ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    กรรม-ฐาน

    กรรม-ฐาน เป็นเรื่องของ 2 สภาวะเท่านั้น คือ สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม" (มีการกระทำ มีการทำงาน Dynamic เป็นสังขตะธรรม) กับสภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน" (ไร้การกระทำ ไร้การทำงาน Static ซึ่งใน ฐานชั้นสุดท้ายจะเป็น อสังคตะธรรม)

    สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม-สังขตะธรรม" (Dynamic)

    สภาวะของ "กรรม" นั้น หมายเอาสรรพสิ่งที่มี "การกระทำ การเคลื่อนไหว แปรปรวน เปลี่ยนสภาพ" ทั้งหมด รวมทั้ง มโนกรรม หรือ "การทำงานทางจิต" ตั้งแต่ การกำเหนิดของจิต การทำงานและกฏเกณฑ์ในการ "อยู่" ของจิต (กฏแห่งกรรม ภพ-ภูมิ) จนถึงการสิ้นสุดยุติแห่งความเป็นจิตลง วิธีที่จะเรียนรู้ในส่วนของ "กรรม" นั้น ผู้เรียนจะต้องอยู่ในส่วนของ "ฐาน" ให้ได้เสียก่อน เพราะ "ฐาน" ในชั้นสุดท้ายจะเป็น "สภาวะรู้" เป็นสภาวะเดียวเท่านั้นที่เรียนรู้สภาวะของ "กรรม" ได้ หากผู้ฝึก พลาดตกออกมาจาก "ฐาน" เมื่อไร ก็จะต้องตกไปอยู่ในส่วนของ "กรรม" เมื่อนั้น และก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า "ทะเลกรรม" นั้นกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีที่สิ้นสุด ครอบคลุมไปหมดทั้ง 3 โลก ดังนั้นผู้ที่จะออกพ้นมาจาก "ทะเลกรรม" ได้นั้น ก็คือผู้ที่อยู่กับฐาน ฝึกในการตั้งฐาน แล้วอยู่กับมันนั่นเอง

    ส่วนของ "กรรมทั้งหมด" จึงย่อมรวมถึง วงจรปฏิจจะสมุปบาท ไตรลักษณ์ แม้กระทั่ง มหาปัฏฐานสูตร (เหตุปัจจัยโย) และ การฝึกฝน มหาสติปัฏฐาน 4 เอาไว้ด้วยกัน และทั้งหมดนี้ เป็นภาคของ "การฝึก-การเรียนรู้" จนกว่าจะ "รู้แจ้งแทงตลอด" ในส่วนของ สังคตะธรรม - Dynamic ที่เรียกกันว่า "สิ้นสงสัยในธรรมทั้งปวง" นั่นเอง

    สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน-อสังคตะธรรม" (Static)

    สภาวะของ "ฐาน" นั้น หมายเอาสภาวะอันเป็น "ที่ตั้งมั่น" ที่เหมาะต่อการเรียนรู้สภาวะในแต่ละระดับที่เป็นส่วนของ "ทะเลกรรมทั้งหมด" และสภาวะของ "ฐานชั้นสุดท้าย" ก็คือ "ฐานที่พ้นออกมาจากทะเลกรรมทั้งหมด" ที่เรียกกันว่า "ขึ้นฝั่งอสังคตะธรรม" นั่นเอง

    ส่วนของฐาน ที่เป็น Basic ที่ง่ายที่สุด คือ "การระลึก สู่ สภาวะรู้ (อสังขตะธรรม)" ที่เรียกว่า "สติ ที่เป็นอาการชี้เฉพาะไปที่ สภาวะรู้" ไม่ใช่การ "ระลึกจำ" ดั่งทื่เข้าใจกันโดยทั่วไป

    ตรงนี้คือเบื้องต้นของ กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน จนพอเริ่มได้นิสัยและตั้งมั่นได้พอสมควรแล้ว ก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า ยามใดที่ระลึก รู้ตัว และ "ตั้งอยู่" ได้ อาการ "รู้สึกทั้งตัวทั่วถึง" ก็จะตามมา และตรงนี้จะเป็นอาการของ "สัมปชัญญะ (บรรณ)" และถ้าหาก อาการของ สัมปชัญญะ สามารถทรงตัวอยู่ได้ อาการของ "ปิติในฌาน 2" ย่อมปรากฏมาเอง

    ดังนั้นการฝึกเอา "สัมปชัญญะ" เป็นกาย จึงเป็นการฝึกที่อยู่ใน "สัมมา อัปปนาสมาธิ" มาตั้งแต่ต้น และ สัมปชัญญะกาย นี้ ในกระทู้นี้มักเรียกว่า "กายเวทนา" อันเป็น กายแห่งความรู้สึกตัว นั่นเอง

    (แจงรายละเอียดเพิ่มเติม 17 มค. 2560)​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2017
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ระหว่าง "สติ" หรือ "จิต" กันแน่ที่เป็น "ฐานที่มั่นคง ปลอดภัย"

    "สติ" เป็นคำพูดสั้น ๆ คำเดียวเท่านั้น ที่เป็นหลักป้องกันความผิดพลาดได้ การทำงานทุกชนิด หากไม่มีสติเป็นองค์ประกอบแล้ว งานนั้น ๆ มักจะผิดแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เช่นนั้นตลอดไป ผู้ที่ขาดสติมักก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ และ "ผู้ที่ไร้สติ" ก็คือ "ผู้วิปลาส" นั่นเอง

    "สติ" โดยธรรมชาติ จะมีสภาพของ "รู้" แต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการกระทำ (Static) สรุปคือ "สติ" เป็นภาคของ "ฐาน"แต่มักจะถูกบดบังโดย "จิต" อยู่เสมอ

    "จิต" โดยธรรมชาติจะมีการทำงานตลอดเวลา (Dynamic) ในรูปแบบของ นึก คิด เข้าใจ สื่อสาร ต่าง ๆ แต่สรุปโดยรวมแล้ว "จิต" คือภาคของ "กรรม" นั่นเอง
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ตั้งจิตมั่น หรือ ตั้งสติมั่น

    รูปแบบในการฝึก มักจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ตั้งจิตมั่น 2. ตั้งสติมั่น

    1. ตั้งจิตมั่น (Dynamic-กรรม) หมายถึง การใช้จิตจดจ่ออยู่ในงานหนึ่งหรือสถานการณ์หนึ่งเดียว จนจิตไม่สอดส่ายไปที่อื่น (สมาธิ) ทำให้กรรมอยู่ในที่แห่งเดียว จนกว่าจะเกิด การวางกรรมลง และจิตตั้งอยู่ได้ด้วยตนโดยมี ฌาน เป็นพี่เลี้ยง

    2. ตั้งสติมั่น (Static-ฐาน) หมายถึง ความพร้อมของสติในระดับตั้งมั่น จนกลายเป็นสัมปชัญญะ (สมาธิ) ที่พร้อมจะ แยกตัวออกจากกรรม ตามความ หยาบ-ละเอียด ของฐาน จนกว่าฐาน จะตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง และพ้นจากกรรม ทั้งมวล ซึ่งโดยปกติแล้ว จะผ่านและเรียนรู้ในส่วนของ กรรมทั้งหมด เรียกว่า จบกรรม นั่นเอง

    การฝึกแบบ ตั้งจิตมั่น มักจะ ฝึกกับสิ่งที่เป็น "รูปธรรม" ที่เห็นได้เป็นตัวตน เรียกว่า วัตถุ
    การฝึกแบบ ตั้งสติมั่น มักจะ ฝึกกับสิ่งที่เป็น "นามธรรม" สัมผัสรู้สึกได้ เรียกว่า พลังงาน
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    รูปธรรม และ นามธรรม ขึ้นอยู่กับความ หยาบ-ละเอียด ของผู้ฝึก

    ในยามปกติ "จิต" และ "พลังงาน" ถือว่าเป็น นามธรรมที่จับต้องสัมผัสไม่ได้ แต่สำหรับผู้ที่ฝึกจนถึงขั้น ถอดจิตถอดกายทิพย์ ได้แล้วนั้น จิตถือว่าเป็น รูปธรรม โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกันกับ ผู้ที่ฝึก "สติ" จนถึงขั้น ถอดกายพลังงาน ได้ ก็ถือได้ว่า ความรู้สึก เป็น รูปธรรม โดยสมบูรณ์เช่นเดียวกัน

    ดังนั้น สิ่งใดเป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม ย่อมขึ้นอยู่กับ ความหยาบ-ละเอียด ของผู้ฝึกและขั้นตอนการฝึกส่วนบุคคลนั้น ๆ ด้วย (ปัจจัตตัง)
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สติ ตามระดับของผู้ฝึก

    1. "ระลึกไม่รู้" เป็นอาการของผู้ที่ยังไม่เคยฝึก หรือ อยู่ในขั้นพยายามฝึก แต่ยังไม่รู้ว่า ระลึกรู้คืออะไร และอาจมีคำถามว่า "รู้ยังไง" หรือ "อะไรคือรู้" กิริยาอาการ คือ พยายามระลึกสิ่งต่าง ๆ แล้วเข้าใจว่า "รู้" คือ สิ่งที่ระลึกนั้น ๆ เพราะ สติ ตามธรรมดา ของผู้ที่ไม่ได้ฝึก หมายถึง "ความจำ" ตรงนี้ต้องมีผู้ชี้แนะเบื้องต้นว่า "สติคือระลึกรู้ตัว" เสียก่อน และผู้ที่ยังอยู่ในระดับนี้ จะเข้าใจว่าการ "เห็น" ทุกชนิดคือ "รู้" ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "สติ" ตามความเป็นจริง แม้แต่น้อย

    2. "ระลึกรู้" เป็นอาการของผู้ฝึกเบื้องต้นที่พอรู้ว่า การระลึกรู้ร่างกายของตัว คือ สติ ผู้ที่อยู่ในระดับนี้ มักจะเห็นว่า "สติ" ไม่มีความหมายอะไรเลย เกิดฤทธิ์ไม่ได้ ไม่ใช่ทางแห่งสมาธิ และไร้ประโยชน์ และ "ยังหลงเข้าใจผิด อย่างรุนแรง" เสียอีกว่า พอระลึกรู้ตัวแล้วก็คิดไปเรื่อย ๆ คือ วิปัสสนา และเป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้ชี้แนะให้ข้ามพ้นด่านนี้ หาได้ไม่ง่ายนัก

    ครูบาอาจารย์บางท่าน จึงกำหนด "วิธี" เพื่อใช้ในการ "ฝ่าด่าน" นี้ออกมา ด้วยการให้ผู้ฝึกใช้ "การตั้งสติ "อยู่" กับลมหายใจ" เพื่อให้ส่วนของ "การรู้ตัวแคบลงมา อยู่ที่ระบบการหายใจ เท่านั้น" ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ยาก และไม่ต้องการคำอธิบายที่ฟุ่มเฟือย ที่มักจะกลับมาเป็นอุปสรรคต่อการฝึกในภายหลัง ด้วยการเป็น "ความจำหลอน" ที่ขัดขวางการทำสติ ซึ่งในจุดนี้ ครูบาอาจารย์บางท่าน จึงกำหนด "อุบาย" ขึ้นมา "สกัดกั้น ความจำหลอน" ด้วยการเพิ่ม "คำบริกรรม ภาวนา" เข้าไปอีกชั้นหนึ่งเช่น "พุทโธ นะมะพะทะ หนอ" ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับมหาชนส่วนใหญ่ และคนส่วนใหญ่จะทำได้ไม่ยาก

    แม้ว่า "วิธี" นี้สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิด สติ ได้ก็ตาม แต่อุปสรรคใหญ่ในด่านนี้ที่มีคือ ยามใดที่ลมหายใจเริ่มสงบช้าลง เพราะ "จิต" เริ่มทรงตัวเป็นสมาธิ เพราะ "หยุดการวุ่นวายกับสิ่งอื่น" แล้วมา "อยู่" กับลมหายใจ หรือ อิริยาบท แต่เพียงอย่างเดียว อาการเบื้องลึกที่เรียกว่า "จิตใต้สำนึก" ก็จะเริ่มแสดงตนขึ้นมา และเป็นที่รู้กันในหมู่นักปฏิบัติว่า นั่นคือการ "ตกภวังค์" ซึ่งจะมีความรู้สึกแบบ "ซึมสบาย" เป็นความรู้สึกเด่น และ "ภาพความคิดจินตนาการจากจิตใต้สำนึก" เป็นตัวแสดงหลัก

    นักปฏิบัติกว่า 80% จะไม่สามารถผ่านด่าน ภวังค์แห่งจิตใต้สำนึก ตรงนี้ไปได้ และมักจะเข้าใจว่า อาการนี้เป็น ฌานสมาบัติ โดยมี จิตอยู่ในสภาพเป็นทิพย์ รู้ เห็น สภาวะแห่ง ภพภูมิ อื่น เป็นต้น และ "ผู้ที่ติดอยู่ในด่านนี้" จะไม่ฟังใคร ดังนั้น ครูบาอาจารย์จึงมักกล่าวอย่างสั้น ๆ ว่า "อย่าติดฤทธิ์" ทิ้งไว้ให้เท่านั้น

    ส่วนผู้ที่ผ่านด่านนี้ไปได้ กว่า 90% เฉพาะของผู้ผ่าน มักจะอยู่ในอาการ "ซึมสบาย" ซึ่งเป็นอาการ "ก่อนตกภวังค์" แต่มีปรากฏการณ์อื่นเข้ามาแทรกแซง ทำให้ "จิตตื่นขึ้นมา" แล้วทำให้ "ความรู้สึกทั้งตัว" เกิดขึ้น หากผู้ใดสำเหนียกถึงตรงนี้ได้ ก็สามารถใช้ "ความรู้สึกทั้งตัว" นี้พัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าต่อไป จนถึงชั้น "ถอดกาย" อันเป็นเรื่องของ "ทิพย์" อันแท้จริงได้

    3. "กำหนดรู้" เป็นอาการของผู้ที่รู้จักอาการของ "ความรู้สึกทั้งตัว" ได้แล้ว และรู้ชัดเจนว่า "ความรู้สึกทั้งตัว" ไม่เหมาะกับคำว่า "ระลึก" เพราะเป็นของที่ต้อง "ลงมือทำด้วยการ กำหนดจิต" ให้เข้าสู่ความรู้สึกตัวเท่านั้น "ความรู้สึกทั้งตัว จึงเกิดขึ้นได้" และยามใดที่ "ความรู้สึกทั้งตัว" เกิดขึ้นแล้ว จะไม่หวลกลับไป "ตกภวังค์" อีก แต่จะเป็นการเข้าสู่ ฌาน1 โดยตรง โดยที่มี "สติ เป็น Subject" และ "ความรู้สึกกาย เป็น Object" รวมทั้งการ "ปรับ วสี" ที่ Object ด้วย

    *** การฝึกในกระทู้นี้ จะเริ่มต้นที่ข้อ 3 เป็นต้นไป โดยจะกล่าวถึง "วิธีการ สร้างความรู้สึกตัว" จนถึงการปรับระดับ ของความรู้สึกตัวในระดับต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนในเรื่องของการ

    1. ทำความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "เข้า"
    2. ออกจากความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "ออก"
    3. เพิ่มความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "เร่ง"
    4. ลดความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "ผ่อน"
    5. หยุด แช่ และ อยู่ กับความรู้สึกทั้งตัว ได้ดังปรารถนา เรียกว่า "ตรึง แช่ และ อยู่"

    ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นการใช้ภาษาที่ผู้อ่านพอที่จะเข้าใจได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว การฝึกทั้ง 5 ข้อนี้เรียกว่า การฝึก วสี 5 ***

    การฝึกในขั้นตอนนี้เป็นการฝึกที่เกี่ยวกับ "ความรู้สึก" ทั้งหมด รวมทั้งปรากฏการณ์ "การแยกความรู้สึก และ การแยกสรรพสิ่ง" จะอยู่ในขั้นตอนนี้ด้วย และยามใดที่ผู้ฝึกสามารถรู้จัก "การกำหนดและผลลัพธ์ของการกำหนด" ทางจิตแล้ว ก็ย่อมไม่ยากที่จะเห็น "กิริยาจิต" ได้ และจากการคุ้นเคยกับกิริยาจิต จึงทำให้

    4. "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้" ผู้ฝึกในขั้นตอนนี้ มักจะเป็นผู้ที่รู้จัก "การทำงานของจิต ในระดับ 1 วาระจิต" เป็นอย่างดี และมักจะรู้ว่า ขณะจิตนั้น ๆ เกิดจากจิตตนหรือไม่ และหากไม่ใช่ ก็ไม่ยากที่จะรู้ว่า กิริยาจิตนั้น ๆ เป็นของใคร การฝึกในระดับนี้ ไม่นานก็จะฝึกไปถึงขั้น "ใครสร้าง กิริยาจิต" แล้วจากนั้นไม่นานก็จะเริ่มรู้ว่า "ใครคือผู้สร้าง" และจากนั้นก็จะเริ่ม "อยู่กับผู้สร้าง" แล้วจะเริ่มชัดเจนได้เองว่า "ผู้สร้างคือตน" นั่นเอง

    5. "อยู่กับตน" สภาวะของผู้ฝึกในระดับนี้ จะมี "สติ" เป็นลักษณะเด่น มี "ความรู้สึกแห่งจิต" ชัดเจน ไม่มีความต้องการ เสพอารมณ์ภายนอก รวมทั้ง ไม่มีความต้องการ เสพอารมณ์จากความคิดตน รู้อากับกิริยาอาการของจิตตน ชัดเจน มีความสามารถในการ "หยุดกิริยาจิต" ได้ และผู้ฝึกในขั้นตอนนี้มักจะอยู่ในสถานะของ "ผู้ทรงฌาน" และถ้าหาก สามารถไล่เรียงสภาวะของ "อารมณ์เด่นอารมณ์เดียวได้" ก็จะสามารถเข้าถึงสภาวะของ "จิตเปล่งรังสี" ได้ ผู้ที่อยู่ในระดับนี้จะ รู้ตนอย่างชัดเจนว่า "การฝึกยังไม่จบ" แม้ว่าจะไปเทียบเคียงกับตำราใดก็ตาม ที่กล่าวว่าเป็น "บุคคลที่ฝึกจบแล้ว" แต่ ตนก็ยังรู้ตน ชัดเจนว่า เรื่องยังไม่จบตรงนี้ จากนั้นไม่นาน ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการ "ดูตน"

    6. "ดูตน" สภาวะของผู้ฝึกในระดับนี้ จะมี "อาการดู" เป็นลักษณะเด่น แต่จะมีสภาวะของ "สติ" เป็นผู้ควบคุม "อาการดู" อยู่เสมอ ไม่นานก็จะสังเกตุได้ว่า "ยามใดที่ไม่ได้ ดูตน" อาการที่ "เป็นตน" ก็ปรากฏขึ้นทุกครั้ง และยามใดที่ "ดูตรง ๆ ไปที่อาการที่เป็น ตน" ความเป็นตน กลับหายไป และในขณะที่ "ความเป็นตน ไม่ปรากฏนี้" ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยัง มีอยู่ รู้อยู่ เหมือนเดิม ไม่มีอะไรหายไปไหน มีแต่ "ความเป็นตน" เท่านั้นที่หายไป จึงมักกลายเป็นการสลับกันระหว่าง "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน" ไป

    7. "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน" ผู้ฝึกในระดับนี้ มักจะรู้ได้ว่า "ยามใดที่ตนมีอยู่ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน" และในทางกลับกัน "ยามใดที่ไร้ตน ยามนั้นย่อมไร้ทุกข์" ไม่นาน การฝึกย่อมพัฒนาไปสู่การสำรวจ "ขั้นตอนการกำเหนิดของสิ่งที่เรียกว่า ตน" จนเห็น "พลังงานที่พัฒนามาเป็นตน" จนถึง "ต้นกำเหนิดของพลังงานนั้น" จึงรู้ได้ชัดเจนเองว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องของ "สภาวะเสถียร ที่พัฒนามาเป็น สภาวะจล" (The Development from Static to Dynamic) และสภาวะ จล นี้กำเหนิดเป็น ตน แล้วหลงวนเวียนอยู่ในสภวะ จล ทั้งหมด เมื่อสิ้นสงสัยในสภาวะธรรมทั้งหมด แห่งความเป็นตนแล้ว ย่อมรู้ชัดเจนว่า "การอยู่กับรู้ คือการออกจากทุกข์" นั่นเอง

    8. "อยู่กับรู้" เมื่ออยู่ได้สักพักหนึ่ง ก็จะมีสภาพเหมือนกับ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโลกกับสังคมทางโลก เหมือนกับการเรียนรู้แบบใหม่ "แต่เป็นการเรียนรู้ ขากลับ สู่โลก สู่สังคม" แต่ทัศนะต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปและไม่หลงไปกับกระแสทางโลกอีก การกระทำตัวก็จะเป็น คนธรรมดา ปกติเหมือนคนทั่วไป ซึ่งปกติแล้ว จะไม่มีใครดูออก เพราะจะไม่มีการแสดงอะไรที่ต่างไปจากคนธรรมดาสามัญ ข้อแตกต่างจะมีเพียงนิดเดียวเท่านั้นคือ "รู้เรื่องของจิต" และรู้ว่า เวลาจะตาย "ต้องวางจิตอย่างไร" เท่านั้นเอง

    9. "อยู่กับความเป็นจริง" เมื่ออยู่กับ รู้ ได้เป็นบางช่วงแล้ว จึงสามารถเรียนรู้ได้ว่า "ตราบใดที่ยังดำรงค์ชีวิตอยู่ ตราบนั้น ระบบการทำงานของ ทั้งร่างกายและจิตใจ (ขันธ์) ก็ย่อมมีอยู่ตามความเป็นจริง ทั้งหมด" ซึ่งตรงนี้ ภาษาของพระป่าที่มาถึงตรงนี้แล้ว ท่านเรียกมันว่า "เศษกรรม" ซึ่งมีอยู่จริงตลอดเวลา และยามใดที่ "พยายามฝืน เศษกรรม นี้ ทุกข์ ก็ย่อมเกิดขึ้น" ดังนั้น ผู้ที่ถึงตรงนี้แล้ว "จะไม่พยายาม ทำตัวให้ดูดี" ไม่ทำตัวให้เป็น "ทาส แห่งความเป็นอรหันต์ ตามความคิดของผู้ใด ทั้งสิ้น" และการดำรงค์ชีพ จะสอดคล้องกับ ทั้งทางโลกและทางธรรม โดยไม่มีข้อแตกต่างใด ๆ ในจิต และความเป็นธรรมดาสามัญนี้ จะไม่มีผู้ใดดูออกได้เลย เพียงแต่อยู่ด้วยความไม่ประมาท และพร้อมที่จะวาง "ความเป็นตน" ทิ้งไป เมื่อถึงเวลาที่ "เศษกรรม" จบสิ้นลง เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    กระทู้นี้จะเริ่มการฝึกตั้งแต่ สติในระดับที่ 3 "กำหนดรู้" เป็นต้นไป

    การใช้ คำศัพท์และภาษาในกระทู้นี้ จะพยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์ที่กว้างที่สุดในระดับ "รากของภาษา" แต่การใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจนี้ กลับกลายเป็นว่า "เป็นการระบุใช้ภาษา ที่ยากที่สุด" ยกตัวอย่างเช่น คำศัพท์ที่เรียกว่า "สติ" เพียงคำเดียวนี้ เพียงกำหนด map จิตลงไปเท่านั้น กลับแตกออกมาเป็นหลายระดับตามสภาวะของบุคคล ส่วนชั้นที่วุ่นวายและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือ ชั้นที่ 2 ที่อยู่ในขั้นตอนของระดับ "ระลึกรู้" ดังนั้น เพื่อรวบรัดเข้าสู่ขั้นตอนของการปฏิบัติตรง ๆ และตัดความวุ่นวายที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ จึงพิจารณา ตัดขั้นที่ 1 และ 2 ออกไป และเริ่มต้นจากขั้นที่ 3 "กำหนดรู้" และสืบเนื่องต่อออกไปจาก "ความรู้สึกทั้งตัว" โดยตรง

    สำหรับผู้ที่ "ไม่ปรารถนา" ที่จะทำและเริ่มจาก "ความรู้สึกทั้งตัว ทั่วพร้อม" แล้ว ก็ไม่สมควรที่จะเอาข้อความในกระทู้นี้ ไปเป็นบทปฏิบัติสำหรับตน เพราะนอกจากมันจะเข้ากันไม่ได้แล้ว ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้เห็นอาการได้อีกด้วย สมควรที่จะนำข้อคำถามนั้น ๆ ไปถามครูบาอาจารย์ของตน จะเป็นการดีที่สุด

    ส่วนผู้ที่ "ปรารถนา ที่จะทำและเริ่มจาก ความรู้สึกทั้งตัว ทั่วพร้อม" แต่ยังทำไม่ได้ ก็ให้ "สร้าง" ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จากบทต่อไปข้างล่างนี้
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว

    "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ

    1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
    2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
    3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น

    4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
    5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ

    หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้

    6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
    7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%

    8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
    9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%

    ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง

    ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการ ศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ
     
  8. เขากระโดง

    เขากระโดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +1,014
    พออ่านแล้วดีใจจังค่ะ ง่ายและเข้าใจมากขึ้น ค่อยตรงกับความรู้สึกและสภาวะในการปฏิบัต ขอเริ่มต้นฝึกใหม่อีกครั้งนะค่ะ
     
  9. buddy0

    buddy0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +142
    ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายเลยค่ะ จะฝึกต่อแล้วมารายงานผลค่ะ
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ขอให้ตั้งใจกันนะครับ
     
  11. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    กราบนอบน้อมอาจารย์ ขอมาลงทะเบียนเรียนด้วยครับ เริ่มฝึกแล้ว พบบางอย่าง ไปฝึกสัก 5-6วันให้แน่ใจชัดเจนก่อนครับ
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    กราบนอบน้อมอาจารย์ ขอมาลงทะเบียนเรียนด้วยครับ

    +++ ได้เลยครับ ผมเปิดกว้างสำหรับผู้ที่ต้องการเดินจิตจาก "ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม" แล้วพัฒนาต่อออกไปจากนั้น

    เริ่มฝึกแล้ว พบบางอย่าง ไปฝึกสัก 5-6วันให้แน่ใจชัดเจนก่อนครับ

    +++ ให้เดินจิต ทบทวน "ตรงเหตุ" ก่อนที่จะ "พบบางอย่าง" ตรงนั้น

    +++ หากกำหนดและเดินจิต ลงไปยังที่เดียวกันแล้ว เกิดผลลัพธ์ ออกมาเป็นอย่างเดียวกัน ทุกครั้ง
    +++ ให้ถือว่า "การเดินจิต และ ผลลัพธ์จากการเดินจิต ตรงนั้น" เป็น "สัจจะธรรม" นะครับ
     
  13. savesafe

    savesafe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +442
    ขอเข้ามาอ่านและนำไปฝึกด้วยคนนะครับ เคยมีอาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัวที่รู้สึกได้ชัดที่สุดเป็นที่รอบๆฝ่าเท้าแต่ก็อยู่ได้ไม่นานก็หายไปครับ
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ พยายาม "อยู่" กับ "อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว" นี้นะครับ เมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ให้ใช้

    1. จิตกำหนด ในการเข้าสู่อาการนี้โดยตรง
    2. ถอนออก แล้วเข้าสู่สภาวะเดิมนี้ ให้ได้ในทันที

    ทำข้อ 1-2 ซ้ำ ๆ กันจนมั่นใจว่าทำได้ ดั่งปรารถนา จากนั้น

    3. เพิ่มความรู้สึกแบบ เร็วบ้าง ช้าบ้าง สลับกันไป รวมทั้ง
    4. ลดความรู้สึกแบบ เร็วบ้าง ช้าบ้าง เหมือนกับข้อ 3

    ทำข้อ 3-4 ซ้ำ ๆ กันจนมั่นใจว่า สามารถเรียบเรียงระดับของความรู้สึกเป็นเปอร์เซนต์ ได้ชัดเจน

    5. ฝึก "ตรึง" ระดับเปอร์เซนต์ ของความรู้สึก "จากระดับหนึ่ง สู่ระดับหนึ่ง" ไป ๆ มา ๆ ให้ชำนาญ เพราะตรงนี้เป็น "รากฐานของการเดินจิตในชั้น เอกัคตา สู่ เอกัคตา" ในชั้น อรูปฌาน
    6. พอตรึงในระดับต่าง ๆ ชำนาญแล้ว ให้เริ่ม "หลังจาก ตรึงที่เปอร์เซนต์ใด ให้แช่ อยู่ที่เปอร์เซนต์นั้น" แล้ว "อยู่" กับมันชั่วขณะ
    7. จากนั้นจึงฝึก "ตรึง-แช่-อยู่" กับระดับต่าง ๆ ให้ชำนาญ และพยายาม "อย่าลำเอียง" เรื่อง ชอบระดับนั้นมากกว่าระดับนี้ เป็นต้น เพราะในแต่ละระดับ คือ "ชั้นเรียน ที่มีองค์ความรู้ แตกต่างกันไป"

    +++ ตรงนี้เป็น วสี 5 และเป็น รากฐานที่สำคัญที่สุดในเรื่องของ การเดินจิต นะครับ
     
  15. เด็กหัวโต

    เด็กหัวโต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +18
    ขอฝึกศึกษาด้วยคนจ้าาา
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ได้เลยครับ

    ส่วนคำถามในกระทู้ "เมื่อคืนค่ะ....(สอบถามอารมณ์กรรมฐาน)" จะนำมาตอบในกระทู้นี้เลย นะครับ

    ข้อสงสัยเพิ่มเติม (แฮะๆ ^w^)

    "ผู้ฝึก อาจมีปัญหาในการตั้งจิตให้อยู่กับ ความเป็นจริง ไม่ได้" หนูไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าจะรบกวนคุณ ธรรมชาติ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้หรือไม่ค่ะ

    +++ ปัญหาของผู้ฝึกคือ มากกว่า 97% "จะโดน ความคิด ปิดบังความจริง"

    +++ "อสุภะกรรมฐาน" นั้น เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นเรื่องของ "ความคิด" ถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ "คิดจนเบื่อหน่ายตนเองก็ตาม" กรรมฐานกองนี้ "เหมาะสำหรับ คนคิดมาก" และ "คนที่ วางความคิดไม่เป็น" จึงให้ใช้ "ความคิดที่ทำให้ความคิดสลายตัวลงไป เพราะเบื่อคิดเป็นเหตุ" จากนั้นจึงสามารถกลับมาสู่ความเป็นจริงได้ไม่ยาก

    แล้วถ้าปฏิบัติเละเทะเอา 2 ฐานมารวมกันนานวัน จะเกิดอะไรขึ้นค่ะ(อันนี้หนูจะเลิกเอามายำกันเละแล้วค่ะ แต่อยากทราบเฉยๆ)

    +++ โดยธรรมชาติ "ยามใดที่เอา ความคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ยามนั้นความจริงย่อมสูญเสียไป"

    +++ คำตอบคือ "ผู้ฝึก อาจมีปัญหาในการตั้งจิตให้อยู่กับ ความเป็นจริง ไม่ได้" นั่นเอง

    ถ้าหนูจะเลือกปฏิบัติแบบสาย หนอ เวลาที่รู้สึกว่าตัวแยก แบะออก มือแยกจากกัน เห็นฟันยื่น สกปรก หนูจะต้องกำหนดอย่างไรค่ะ????

    +++ "ทำความรู้สึก ให้ได้ทั้งตัว" แล้ว อาการ "อสุภะ" จะไม่เกิด จะมีก็แต่ "ความเป็นจริงเท่านั้น ที่เกิด" และอาการ "ถอดกาย" ที่เรียกว่า "ตัวเอง แยกออกมาจาก ตัวเอง" นั้น จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าฝึกตามได้ถูกวิธี นะครับ
     
  17. no pain no gain

    no pain no gain Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +63
    ขอสอบถามบ้างนะคะ เคยนั่งสมาธิมาบ้างค่ะมีอาการชาตามตัว ออกสมาธิแล้วอาการชายังค้างอยู่เป็นวันค่ะ ใช้ดูอาการชานี้ร่วมกับทำตามที่แนะนำข้างบนด้วยกันได้ไม๊คะ
     
  18. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    กัมมัฏฐาน หมายถึง

    ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน)
    (นำมาจาก พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    +++ อาการชาตามตัวนี้ ถ้าได้ทั้งตัว (หัว ตัว แขน ขา) ถือว่าดีมาก หากยามใดที่ทำได้แล้ว ก็ให้ทำต่อตามนี้

    https://palungjit.org/threads/507094/page-2#post-8250429

    ได้เลยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2019
  20. klangprai

    klangprai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    5,167
    ค่าพลัง:
    +6,057
    สวัสดีค่ะ ทุกวันนี้ก็สวดมนต์ทุกเช้าเย็นค่ะ
    เมื่อก่อนกลางคืนนั่งสมาธิโดยตามลมหายใจ
    บางครั้งก็สงบ นิ่งดี บางครั้งก็รู้สึกว่าไม่สงบ
    ไม่สงบไม่ได้ฟุ้งซ่านนะคะ แต่รู้สึกว่ามันไม่ดิ่ง เงียบๆลงไป
    บางครั้งก็เหมือนมันง่วงนอนด้วยค่ะ

    แต่หลังๆนี่ใช้วิธีฟังธรรมมะไปด้วย ทำสมาธิไปด้วย
    ตามลมหายใจ ภาวนา พุทโธ ไปด้วย สักพักก็หยุดภาวนา
    ไม่ใช่ขี้เกียจแต่มีความรู้สึกว่าหยุดภาวนาแล้วลมหายใจมันเป็นธรรมชาติ
    แล้วลมหายใจจะค่อยๆเบาไปเองค่ะ พอทำแบบนี้กลับรุ้สึกตัวดี
    นิ่ง สบาย พอนั่งแป๊บนึงรู้สึกเหมือนมันมึนๆนะคะ
    สักพักก็เหมือนชาๆตามตัว เหมือนขนลุก สักพักจะสบาย
    นั่งไป ไม่เมื่อยไม่ปวด มันสบายๆมาก ไม่อยากเลิกเลยค่ะ
    รู้สึกว่ามันมืด มันเงียบมากๆ แต่ก็ได้ยินเสียงรอบๆตัวอยู่
    (หมายถึงเสียงแฟน กรนหรือเวลาพลิกตัว)

    บางครั้งเหมือนออกจากความสงบเงียบนั้น
    แต่ความสบาย ความนิ่งยังมีอยู่ ก็ไม่รู้ว่านี่มันคืออะไรคะ
    มีครั้งนึงพอนั่งสมาธิเงียบๆ ดิ่งๆลงไปอยู่ๆก็เกิดความคิดขึ้นมา
    แบบมันเกิดขึ้นเองว่านี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราๆ วนๆอยู่แล้วก็หายไปค่ะ

    พอเลิกนั่งสมาธิไปนอนก็เหมือนความชาๆนั่นยังมีอยู่
    ไปนอนตามลมหายใจจนหลับไป หลับสนิทจริงๆเลยค่ะ
    และควรทำอย่างไรต่อไป ขอความกรุณาแนะนำหน่อยนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...