่วมเล็บช้างหนูน้อยได้ล่องลอยพุ้นแล้ว เผิ่นจึ่งซ้ำแล้วซ้ำให้เฮาหน่ำทำบุญ ใ ห้พากันบำเพ็ญจิตใจให้อ่อนโอนหายกระด้าง ลางเทือพอไขได้กันคะดีให้เบาห่าง หรือเพื่อตัดขาดเว้นให้หายเสี้ยงหมู่เวร องค์ก็จึ่งตรัสเผือไว้เสมือนตืมเต็มปัญญา เถิงคราวหน้าปัญญาเฮานับมื้ออ่อน อวิชาตัณหานับมื้อแก่กล้า ธรรมสิเศร้าหม่นหมอง ความจริงธรรมหากรักษาไว้โลกาจิงบ่แตก โลกของเฮานี้หากจักยังอยู่ได้พระธรรมเจ้าจ่องดึง

    …อันคราวไปหน้า ความโมหังนับมื้อแผ่ ความมืดใจนั้นนับมื้อห่อหุ้มขังไว้บ่ให้เห็น พอปานเอาฟืนมาอ่อยไว้ทางเย็นนั้นแม่นบ่มี ความดีเผิ่นว่าได้ขันตีธรรมให้เพียรฮำเอาท่อญ หากสิเห็นทางดับมอดเชื้อไฟได้บ่หล่ายความ องค์นั้นมาเป็นกำแพงแก้วกันไฟกองใหญ่เอาความอีดู เมตตากรุณานั้นเป็นน้ำบ่แก้วเทเข้ามอดไฟโลกของเฮา จังสิเย็นอยู่ได้หายกังวลแสนแสบ หัวทีนั้นหัดให้ฮักใกล้ๆ คือพ่อแม่เป็นประถม หักให้สงสารกันตลอดทั้งลุงป้า หัดให้ดีไปเรื่อยๆ ญาติกาชั้นใกล้ก่อน ต่อจากหั้นขอให้รักเพื่อนบ้านบ่มีขั้นต่อไป จนตลอดสัตว์สองเท้าทุบบาทพระหุบท ทั้งอยู่ในดินแดนหมู่ปลาในน้ำ ครั้นว่าเฮาฮักกันแล้ว ความชังก็เลยผ่าย

    ครั้นความชังหนีจากแล้วความอยากฆ่าแม่นบ่มี ความอยากหักง้าวปืนกระสุนก็อิ๊ดอ่อน มีแต่ฮักฮ่วมห้องเสมอน้องพี่กัน ยู่ถ่างทำการสร้างหากินโดยทางชอบ ประกอบอาชีพล้นชาวเผี้ยงโทษบ่ดี อินทรีพรหมฟ้าเทวดาก็ยินม่วนนำแล้ว เหตุว่าอานิสงส์เมตตานั้น เป็นเสน่หาจ่องน้าวจิตใจนั้นให้ชื่นชม ก็จิงบรรดาลให้ชลธาไหลหลั่ง ข้าวในนาและหมากไม้หวานส้มก็มากมูล ครั้นแม่นมันแข็งกล้าหมดโลกาบ่มีอ่อน ดั่งนั้นก็จักเกิดเดือดร้อนคุงฟ้าดั่งกัน อินตาเจ้าจึ่งหลิงโลกโลกา เผิ่นก็ยินระอาเมืองมนุษย์บาปหนาเหลือล้น อันว่าธรณีเจ้าพระสุธาก็อกแตก เกิดระแหงแผ่ม้างดังขึ้นทั่วไป

    ฝูงหมู่คนกลัวย้านขวัญหายอกสั่น ย้านแต่ภัยห่อหุ้มสิตายเมี้ยนบ่นาน มันหากบรรดาลขึ้นเพราะเข็ญกรรมที่สัตว์ก่อ พร้อมทั้งฝนขาดฟ้าน้ำขาดห้วยอึดล้นยิ่งทวี ตามทีเผิ่นกล่าวไว้ในปีจอ(๒๕๖๑)คนสิเข้ามามาก แต่ว่ามันสิลดน้อยเพราะฝนฟ้าบ่ซุ่มเลิ่งแท้แล้ว แต่ว่าราคาข้าวเกวียนเดียวหกร้อยชั่งพุ้นแล้ว นับเงินใส่เม็ดข้าวเสมอเท่าพอกันนั่นแล้ว แต่นั้นอานนท์ต้านขานตอบองค์พุทโธ ครั้นแม่นเป็นจั่งซั้นไผหนอสิค้างโลกพระองค์เอ๋ย แต่นั้นพระองค์แย้มไขวาจาแล้วตรัสบอก

    อานนท์เอ๋ยโชคไผมีจิงสิได้พ้นคือความดั่งกล่าวมานั้น อันนี้เผิ่นกล่าวไว้ตามแห่งสรญาณ ตามความมีแต่ประถมประเหียนได้ ครั้นบ่เป็นจริงแท้สาธุการเป็นจังโชค ขอให้มนุสสาโลกกว้างเจริญขึ้นอย่าเสื่อมถอย อันนี้องค์พุทโธเจ้าหลิงโลกาสอดส่อง เผิ่นก็รู้เหตุฮ้อนดีแล้วจิงเผย เผิ่นเทศนาเอาไว้อาจารย์เฮาจำจื่อจึงดาย เผิ่นได้จารึกไว้เสาหินหน้าวัดใหญ่ เผิ่นบอกให้ฮอดห้องคราวนี้ให้ฮินตรองนั่นท่อญ ไผผู้ได้ฟังแล้วให้พยายามเพียรเอาแน่อีเฮียมเอ๋ย.

    อ้างอิง : คัดจาก “พุทธทำนายจากพระโอษฐ์ และพระปฐมสมโพธิ์ ภาคอีสานฉบับสมบูรณ์” พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ลูก ส.ธรรมภักดี พ.ศ. ๒๕๒๙) โดย เอกอิสโร วรุณศรี

    ที่่มา พุทธทำนายจากพระโอษฐ์...จากหนังสือผูกอีสาน

    พระเดชพระคุณขาวกับดำมาเกิดพร้อมกันในหนึ่งเดียว


    ตำนานพระอุปคุต
    https://www.tci-thaijo.org/index.php/Wannawithat/article/download/48392/40202
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อดีต

    ผู้มีบุญมาแน่นอนสหายธรรม ผู้ที่ทราบในสิ่งที่เราแสดงอยู่ตรงนี้ก็มีบุญ มีโอกาสบรรลุปาฎิหาริย์ ๓ และปฎิสัมภิทาญาน ถึงเวลานั้น ถ้าจะเรียกให้ถูก ควรเรียกว่าแสดงตนจะเหมาะสมกว่า สำหรับผู้จุติมาก่อนและยังเสวยชาติอยู่ เหล่าอัญญาสิทธิ์ อัญญาธรรม เข้าถึงปาฎิหาริย์ ๓ และทรงพระไตรปิฏกด้วยปฎิสัมภิทาญาน จะไม่ยอมอยู่นิ่งๆแน่นอน เพราะธาตุขันธ์ ๕ ของบุคคลเหล่านั้นจะปราศจากการดำรงอิทธิบาท ๔ ในธรรมมิได้


    *ในอดีตชาติพระราชปาล และผู้ครองปราสาทมุกสวรรค์อันเงียบสงบ ตลอดชั้นฟ้า* เราเป็นผู้แสดงภัยของการระลึกชาติ

    สำหรับในชาตินี้เราถือตนเองว่าเป็นผู้ร่ำเรียนศึกษามาน้อยที่สุด แม้ชีวิตจริงครอบครัวยากจนข้นแค้น เพราะตั้งใจเลือกมารดาเกิด ในนิมิตมารดาของเราก็ไม่เลือกแก้วแหวนเงินทองเหมือนสตรีหญิงอื่นที่นุ่งห่มโจงกระเบนนับร้อยพัน กลับเลือกเพียงนาฬิกาเรือนเก่าๆ ในทุ่งต้นกัลปพฤกษ์ จนสตรีอื่นเหล่านั้นต้องมาขอแลก ไม่ต้องกล่าวถึงเหล่าบุคคลที่่จะแสดงตนตามมาเลย ว่าจะมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ขนาดไหน เมื่อเหล่าอัญญาสิทธิ์ อัญญาธรรมเหล่านั้นได้เข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะ ก็จะรู้กิจที่กำหนดรู้อันเป็นทุกข์ของพระอริยะได้เอง สุดท้ายก็จะมารวมตัวกันโดยมิได้นัดหมาย รอเพียงฐานะของบุคคลเบื้องสูงปรากฎ


    เราเป็นผู้แสดงปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดธรรม อันขึ้นชื่อว่า พระไตรปิฏก เป็นบุคคลแรกในรอบกึ่งพุทธกาล เพื่อเตรียมการรอคอยบุคคลอื่น และที่สำคัญ ในเว็บพลังจิตนี้ จะต้องมีพยานหรือบุคคลที่รู้เห็นตามอย่างแน่นอน อย่างที่ได้เสวนากันไปแล้ว แม้จะถูกมาร ๕ ครอบ ผู้ดูแลลบทิ้งไป โดยข้อหาเพ้อเจ้อ เพราะด้วยความเข้าใจผิด แต่ไม่เป็นไรหรอก เราเข้าใจ อะไรที่มันใหม่เกินไป และยังไม่ทราบความจริง มันยากที่จะให้ความเชื่อถือได้ เพราะความไม่รู้ เป็นธรรมดา ไม่ว่ากันของจริงอันเป็นสัจจะ ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน ก็เลยพยายามหาหลักฐานแสดงมาโดยตลอด ถ้าลบเที่ยวนี้ก็ให้ตามหาเอากันเอง เว็บพลังจิตนี้มีกระแสของบุญกุศลมาก เข้าถึงได้มากสำหรับผู้เล่าเรียนและปฎิบัติธรรมต่างๆ






    ในกาลนี้เราเป็นเพียงพยาน เป็นผู้รู้เห็นและพิจารณาตามกาล และเมื่อเราออกบวชไปแล้ว สิ่งที่เราแสดงไปเบื้องต้นนี้ จะเป็นหลักฐานที่เราชี้แจงไว้ก่อนล่วงหน้า นับตั้งแต่ห้วงเวลาตามพุทธพยากรณ์ที่ทรงแสดงไว้ และ พระอรหันต์เถระและพระสงฆ์สาวกหลวงปู่หลวงตาได้แสดงไว้โดยไม่ขัดกันและวิสัชนาให้ยิ่งไปอีก อะไรที่เปิดหมดทุกอย่าง แต่ยังไม่ปรากฎก็จะมักมีการแต่งเสริมลอกเลียนแบบ นียัตถะและเนยยัตถะ

    ผมเน้นอย่างแรกนะครับ เพราะทรงตรัสเป็นเนยยัตถะ ถึงเรื่อง ภัยที่ ๕ พุทธทำนาย ,ตลอดจน พระอรหันต์เถระ จนมาถึงพระสงฆ์หลวงปู่หลวงตาหลวงพ่อ

    พระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัส ว่าโดยการแปลความหมาย มี 2 ประเภท คือ
    1. เนยยัตถะ
    [พระสูตร]ซึ่งมีความหมายที่จะต้องไขความ, พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ
    อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่นที่ตรัสเรื่องบุคคล ตัวตน เรา-เขา ว่า บุคคล 4 ประเภท, ตนเป็นที่พึ่งของตน โดยเฉพาะ เรื่องที่เกี่ยวกับ พุทธพยากรณ์ เป็นต้น


    2. นีตัตถะ
    [พระสูตร]ซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว, พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ เช่นที่ตรัสว่า รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น


    ผู้ใดแสดงพระสูตรที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นนีตัตถะ หรือแสดงพระสูตรที่เป็นนีตัตถะ ว่าเป็นเนยยัตถะ
    ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระตถาคต



    คือเราสามารถตั้งข้อสงสัยได้ โดยไม่ต้องกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
    ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
    คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑
    คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
    ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
    คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑
    คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ฯ



    เมื่อมี นียัตถะ และ เนยยัตถะ คำว่าปรุงแต่งเนื้อเรื่องแต่งเรื่องราวจึงไม่มีไม่เกิด เพราะจะต้องวิสัชนาให้เป็นไปในทางเดียวเท่านั้น ไม่ดิ้นเป็นอื่น


    เมื่อปาฎิหาริย์ ๓ ปรากฎ เวลานั้น จะมาถึง เพราะฉนั้นควรหมั่นเจริญภาวนารักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตามกาล เมื่อสภาวะถึง ท่านอาจเป็นหนึ่งในนั้น โดยไม่ต้องงกับตนเองอยู่ ว่าสภาวะนั้นคืออะไร? มีความหมายอะไร?


    กระทู้นี้
    ครั้งแรกในรอบ๒๕๐๐ปีอรรถาธิบายสาธยายการจุติ"พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม"

    http://palungjit.org/threads/ทำผิดกฏ-ใบแดง-สำหรับ-คุณ-จ่ายักษ์-เพ้อเจ้อ.549179/

    ลบไปแล้ว เสียดายจัง



    ปาฌิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ
    นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต.

    ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือ ไม่มีแผลไม่ได้ ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ ฉันนั้น.
    (
    พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.

    ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด แก้ไขได้ รู้แล้ว แสดงชัดแล้ว พึงรักษา จึงพ้น
    พุทธทำนาย
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    https://th.wikipedia.org/wiki/พุทธทำนาย


    ต้นกัลปพฤกษ์ : อุตรกุรุทวีป และต้นกัลปพฤกษ์ต้นไม้ประจำทวีป
    ต้นกัลปพฤกษ์ : ต้นไม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กับ จิตรกรรมไทยประเพณี
     

แชร์หน้านี้

Loading...